ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการและวิธีทำการเกษตร  (อ่าน 28505 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
หลักการและวิธีทำการเกษตร
« เมื่อ: มี.ค. 05, 2009, 03:19 PM »
0

 salam

          กระทู้นี้กระผมใคร่ขอเสนอเนื้อหาสาระและข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับ หลักการและวิธีทำการเกษตร  เพื่อเป็นประโยชน์(ไม่มากก็น้อย)แก่พี่น้องผู้สนใจทั่วไปและพี่น้องชาวเกษตรสืบไป  ด้วยเหตุนี้ กระผมจึงมีความปรารถนาที่จะเสนอข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตรดังต่อไปนี้

          ปล.ในฐานะลูกชาวเกษตรกรคนหนึ่ง ;D

          วัสสลามุอะลัยกุม loveit:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 26, 2009, 07:01 AM โดย as-satuly »

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มี.ค. 05, 2009, 03:21 PM »
0
ความสำคัญของการเกษตร

        การเกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ โดยรู้จักใช้ประโยชน์ อย่างหลากหลายจากพืช สัตว์ ในชีวิตประจำวัน และในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง ความสำคัญของการเกษตรมีดังต่อไปนี้

1. เกษตรกับชีวิตประจำวัน
        ในอดีตมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ โดยการล่าสัตว์ เก็บพืชผักจากป่ามากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือเพิงที่สร้างจากกิ่งไม้ ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักเพาะปลูกพืช รู้จักเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นจุดเริ่ม ต้นของการทำการเกษตร ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน แม้วิทยาการ ต่าง ๆ จะเจริญก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ก็ยังคงอาศัยผลผลิตที่ได้จากการเกษตรเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตเช่นเดิม กล่าวคือ

        1.1  เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค โดยมนุษย์รู้จักเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตร นำไปประกอบอาหารรับประทาน สร้างความเจริญเติบโต แก่ร่างกาย นำส่วนต่าง ๆ ของพืชเส้นใยไปผลิตสิ่งทอหรือใช้หนังสัตว์ทำเครื่องนุ่งห่ม ปลูกป่า เพื่อนำไม้ไปเป็นอุปกรณ์การก่อสร้าง สร้างที่พักอาศัย อาคารสถานที่ ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่าง ๆ และปลูกพืชสมุนไพร เพื่อนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์ทั้งสิ้น

        1.2 เป็นงานที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถนำผลผลิตทางการเกษตรที่ เหลือจากการบริโภค ใช้สอยประโยชน์ในครอบครัวไปจัดจำหน่ายแก่ผู้อื่นได้ทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

        1.3 เป็นแหล่ง ให้ความร่มรื่นสวยงาม การทำการเกษตรมิได้ให้ประโยชน์ ทางด้านการบริโภค หรือการค้าเท่านั้น แต่ยังให้ความร่มรื่น ความเพลิดเพลิน ความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย เพื่อให้คนได้ใช้เป็นที่ผ่อนคลายอารมณ์ เช่น การไปเที่ยวสวนธารณะ การเลี้ยงปลาสวยงาม เป็นต้น

        1.4 ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีเวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลัก สามารถทำการเกษตร เช่น ปลูกไม้ประดับ พืชผักสวนครัว เลี้ยงไก่ เป็นงานอดิเรก เพื่อไม่ให้เวลาว่างนั้นเปล่าประโยชน์หรือแม้แต่ชาวนา หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วอาจปลูกถั่วในที่นา ก็จะมีงานทำตลอดปี

2. เกษตรกับความเจริญของประเทศ
        การเกษตรเป็นงานที่สำคัญมากสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นงานที่สร้างเสริม ความสุขสมบูรณ์ให้แก่บ้านเมืองโดยส่วนรวม ผลิตผลทางการเกษตรเป็นปัจจัยสนับสนุน ให้เกิดสินค้า อาหาร ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้ภายในประเทศและส่งจำหน่ายเป็นสินค้าออก อาจกล่าวได้ว่า การเกษตรมีความสำคัญต่อความเจริญของประเทศ ดังต่อไปนี้

        2.1 เป็นอาชีพหลักของคนไทย

        ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางการเกษตร แม้จะมีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมในหลาย ๆ ด้าน ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังคงประกอบอาชีพทางเกษตร โดยเฉพาะในต่างจังหวัด จากการสำรวจแรงงานไทยของสำนักงาน สถิติแห่งชาติปี 2537 พบว่าผู้มีงานทำร้อยละ 56.09 ประกอบอาชีพทางการเกษตร ส่วนที่เหลือ ประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น ค้าขาย งานช่าง งานบริการ งานวิชาการ เป็นต้น จึงนับได้ว่า เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนไทย

        2.2 เป็นแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ

        ผลิตผลทางการเกษตรสามารถนำเข้าโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อ้อย ผลิตเพื่อป้อนโรงงานน้ำตาลปลาต่าง ๆ ส่งเข้าโรงงานปลากระป๋อง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน ส่งเข้าโรงงานผักกระป๋องหรือผักแช่แข็ง เป็นต้น สินค้าเหล่านี้ ล้วนส่งออกไปขายต่างประเทศ ทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น

        นอกจากอุตสาหกรรมเกษตรดังกล่าวแล้ว สินค้าเกษตรบางชนิดยังผลิตขึ้นเพื่อป้อน อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ฝ้าย ผลิตเพื่อป้อนโรงงานทอผ้า ซึ่งจะนำไปใช้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปต่อไป การผลิตพืชสมุนไพรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและเภสัชกรรม เป็นต้น

        2.3 เป็นปัจจัยส่งเสริมธุรกิจและบริการ

        ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศไทย มีหลายประเภท ซึ่งมีคุณภาพดีและเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งผลไม้เมืองร้อน เช่น มะม่วง ทุเรียน มังคุด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาชีพด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการเพิ่มขึ้น

