ผู้เขียน หัวข้อ: เอาเราะระหว่างผู้หญิงมุสลิมกับหญิงต่างศาสนิก  (อ่าน 1585 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ atime

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด

อยากทราบขอบเขตเอาเราะระหว่างผู้หญิงมุสลิมกับหญิงต่างศาสนิกเพราะได้ยินมาหลายเเบบ   ใครมีความรู้ช่วยอธิบายกันหน่อยขอหลักฐานด้วยค่ะ
เพราะในสังคมปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะหลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมกับคนต่างศาสนิก   โดยเฉพาะสังคมมหาวิทยาลัย
วัสลาม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

เอาเราะฮ์ของมุสลิมะฮ์ที่มีต่อสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมนั้น  เหมือนกับเอาเราะฮ์ที่ต้องปกปิดต่อหน้าชายอื่นครับ

ท่านอัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือมุฆนิลมั๊วะตาจญ์ของท่านว่า  "สตรีที่บรรลุศาสนภาวะ  ฮุกุ่มของนางในการมองผู้หญิงอีกคนหนึ่งนั้น  ก็เหมือนกับผู้ชายมองผู้ชาย  คืออนุญาตให้มองสิ่งที่นอกเหนือจากสะดือและหัวเข่าได้  แต่ต้องพร้อมกับปลอดภัยจากฟิตนะฮ์  และห้ามมองพร้อมกับมีอารมณ์และกลัวจะเกิดฟิตนะฮ์
ซึ่งตามทัศนะ ที่ชัดเจนยิ่งนั้น  คือห้ามให้สตรีกาเฟรมองสตรีมุสลิมะฮ์  ดังนั้นสตรีมุสลิมะฮ์ต้องคลุมฮิญาบปกปิดจากสายตาสตรีกาเฟร  เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสความว่า

 أَوْ نِسَائِهِنَّ

"(และนางอย่าเปิดเผย - ส่วนร่างกายที่สวมใส่ - เครื่องประดับของพวกนาง)ยกเว้นกับสตรีพวกเดียวกับบรรดาสตรีผู้มีศรัทธา" อันนูร 31

ดังนั้น  หากอนุญาตให้สตรีกาเฟรมองเอาเราะฮ์สตรีมุสลิมะฮ์  ก็คงไม่มีประโยชน์อันใดให้กับการจำกัดความการมองของบรรดาสตรีที่มีความศรัทธา (เพราะอัลกุรอานบอกว่า จำกัดยกเว้นสตรีผู้มีศรัทธาเท่านั้นที่มองได้)  และมีรายงานซอฮิห์จากท่าน อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  ว่า  "ท่านได้ห้ามบรรดาสตรีชาวอะฮ์ลุลกิตาบเข้าห้องน้ำพร้อมกับบรรดาสตรีมุสลิมะฮ์  และเพราะว่าบางทีพวกนางอาจจะนำไปบอกเล่า(การเห็นเอาเราะฮ์ของมุสลิมะฮ์)ให้ กับชายกาเฟรฟัง...แต่ก็อนุญาตให้สตรีอะฮ์ลุลกิตาบเห็นสตรีมุสลิมะฮ์ส่วนที่ เปิดเผยขณะทำงาน ตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า ซึ่งระบุไว้ในหนังสืออัรเราเฏาะฮ์ เช่นเดียวกับ ต้นฉบับเดิมของอัรเราเฏาะฮ์ (คือหนังสืออัลอะซีซของอัรรฟิอีย์)และมันเป็นทัศนะที่ถูกยึดถือ"  มุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ 4/226

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged