ผู้เขียน หัวข้อ: บุคคลที่มีสิทธิ์กินมรดกตามหลักการศาสนา (1)  (อ่าน 2022 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ابن سفيان السراجى

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 50
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด

 salam

บุคคลที่จะถูกนับเข้าไปร่วมกินมรดกทางด้านฝ่ายชาย

1.   ลูกชายผู้ตาย
2.   ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
3.   พ่อผู้ตาย
4.   พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
5.   พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
6.   พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
7.   พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย
8.   พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
9.   พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
10. ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย
11. ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
12. ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมมารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
13. ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
14. สามีผู้ตาย
15. นายผู้ชายผู้ปลดปล่อย

บุคคลที่จะถูกนับเข้าไปร่วมกินมรดกทางด้านฝ่ายหญิง

1.   ลูกสาวผู้ตาย
2.   ลูกสาวของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
3.   แม่ผู้ตาย
4.   แม่ของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
5.   แม่ของแม่ผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
6.   พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
7.   พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
8.   พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย
9.    ภรรยาผู้ตาย
10.  นายหญิงผู้ปลดปล่อย
   
บุคคลที่เป็นทายาทที่ไม่มีสิทธิ์ในกองมรดก

1.   พ่อของแม่ผู้ตาย , แม่ของพ่อของแม่ผู้ตาย
2.   บรรดาลูกๆของลูกสาวผู้ตาย หรือบรรดาลูกๆของลูกๆของลูกสาวผู้ตาย
3.   ลูกสาวของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย
4.   บรรดาลูกๆของพี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย
5.   ลูกชายของพี่น้องผู้ชายที่ร่วมมารดากับผู้ตาย
6.  พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตายที่ร่วมมารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
7.  ลูกสาวของพี่น้องของพ่อผู้ตาย
8.  พี่น้องผู้หญิงของพ่อผู้ตาย
9.  พี่น้องของแม่ผู้ตาย
10. ผู้ที่สืบตระกูลจากบุคคลตั้งแต่ข้อ 2 - 9

ฟัรดูของการกินมรดกมีอยู่ 6 อย่าง

1.   1/2            2.   1/4            3.   1/8            4.   2/3            5.   1/3            6.   1/6

บุคคลที่จะกิน ½ มีอยู่ 5 จำพวก

1. สามีผู้ตาย ต่อเมื่อผู้ตายไม่มีลูกหรือหลาน ที่มีสิทธิ์ในกองมรดก
2. ลูกสาวผู้ตาย 1 คน ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์
3. ลูกสาวของลูกชายผู้ตาย 1 คน ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์หรือไม่มีผู้กีดกัน
4. พี่สาวหรือน้องสาวผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย 1 คน ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์หรือไม่มีผู้กีดกัน
5. พี่สาวหรือน้องสาวผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย 1 คน ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์หรือไม่มีผู้กีดกัน
 
บุคคลที่จะกิน ¼ มีอยู่ 2 จำพวก

1. สามีผู้ตาย ต่อเมื่อผู้ตายมีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดก
2. ภรรยาผู้ตาย 1คน หรือมากกว่า 1 คน ต่อเมื่อผู้ตายไม่มีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดก

บุคคลที่จะกิน 1/8 มีอยู่ 1 จำพวก

1. ภรรยาผู้ตาย 1คน หรือมากกว่า 1 คน ต่อเมื่อผู้ตายมีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดก

บุคคลที่จะกิน 2/3 มีอยู่ 4 จำพวก

1. ลูกสาวผู้ตาย 2 คน ขึ้นไป ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์
2. ลูกสาวของลูกชายผู้ตาย 2 คน ขึ้นไป ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์หรือไม่มีผู้กีดกัน
3. พี่สาวหรือน้องสาวผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย 2 คน ขึ้นไป ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์หรือไม่มีผู้กีดกัน
4. พี่สาวหรือน้องสาวผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย 2 คน ขึ้นไป ต่อเมื่อไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์หรือไม่มีผู้กีดกัน