        2.4 ผลิตผลทางการเกษตรเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ

        จากรายงานเศรษฐกิจและการเงิน ปี 2540 ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขาย ได้ สูงขึ้นจากปี 2539 คิดเป็นร้อยละ 3.1 โดยเฉพาะสินค้าหมวดปลาและสัตว์น้ำ เพิ่มถึงร้อยละ 15.3 ทำให้เกษตรกรมี รายได้เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการเพิ่มปริมาณการผลิต ขยายพื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประมงและผลิตผลที่ได้อยู่ในเกณฑ์ดี

        สินค้าเกษตรนอกจากจะทำรายได้หลักภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ เพิ่มรายได้ให้กับประเทศไทย ดังปรากฏในตาราง

        ตารางเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกประเทศสินค้าเกษตร ( มูลค่า : ล้านบาท )

ที่         ประเภทสินค้า        พ . ศ .  2547     พ . ศ . 2548    การเปลี่ยนแปลง ( ร้อยละ )
1              ข้าว                  50,734           65,093               28.3
2            ยางพารา               63,373           57,450               –9.3
3        ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง          20,651           22,458                8.7
4           เป็ดไก่แช่เย็น               9,085           10,949               20.5
5         กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง          43,404           47,183                8.7
            รวมมูลค่า           187,247          203,133               8.4

        2.5 เป็นปัจจัยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

        การเกษตรมีความสำคัญในแง่ของการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากการที่เรามีผลิตผลทางการเกษตรเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ  เกษตรกรมีรายได้ มีฐานะดีขึ้น ประชาชนกินดีอยู่ดี     ไม่อดอยาก นอกจากนี้ยังมีผลิตผลเหลือส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ นำรายได้เข้าประเทศ  เป็นจำนวนมาก  ซึ่งเป็นฐานทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ

ที่มา http://www.sema.go.th/files/Content/Technic/k4/0037/DJT/page12.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 05, 2009, 03:37 PM โดย as-satuly »

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
ข้าวฟ่างไม้กวาด



        ข้าวฟ่างไม้กวาด เป็นพืชชนิดเดียวกับข้างฟ่างทั่ว ๆ ไป แต่มีลักษณะรวงเมล็ดแตกต่างกัน คือ รวงข้าวฟ่าง มีแขนงเรียกว่าแส้ แตกออกจากจุดเดียวกับทีฐานรวง แส้มีความเหนียวสปริงตัวได้ดี ไม่เปราะหรือหักง่าย เมล็ดมีขนาดค่อนข้างเล็ก มีเปลือกหุ้มสีดำหรือสีน้ำตาลเป็นมันวาว หุ้มเมล็ดไว้เกือบมิดมีก้านรวงเหนียว จึงใช้ทำเป็นไม้กวาดได้ดี
        การใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นการเก็บเกี่ยวรวง ไปใช้ในอุตสาหกรรมทำไม้กวาด แปรงทาสีพู่กันและแปรงปัดฝุ่น รวงที่นวดเมล็ดออกแล้วนำไปย้อมสีทำสิ่งประดับบ้าน ส่วนเมล็ดลำต้นและใบใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

ลักษณะเด่น
   


        1. ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ยกเว้นพื้นที่ที่เป็นทรายจัดหรือ ที่ลุ่มมีน้ำขัง
        2. อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงตัดรวง เพื่อทำไม้กวาดเพียง 65 วันเท่านั้น จึงสามารถปลูกเป็นพืชรอง หลังจากปลูกเป็นพืชหลักอื่นๆ แล้ว
        3. ลำต้นใช้เลี้ยงสัตว์ หลังจากตัดรวงแล้ว ลำต้นข้างฟ่างไม้กวาดยังสดอยู่ สามารถตัดไปเป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย ได้อีก
        4. ไว้ตอได้ ถ้ามีฝนพอเพียงภายหลังตัดรวงและต้นแล้ว สามารถไว้ตอข้าวฟ่างไม่กวาด ให้เจริญงอกงาม เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีกครั้งหนึ่ง

พันธุ์
        ปัจจุบันเป็นพืชที่มีเมล็ดสีน้ำตาลดำ โดยบริษัทเอกชนนำมาจากประเทศไต้หวัน แล้วขายเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรปลูก โดยมีสัญญาจะรับซื้อรวงคืน ราคาจึงขึ้นอยู่กับบริษัทเป็นผู้กำหนด ซึ่งที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ แนะนำคือ พันธุ์เคยูบี 1
        พันธุ์เคยูบี 1 ที่แนะนำมีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตรวงสูง ถึงไร่ละ 910 กิโลกรัม อายุถึงวันออกดอก 55 วัน อายุถึงวันเก็บเกี่ยว 64 วัน ความสูงของลำต้น 180 เซนติเมตร ต้นหักล้ม 3.5 เปอร์เซนต์ ผลผลิตเมล็ด ไร่ละ 202 กิโลกรัม ความยาวแส้ 37.5 เซนติเมตร จำนวน 27 แส้ต่อรวง เส้นรอบวงก้านช่อ 2.7 เซนติเมตร เป็นข้างฟ่างไม้กวาดพันธุ์ดีที่เกษตรกร จะได้ใช้เป็นพันธุ์ปลูกต่อไป

