ผู้เขียน หัวข้อ: ประชาสัมพันธ์งานเสวนาหัวข้อปาเลสไตน์แผ่นดินสงครามไม่รู้จบ  (อ่าน 1820 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ummun

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *****
  • กระทู้: 16
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

ประชาสัมพันธ์ งาน เสวนาหัวข้อ  "  ปาเลสไตน์แผ่นดินสงครามไม่รู้จบ"

ณ  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตบางเขน  วันที่ 22  มกราคม 2552  เวลา 13.30-18.00 น.

โดย อาจารย์  อิมรอน  มะลูลีม

       อาจารย์ ชาฟีอี  ศาสนพิจิตร

       อาจารย์ ศาสตรินทร์  ตันสุน

      อาจารย์ ศุภลักษณ์  กาญจนผลดี

ออฟไลน์ ۞QolbunSaleem۞

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 168
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam

อัลฮัมดุลิลาฮ ที่เห็นหลายๆองค์กรมีความตื่นตัวในเรื่องนี้ หลายๆองค์กรก็จัดเสวนาเพื่อให้ความเข้าใจแก่ต่างศาสนิก
อยากให้มีงานเสวนาในลักษณะนี้อีกหลายๆที่ ที่ผ่านมา ก็จะมี ธรรมศาสตร์ กับจุฬา ที่จัด (ที่กระผมรู้)

ออฟไลน์ IamCrying

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 376
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
น่าสนใจเด้
ว่าแต่ไปยังไงเอ่ย
รายละเอียดงานมีมากกว่านี้ป่ะ เดี๋ยวไปแล้วหลง
Closer than veins : Invite to the Way of thy Lord with wisdom... Qur.16:125

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
ขึ้นปอ.29 ผ่านม.เกษตรด้วย พอถึงแล้วก็ถามยามด้านในว่าไปทางไหนต่อ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ WIND

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 220
  • เพศ: ชาย
  • MKM
  • Respect: +30
    • ดูรายละเอียด
Dua.....The weapon of believer

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
เมื่อคืนที่ มอ.ปัตตานี ก็มีการจัดการเสวนาในเรื่องปาเลสไตน์ ภายใต้หัวข้อว่า "สันติจงมีแด่ปาเลสไตน์..." ซึ่งจัดโดยชมรมมุสลิม มอ.ปัตตานี โดยได้เชิญอาจารย์ภาควิชาตะวันออกกลางศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี มพูดคุยกันในเรื่องนี้ มากัน 2 ท่านคือ อ.ชาฟิอี และ อ.มะรอนิง สือแต

           เริ่มแรกก็ได้มีการพูดถึงประวัติความเป็นมาของปาเลสไตน์และการก่อตั้งรัฐอิสรอเอลขึ้น โดย อ.มะรอนิง สือแต และส่งมอบให้ อ.ชาฟิอี พูดคุยกันถึงความเป็นไปของปาเลสไตน์และอิสรอเอลในปัจจุบัน ซึ่งก็มีผู้คนมาฟังมาเยอะมากๆ เต็มห้อง 500 ซึ่งเป็นห้องเรียนรวมที่ถือว่าใหญ่ที่สุดของมหาลัย และผู้มาฟังมีทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิม มีทั้งบุคคลภายในและภายนอกมหาลัยมาฟังกันอย่างล้นหลามจริงๆ โดยเฉพาะมุสลิมะฮ์มากันเยอะมากๆ

           และท้ายสุดได้มีการตอบคำถามผู้ฟัง ซึ่งมีคำถามหนึ่งที่ติดตลก แต่น่าสนใจตบท้ายด้วย ซึ่งถามว่า "อ.คะ ไม่ทราบว่ามีเครื่องบินให้ขึ้นฟรีไหมคะ หนูอยากไปปาเลสไตน์ ไปดูกับตาคะ ว่าที่นั่นเขาเป็นยังงัย เผื่อหนูจะช่วยอะไรได้บ้าง" เมื่ออ่านคำถามนี้จ ทุกคนก็พากันหัวเราะและยินดี ที่แม้แต่มุสลิมะฮ์ยังคิดถึงเพียงนี้ และมุสลิมชายหละจะทำอะไรให้พี่น้องปาเลสไตน์ได้บ้าง? ก็คงจะเป็นคำถามที่ผุดในจิตใจของหลายคน และมองหน้ากันก็รู้แล้วครับ