บุคคลที่จะกิน 1/3 มีอยู่ 2 จำพวก

1. แม่ผู้ตาย ต่อเมื่อไม่มีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดกหรือไม่มีพี่น้องตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม หรือไม่ว่าจะร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม หรือถ้ามี พี่น้องนั้นก็ต้องถูกห้ามจากกองมรดก เช่น ฆาตกร หรือ ทาส หรือ อื่นๆ ที่นอกจากการถูกกีดกัน
2. พี่น้องผู้ตาย ที่ร่วมมารดาเดียวกันกับผู้ตาย ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ไม่ว่าพี่น้องจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม และพวกเขาจะได้รับส่วนได้เท่าๆกัน ทั้งชายและหญิง

บุคคลที่จะกิน 1/6 มีอยู่ 7 จำพวก

1. พ่อผู้ตาย ต่อเมื่อผู้ตายมีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดก
2. พ่อของพ่อผู้ตาย ต่อเมื่อผู้ตายมีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดก หรือต่อเมื่อไม่มีพ่อผู้ตาย
3. แม่ผู้ตาย ต่อเมื่อผู้ตายมีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดก หรือต่อเมื่อมีพี่น้องตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม หรือไม่ว่าจะร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม หรือพี่น้องผู้ตายนั้นจะถูกกีดกันจากกองมรดกนั้นก็ตาม
4. แม่ของแม่ผู้ตาย (แม้จะสูงขึ้นไป เช่น แม่ของแม่ของแม่ผู้ตาย โดยไม่มีผู้ชายขั้น) หรือแม่ของพ่อผู้ตาย (แม้จะสูงขึ้นไป เช่น แม่ของพ่อของพ่อผู้ตาย หรือแม่ของแม่ของพ่อผู้ตาย) ต่อเมื่อผู้ตายมีลูกหรือหลานที่มีสิทธิ์ในกองมรดก หรือต่อเมื่อไม่มีแม่ผู้ตาย หรือต่อเมื่อมีพี่น้องตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม หรือไม่ว่าจะร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม หรือพี่น้องผู้ตายนั้นจะถูกกีดกันจากกองมรดกนั้นก็ตาม
5. ลูกสาวของลูกชายผู้ตาย จะกี่คนก็ตาม ต่อเมื่อร่วมกับลูกสาวผู้ตายเพียง 1 คน (หรือลูกสาวของลูกชายของลูกชายผู้ตาย จะกี่คนก็ตาม ต่อเมื่อร่วมกับลูกสาวของลูกชายผู้ตายเพียง 1 คน)
6. พี่น้องผู้หญิง ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย จะกี่คนก็ตาม ต่อเมื่อร่วมกับพี่น้องผู้หญิง ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายเพียง 1 คน
7. พี่น้องร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม เพียง 1 คน ต่อเมื่อผู้ตายไม่มีลูกสาวหรือพ่อ ที่จะมากีดกัน
***หมายเหตุ บรรดาผู้ที่กินฟัรดูมีทั้งหมด 13 จำพวก ***

   โดยนับจากฝ่ายชายมี 4 จำพวก

1. สามีผู้ตาย
2. พ่อผู้ตาย
3. พ่อของพ่อผู้ตาย
4. พี่น้องชายที่ร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย
   โดยนับจากฝ่ายหญิงมี 9 จำพวก

1. แม่ผู้ตาย
2. แม่ของแม่ผู้ตาย
3. แม่ของพ่อผู้ตาย
4. ภรรยาผู้ตาย
5. ลูกสาวผู้ตาย
6. ลูกสาวของลูกชายผู้ตาย
7. พี่น้องผู้หญิงร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
8. พี่น้องผู้หญิงร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
9. พี่น้องผู้หญิงร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย

บุคคลที่จะไม่หลุดจากกองมรดก

1. พ่อผู้ตาย
2. แม่ผู้ตาย
3. สามีผู้ตาย หรือ ภรรยาผู้ตาย
4. บรรดาลูกๆของผู้ตาย

บุคคลที่จะถูกกันหลุดจากกองมรดกจากฝ่ายชาย

1. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกชายของลูกชายผู้ตาย หรือเหลนชายที่มาจากสายลูกชาย ได้แก่ :-