การปลูก
        ฤดูปลูก
        สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่การปลูกจะอาศัยน้ำฝนมากกว่าอาศัยน้ำชลประทาน ฤดูปลูกมี 2 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝนเริ่มปลูกเดือนมีนาคม เก็บเกี่ยวรวงจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ช่วงปลายฤดูฝนเริ่มปลูกเดือนสิงหาคม - กันยายน สามารถเก็บเกี่ยว รวงจำหน่ายในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน
        การเตรียมดิน
        ก่อนปลูกข้าวฟ่างไม้กวาด ควรไถพรวนดินให้ละเอียดพอสมควร เนื่องจากเมล็ดข้าวฟ่างไม้กวาดมีขนาดเล็ก และต้นกล้าค่อนข้างอ่อนแอต่อการเบียดเบียนของวัชพืช หากเตรียมดินไม่ดี ข้าวฟ่างไม้กวาดจะเจริญเติบโตช้ารวงข้าวฟ่างไม่สมบูรณ์ ผลผลิตต่ำ และคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร
        วิธีปลูก
        การปลูกข้าวฟ่างไม้กวาดทำได้เช่นเดียวกับข้าวฟ่างทั่วไป คือ ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม ให้ระยะห่างระหว่างหลุม 10 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 2 ต้น จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 2.0 -2.5 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการปลูก โดยใช้เครื่องหยอดเมล็ดติดท้ายรถแทรกเตอร์ซึ่งประหยัดเวลา และแรงงานเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ๆ การปลูกด้วยเครื่องหยอดควรปลูก หลุมละ 1 ต้น ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร และระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15 - 15 -15 อัตราไร่ละ 30 กิโลกรัม

การปฏิบัติดูแลรักษา
   
   
        
        ควรเอาใจใส่ตั้งแต่ต้นข้าวฟ่างเริ่มงอก ซึ่งจะเป็น ภายหลังที่เมล็ดข้าวฟ่างไม้กวาดได้รับน้ำ 3 - 5 วัน ถ้าต้นข้าวฟ่างงอกหนาแน่นมาก ควรถอนแยกออกบ้าง เพื่อให้ต้นที่เหลือ เจริญเติบโตได้ดี ให้รวงขนาดใหญ่ แส้ยาว และมีจำนวนแส้ต่อรวงมาก
        การกำจัดวัชพืชควรกระทำเมื่อข้าวฟ่างอายุ 21 - 28 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ข้าวฟ่างไม้กวาด กำลังสร้างตาดอก ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของรวงข้าวฟ่างโดยตรง ในระยะนี้ต้นข้าวฟ่างมีใบซีดเหลือง ลำต้นเล็กแสดงอาการขาดปุ๋ยไนโตรเจน ควรใส่ปุ๋ยสูตร 21 - 0 - 0 อัตราไร่ละ 30 กิโลกรัม ถ้ามีวัชพืชรบกวนมาก อาจใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น อาทราซีน อัตรา 400 กรัมต่อไร่ พ่นหลังหยอดเมล็ด

โรคและแมลงศัตรูพืช
        แมลงและศัตรูพืชยังมีไม่มาก เนื่องจากปลูกกันน้อยและมักจะปลูก สลับกับพืชอื่น โรคที่สำคัญได้แก่ โรคใบไหม้ จะพบโรคนี้เมื่อต้นข้าวฟ่างไม้กวาดติดเมล็ดแล้ว และเริ่มแก่จัด แต่ไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวฟ่างไม้กวาด
        ส่วนแมลงศัตรูที่สำคัญก็ยังไม่มีมาก แต่อาจจะพบบ้างในแหล่งที่เคยปลูก ข้าวฟ่างมาก่อน และพบในแปลงข้าวฟ่าไม้กวาดที่ปลูกล่ากว่าแปลงอื่นๆ ในแหล่ง ดังกล่าวต้นข้าวฟ่างไม้กวาดจะถูกหนอนแมลงวันเจาะทำลาย ทำให้เกิดอาการยอดแห้ง ในระยะต้นกล้า จึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวฟ่างในแหล่งดังกล่าว ถ้าจะเป็นต้องปลูก ล่ากว่าแปลงอื่นๆ ควรจะหยอดเมล็ดให้มากกว่าปกติ เพื่อให้มีจำนวนต้นที่เหลือรอดจากการทำลายมากพอที่จะให้ผลผลิตได้ หรืออาจใช้สารฆ่าแมลง คาร์โบซัลแฟน 1-2 ครั้ง ในระยะต้นกล้าหรือระยะข้าวฟ่างมี 3-5 ใบ แต่การใช้สารฆ่าแมลงไม่คุ้มกับการลงทุน

ลักษณะเด่น
        ข้าว ฟ่างไม้กวาดจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 65 วัน หรือประมาณ 15 วัน หลังออกดอก ระยะนี้เปลือกหุ้มเมล็ดจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ส่วนก้านรวงและแส้ยังมีสีเขียวอยู่ เมื่อนำไปทำไม้กวาดจะได้ไม้กวาดสีเขียวธรรมชาติ แส้เหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ถ้าเก็บเกี่ยวช้าแส้จะแห้งเปราะเป็นสีน้ำตาล ไม่สวยงามเท่าที่ควร ถ้านำไปทำไม้กวาดต้องย้อมสีเพื่อให้สวยงามขึ้น ถ้าจะเก็บเกี่ยวเมล็ดไว้ทำพันธุ์ ต้องปล่อยให้เมล็ดแก่จัด หรือเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 100 วัน
        วิธีเก็บเกี่ยว ใช้เคี่ยวหรือมีดตัดก้านให้ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วมัดเป็นกำนำไปเข้าเครื่องตัดก้านยาว 30 เซนติเมตร เพื่อจำหน่ายให้แก่โรงงาน
        ผลผลิตรวงข้าวฟ่างไม่กวาดที่เกษตรกรเพาะปลูก อยู่ระหว่งไร่ละ 500-1000 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาของเกษตรกร

การซื้อขาย
        โรงงานรับซื้อรวงข้าวฟ่างจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 2.00-2.50 บาท ดังนั้นถ้าเกษตรกรปลูกข้าวฟ่างไม้กวาดไร่ละ 900 กิโลกรัม ก็จะมีรายได้ไร่ละ 1,800-2,250 บาท ปัจจุบันมีโรงงานรับซื้อรวงข้าวฟ่างไม้กวาด เพื่อผลิตไม้กวาด หรือส่งรวงข้าวฟ่างไม้กวาด ไปจะหน่ายต่างประเทศหลายแหล่ง ทั้งที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ อุทัยธานี และนนทบุรี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 26, 2009, 07:03 AM โดย as-satuly »

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มี.ค. 05, 2009, 04:07 PM »
0
โปรดติดตามตอนต่อไป...อินชาอัลลอฮฺ.........................