            แต่คำถามหนึ่งที่ผมต้องการทราบคำตอบอย่างมากคือ การที่จะถือว่ารัฐหนึ่งๆ เป็นรัฐ หรือประเทศได้นั้น จะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักๆ คือ ประชาชน อาณาเขตที่แน่นอน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย ซึ่งอย่างหลังสุดถือว่าความสำคัญอย่างมาก ที่จะต้องแต่ละรัฐจะต้องรักษาสิ่งนี้ไว้ให้มั่น จึงอากจะถามว่า เราจะเรียกปาเลสไตน์เป็นรัฐ หรือประเทศหนึ่งได้ไหม เพราะดูในปัจจุบันแล้ว ปาเลสไตน์จะสูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนไปอย่างมาก จนบางครั้งในไม่มีอำนาจแม้แต่จะป้องกันตัวเองจากศัตรูได้ คืออิสราเอล การถือว่าปาเลสไตน์เป็นรัฐในปัจจุบัน เป็นการยอมรับในทางนิตินัยเท่านั้น แต่ในทางพฤตินัยปาเลสไตน์ยังไม่ถือว่าเป็นรัฐที่สมบูรณ์ นี่คือมุมมองจากสายตาชาวโลก และสำหรับชาวมุสลิมปาเลสไตน์คือรัฐๆ หนึ่ง และอิสราเอลคือผู้คุกคาม และไม่มีรัฐอิสราเอล เพราะรัฐอิสราเอล เป็นรัฐในทางพฤตินัย แต่ในทางนิตินัย บางส่วนของโลกยังไม่ให้การยอมรับ โดยเฉพาะประเทศอิสลามและมุสลิม

            พี่น้องมีมุมมองอื่นที่แตกต่างจากนี้ไหม...?

วัสสลาม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
ห้อง500หรือ น่าจะมีห้อง2000ที่ตึก19อีกนะ ถ้าจำไม่ผิด
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ IamCrying

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 376
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
คิดว่า ปาเลสไตน์ ยังไม่ถือว่า เป็นรัฐนะครับ อาจเป็นเพียงดินแดนที่มีอานาจปกครองตนเอง บางส่วน (Gaza) เป็นดินแดนภายใต้การดูแลของกลุ่ม ฮามาส หมายถึง กลุ่มนี้มีอิทธิพลอยู่ การเกิดรัฐขึ้นได้ จะต้องมีการรับรองโโยรัฐอื่นก่อน จึงจะมีผลในทางพฤตินัย และนิตินัย กรณี ปาเลสไตน์นี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทสอิสราเอล รวมถึงเวสต์แบง ด้วย  อิสราเอล สามารถควบคุมดินแดนดังกล่าวได้ ด้วยเพราะอำนาจทางทหารที่เหนือกว่าและการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา 

เป้าหมายอิสราเอลคือทำอย่างไรก็ได้เพื่อบั่นทอนอำนาจของ ฮามาสมากที่สุดแม้ว่าด้วยวิธีการได้ก็ตาม (อย่างที่ทำอยู่ตอนนี้) กลุ่มต่อสู่ต่างๆ นั้นถือว่าเป็นภัยต่อิสราเอลอย่างยิ่งราะกลุ่มเหล่านี้มีนโยบายที่ชัดเจนในการต่อ้าน ขับไล่ อิสราเอล ออกจากดินแดนที่เข้ามายึด 

การเกิดขึ้นของรัฐอิราเอลเป็นไปอย่างง่ายได้ด้วยการสนับสนุนของอังกฤษในเวลานั้น (เมื่อ 60 ปีที่แล้ว) 

การก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์เป็นไปค่อนข้างยากด้วยอุปสรรค ต่างๆ มากมายในและภายนอก ภายในเช่น เมื่อเราดูแผนที่ จะเห้นได้ว่า ดินแดนของปาเลสไตน์ ถูกอิสราเอล แบ่งแยกเป็นส่วนออกจากัน เขตเวต์แบงค์ ทางตะวันตก และเขาฉนวนกาซ่า ทางใต้ ติดกับอิยิปต์