   - ลูกชายของผู้ตาย (กันลูกชายของลูกชายผู้ตาย)
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (กันเหลนชายที่มาจากสายลูกชาย)
   *** ทายาทที่เชื่อสายใกล้ชิดกับผู้ตายจะกันทายาทที่เชื่อสายไกลออกไป ***

2. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พ่อของพ่อผู้ตาย หรือพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย (กันพ่อของพ่อผู้ตาย)
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (กันพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย)
   ***ทายาทที่เชื่อสายใกล้ชิดกับผู้ตายจะกันทายาทที่เชื่อสายไกลออกไป***

3. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)

4. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องผู้หญิงจะกี่คนก็ตาม ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ร่วมกับลูกสาวของผู้ตาย หรือร่วมกับลุกสาวของลูกชายผู้ตาย

5. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกผู้ตาย
   - ลูกของลูกชายผู้ตาย จะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)

6. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย

7. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย

8. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกชายของลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย

9. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย

10. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย

11. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
   - พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย

12. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย ได้แก่ :-
   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
   - พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย

13. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกชายของลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย ได้แก่ :-

   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
   - พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
   - ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย


บุคคลที่จะถูกกันหลุดจากกองมรดกจากฝ่ายหญิง
ผู้ที่มีสิทธิ์กัน ลูกสาวของลูกชายผู้ตาย หรือเหลนหญิงที่มาจากสายลูกชาย ได้แก่ :-

   - ลูกชายผู้ตาย
   - ลูกสาวผู้ตาย 2 คน ขึ้นไป ต่อเมื่อลูกสาวของลูกชายผู้ตาย ไม่มีผู้พาไปกินอาซอบะห์

2. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน แม่ของแม่ผู้ตาย ได้แก่ :- (ยาย)
   - แม่ผู้ตาย

3. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน แม่ของพ่อผู้ตาย ได้แก่ :- (ย่า)
   - พ่อผู้ตาย
   - แม่ผู้ตาย
4. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน แม่ของพ่อผู้ตาย ได้แก่ :- (ย่า)
    - พ่อผู้ตาย
    - แม่ผู้ตาย
    - แม่ของแม่ผู้ตาย

*** คนไกลฝ่ายพ่อจะถูกกันด้วยกับคนใกล้ฝ่ายแม่ *** *** แต่คนไกลฝ่ายแม่จะไม่ถูกกันด้วยกับคนใกล้ฝ่ายพ่อ ***
เช่นเดียวกันกับ แม่ผู้ตายกันแม่ของแม่ผู้ตาย ดังนั้นแม่ของแม่ผู้ตายจึงกันแม่ของแม่ของพ่อผู้ตาย
แต่แม่ของแม่ผู้ตายจะกันแม่ของพ่อผู้ตายมิได้ และแม่ของพ่อผู้ตายจะกันแม่ของแม่ของแม่ผู้ตายมิได้

5. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-
    - พ่อผู้ตาย
    - ลูกชายผู้ตาย
    - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)

6. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-
   - พ่อผู้ตาย
    - ลูกชายผู้ตาย
    - ลูกชายของลูกชายผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
   - พี่ชายผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
   - พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย 2 คนขึ้นไป
   - พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย 1 คน โดยร่วมกับลูกสาวผู้ตายหรือหลานสาวผูตาย

7. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมมารดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-
   - พ่อผู้ตาย
   - พ่อของพ่อผู้ตาย
   - ลูกชายหรือหลานชายผู้ตาย ที่มีสิทธิ์ในกองมรดก

8. ผู้ที่มีสิทธิ์กัน พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย ได้แก่ :-
   - พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย 2 คน ขึ้นไป
   - พี่น้องผู้หญิงของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย 1 คน โดยร่วมกับกับลูกสาวผู้ตายหรือลูกของลูกชายผู้ตาย