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มี.ค. 05, 2009, 04:35 PM »
0
การทำข้าวฟ่างไม้กวาด อย่าไปดูถูกเชียวนะ...สร้างรายได้ให้ครัวเรือนมากพอตัว  ให้คนแก่ๆ มีงานทำหลังเสร็จจากการปฏิบัติศาสนกิจประจำวัน

ทำไปซิเกรไป  ยอดค่ะ  myGreat:

ชอบปลูกต้นไม้...แต่ปลูกทีไร มันไม่เคยโตซักกะที ก็เลยไม่ปลูกแระ...จะไปเลี้ยงไก่ต่อ fouet:


ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มี.ค. 05, 2009, 04:46 PM »
0
ตอนขามา กทม.นั้น ผมเห็นกองฟางที่เขาทำเป็นก้อนๆ สี่เหลี่ยม มันดูสวยมากๆ ครับ วางกองเรียงทับๆ กัน ดูมันเกาะกันแน่นเป็นเสี่เหลี่ยมมากเลย ไม่รู้เขาทำไง ใครทำทราบบ้าง แถวภาคกลางมีเยอะ - วัสสลาม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มี.ค. 06, 2009, 12:16 AM »
0
เลี้ยงไก่เดี๋ยวก็ตายอีก ทรมานมันหล่าว
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิ.ย. 03, 2009, 02:41 PM »
0
โปรดติดตามตอนต่อไป...อินชาอัลลอฮฺ.........................

กำลังจะกลับมานำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ทางการเกษตรกันต่อแล้วครับ

ปล. อดใจรอนิดหนึ่ง.................... ;D

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิ.ย. 03, 2009, 02:55 PM »
0
 salam

ญะซากุมุลลอฮุค็อยร็อน สำหรับผู้นำเสนอครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มิ.ย. 03, 2009, 02:56 PM »
0
 salam

กำลังอยากเลี้ยงปลาดุก บ่อเล็กๆ มีคำแนะนำมั้ยค่ะ mycool:

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มิ.ย. 03, 2009, 03:59 PM »
0
เลี้ยงปลาดุกใส่ตู้ปลาดีมั้ยก๊ะ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มิ.ย. 03, 2009, 04:53 PM »
0
ตอนไปติวอิ้งที่ปีนัง เข้าร้านหนังสือร้านมหาลัย เจอหนังสือว่าด้วยการเกษตรแบบอิสลามเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้สุดยอดมาก คือเขาจะวิเคราะห์อายะฮ์กุรฺอานและสุนนะฮ์ ที่ตัวละๆ เลย ที่เกี่ยวกับการเกษตร ว่าทำไมอัลลอฮฺต้องใช้คำนี้ ทำไมไม่ใช้คำนั้น แล้วคำนี้สื่อถึงความหมายอย่างไร แล้วเกี่ยวกับเกษตรอย่างไร กะว่าจะซื้อมาด้วย แต่ตังค์ไม่พอซะงั้น เลยอดซื้อ อินชาอัลลอฮฺ ไปคราวคงได้เจอเล่มนี้ และได้ซื้อ - อามีน ยา ร็อบ - วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ก.ย. 26, 2009, 06:34 AM »
0

หลักการและวิธีทำการเกษตร ตอน ข้าวและธัญพืช

ว่าด้วยเรื่อง  :  การปลูกข้าวสาลี


          ข้าวสาลีเป็นธัญพืชเมืองหนาวชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องนำเข้าปีละเป็นจำนวนมาก เช่น ในปี พ.ศ. 2532 ไทยได้นำเข้าแป้งข้าวสาลีทั้งสิ้น 334,621 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 1,748 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ

          การส่งเสริมเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กับบริษัทเอกชนผู้ค้าแป้งข้าวสาลีภายในประเทศ 4 บริษัท ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวสาลีให้มากยิ่งขึ้น โดยให้การสนับสนุนด้านการซื้อผลผลิตในราคาประกัน เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจและหันมาปลูกข้าวสาลีให้มาก เพื่อลดการนำเข้าได้ทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง

          ข้าวสาลีเป็นพืชที่ต้องการอากาศหนาวเย็น ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ปลูกได้ในสภาพไร่ที่อาศัยน้ำฝน หรือปลูกในเขตชลประทานที่ดินมีการระบายน้ำได้ดี

พันธุ์ข้าวสาลี

          ปัจจุบันพันธุ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกมี 3 พันธุ์ คือ สะเมิง 1 เหมาะสำหรับปลูกในที่ดอนของภาคเหนือ ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น มีอายุ 100 วัน สะเมิง 2 สามารถปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพอากาศที่แปรปรวน จึงเหมาะที่จะใช้ปลูกในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน และในสภาพนาที่ค่อนค้างมีน้ำจำกัด มีอายุ 90 วัน อินทรีย์ 1 สามารถปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพอากาศแปรปรวน ทนแล้ง ทนต่อการทำลายของหนอนกอ เหมาะสมที่จะใช้ปลูกทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ฤดูปลูก

          ในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน ช่วงที่เหมาะสมที่สุดอยู่ระหว่างวันที่ 10-20 ตุลาคม ไม่ควรปลูกเร็วเกินไปเพราะอากาศร้อน จะทำให้เกิดโรคง่าย และหากปลูกช้าเกินไปข้าวสาลีจะกระทบแล้ง