คำถามของน้องมุสลิมะฮ์น่าสนใจนะ แสดงถึงความรู้สึกได้ดี ด้วยอิทธิพลของพลังโลกาภิวัตน์ (การรับรู้ข่าวสารของเราเป็นไปอย่างใกล้ชิด และรวดเร็ว ด้วยความสามารถของเทคโนโลยี) ทำให้เราเกิดความรู้สึกร่วมรับรู้ และเสมือนเป็นภัย ภาระของตนเองด้วย นี่ละของดีของโลกาภิวัตน์   

สิ่งที่น่าเป็ห่วงมากที่สุดในตอนนี้คือ เด็ก สตรี คนชรา เด็กที่จะกลายเป็เด็กกำพร้า หลังเหตุการณ์สงบ พวกเขาเหล่านี้จะอยู่ยังไง คนบาดเจ็บที่มากมาย อาหาร อะไรต่างๆ นานา
ส่วนตรงนี้ไม่ทราบว่าเราสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง 
Closer than veins : Invite to the Way of thy Lord with wisdom... Qur.16:125

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
ศิษย์เก่าม.อ.ปัต ไม่มีห้อง2000ครับ
ดีครับมีการจัดการเสวนาแบบนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งว่าเราไม่ยอมรับการกระทำของยิว
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
แล้วที่อยู่ตึกสังคมหลังกลางห้องที่อยู่หลังสุดใกล้บันไดลงไปนั้นมันห้องเท่าไหร่หรือ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ ummun

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *****
  • กระทู้: 16
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ประชาสัมพันธ์ งาน เสวนาหัวข้อ  "  ปาเลสไตน์แผ่นดินสงครามไม่รู้จบ"

ณ  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตบางเขน  วันที่ 22  มกราคม 2552  เวลา 13.30-18.00 น.

โดย อาจารย์  อิมรอน  มะลูลีม

       อาจารย์ ชาฟีอี  ศาสนพิจิตร

       อาจารย์ ศาสตรินทร์  ตันสุน

      อาจารย์ ศุภลักษณ์  กาญจนผลดี

ต้องขอมอัฟด้วยสำหรับงานนี้ขอเลื่อนออกไป ส่วนวันเวลาใหม่จะแจ้งต่อไปภายหลัง อินชาอัลลอฮ

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
คิดว่า ปาเลสไตน์ ยังไม่ถือว่า เป็นรัฐนะครับ อาจเป็นเพียงดินแดนที่มีอานาจปกครองตนเอง บางส่วน (Gaza) เป็นดินแดนภายใต้การดูแลของกลุ่ม ฮามาส หมายถึง กลุ่มนี้มีอิทธิพลอยู่ การเกิดรัฐขึ้นได้ จะต้องมีการรับรองโโยรัฐอื่นก่อน จึงจะมีผลในทางพฤตินัย และนิตินัย กรณี ปาเลสไตน์นี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทสอิสราเอล รวมถึงเวสต์แบง ด้วย  อิสราเอล สามารถควบคุมดินแดนดังกล่าวได้ ด้วยเพราะอำนาจทางทหารที่เหนือกว่าและการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา 

               หากจะถือว่า การที่ต้องได้รับการยอมรับจากชาติอื่น เพื่อรับรองสถานะของปาเลสไตน์ เพื่อที่จะถือว่า ปาเลสไตน์เป็นรัฐๆ หนึ่งนั้น ประเด็นนี้ อาหรับเกือบทั้งหมดรวมทั้งประเทศอิสลามและมุสลิมเกือบทั่วโลก ให้การรับรองสถานะของปาเลสไตน์ในฐานะรัฐๆ หนึ่งที่มีผลทางพฤตินัยและนิตินัยเช่นกัน