บุคคลที่จะกินอาซอบะห์

ลูกชายของผู้ตายจะกี่คนก็ตาม
ลูกชายของลูกชายผู้ตายจะกี่คนก็ตาม (แม้ว่าจะเป็นชั้นต่ำลงไปจากสายผู้ชาย)
พ่อผู้ตาย
พ่อของพ่อผู้ตาย (แม้ว่าจะเป็นชั้นสูงขึ้นไปจากสายผู้ชาย)
พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
พี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับผู้ตาย
พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
พี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อผู้ตาย
พี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อของพ่อผู้ตาย
พี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อของพ่อผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อของพ่อผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อของพ่อผู้ตาย
พี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย
พี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดามารดาเดียวกับพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย
ลูกชายของพี่น้องผู้ชายของพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย ที่ร่วมบิดาเดียวกับพ่อของพ่อของพ่อผู้ตาย
ไล่อย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าจะหาไม่พบอีก
นายผู้ปลดปล่อย
บุคคลที่กินอาซอบะห์ของนายผู้ปลดปล่อย


********************************
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 31, 2009, 04:50 AM โดย ศิษย์ประทีปศาสน์ »

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
0
โปรแกรมแบ่งมรดก...


ออฟไลน์ al-toorab

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 172
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 salam

 myGreat:
يقول -صلى الله عليه وسلم-: هلك المتنطعون، هلك المتنطعون، هلك المتنطعون

"บรรดาผู้มุตะนัตติอูน(ผู้ที่คิดลึกเกินเลยขอบเขต)ได้มีความวิบัติแล้ว"

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏لَيْسَ الْمُؤْمِنُ ‏ ‏بِالطَّعَّانِ ‏ ‏وَلَا اللَّعَّانِ وَلَا ‏ ‏الْفَاحِشِ ‏ ‏وَلَا الْبَذِيءِ

"ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า  ไม่ใช่เป็นผู้ศรัทธา  ผู้ที่ชอบตำหนิ(ผู้คนทั้งหลาย) ผู้ที่ชอบสาปแช่ง ผู้ที่ด่าทออย่างน่ารังเกียจ  และผู้ที่พูดหยาบคาย" รายงานโดยท่านติรมีซีย์ 1900 ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า  ฮะดิษฮะซัน

ออฟไลน์ Assaf

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 147
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
 mycool: ได้ความรู้เพียบ

ออฟไลน์ themanofjustice

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีคนที่บ้านเคยถามว่า

ชายคนนึง ไม่มีเคยมีลูก ก็เลยรับลูกบุญธรรมมาเลี้ยง แล้วก็เขียนที่ดิน (มรดก) เป็นชื่อของ ลูกบุญธรรมคนนั้น

พออีกไม่นาน เขาก็มีลูกขึ้นมา แต่ชื่อที่ดินก็ยังเป็นชื่อของลูกบุญธรรมคนนั้น เขาบอกว่า รอให้ลูกโตเสียก่อน แล้วค่อยโอนมาเป็นของลูกที่แท้จริง แต่เขาก็เสีย ทั้งๆ ที่ ชื่อก็ยังเป็นของลูกบุญธรรมคนนั้น อยู่
อยากรับว่าที่ดินตรงนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ลูกบุญธรรมคนนั้นมีสิทธิ์ตรงนี้หรือไม่

ฝากข้อรู้หน่อยน่ะครับ เผื่อผมจะได้ไปเผยแพร่ให้เขารู้อีกครั้งน่ะครับ
ขอบคุณมากครับ

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
0
เขาได้ให้ก่อนเขาจะตาย ก็ต้องเป็นของลูกบุญธรรม

แต่ผมก็คิดว่าอยู่ที่บริบทและเจตนา
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
0
 salam

มรดกจากพ่อและแม่ที่ไม่ใช่มุสลิม   บุตรที่เป็นมุสลิมสามารถรับได้หรือไม่ ::)

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
0
ถ้าจำไม่ผิด น่าจะไม่ได้ เพราะคนละศาสนา ลูกที่มุรตัดก็เหมือนกัน กินไม่ได้
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ YEE_HAROON

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
&frac12 สัญลักษณ์คืออะไร

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
0
&frac12 สัญลักษณ์คืออะไร

1/2 (fraction one half )

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: บุคคลที่มีสิทธิ์กินมรดกตามหลักการศาสนา
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ม.ค. 30, 2009, 09:33 PM »
0
salam

