ผู้เขียน หัวข้อ: การปลีกวิเวกตนเองทำให้มีประโยชน์แก่หัวใจคือแบบฉบับของท่านร่อซูล(ฮิกัมที่12)  (อ่าน 6928 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

ท่านอิบนุอะฏออิลและห์กล่าวว่า

مَا نَفَعَ القَلْبَ مِثْلُ عُزْلَةٍ يَدْخُلُ بَهَا مِيْداَنَ فِكْرَةٍ

“ไม่มีสิ่งใดจะมีประโยชน์แก่หัวใจที่จะเสมือนการปลีกวิเวกที่เข้าไปอยู่ในสนามแห่งความคิดพร้อมกับการวิเวกนั้น”

คำว่า  الْقَلْبَ  (อัลก็อลบ์)  คือหัวใจ  หมายถึง  “บรรดาความรู้สึกอันนอบน้อมของผู้ต้องการเดินทางไปสู่อัลเลาะห์ซึ่งเป็นหัวใจที่บริสุทธิ์จากการหลงลืมอัลเลาะห์และสร้างความใกล้ชิดต่อพระองค์”  ชัรห์อัลฮิกัม  ของท่านชัยคุลอิสลาม อับดุลเลาะห์ อัชชัรกอวีย์  หน้า 14

คำว่า  عُزْلَةٍ (อุซฺละห์)  คือการวิเวกอยู่ตามลำพัง  หมายถึงปลีกตนเองออกจากมนุษย์ทั้งหลายเพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากความชั่วของเขาและเขาจะได้ปลอดภัยความชั่วของพวกเขา  แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว  การ  อุซฺละห์  คือการปลีกตนเองจากบรรดาคุณลักษณะที่น่าตำหนิ (แม้จะอยู่กับผู้คนทั้งหลายก็ตาม) ดังนั้นผลสะท้อนที่ได้รับก็คือมีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ(ที่ดี)มิใช่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน” หนังสือมั๊วะอฺญัม มุศฏ่อละฮาต อัศศูฟียะห์ ของท่านชัยค์อับดุลมุนอิม อัลฮัฟนีย์ หน้า 184 
ดังนั้น  การ  “อุซฺละห์”  บางครั้งก็คือการปลีกตนเองทั้งหัวใจและร่างกายด้วยการห่างไกลจากผู้คนทั้งหลาย  แต่บางครั้งปลีกตนด้วยหัวใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  คือร่างกายอยู่ร่วมกับผู้คนทั้งหลายแต่หัวใจสนใจอยู่กับอัลเลาะห์

คำว่า  مِيْدَانَ فِكْرَةٍ  (มีดาน่าฟิกร่อติน)  คือสนามแห่งความคิด  หมายถึง  “ความคิดที่เปรียบเสมือนกับสนามเพื่อให้หัวใจวนเวียนไปมาอยู่ในนั้น  ซึ่งเหมือนกับม้าที่วิ่งวนเวียนอยู่ในสนาม”  หนังสือชัรหฺฮิกัมบินอะฏออิลและห์ ของท่าน  ชัยค์มุฮัมมัด บิน มุศฏอฟา อิบนุ อะบีลอุลา 1/96

ดังนั้น  หัวใจจึงมีหน้าที่วนเวียนอยู่กับการคิดคำนึงถึงอัลเลาะห์อยู่อย่างสม่ำเสมอ  พิจารณาสิ่งที่สร้างความรักและความใกล้ชิดต่ออัลเลาะห์ตะอาลา    คิดพิจารณาถึงข้อตำหนิของตนเอง  เช่น  มีความอิจฉาริษยา  โอ้อวด  มีความยะโส  และหลงดุนยา  เป็นต้น

ฮิกัมนี้ต่างจากฮิกัมที่ 11 ที่ผ่านมา  แต่ผู้ใดที่ยึดมาปฏิบัติทั้งสองฮิกัมนี้พร้อม ๆ กันก็จะเกิดความสมบูรณ์  ดังนั้นความแตกต่างได้ประจักษ์แล้วว่า  ท่านอิบนุอะฏออิลและห์ได้ทำการตอกย้ำในฮิกัมที่ผ่านมาเกี่ยวกับความจำเป็นที่มนุษย์ต้องผ่านช่วงเวลาในการบ่มเพาะสร้างตนเอง  คือในช่วง  الْخُمُولُ  (อัลคุมูล) ช่วงที่ไร้ชื่อเสียง :  กล่าวคือเป็นช่วงความห่างไกลจากความเพริดแพร้วแห่งความโด่งดัง  ห่างไกลจากความสับสนวุ่นวายของสังคม  เพื่อบ่มเพาะ  ขัดเกลาจิตใจ  แสวงหาความรู้ให้กว้างขวาง  และสะสมความชำนาญให้สมบูรณ์พร้อม  ส่วนการ  عُزْلَةٍ (อุซฺละห์)  คือการวิเวกอยู่ตามลำพังโดยสามารถอยู่ร่วมและคบค้าสมาคมกับคนอื่นตามปกติ  แต่เขาสมควรหาช่วงเวลาสักหนึ่งชั่วโมงในทุกวันหรือทุกคืนเพื่อปลีกวิเวกตนเองจากผู้คนทั้งหลาย  และให้ช่วงการปลีกวิเวกตนเองนี้ให้อยู่ในการใช้ความคิดพิจารณาสิ่งที่สร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะห์

ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องปลีกวิเวกตนเอง(ค็อลวะห์)เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายเหล่านี้  ซึ่งบางครั้งการปลีกตนเองอาจจะด้วยการอ่านอัลกุรอานด้วยการวิเคราะห์ใคร่ครวญซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเลิศสุดที่จะกระทำในขณะค็อลวะห์  บางครั้งทำการศึกษาชีวประวัติของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  แต่บางครั้งเราอาจจะใคร่ครวญถึงตนเอง  เช่นใคร่ครวญว่า  “ฉันคือใคร?”  “ฉันมาโลกนี้ได้อย่างไร?”  “เมื่อก่อนฉันเป็นเด็กที่ไม่เข้าใจอะไร  จากนั้นก็เข้าสู่วัยหนุ่ม  หลังจากนั้นก็เข้าสู่วัยผู้ใหญ่  และขณะนี้ก็เริ่มเข้าสู่วัยชราทีละนิดละน้อยจนถึงใกล้เวลาที่จะต้องจากดุนยานี้ไป  แล้วอะไรบ้างที่เราได้กระทำไว้ในช่วงอายุของเรานี้?”  “และอะไรบ้างที่เราได้เก็บเกี่ยวจากความสุขในดุนยา?แล้วอะไรคงเหลืออยู่แก่เราในขณะนี้?”  “แล้วสิ่งใดจากฉันบ้างที่คงเหลือไว้แก่โลกนี้?”  “ฉันกำลังใคร่ครวญถึงความสุขที่หายไปของดุนยาแต่ความน่าหลงใหลมันยังคงมีอยู่  ใคร่ครวญถึงการฏออัตภักดีที่ต้องทุ่มเทความเหน็ดเหนื่อยแต่ผลบุญยังคงอยู่”...”ฉันใคร่ครวญสิ่งนี้ทั้งหมด”  ในขณะนั้นฉันจึงรู้สึกมีความโศกเศร้าเสียใจ...”เพราะเหตุใดที่ฉันไม่ทำความดีให้มาก ๆ ในช่วงอายุของฉันที่ผ่านมา?”  “เหตุใดฉันจึงไม่เคยทำให้น้อยลงจากความชั่วที่ได้พลาดทำลงไป?”  ฉันจึงคิดว่า  หากช่วงเวลาชีวิตยังเหลืออยู่  ฉันจะทำให้ความรู้สึกเหล่านั้นมาผลักดันให้ฉันฉกฉวยโอกาสในการทำอิบาดะห์ที่ขาดไป  และฉันก็จะสัญญากับตัวเองเช่นนี้  ยิ่งกว่านั้นฉันจะสัญญากับอัลเลาะห์ว่าจะไม่ทำให้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่สูญเสียไปและฉันจะรีบเพาะปลูกในชีวิตที่เหลือนี้ด้วยการฏออัตและสร้างความใกล้ชิดต่อพระองค์เท่าที่สามารถจะทำได้

ดังกล่าวคือผลที่ได้รับจากการวิเวกตนเอง(ค็อลวะห์)ที่ผสมผสานไปด้วยความคิดที่ปลุกเร้าสติปัญญาให้ค้นพบถึงสัจธรรมความจริงและปลดปล่อยตนเองให้พ้นจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ
หลักฐานของท่านอิบนุอะฏออิลและห์ในเรื่องนี้  คือคำตรัสของอัลเลาะห์ตะอาลา ,  คำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซํลลัม ,  และหลักปฏิบัติของท่าน

หลักฐานที่หนึ่ง : คำตรัสของอัลเลาะห์ตะอาลา  ที่ว่า

قُلْ إِنَّمَا أَعِظُكُم بِوَاحِدَةٍ أَن تَقُومُوا لِلَّهِ مَثْنَى وَفُرَادَى ثُمَّ تَتَفَكَّرُوا مَا بِصَاحِبِكُم مِّن جِنَّةٍ إِنْ هُوَ إِلَّا نَذِيرٌ لَّكُم بَيْنَ يَدَيْ عَذَابٍ شَدِيدٍ

“จงประกาศเถิด  “แท้จริงฉันขอเตือนพวกท่านสักประการหนึ่ง  คือ  พวกท่านจะต้องยืน(หยัดอย่างแน่นเหนียว) เพื่อ (การมีศรัทธาใน) อัลเลาะห์  ไม่ว่าจะมีสองคนหรือคนเดียวก็ตาม  หลังจากนั้นพวกท่านจงใคร่ควรญเถิด” ที่จริงนั้นเพื่อนของพวกท่าน(ที่ชื่อมุฮัมมัด)นั้น  หาวิกลจริตไม่  หากทว่าเขามิได้เป็นอื่นใด  นอกจากผู้ตักเตือนสำหรับพวกท่านต่อหน้าการลงโทษอันร้ายแรง(ที่จะอุบัติขึ้นในไม่ช้าไม่นานนี้)” สะบะอฺ 46

หมายถึง : ฉันไม่ต้องการสิ่งใดจากพวกท่านนอกจากให้พวกท่านปลดเปลื้องตนเองจากความมีมานะทิฐิ  ความดื้อดึง  และอารมณ์ใฝ่ต่ำ  และคนหนึ่งจากพวกท่านได้ถามเพื่อนของเขาเกี่ยวกับจุดยืนที่ยังคงลังเลเกี่ยวกับมุฮัมมัดหรือให้คนหนึ่งจากพวกท่านได้ทำการใคร่ครวญตริตอรงตามลำพังคนเดียวเกี่ยวกับเรื่องของมุฮัมมัดและสัจธรรมสิ่งที่เขาได้นำมาแก่พวกท่าน  และต่อไปสติปัญญาของเขาก็จะตอกย้ำความแน่ใจว่า  แท้จริงมุฮัมมัดนั้นเป็นศาสนทูตจากอัลเลาะห์ที่ถูกส่งมายังพวกท่านตามที่เขาได้กล่าวไว้  เขามิใช่เป็นคนวิกลจริตตามที่พวกท่านอ้าง  แต่ทว่าเขาเป็นผู้ที่ตักเตือนพวกท่านจากสิ่งที่อยู่ ณ อัลเลาะห์ตะอาลา  ต่อเบื้องหน้าการลงโทษอันร้ายแรง”

หลักฐานที่สอง : คำอธิบายของท่านร่อซูลุลอฮ์  ศ็อลลัลอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า

عَنْ عُقْبَةَ بِنِ أَبِيْ عَامِرٍ أَنَّهُ سَأَلَ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَا النَّجَاةُ؟ فَقَالَ لَهُ : أَمْسِكْ لَسَانَكَ، ولْيَسَعْكَ بَيْتُكَ، وَابْكِ عَليَ خَطِيْئَتِكَ

รายงานจากอุกบะห์ บิน อะบี อามิร  เขาได้ถามท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ว่า  “อะไรคือความรอดพ้นปลอดภัยหรือ?”  ท่านนบีตอบแก่เขาว่า “ท่านจงยังยั้งลิ้นของท่าน  ,  จงทำให้บ้านของท่านกว้างขวางแก่ท่าน(เพื่อปลีกวิเวก) , และท่านจงร้องไห้ต่อความผิดของท่าน”  รายงานโดยอะบูดาวูด , อัตติรมีซีย์ , ท่านอัลบัยฮะกีย์ , และอิบนุอะบิดดุนยา

หลักฐานที่สาม : แบบฉบับของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

หลักปฏิบัติที่ได้ทราบมาถึงเราจากชีวประวัติของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  นั้น  คือมีการปลีกวิเวกตนเองอย่างต่อเนื่องซึ่งท่านนบีรักที่จะกระทำมันก่อนถูกแต่งตั้งเล็กน้อยและฮะดิษที่กล่าวถึงการเริ่มลงวะฮีลงมาเกี่ยวกับปลีกวิเวกของท่านนั้นเป็นสิ่งที่ทราบกันดีซึ่งไม่จำเป็นต้องนำมากล่าวอีก

แต่อาจจะมีบางคนจินตนาการไปว่า  ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ละทิ้งการวิเวกตนเองหลังจากที่แต่งตั้งให้เป็นศาสนทูต  ดังนั้นการปลีกตนวิเวกของท่านนบีก่อนได้รับการแต่งตั้งจึงนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้

แต่ทว่าความจริงแล้วท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่เคยละทิ้งมันเลย  ยิ่งกว่านั้นยังคงปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอหลังจากได้รับการแต่งตั้งแล้ว  แต่ท่านนบีมิได้กำหนดตนเองว่าจะต้องไปที่ถ้ำฮิรออฺเพื่อนำมาเป็นสถานที่สำหรับการปลีกวิเวกแต่ท่านนบีได้ปฏิบัติในบ้านของท่าน  ซึ่งช่วงเวลาวิเวกที่สำคัญที่สุดของท่านก็คือในช่วงเวลาค่ำคืนและเข้าช่วงเวลาที่สองหลังเที่ยงคืน  ดังที่พวกท่านทราบมาแล้วว่า  ท่านนบีจะตื่นจากที่นอน  แล้วทำการอาบน้ำละหมาดอย่างดีเยี่ยม  หลังจากนั้นก็วิเวกตนเองด้วยการละหมาดต่ออัลเลาะห์  อ่านอัลกุรอานตามที่พระองค์ทรงประสงค์ให้แก่ท่านนบี  และนี้ก็คือเรื่องดีที่สุดที่จะให้ความคิดใคร่ครวญเข้ามามีบทบาทในขณะปลีกวิเวกนั่นเอง

ดังนั้นเราจึงอยากจะตั้งคำถามว่า  เหตุใดอัลเลาะห์ทรงสั่งใช้ต่อร่อซูลของพระองค์แบบวายิบต้องปฏิบัติการวิเวกเช่นนี้?  กล่าวอีกสำนวนหนึ่งคือ  เหตุใดพระองค์จึงใช้ให้ร่อซูลของพระองค์ต้องละหมาดในยามค่ำคืน?

يَا أَيُّهَا الْمُزَّمِّلُ  قُمِ اللَّيْلَ إِلَّا قَلِيلاً  نِصْفَهُ أَوِ انقُصْ مِنْهُ قَلِيلاً  أَوْ زِدْ عَلَيْهِ وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلاً

“โอ้ผู้ห่มผ้า (หมายถึงนบีมุฮัมมัดซึ่งกำลังห่มผ้า) เจ้าจงตื่นกลางคืน (เพื่ออิบาดะห์) เถิด  ยกเว้นเพียง (เวลา) เล็กน้อย (เพื่อใช้ในการพักผ่อน) นั่นคือครึ่งคืน  หรือจงลดลงจากนั้นลงมาเล็กน้อย  หรือจงเพิ่มกว่านั้นอีก  และเจ้าจงอ่านอัลกุรอานให้ถูกต้องชัดเจน” อัลมุซัมมิล 1-4

แล้วอะไรหรือที่จะมาห้ามมิให้ท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ทำการละหมาดและอ่านอัลกุรอานเช่นนี้ในตอนกลางวัน?  แล้วอะไรคือข้อแตกต่าง?  และคำสั่งใช้ของอัลเลาะห์ต่อการให้ความสำคัญการซิกรุลลอฮ์และวิริดนั้นกระทำได้โดยมิได้จำกัดเวลามิใช่หรือ?  แล้วอะไรคือข้อแตกต่าง?

ข้อแตกต่างนั้น  มีดังนี้  กล่าวคือท่านทราบมาแล้วว่า   ท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  คือแบบฉบับของบรรดามุสลิมีนทั้งหมด  ดังนั้นถ้าหากท่านร่อซูลุ้ลและห์ได้ปฏิบัติภารกิจดังกล่าวในตอนกลางวัน  การปลีกวิเวกที่กิตาบุลเลาะห์เรียกร้องส่งเสริมก็จะไม่บรรลุผล  ...แต่ความวุ่นวาย...บรรดาผู้คนต่างแวะเวียนไปมาหาท่านนบี  ต่างก็มาถามและร่วมสนทนาพูดคุย  ภารกิจต่าง ๆ ของดุนยาที่เกิดขึ้นประจำวัน  ซึ่งดังกล่าวทั้งหมดไม่ทำให้ความคิดสงบและไม่ทำให้จิตใจโปร่งไส  แต่ว่าช่วงเวลาใดหรือที่จะผลักดันใดจิตใจบริสุทธิ์และความคิดสงบ?...นั่นก็คือในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาเกือบรุ่งสาง  ดังนั้นในช่วงเวลากลางคืนนั้นช่วงแรกกับช่วงท้ายคืนย่อมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

บางครั้งนี่คือสาเหตุที่นักปราชญ์ได้กล่าวว่า  ผู้ที่ละหมาดตะฮัจญุดนั้นเขาจะไม่เป็นผู้ที่ละหมาดตะฮัจญุดนอกจากตื่นจากนอนเสียก่อน หลังจากนั้นก็มุ่งสู่อัลเลาะห์ตะอาลาด้วยการละหมาด  ขอดุอา  และวิงวอนต่อพระองค์!...เขาได้ตื่นท่ามกลางความเงียบสงบ  ลมหายใจของผู้คนต่างหลับใหล  มันเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการวิเวกต่ออัลเลาะห์  ในสภาวะดังกล่วานี้แหละที่จะรอคอยให้บุคคลหนึ่งมีความรู้สึกว่าจิตวิญญาณมีความบริสุทธิ์  สมองมีความสงบปราศจากสิ่งที่มารบกวนและทำให้วุ่นวายอย่างเช่นตอนกลางวัน
นี้คือการวิเวกที่อัลเลาะห์บัญญัติฟัรดูเหนือท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  และทรงทำให้เป็นซุนนะฮ์ในสิทธิของประชากรท่านร่อซูลุลเลาะฮ์

ตอนนี้  เราจงกลับมาพิจารณาถึงผลของการวิเวก(ค็อลวะห์)ที่สมควรแก่มุสลิมต้องนำมาปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันครับ

เราสมมุติว่า  ตอนนี้ท่านกำลังเดินอยู่ท่ามกลางบรรดาพ่อค้าตามถนนหนทางหรือในตลาด  สิ่งที่พูดกันก็คงเป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ รายได้ที่จะได้รับ  หรือพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ  แล้วท่ามกลางความวุ่นวายนั้นมีคนหนึ่งได้มาเตือนท่านด้วยฮะดิษของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า

لَوْ كَانَ لِإِبْنِ آدَمَ وَادٍ مِنْ مَالٍ لَإِبْتِغَي إِلَيْهِ ثَانِيّاً، وَلَوْ كَانَ لَهُ وَادِيَانِ لَإِبْتِغَي إِلَيْهِ ثَالِثاً وَلاَ يَمْلَأُ جَوْفَ ابْنِ آدَمَ إِلاَّ التُّرَابُ، وَيَتُوْبُ اللهُ عَليَ مَنْ تَابَ

“หากหุบเขาแห่งขุมทรัพย์มีให้แก่ลูกหลานอาดำคนหนึ่ง  แน่นอนว่าเขาจะต้องแสวงหาหุบเขาที่สอง  หากเขามีสองหุบเขาแห่งขุมทรัพย์  เขาก็จะต้องแสวงหาหุบเขาที่สาม  และในท้องเขาลูกหลานอาดำนั้นจะไม่เต็มนอกจากดิน(คือจะไม่มีคำว่าพอนอกจากตาย) และอัลเลาะห์จะอภัยโทษแก่ผู้ที่กลับตน” รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม

ดังนั้นคำกล่าวของฮะดิษนี้ได้ทำให้เกิดผลอะไรบ้างต่อตัวจิตใจของท่าน?  หรือมันมิได้ทำให้เกิดผลอะไรเลย?  แต่ทว่าต่อไปคำสอนของฮะดิษนี้จะมีผลในช่วงเวลาของมันและมันจะเข้ามามีอิทธิพลต่อจิตใจของท่านในช่วงสภาวะอีหม่านที่ดีที่สุด  ต่อไปท่านก็จะเห็นคุณค่าของฮะดิษนี้หลังจากที่ท่านได้ลืมมันภายหลังจากได้ยินสองสามนาที

ต่อมาเราได้สมมุติว่า  ท่านได้ตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนในช่วงเวลาดึก  ท่านได้สัมผัสถึงความเงียบสงบรอบตัวท่าน  ความบริสุทธิ์ในจิตใจจึงเกิดขึ้นโดยมิรู้ตัว  แล้วความคิดของท่านก็มีชีวิตชีวาด้วยจิตใจที่สงบมั่นคงอย่างไม่เคยสัมผัสมาก่อน  ในขณะนั้นความสงบมั่นคงจึงดลใจให้ท่านอาบน้ำละหมาดและทำการเข้าเฝ้าอัลเลาะห์ด้วยการละหมาดตามที่สะดวก  ในขณะที่ท่านกำลังถึงสภาพที่กำลังเข้าเฝ้าต่ออัลเลาะห์ในยามเงียบสงบปราศจากผู้คนและห่างไกลการค้าขายหรือยุ่งอยู่เงินทองอยู่นั้น  ท่านก็หวนนึกผู้ที่ทำให้ท่านรำลึกถึงคำกล่าวของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า  “หากหุบเขาแห่งขุมทรัพย์มีให้แก่ลูกหลานอาดำคนหนึ่ง  แน่นอนว่าเขาจะต้องแสวงหาหุบเขาที่สอง...“  หรือเขาได้กล่าวฮะดิษของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์แก่ท่านที่ว่า   

يَقُوْلُ ابْنُ آدَمَ مَالِيْ مَالِيْ، وَهَلْ لَكَ مِنْ مَالِكَ إِلاَّ مَا أَكَلْتَ فَأَفْنَيْتَ، أَوْ لَبِسْتَ فَأَبْلَيْتَ، أَوْتَصَدَّقْتَ فَأَمْضَيْتَ

“ลูกหลานอาดำจะกล่าวว่า  นี้คือทรัพย์สินของฉัน  นี้คือทรัพย์สินของฉัน  ทั้งที่ทรัพย์มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของท่านนอกจากว่าสิ่งที่ท่านได้รับประทานไปนั้น  มันก็จะหมดไป  หรือสิ่งที่ท่านได้สวมใส่นั้น  ท่านก็ต้องถอดมันออก  หรือสิ่งที่ท่านได้บริจาคไปนั้น  ท่านก็ได้ทำให้มันลุล่วงผ่านไป(เอาคืนไม่ได้)” รายงานโดยมุสลิม

ดังนั้นอะไรบ้างที่ฮะดิษนี้ทำให้เกิดความคิดในจิตใจของท่านขณะที่กำลังวิเวกอยู่?  แน่นอนว่าต่อไปผลที่ได้รับจากฮะดิษนี้ก็จะสะท้อนสู่จิตใจ  ท่านจะรู้สึกว่าทรัพย์สินในดุนยาที่ได้มากมายเกินความจำเป็นนั้นมันจะกลายเป็นความรับผิดชอบบนบ่าของท่าน  และเมื่อต้องกลับไปทำการค้าขายท่านก็จะกำหนดการทำงานให้อยู่ในคำสั่งใช้ของอัลเลาะห์และไม่เข้าไปกระทำสิ่งใดที่เป็นหนทางไปสู่สิ่งฮะรอม

และนี้ก็คือสิ่งที่เราได้เรียกร้องให้ท่านนำมันมาประดับประดากับสิ่งที่อิสลามได้เรียกร้องและสิ่งที่นบีของเราได้ดำเนินอยู่

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 17, 2008, 09:58 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

ฮิกัมที่ 12 นี้  เป็นฮิกัมที่มาขยายความเข้าใจของฮิกัมที่ 11 นี้ครับ  จงฝังการมีอยู่ของท่านเพื่อบ่มเพาะตนเอง(บทเรียนฮิกัมที่11)

วัสลาม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องปลีกวิเวกตนเอง(ค็อลวะห์)เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายเหล่านี้  ซึ่งบางครั้งการปลีกตนเองอาจจะด้วยการอ่านอัลกุรอานด้วยการวิเคราะห์ใคร่ครวญซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเลิศสุดที่จะกระทำในขณะค็อลวะห์  บางครั้งทำการศึกษาชีวประวัติของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  แต่บางครั้งเราอาจจะใคร่ครวญถึงตนเอง  เช่นใคร่ครวญว่า  “ฉันคือใคร?”  “ฉันมาโลกนี้ได้อย่างไร?”  “เมื่อก่อนฉันเป็นเด็กที่ไม่เข้าใจอะไร  จากนั้นก็เข้าสู่วัยหนุ่ม  หลังจากนั้นก็เข้าสู่วัยผู้ใหญ่  และขณะนี้ก็เริ่มเข้าสู่วัยชราทีละนิดละน้อยจนถึงใกล้เวลาที่จะต้องจากดุนยานี้ไป  แล้วอะไรบ้างที่เราได้กระทำไว้ในช่วงอายุของเรานี้?”  “และอะไรบ้างที่เราได้เก็บเกี่ยวจากความสุขในดุนยา?แล้วอะไรคงเหลืออยู่แก่เราในขณะนี้?”  “แล้วสิ่งใดจากฉันบ้างที่คงเหลือไว้แก่โลกนี้?”  “ฉันกำลังใคร่ครวญถึงความสุขที่หายไปของดุนยาแต่ความน่าหลงใหลมันยังคงมีอยู่  ใคร่ครวญถึงการฏออัตภักดีที่ต้องทุ่มเทความเหน็ดเหนื่อยแต่ผลบุญยังคงอยู่”...”ฉันใคร่ครวญสิ่งนี้ทั้งหมด”  ในขณะนั้นฉันจึงรู้สึกมีความโศกเศร้าเสียใจ...”เพราะเหตุใดที่ฉันไม่ทำความดีให้มาก ๆ ในช่วงอายุของฉันที่ผ่านมา?”  “เหตุใดฉันจึงไม่เคยทำให้น้อยลงจากความชั่วที่ได้พลาดทำลงไป?”  ฉันจึงคิดว่า  หากช่วงเวลาชีวิตยังเหลืออยู่  ฉันจะทำให้ความรู้สึกเหล่านั้นมาผลักดันให้ฉันฉกฉวยโอกาสในการทำอิบาดะห์ที่ขาดไป  และฉันก็จะสัญญากับตัวเองเช่นนี้  ยิ่งกว่านั้นฉันจะสัญญากับอัลเลาะห์ว่าจะไม่ทำให้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่สูญเสียไปและฉันจะรีบเพาะปลูกในชีวิตที่เหลือนี้ด้วยการฏออัตและสร้างความใกล้ชิดต่อพระองค์เท่าที่สามารถจะทำได้

การปลีกวิเวกตนเอง...ด้วยการคิดใคร่ครวญเช่นนี้...คือการทำอิบาดะฮ์อย่างแท้จริงนั่นเอง...

ท่านอิบนุอับบาส...ท่านอะบีดัรดาอฺ...และท่านอัลฮะซันอัลบะซอรีกล่าวว่า...การคิดใคร่ครวญช่วงเวลาหนึ่งดีกว่าการละหมาดยามค่ำคืน...

ท่านอัลฮะซันอัลบะซอรีกล่าวเช่นกันว่า...การคิดใคร่ครวญคือกระจกของผู้ศรัทธาที่จะใช้มองบรรดาความดีและความชั่วของเขา...

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

เครื่องหมายถึงหัวใจที่ดีและปลอดภัยนั้น คือ :

1. หัวใจของเขายังคงเต้นอยู่ จนกระทั่งเขาทำการเตาบะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์และหวนกลับไปพึ่งพาพระองค์

2. หัวใจของเขาจะไม่เบื่อหน่ายในการรำลึกถึงอัลเลาะฮ์ และการทำอิบาดะฮ์ต่อพระองค์

3. หัวใจที่ขาดหายไปจากการรำลึกถึงอัลเลาะฮ์ หัวใจของเขาจะมีความเจ็บปวด มากกว่าทรัพย์สินของเขาที่หายไป

4. หัวใจจะมีความเอร็ดอร่อยในการทำอิบาดะฮ์มากกว่าความเอร็ดอร่อยจากการดื่มและรับประทานอาหาร

5. หัวใจที่เข้าไปทำการละหมาด ความโศกเศร้าและมัวหมองจากเรื่องดุนยาจะหายไป

6. หัวใจจะมีความละโมบในคุณค่าของเวลามากกว่าละโมบในทรัพย์สิน

7. หัวใจของเขาจะหมั่นตรวจทานความถูกต้องในอะมัลของเขามากกว่าเพียงแค่การกระทำ

เครื่องหมายถึงหัวใจที่ล้มเลว คือ :

1. บาดแผลของความน่ารังเกียจจะทำให้หัวใจของเขาเจ็บปวด

2. หัวใจจะมีความเอร็ดอร่อยในเรื่องการฝ่าฝืนและจะมีความพึงพอใจหลังการฝ่าฝืนนั้น

3. หัวใจจะให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กน้อยก่อนเรื่องที่สำคัญกว่า

4. หัวใจที่รักเกียจในสัจธรรมและรู้สึกอึดอัดใจ

5. หัวใจที่รังเกียจคนดีและสนิทสนมชื่นชอบคนชั่ว

6. หัวใจที่น้อมรับความคลุมเคลือและคล้อยตาม

7. หัวใจที่มีความกลัวผู้อื่นจากอัลเลาะฮ์

8. หัวใจจะไม่รับรู้สิ่งใดดีและสิ่งใดชั่ว อีกทั้งไม่คล้อยตามคำตักเตือน

โอ้ อัลเลาะฮ์ ขอโปรดให้พระองค์ทำให้หัวใจของพวกเรา เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ไปหาพระองค์ด้วยหัวใจที่มีความปลอดภัยด้วยเถิด ยาร๊อบ^^

 
อ้างอิงจาก : ชาดำเย็น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 20, 2008, 02:22 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
โอ้ อัลเลาะฮ์ ขอโปรดให้พระองค์ทำให้หัวใจของพวกเรา เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่ไปหาพระองค์ด้วยหัวใจที่มีความปลอดภัยด้วยเถิด ยาร๊อบ^^


อามีน...

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ฉันจะรีบเพาะปลูกในชีวิตที่เหลือนี้ด้วยการฏออัตและสร้างความใกล้ชิดต่อพระองค์เท่าที่สามารถจะทำได้

       คือชีวิตจะตายด้วยการแก่ชราและจิตใจจะตายด้วยการกระทำความชั่วมากๆ  ดังนั้นจงรีบเพาะปลูกชีวิตส่วนที่เหลือด้วยการทำความดีก่อนที่มันจะตายเหี่ยวเฉาลงไปจนกระทั่งก่อนตายก็รดน้ำพวนดินไม่งอกงามเสียแล้ว  แบบนี้จบ

       ในขณะเดียวกันหากจิตใจได้รับการบ่มเพาะอย่างสม่ำเสมอ  มีความชุ่มชื้นเจริญงอกงามเบิกบานใจในการรำลึกถึงอัลเลาะฮ์เป็นประจำ  พอใกล้ตายจิตใจก็ยังชื่นบานที่จะได้พบกับพระองค์
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ มุคลิศ

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 159
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด

เคยสังเกตว่าจะมีผู้รู้บางท่านจะมีช่วงเวลาส่วนตัวของตนเองเก็บตัวในห้อง  สักพักก็ออกมาจากห้อง  ที่เก็บตัวอยู่ในห้องก็เพื่อวิเวกตนเอง  ซิกรุลลอฮ์และใช้ความคิดคำนึกถึงอัลเลาะฮ์เพื่อบ่มเพาะหัวใจนั่นเอง 

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักฐานที่สอง :  คำอธิบายของท่านร่อซูลุลอฮ์  ศ็อลลัลอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า

عَنْ عُقْبَةَ بِنِ أَبِيْ عَامِرٍ أَنَّهُ سَأَلَ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَا النَّجَاةُ؟ فَقَالَ لَهُ : أَمْسِكْ لَسَانَكَ، ولْيَسَعْكَ بَيْتُكَ، وَابْكِ عَليَ خَطِيْئَتِكَ

รายงานจากอุกบะห์ บิน อะบี อามิร  เขาได้ถามท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ว่า  “อะไรคือความรอดพ้นปลอดภัยหรือ?”  ท่านนบีตอบแก่เขาว่า “ท่านจงยังยั้งลิ้นของท่าน  ,  จงทำให้บ้านของท่านกว้างขวางแก่ท่าน(เพื่อปลีกวิเวก) , และท่านจงร้องไห้ต่อความผิดของท่าน”  รายงานโดยอะบูดาวูด , อัตติรมีซีย์ , ท่านอัลบัยฮะกีย์ , และอิบนุอะบิดดุนยา


ในหนังสืออัตตั๊วะห์ อัลอะห์วะซีย์ อธิบายสุนันอัตติรมีซีย์  ได้กล่าวอธิบายฮะดิษนี้ว่า

قَالَ الطِّيبِيُّ : الْأَمْرُ فِي الظَّاهِرِ وَارِدٌ عَلَى الْبَيْتِ وَفِي الْحَقِيقَةِ عَلَى الْمُخَاطَبِ أَيْ تَعَرَّضَ لِمَا هُوَ سَبَبٌ لِلُزُومِ الْبَيْتِ مِنْ الِاشْتِعَالِ بِاَللَّهِ وَالْمُؤَانَسَةِ بِطَاعَتِهِ وَالْخَلْوَةِ عَنْ الْأَغْيَارِ

"ท่านอัฏฏ็อยยิบีย์กล่าวว่า  ความหมายผิวเผินแล้วระบุมาในเรื่องของ(การวิเวกลำพัง)ในบ้าน  แต่ในความจริงต้องการจะบอกว่า  ให้เขาสนใจสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เขาอยู่ในบ้านสม่ำเสมอด้วยการให้ความสนใจกับอัลเลาะฮ์และสร้างความคุ้นเคยด้วยการฏออัตต่อพระองค์และวิเวกตนเองจากบุคคลอื่น"

กล่าวคือการวิเวกตนเองนั้น ไม่ใช่ต้องอยู่ในบ้านอย่างเดียว  ในเอี๊ยะอฺติกาฟที่มัสยิด  ทำการซิกรุลลอฮ์  ทำอิบาดะฮ์  ก็ถือว่าวิเวกตนเองจากผู้อื่นด้วยเช่นกันนั่นเอง แต่ในบ้านจะเป็นส่วนตัวมากกว่า  และทำอิบาดะฮ์ในบ้านก็ยังจะสร้างความศิริมงคลให้แก่บ้านและครอบครัวอีกด้วย

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 24, 2008, 03:12 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
อ้างถึง
ตอนนี้  เราจงกลับมาพิจารณาถึงผลของการวิเวก(ค็อลวะห์)ที่สมควรแก่มุสลิมต้องนำมาปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันครับ

เราสมมุติว่า  ตอนนี้ท่านกำลังเดินอยู่ท่ามกลางบรรดาพ่อค้าตามถนนหนทางหรือในตลาด  สิ่งที่พูดกันก็คงเป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ รายได้ที่จะได้รับ  หรือพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ  แล้วท่ามกลางความวุ่นวายนั้นมีคนหนึ่งได้มาเตือนท่านด้วยฮะดิษของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ว่า

لَوْ كَانَ لِإِبْنِ آدَمَ وَادٍ مِنْ مَالٍ لَإِبْتِغَي إِلَيْهِ ثَانِيّاً، وَلَوْ كَانَ لَهُ وَادِيَانِ لَإِبْتِغَي إِلَيْهِ ثَالِثاً وَلاَ يَمْلَأُ جَوْفَ ابْنِ آدَمَ إِلاَّ التُّرَابُ، وَيَتُوْبُ اللهُ عَليَ مَنْ تَابَ

“หากหุบเขาแห่งขุมทรัพย์มีให้แก่ลูกหลานอาดำคนหนึ่ง  แน่นอนว่าเขาจะต้องแสวงหาหุบเขาที่สอง  หากเขามีสองหุบเขาแห่งขุมทรัพย์  เขาก็จะต้องแสวงหาหุบเขาที่สาม  และในท้องเขาลูกหลานอาดำนั้นจะไม่เต็มนอกจากดิน(คือจะไม่มีคำว่าพอนอกจากตาย) และอัลเลาะห์จะอภัยโทษแก่ผู้ที่กลับตน” รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม

ดังนั้นคำกล่าวของฮะดิษนี้ได้ทำให้เกิดผลอะไรบ้างต่อตัวจิตใจของท่าน?  หรือมันมิได้ทำให้เกิดผลอะไรเลย?  แต่ทว่าต่อไปคำสอนของฮะดิษนี้จะมีผลในช่วงเวลาของมันและมันจะเข้ามามีอิทธิพลต่อจิตใจของท่านในช่วงสภาวะอีหม่านที่ดีที่สุด  ต่อไปท่านก็จะเห็นคุณค่าของฮะดิษนี้หลังจากที่ท่านได้ลืมมันภายหลังจากได้ยินสองสามนาที

จริงๆนะ  เราจะยังไม่นึกถึงความหมายลึกๆของมัน  เราแค่ฟังมันผ่านๆ  แต่พอสภาวะที่เรามีอีหม่านดีเราจะเข้าใจความหมายมันได้ลึกซึ้งมากขึ้น  แล้วเราต้องทำอย่างไรเพื่อที่เราจะได้เข้าใจความหมายของมันได้ตั้งแต่แวบแรกที่ได้ยิน?

“ไม่มีสิ่งใดจะมีประโยชน์แก่หัวใจที่จะเสมือนการปลีกวิเวกที่เข้าไปอยู่ในสนามแห่งความคิดพร้อมกับการวิเวกนั้น”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 24, 2008, 04:18 PM โดย zaifuddeen »

Qortubah

  • บุคคลทั่วไป


หลักฐานที่สาม : แบบฉบับของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

หลักปฏิบัติที่ได้ทราบมาถึงเราจากชีวประวัติของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  นั้น  คือมีการปลีกวิเวกตนเองอย่างต่อเนื่องซึ่งท่านนบีรักที่จะกระทำมันก่อนถูกแต่งตั้งเล็กน้อยและฮะดิษที่กล่าวถึงการเริ่มลงวะฮีลงมาเกี่ยวกับปลีกวิเวกของท่านนั้นเป็นสิ่งที่ทราบกันดีซึ่งไม่จำเป็นต้องนำมากล่าวอีก



แน่นอนครับ ว่าการปลีกวิเวกเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ และตรวจสอบตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ..

เพียงแต่เกิดข้อสงสัยว่า ตามหลักอุศูลุลฟิกฮฺแล้ว การกระทำของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก่อน بعثة หรือก่อนที่ท่านจะได้รับการแต่งตั้งเป็นนบีนั้น ถือเป็นการ تشريع บัญญัติ หรือเป็นแบบอย่างแก่ประชาชาติของท่านหรือไม่ครับ?


ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
ปลีกวิเวกตนเอง  รักษาหัวใจให้สะอาด ตรวจสอบตนเองให้เข้าถึงความเป็นบ่าว ของอัลลอฮฺตะอาลา


อยากอยู่เงียบๆคนเดียว....



ออฟไลน์ vrallbrothers

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 498
  • ALLAH MAHA BESAR...
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด

เพียงแต่เกิดข้อสงสัยว่า ตามหลักอุศูลุลฟิกฮฺแล้ว การกระทำของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก่อน بعثة หรือก่อนที่ท่านจะได้รับการแต่งตั้งเป็นนบีนั้น ถือเป็นการ تشريع บัญญัติ หรือเป็นแบบอย่างแก่ประชาชาติของท่านหรือไม่ครับ?



คำถามน่าสนใจดีครับ...  mycool:
รอคำตอบด้วยคนครับ


เวลาเปรียบเสมือนคมดาบ...หากท่านไม่ตัดมัน มันจะตัดท่าน



ยะฮูดีใช้ระเบิดฟอสฟอรัส... เลวร้าย ป่าเถื่อนยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

ออฟไลน์ IamCrying

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 376
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Closer than veins : Invite to the Way of thy Lord with wisdom... Qur.16:125

 

GoogleTagged