          ในสภาพนา ช่วงที่เหมาะสมที่สุดประมาณ 15 พฤศจิกายน แต่ไม่ควรปลูกล่าเกิน 15 ธันวาคม

ดินที่เหมาะสม

          ดินที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวสาลี จะต้องมีการระบายน้ำดี ดินเหนียวจัด หรือมีชั้นดินดานที่มีการระบายน้ำเลว รวมทั้งดินที่เป็นกรดจัดและเค็มจัด ไม่เหมาะสมจะใช้ปลูกข้าวสาลี ดังนั้นพื้นที่ซึ่งจะใช้ปลูกข้าวสาลีควรมีลักษณะดังนี้

          1.1ดินมีการระบายน้ำได้ดี ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี ซึ่งได้แก่ ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย

          1.2 มีความชื้นในดิน หรือมีแหล่งน้ำที่แน่นอนอย่างน้อย 30 วัน หลังปลูกข้าวสาลี
         
          1.3 แปลงปลูกข้าวสาลีไม่ควรขัดแย้งกับแปลงปลูกพืชอื่นข้างเคียง เกี่ยวกับระบบการให้น้ำการให้น้ำควรปล่อยตามร่อง และระบายออกได้สะดวกและรวดเร็ว

การเตรียมพื้นที่

          การเตรียมแปลงปลูกข้าวสาลี ควรเริ่มทันทีหลังเก็บเกี่ยวพืชแรกออกจากแปลง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืช และเป็นช่วงที่ดินยังมีความชื้นอย่างพอเพียง การเตรียมดินโดยทั่ว ๆ ไปมี 2 ลักษณะ คือ

          1.1มีการพลิกดิน ขุดดินด้วยจอบแล้วย่อยดินโดยใช้จอบสับ ใช้รถแทรกเตอร์ไถดะ และไถแปร เพื่อให้ดินแตกย่อย ปรับที่ให้เรียบ

          1.2 ไม่มีการพลิกดิน ได้แก่ การปลูกโดยหยอดเมล็ดเป็นหลุมในตอซังข้าว หรือตัดตอซัง ยกแปลงปลูกแบบกระเทียม ขุดดินจากร่องเกลี่ยบนแปลง เปิดร่องโรยเมล็ดเป็นแถว


     

การปลูก

          ปลูกได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 20 กิโลกรัม

การปลูกในสภาพไร่
       
          1. การปลูกในสภาพที่สูงลาดชัน จะใช้วิธีกระทุ้ง หยอดแบบข้าวไร่ หยอดหลุมละ 5-6 เมล็ด ระยะห่างระหว่างแถว 20 ซม. (2 ฝ่ามือ)

          2. การปลูกในสภาพที่ดอน ไถพลิกดิน 1 ครั้ง ย่อยดินด้วยจานพรวน แล้วปลูกได้ 2 วิธีคือ
         
          - โรยเป็นแถว เปิดร่องโดยใช้จอบสับดิน หรือใช้คราดซี่ไม้หรือคราดซี่เหล็ก ให้มีความลึก 3-5 ซม. ระยะระหว่างร่อง 20-25 ซม. โรยเมล็ดพร้อมปุ๋ยตามความยาวของแปลง จากนั้นกลบด้วยเท้าหรือจอบ

          - หว่านพรวนกลบ ควรปลูกในช่วงที่ผิวดินมีความชื้น เพียงพอต่อการงอกของต้นกล้า หว่านเมล็ดให้สม่ำเสมอทั่วแปลง แล้วพรวนกลบ


     

การปลูกในสภาพนา

          1.   ปลูกแบบโรยเป็นแถวบนแปลง หลังจากไถและคราดดินแล้วเปิดร่องลึกประมาณ 5 ซม. โรยเมล็ดพร้อมปุ๋ยตามความยาวของแปลง ระยะห่างระหว่างร่องหรือแถวประมาณ 20 ซม. กลบเมล็ดให้ฝังในดินลึก 3-5 ซม.

          2.  ปลูกแบบหว่านแล้วยกร่องกลบ หลังจากไถดะและคราดดินแล้ว หว่านเมล็ดข้าวสาลีพร้อมปุ๋ยรองพื้นให้ทั่วแปลง แล้วยกแปลงและทำร่องน้ำ ดินที่ถูกยกขึ้นมาทำแปลงจะกลบเมล็ดข้าวสาลีและปุ๋ยได้พอดี

          3.  ปลูกแบบหว่านแล้วคราดกลบ วิธีนี้เหมาะกับพื้นที่เป็นกระทงนาขนาดเล็ก ดินต้องร่วนระบายน้ำได้สะดวก ทำการไถขณะดินมีความชื้นพอที่เมล็ดจะงอกได้ ทำการหว่านแล้วคราดกลบ

          4.  ปลูกแบบไม่ไถ ตัดตอซัง ยกแปลง หว่านเมล็ดพร้อมปุ๋ยทั่วแปลง ถากหญ้ากำจัดวัชพืชกลบทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้ฟางกลบ (สำหรับวิธีนี้ทางหวัดน่านได้ทำการทดสอบ ปรากฏว่าให้ผลดี) เป็นการประหยัดเวลา แรงงานและลดต้นทุนการเตรียมดิน


     

การใส่ปุ๋ย

          การปลูกข้าวสาลีให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง คือ

          ปุ๋ยรองพื้น ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-20-0 คลุกเมล็ดพร้อมปลูก อัตราไร่ละ 30 กิโลกรัม

          ปุ๋ยแต่งหน้า ใช้สูตร 21-0-0 อัตราไร่ละ 20 กิโลกรัม ใส่หลังข้าวสาลีงอกแล้ว ประมาณ 15-20 วัน