           เพราะแต่เดิมนั้น หากเรามองที่เจ้าของเดิมของดินแดนดังกล่าวนั้น จะเป็นของชาวปาเลสไตน์โดยกรรมสิทธิ์อย่างแท้จริง แม้ยิวจะมาอ้างทีหลังว่า เป็นดินแดนของตนแต่บรรพบุรุษตามที่ปรากฏในพันธะสัญญาเก่า (เตาร็อต) ก็ตาม แต่ ณ ปัจจุบัน ยิวไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างสิทธิ์ของตนเหนือดินแดนปาเลสไนได้เลย เนื่องจากว่า บรรพบุรุษของยิวนั้นล้วนแต่ได้อพยพย้ายถิ่นฐานออกไปจนหมดแล้ว และได้ตั้งฐานบนที่ใหม่ที่ไม่ใช่ที่เดิม (ตรงที่เป็นดินแดนปาเลสไตน์ในปัจจุบัน) และในประวัติศาสตร์ก็ปรากฏว่า ชาวยิวไม่ว่าจะย้ายไปที่ใด ก็มักจะถูกทางคริสจักรออกคำสั่งให้ออกไป หรือไม่ก็ขับไล่ออก ทำให้ยิวต้องหลบอยู่ในดินแดนต่างๆ อย่างกระจัดกระจายและหลบๆ ซ่อนๆ ทั้งในรัสเซียในอดีต และโดยเฉพาะแถบยุโรปตะวันตก

           ในขณะเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์นั้น ก็ได้อยู่ในดินแดนตรงนั้น มาเป็นพันปีแล้ว อย่างน้อยสุดก็นับจากสมัยท่านค็ลีฟะฮ์อุมัร บิน ค็อฏฏ๊อบ ซึ่งก็ล่วงเลยมาพันกว่าปีแล้ว ถือเป็นระยะเวลาที่นานมากพอที่จะอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่ตนอยู่ได้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การได้มาของดินแดนตรงนั้น ก็ได้มาโดยถูกต้องตามหลักการพิชิตดินแดนในอดีต และภายใต้การปกครองในระบอบอิสลาม แม้จะมีชาวยิวและคริสเตียนอยู่บ้าง ณ ที่ตรงนั้น ก็ส่วนใหญ่ก็พอใจให้พวกเขาถูกอิสลามปกครอง

             แต่ต่อมา เมื่อยิวเริ่มมีอิทธิพลโดยผ่านทางอาชีพพ่อค้าคนกลาง โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ยิวเริ่มส่งอิทธิพลของตนอย่างลับๆ เพื่อวางแผนในการโค่นล้มราชวงศ์ต่างๆ ของยุโรป ทำให้เกิดการปฏิวัติในหลายประเทศของยุโรป ซึ่งผู้ที่ดำเนินการทั้งหมดก็คือพวกลูหลานคริสเตียน แต่ผู้สั่งการ หรือคอยยุแยงอยู่เบื้องหลังก็คือพวกยิว มีสามารถมีสิทธิในการต่อรองการต่างๆ ต่อพวกนั้น

              ต่อมา ประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งใกล้ช่วงการล้มสลายของอาณาจักรอุษมานียะฮ์เต็มทีแล้ว อังกฤษได้ถูกยิวผู้มีอิทธิพลเหนือกว่า ให้ทำสัญญาว่า หากอังกฤษสามารถล้มอาณาจักรอุษมานียะฮ์ได้แล้ว จะต้องรีบจัดหาดินแดนสักดินแดนหนึ่งให้ชาวยิวตั้งเป็นประเทศของตนให้ได้ ซึ่ง ณ ตอนนั้น ก็มีการหาดินแดนบางที่เพื่อสนองต่อพวกยิว จนในที่สุด ก็ตกมาที่ดินแดนของชาวปาเลสไตน์ จากนั้นมา ชาวยิวจากทั่วโลกก็ทำการย้ายดินแดนมาที่ปาเลสไตน์ โดยมีคำขวัญชวนเชื่อว่า "กลับสู่บ้านเกิด"

                    เกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ของยิวเหนือดินแดนปาเลสไตน์นั้น เพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น ผมขอนำเสนอข้อเขียนที่น่าสนใจยิ่งจากหนังสือ "33 ประเด็นปัญหาปาเลสไตน์" โดย ศ.ดร.มุหฺเซ็น มุฮัมมัดศอและหฺ, แปลโดยฮารูน หะยีแม จากหน้า 13-14 ดังนี้