มรดกจากพ่อและแม่ที่ไม่ใช่มุสลิม   บุตรที่เป็นมุสลิมสามารถรับได้หรือไม่ ::)

ไม่ได้ครับ

จากหะดีษที่ว่า ไม่มีการรับมรดกมุสลิมจากกาฟิร

หรือกาฟิรจากมุสลิมครับ

แต่ทางออกคือไม่ต้องรอให้ตาย

ขอเป็นหะดิยะฮฺไปเลยครับ

คือให้เป็นของขวัญไปเลยครับ

แม้จะกล่าวว่า ฉันให้บ้านหลังนี้แก่เธอหลังจากฉันตายแล้ว

และเธอคนนั้นตอบตกลง พร้อมกับรับกุญแจบ้านไว้โดยการอนุญาติจากเจ้าของบ้าน

บ้านหลังนั้นเป็นของเธอแล้ว แม้ว่าเจ้าของบ้านยังไม่ตายก็ตาม

เพราะเงื่อนไขนั้นลัฆวุ โมฆะ

(ผมบอกไปตามัสฮับชาฟีอี ซึ่งเรื่องนี้มีหะดีษมาสนับสนุม)

ดังนั้นหากใครยกบ้าน หรือรถ หรือของมีค่าต่างๆ

โดยบอกว่าให้หลังจากตาย ให้เรารีบตอบรับ และขอสิ่งนั้นมาเก็บไว้เลยครับ

จะเป็นกุญแจบ้านกุญแจรถ ก็ได้ครับ แม้ยังไม่ได้โอนสำเนาก็เถอะ เพราะหลักการชาริอะนั้นถูกต้องแล้วครับ
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
Re: บุคคลที่มีสิทธิ์กินมรดกตามหลักการศาสนา
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ม.ค. 30, 2009, 09:39 PM »
0
ญะซากัลลอฮุคอยรอนค่ะ

แจ่มแจ้งมาก mycool:




ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: บุคคลที่มีสิทธิ์กินมรดกตามหลักการศาสนา
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ม.ค. 30, 2009, 09:42 PM »
0
มีคนที่บ้านเคยถามว่า

ชายคนนึง ไม่มีเคยมีลูก ก็เลยรับลูกบุญธรรมมาเลี้ยง แล้วก็เขียนที่ดิน (มรดก) เป็นชื่อของ ลูกบุญธรรมคนนั้น


เขียนมรดกนั้นเท่าที่ผมทราบมาไม่มีในอิสลามครับ

แต่หากเขียนวะซียะฮฺนั้น แน่นอนว่าใช้ได้ครับ

เพียงแต่ว่าจะต้องไม่เกินหนึ่งส่วนสามของทรัพสินทั้งหมด

สมมุติว่าเกิน ส่วนที่เกินนั้นรอการอนุญาติจากผู้ที่รับมรดก

ซึ่งหากอนุญาติ ส่วนที่เกินนั้นก็เป็นของลูกบุญธรรม

แต่หากว่าไม่ ส่วนที่เกินก็แบ่งกันระหว่างผู้รับมรดกครับ

นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: บุคคลที่มีสิทธิ์กินมรดกตามหลักการศาสนา
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ม.ค. 30, 2009, 09:46 PM »
0


พออีกไม่นาน เขาก็มีลูกขึ้นมา แต่ชื่อที่ดินก็ยังเป็นชื่อของลูกบุญธรรมคนนั้น เขาบอกว่า รอให้ลูกโตเสียก่อน แล้วค่อยโอนมาเป็นของลูกที่แท้จริง แต่เขาก็เสีย ทั้งๆ ที่ ชื่อก็ยังเป็นของลูกบุญธรรมคนนั้น อยู่
อยากรับว่าที่ดินตรงนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ลูกบุญธรรมคนนั้นมีสิทธิ์ตรงนี้หรือไม่

ฝากข้อรู้หน่อยน่ะครับ เผื่อผมจะได้ไปเผยแพร่ให้เขารู้อีกครั้งน่ะครับ
ขอบคุณมากครับ

เรื่องนี้ผมไม่ทราบนะครับ

มันมีรายละเอียดซับซ้อนอยู่ครับ

ผมต้องไปทบทวนกีตาบดูก่อนครับ
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

 

GoogleTagged