ฤดูปลูก

          ข้าวสาลีไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง หรือดินเปียกชื้นได้ยาวนาน การให้น้ำหลังหยอดเมล็ดจึงค่อนข้างอันตราย ถ้าปลูกในสภาพดินมีความชื้นเหมาะสม การให้น้ำครั้งแรกควรให้เมื่อข้าวสาลีงอกได้ประมาณ 10 วัน ระยะวิกฤตที่ต้นข้าวสาลีไม่ควรขาดน้ำ ได้แก่

          1.  ระยะที่ต้นข้าวแตกรากจากข้อใต้ดิน (10 วัน หลังเมล็ดงอก)

          2.  ระยะเริ่มสร้างรวงอ่อน (25-30 วัน หลังเมล็ดงอก)

          3.  ระยะผสมเกสร

          4.  ระยะสร้างเมล็ด (15 วัน หลังผสมเกสร) ในสภาพน้ำจำกัด การให้น้ำ 2 ครั้ง ในช่วง 30 วันแรก

          สามารถตรวจสอบได้โดยขุดดินลึกประมาณ 10 ซม. หรือบริเวณใต้ผิวดินใกล้บริเวณราก กำมือปั้นดิน หากดินจับตัวได้ไม่แตกออกจากกัน แสดงว่ามีความชื้นเพียงพอไม่ต้องให้น้ำ ถ้าดินที่บีบไม่จับตัวต้องให้น้ำทันที

การดูแลรักษา

การป้องกันกำจัดวัชพืช
          1. เตรียมดินโดยไถพรวนและคราดหลายครั้ง
          2. หากปลูกเป็นแถวใช้จอบถากระหว่างแถว
          3. ใช้สารบิวตาคลอร์ หรืออลาคลอร์ในอัตราตามคำแนะนำ

การป้องกันกำจัดโรค
       
          โรคใบจุดสีน้ำตาล ต้นกล้าจะมีแผลสีน้ำตาลเข้มที่ราก ที่ต้นใบด้านล่าง ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลุกเมล็ด เช่น ไวตาแวก 0.3% หรือ ไดเทนเอ็ม 45 อัตรา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ

          โรคกล้าแห้งและโคนเน่า ต้นข้าวสาลีเหี่ยวและมีสีเหลือง บริเวณโคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว และเมล็ดกลมสีขาวน้ำตาล หากพบขุดต้นและดินบริเวณรอบต้นออก แล้วโรยปูนขาวบริเวณที่พบ

การป้องกันกำจัดหนู

          - ใช้เหยื่อพิษออกฤทธิ์เร็ว เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ ผสมข้าวสารอัตรา 1:99 วางรอบแปลงหรือช่องทางเดินห่างกันจุดละ 15 ตัว
         
          - หลังจากนั้นวางเหยื่อพิษออกฤทธิ์ช้า เช่น ราคูมินผสมเหยื่อ อัตรา 1:99 โดยน้ำหนัก ใส่กระบอกไม้ไผ่แล้ววางห่างกันจุดละ 20 ตัว ตามช่องทางเดิน แล้วเติมเหยื่อทุก 15 วัน...วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอะลัยกุม


ที่มา : การปลูกข้าวสาลี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 26, 2009, 11:53 AM โดย as-satuly »

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ก.ย. 26, 2009, 11:50 AM »
0

หลักการและวิธีทำการเกษตร ตอน ข้าวและธัญพืช

ว่าด้วยเรื่อง  :  การทำนา


          การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าว โดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงไปในพื้นที่นา ที่ได้ไถเตรียมดินไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า  direct seeding การเตรียมดินก็มีการไถดะและไถแปร ปกติชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีค้นนากั้น จึงสะดวกแก่การไถด้วยรถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวนาจำนวนมากที่ใช้ แรงวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านน้ำตม

การดูแลรักษาต้นข้าว

          ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำ ต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระยะนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลง ศัตรูข้าวหลายชนิดเข้ามาทำลายต้นข้าว โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตาย หรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้ว จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาที่ดีอีกด้วย ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆ ในแปลงที่ปลูกข้าวไร่ จะต้องมีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย และพ่นยาเคมี เพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้ ในแปลงกล้าและแปลงปักดำ จะต้องมีการใส่ปุ๋ย มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของต้นข้าวและพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว นอกจากนี้ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว ในพื้นที่นาหว่าน ชาวนาจะต้องกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีพ่น หรือใช้แรงคนถอนทิ้งไปก็ได้ นอกจากนี้จะต้องพ่นสารเคมี เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงอีกด้วย เนื่องจากพื้นที่นาหว่านมักจะมีระดับน้ำลึกกว่านาดำ ฉะนั้น ชาวนาควรใส่ปุ๋ยก่อนที่น้ำจะลึก ยกเว้นในพื้นที่ที่น้ำไม่ลึกมาก ก็ให้ใส่ปุ๋ยแบบนาดำทั่ว ๆ ไป

การเก็บเกี่ยวข้าว

          เมื่อดอกข้าวได้บาน และมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ ภายในที่ห่อหุ้มด้วย lemma และ palea ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว ในสัปดาห์ที่สองแป้งเหลวนั้น ก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็ง และในสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัวมากยิ่งขึ้น เป็นรูปร่างของเมล็ดข้าวกล้อง แต่มันจะแก่เก็บเกี่ยวได้ ในสัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสร จึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เมล็ดข้าวจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ชาวนาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวทีละหลาย ๆ รวง ส่วนชาวนาในภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง

          เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียววงกว้าง ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนซึ่งได้ปลูกไว้แบบปักดำ แต่ถ้าผู้ใช้มีความชำนาญก็อาจเอาไปใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองก็ได้ ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมือง ซึ่งได้ปลูกไว้แบบหว่าน ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวที่เกี่ยวมาจะถูกรวบมัดเป็นกำ ๆ ส่วนข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะชาวนาต้องเกี่ยวเฉพาะรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำ ๆ

          ข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขาย หรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาจนหมดซัง เพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา ๓-๕ วัน

          สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กันเป็นเวลา ๕-๗ วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงขนมาที่ลานสำหรับนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้

การนวดข้าว

          การนวดข้าว หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง แล้วทำความสะอาดเพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางข้าวออกไป เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือกที่ต้องการเท่านั้น ขั้นแรกจะต้องขนข้าวที่เกี่ยวจากนาไปกองไว้บนลานสำหรับนวด การกองข้าวสำหรับนวดก็มีหลายวิธี แต่หลักสำคัญมีอยู่ว่าการกองจะต้องเป็นระเบียบ ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวจะอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและคุณภาพต่ำ ปกติจะกองไว้เป็นรูปวงกลม

          ชาวนามักจะนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา ๕-๗ วัน ซึ่งเมล็ดข้าวเปลือกมีความชื้นประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดที่ได้เกี่ยวมาใหม่ ๆ จะมีความชื้นประมาณ ๒๐-๒๕% การนวดข้าวก็ใช้แรงสัตว์ เช่น วัว ควาย ขึ้นไปเหยียบย่ำเพื่อขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าว รวงข้าวที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว เรียกว่า ฟางข้าว ที่กล่าวนี้เป็นวิธีหนึ่งของการนวดข้าว ซึ่งที่จริงแล้วการนวดข้าวมีหลายวิธี เช่น การนวดแบบฟาดกำข้าว การนวดแบบใช้คำย่ำ การนวดแบบใช้ควายย่ำ การนวดโดยใช้เครื่องทุ่นแรงย่ำ

การทำความสะอาดเมล็ดข้าว

          การทำความสะอาดเมล็ดข้าวหมายถึง การเอาข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่น ๆ ซึ่งทำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

          1. การสาดข้าว ใช้พลั่วสาดเมล็ดข้าวขึ้นไปในอากาศ เพื่อให้ลมที่ได้จากการกระพือพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป ส่วนเมล็ดข้าวเปลือกที่ดีก็จะตกมารวมกันเป็นกองที่พื้น

          2. การใช้กระด้งฝัด โดยใช้กระด้งแยกเมล็ดข้าวดีและสิ่งเจือปน ให้อยู่คนละด้านของกระด้ง แล้วฝัดเอาสิ่งเจือปนทิ้ง วิธีนี้ใช้กับข้าวที่มีปริมาณน้อย ๆ

          3. การใช้เครื่องสีฝัด เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้หลักการให้ลมพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป โดยใช้แรงคนหมุนพัดลมในเครื่องสีฝัดนั้น พัดลมนี้อาจใช้เครื่องยนต์เล็ก ๆ หมุนก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทำความสะอาดเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

การตากข้าว

          เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานาน ๆ หลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดแล้ว จึงจำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทั้งนี้เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่แห้ง และมีความชื้นของเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดข้าวในยุ้งฉางที่มีความชื้นสูงกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม นอกจากนี้จะทำให้เชื้อราต่าง ๆ ที่ติดมากับเมล็ดขยายพันธุ์ได้ดี

          จนสามารถทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก การตากข้าวในระยะนี้ ควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าว ให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ ๓-๔ แดด ในต่างประเทศเขาใช้เครื่องอบข้าว เพื่อลดความชื้นในเมล็ด ซึ่งเรียกว่า drier โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน

การเก็บรักษาข้าว

          หลังจากชาวนาได้ตากเมล็ดข้าวจนแห้ง และมีความชื้นในเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% แล้วนั้น ชาวนาก็จะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อไว้บริโภคละแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูง และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าว พวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี โดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลา และไม่สูญเสียความงอก ข้าวพวกนี้ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอย่างน้อย ๑ เมตร อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่ว และสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางควรปัดกวาดฉางแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง

การจัดทำแปลงเพาะพันธุ์ข้าว

          ขณะนี้ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เกษตรกรจะหันมาจัดระบบการทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้เอง ซึ่งจะเป็นการรักษาความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์เอาไว้ โดยไม่ต้องไปหาซื้อมาปลูกทุกปี ซึ่งการจัดทำแปลงเมล็ดพันธุ์ไม่ได้เป็นการยุ่งยาก ไปมากกว่าการปลูกข้าวปกติเท่าใดนัก การจัดทำแปลงพันธุ์ข้าว จะเป็นการลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ คุณภาพดีไว้ปลูกตลอดไป โดยมีข้อแนะนำดังนี้

          1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมดที่มีอยู่ เช่น หากมีนา 50 ไร่ จำเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าวประมาณ 350 กิโลกรัม สำหรับนาดำ หรือ 900 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาหว่าน ดังนั้น พื้นที่แปลงพันธุ์ที่ต้องการ คือ 1 ไร่ สำหรับนาดำ หรือประมาณ 3 ไร่ สำหรับนาหว่าน

          2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวนแล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอก แล้วไถคราดกำจัดข้าวเรื้อก่อน จึงทำการตกกล้า หรือหว่านข้าว

          3. หลังจากข้าวงอกหรือปักดำ ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ โดยควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูง สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะที่ผิดปกติ ให้ตัดกอหรือต้นข้าวทิ้ง ครั้งที่ 2 ในระยะออกดอก ให้ตัดกอข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน ครั้งที่ 3 ในระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ก็ให้ตัดข้าวที่มีลักษณะเมล็ดผิดปกติทิ้งไป

          4. ก่อนการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา เพราะอาจจะถูกฝน ทำให้คุณภาพข้าวเสื่อมไปได้ การนวดข้าว ควรแยกข้าวส่วนอื่น และแน่ใจว่าเครื่องนวดไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ แล้วนำมาตากแดด 1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น