                "การอ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ของชาวยิวในปาเลสไตน์ได้จืดจางไปต่อหน้าสิทธิของชาวอาหรับที่มีต่อแผ่นดินของพวกเขา  บรรดาลูกหลานชาวปาเลสไตน์ได้ตั้งรกราก และสร้างเมืองมามากกว่า 1,500 ปี  ก่อนที่ชาวยิวจะสถาปนารัฐของพวกเขาขึ้นมา  พวกเขายังคงอาศัยอยู่ที่นั่น ในระหว่างที่รัฐนั้นยังคงดำรงอยู่ และหลังจากความสัมพันธ์ของชาวยิวกับปาเลสไตน์เลวร้ายลง  แม้ชาวยิวจะเข้าปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์เป็นเวลานานถึง 4 ศตวรรษ  (1000-586 ก่อนคริสต์กาล) โดยประมาณ  แต่พวกเขาก็ไม่ได้ปกครองดินแดนทั้งหมดของปาเลสไตน์  ต่อมาอำนาจของพวกแอสซีเรียน  เปอร์เซีย  กรีก และโรมัน  ใน ขณะที่ชาวปาเลสไตน์ยังคงตั้งรกรากอยู่ในแผ่นดินของตน  90 ปีที่ว่างเว้นจากสงครามครูเสด  อิสลามได้ปกครองดินแดนแห่งนี้เป็นเวลานานถึง 1,200 ปี (ปี ค.ศ.636-1917) ถือได้ว่าเป็นช่วงของการปกครองที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งปาเลสไตน์  ในภาคปฏิบัติความสัมพันธ์ระหว่างยิวกับปาเลสไตน์ได้สิ้นสุดลงราว 1,800 ปี คือ ตั้งแต่ปีที่ 135 แห่งคริสต์ศักราชจนถึงศตวรรษที่ 20 ในช่วงเวลาดังกล่าว  พวกยิวไม่มีอำนาจทั้งทางด้านการเป็นผู้นำ, ด้านการเมือง หรือแม้แต่อารยธรรมให้เห็นในปาเลสไตน์  แม้แต่ในคำสอนศาสนาก็ห้ามมิให้คนยิวกกลับไปยังแผ่นดินปาเลสไตน์  ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น  ข้อมูลหลักฐานจากการค้นคว้าวิจัยของบรรดานักวิชาการยิว (อย่างเช่น นักวิชาการผู้เรืองนามนายอาเธอร์ คอสต์เลอร์) พบว่าชาวยิวยุคปัจจุบันกว่าร้อยละ 80  ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์กับปาเลสไตน์แต่อย่างใด  เช่น เดียวกับที่พวกเขาไม่ได้มีการสืบทอดทางโลหิต หรือความผูกพันในความรักที่มีต่อบรรดาลูกหลานอิสรา เอล  ที่จริงแล้ว  ชาวยิวส่วนใหญ่ในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากพวกคาซาร์ (Khazars) หรือที่เรียกกันว่า  พวก อัชเคนัซ (Ashkenaz) ซึ่งเป็นชนเผ่าตาตาร์เตอร์กิค (Tatar-Terkic) เก่าแก่โบราณที่อาศัยอยู่แถบตอนเหนือของคอเคซัส และได้เข้ารับศาสนายูดายในช่วงปีที่ 8 แห่งคริสต์ศักราช  ดังนั้น  สมมติว่า  ถ้าหากชาวยิวมีสิทธิ์ที่จะกลับไปสู่บ้านเกิดของตนเองก็คงไม่ใช่ปาเลสไตน์  แต่ต้องเป็นรัสเซียตอนใต้อย่างแน่นอน
   ยิ่งไปกว่านี้  ชาวยิวยังอ้างถึงการคบค้าสมาคมกับชาวปาเลสไตน์  และความเกี่ยวพันของพวกเขากับชาวปาเลสไตน์  ก็ไม่อาจยืนกรานได้ต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ว่าลูกหลานของอิสราเอลส่วนใหญ่ปฏิ เสธที่จะเข้าร่วมกับศาสดามูซา (โมเซส) ในการอพยพไปสู่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์  ในทำนองเดียวกัน  ชาวยิวส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะกลับจากบาบิโลนไปยังปาเลสไตน์  หลังข้อเสนอของจักรพรรดิไซรัสแห่งเปอร์เซียเสนอที่จะรักษาคนเหล่านี้เอาไว้  ตลอดช่วงประวัติ ศาสตร์ทั้งหมดจวบจนปัจจุบัน  จำนวนของประชากรยิวในปาเลส ไตน์ไม่เคยมีมากไปกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรยิวในช่วงที่ดีที่สุดของพวกเขา"

วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged