بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
ส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขการอ่านฟาติฮะห์นั้น ต้องมีเงื่อนไขในการอ่านด้วย กล่าวคือ ผู้อ่านต้องอ่านให้ตนเองได้ยินอักษรทั้งหมด ถ้าหากมีประสาทรับฟังปานกลาง , อ่านเรียงตามลำดับของฟาติฮะห์ ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน โดยต้องระมัดระวังการออกเสียงให้ถูกต้องตามตำแหน่งของแต่ละอักษร และเน้นคำที่มี "ชัดดะห์" ให้ชัดเจน , ไม่อ่านผิดถึงขั้นที่ทำให้เสียความหมาย ถ้าหากอ่านผิดไม่ถึงขั้นที่ทำให้เสียความหมาย การอ่านนั้นก็ใช้ได้ (หนังสือ อิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 1/226-227)
ดังนั้น อิมามที่อ่านฟาติฮะห์ไม่ชัดแต่ไม่ทำให้เปลี่ยนแปลงความหมาย ก็ถือว่าเป็นอิมามได้และละหมาดก็ใช้ได้ด้วย แต่ถ้าหากมีผู้ที่อ่านอัลกุรอานชัดเจนกว่า ก็ให้เลือกเขามาเป็นอิมามแทน ซึ่งถือว่าเป็นการดีกว่านั่นเอง
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