การกำจัดข้าวปน

          เป็นการรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ มีลักษณะถูกต้องตรงตามลักษณะพันธุ์ จึงมีความจำเป็นมากที่ต้องหมั่นตรวจแปลง เพื่อกำจัดข้าวเรื้อ ข้าวปน หรือข้าวกลายพันธุ์ เพราะการเกิดการปะปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงเมล็ดเดียว หรือข้าวเรื้อเพียงกอเดียว จะทำให้เมล็ดข้าวที่ผลิตได้ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้ ฉะนั้น การตรวจและกำจัดข้าวปนควรทำในระยะต่าง ๆ ดังนี้

          1. ระยะต้นอ่อน ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่ และผิดแปลกไปจากต้นอื่น ๆ หรือไม่

          2. ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูง สีต้นกาบใบ และใบ

          3. ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่

          4. ระยะข้าวแก่ ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่าง ๆ ของต้น

          ในการพิจารณาข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์ สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ ทรงกอ ความสูง ใบ ขนาดของใบลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่บางพันธุ์ใบตก วันออกดอก ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วัน เมล็ดมีหาง เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฎเสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์ รวง ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ ห่างของระแง้ ข้าวกล้อง ข้าวเจ้าจะมีข้าวกล้องใส ข้าวเหนียวจะมีข้าวกล้องขุ่น นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์จะมีท้องไข่

การคัดเมล็ดพันธุ์

          เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยประการแรกที่สำคัญ ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าว ปัจจุบันการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีจากทางราชการ ไม่สามารถสนับสนุนเกษตรกรได้เพียงพอ เกษตรกรควรจะหันมาจัดระบบการทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง การจัดทำแปลงพันธุ์ข้าวจะเป็นการลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ คุณภาพดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้

          1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมด เช่น มีที่นา 50 ไร่ ปลูกโดยวิธีหว่าน ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ จะเป็นปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ คือ 50 คูณ 15 เท่ากับ 750 กิโลกรัม หากเกษตรกรเคยทำนาได้ผลผลิต 750 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น จะคำนวณพื้นที่แปลงพันธุ์ได้ 1 ไร่พอดี

          2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อออกให้หมด ไม่มีเมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์อื่น ๆ การทำแปลง ควรใช้วิธีปักดำ แต่ถ้าจำเป็นจะใช้วิธีหว่านก็ได้
   
          3. เมื่อข้าวในแปลงพันธุ์งอกแล้ว ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ หรือข้าวผิดปกติอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้ได้ข้าวพันธุ์ไม่ดี ควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง
             
          - ครั้งแรก ในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูงของลำต้น สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะผิดปกติให้ถอนทิ้ง
             
          - ครั้งที่สอง ในระยะออกดอก กำจัดต้นข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน
             
          - ครั้งที่สาม ระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ต้องตัดข้าวที่มีเมล็ดผิดปกติทิ้ง โดยเฉพาะเมล็ดข้าวที่มีหาง ต้องกำจัดทิ้งโดยเร็ว เพราะเป็นเมล็ดกลายพันธุ์
   
          4. ก่อนทำการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติไปจากต้นอื่น ให้เกี่ยวออกต่างหาก เมื่อต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยว แล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา

          5. ในการนวด ถ้าใช้เครื่อง ต้องกำจัดเมล็ดข้าวที่ติดมากับเครื่องออกให้หมด เสร็จแล้วนำข้าวที่นวดตากแดดให้แห้ง ฝัดให้สะอาด เก็บในกระสอบหรือวัสดุอื่นเก็บรักษาไว้ในที่แห้งร่มเย็นสูงจากพื้นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อรอการนำไปทำพันธุ์ต่อไป

การเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์
               
          การเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์ มีวิธีเก็บรักษาไม่แตกต่างจากการเก็บรักษาข้าวเพื่อรอการจำหน่าย แต่เนื่องจากการเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์ มีจุดประสงค์เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรายการต่อ ๆ ไปดังนั้น จึงต้องการความประณีตในการเก็บรักษามากกว่า เพื่อเสริมให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีตามคุณลักษณะที่กำหนด โดยการเก็บไว้ในกระสอบขณะที่ความชื้นไม่ควรเกิน 14 % แล้วบรรจุไว้ในยุ้งฉางที่ระบายอากาศได้ดี และสามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ เกษตรกรควรมีป้ายบอกชื่อพันธุ์ วันเดือนปีที่เก็บเกี่ยว และข้อความอื่น ๆ ที่จำเป็นผูกติดไว้ทุกกระสอบ ตั้งกระสอบเรียงไว้ให้เป็นระเบียบ

          อีกวิธีที่สามารถกระทำได้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือเก็บไว้ในกระพ้อม  ที่ป้องกันสัตว์ แมลงศัตรูข้าวได้ โดยเก็บไว้ใต้ถุนบ้าน มีฝาปิดเรียบร้อย หรือในกรณีที่เมล็ดพันธุ์มีน้อย เกษตรกรสามารถเก็บรักษาไว้ในปี๊บ หรือภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ ปิดฝาให้แน่น ที่สำคัญคือข้าวเปลือกที่นำมาเก็บรักษาจะต้องลดความชื้นให้เหลือ 12-14 % จะช่วยให้รักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ได้อย่างดี

          อนึ่ง ข้าวเปลือกที่เกษตรกรจะนำมาเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์นี้ ควรที่จะต้องผ่านการคัดเลือกตามหลักการคัดพันธุ์มาแล้วอย่างดี คือ เป็นพันธุ์แท้ มีความสมบูรณ์ทุกเมล็ด ปราศจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช...วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอะลัยกุม

ที่มา : การทำนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 26, 2009, 11:58 AM โดย as-satuly »

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักการและวิธีทำการเกษตร
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ก.ย. 26, 2009, 11:59 AM »
0

เดี๋ยว...มีต่อ...อีกแล้ว ;D

 

GoogleTagged