ผู้เขียน หัวข้อ: การแจกตังค์หลังละหมาญะนาชะฮ์  (อ่าน 1641 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pattani

  • บุคคลทั่วไป
การแจกตังค์หลังละหมาญะนาชะฮ์
« เมื่อ: เม.ย. 02, 2009, 02:11 PM »
0

อยากทราบถึงฮุกุ่มการแจกเงินหลังละหมาดญะนาซะฮ์ว่าเป็นเช่นไร  เห็นบางกลุ่มบอกว่าเป็นการกระทำที่บิดอะฮ์  ฮะรอม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: การแจกตังค์หลังละหมาญะนาชะฮ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เม.ย. 02, 2009, 05:05 PM »
0

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

เมื่อบุคคลหนึ่งได้เสียชีวิตลง  ไม่มีอะไรเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตายอีกแล้ว  เงิน  บ้าน  ที่ดิน  ธุระกิจร้านค้า  เป็นต้น  ล้วนแต่ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของผู้ตาย แต่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท  ดังนั้นเมื่อผู้ตายได้เสียชีวิต ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของทายาท ซึ่งพวกเขาจะเอาไปทำอะไรก็ได้  จะเอาไปศ่อดาเกาะฮ์เป็นทานแก่พี่น้องมุสลิมก็ได้   

ดังนั้นเมื่อทายาททำการแจกเงินหลังจากละหมาดญะนาซะฮ์นั้น  เป็นเงินอะไร?  ทุกคนก็ต้องตอบว่า  เป็นทานศ่อดะเกาะฮ์!  เมื่อเป็นเงินศ่อดาเกาะฮ์  เราจะคิดแทนผู้อื่นและทำการตัดสินบัญญัติฮุกุ่มในศาสนากันเองว่าฮะรอมไม่ได้   เพราะมีอัลกุรอานและฮะดีษได้ส่งเสริมให้ทำการศ่อดะเกาะฮ์  โดยมิได้จำกัดเจาะจงเลยว่า  ห้ามศ่อดะเกาะฮ์ในช่วงเวลานั้น  ช่วงเวลานี้  , หรือห้ามศ่อดะเกาะฮ์ในช่วงเวลาหลังละหมาดญะนาซะฮ์ , ห้ามศ่อดะเกาะฮ์ในช่วงเวลา 7 วันหลังจากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต    และถ้าหากกล่าวว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้ทำการศ่อดะเกาะฮ์หลังจากญะนาซะฮ์  ก็ไม่ได้หมายความว่า การศ่อดะเกาะฮ์ในช่วงนั้นฮะรอม  เนื่องการที่ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ได้บริจาคทานหลังละหมาดญะนาซะฮ์มิใช่เป็นหลักฐานมา(ตัคซีซ)ทอนความหมายว่าการศ่อดาเกาะฮ์ฮะรอมในช่วงหลังละหมาดญะนาซะฮ์  เพราะถ้หากเป็นเช่นนั้นจริง   หากมีคนหนึ่งได้ทำการบริจาคทานหลังละหมาด 5 เวลา  ก็จะทำการบริจาคทานที่ฮะรอมด้วยเช่นกัน  เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ได้กระทำและไม่ใช้ให้บริจาคทานหลังละหมาด 5 เวลา

ดังนั้นการบริจาคทานของทายาทผู้ตายนั้น  ศาสนาได้อนุญาตให้กระทำได้ในรูปแบบกว้าง ๆ ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานห้ามมาระบุเจาะจง  เพราะมิเช่นนั้นแล้ว  ก็จะเป็นการกุฮุกุ่มฮะรอมขึ้นมาในศาสนาโดยไม่มีหลักฐานมารับรอง

ท่านอิบนุก็อยยิม  ได้กล่าวว่า

وَفِيْ صَحِيْحِ مُسْلِمٍ عَنْ أَبِىْ هُرَيْرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَجُلاً قَالَ لِلنَّبِيِّ اِنَّ أَبِىْ مَاتَ وَتَرَكَ مَالاً وَلَمْ يُوْصِ فَهَلْ يَكْفِىْ عَنْهُ أَنْ أَتَصَدَّقَ عَنْهُ قَالَ نَعَمْ

" ในซอฮิห์มุสลิม ซึ่งรายงานจากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ว่า  มีชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า  แท้จริง บิดาของฉันได้เสียชีวิต  โดยทิ้งมรดกทรัพย์ไว้โดยที่เขามิได้ทำการสั่งเสีย  ดังนั้น ถือว่าเพียงพอหรือไม่กับการที่ฉันจะทำการซอดาเกาะฮ์แทนให้กับบิดา  ท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ตอบว่า  ได้ซิ"  หนังสือ อัรรั๊วะห์ 1/120

จากฮะดิษนี้  ชี้ให้ทราบว่า ทายาทผู้เป็นลูก  อนุญาตให้เอามรดกทรัพย์สินที่ผู้เป็นบิดาทิ้งไว้ให้  ทำการซอดาเกาะฮ์เป็นทานให้แก่ผู้เป็นบิดาได้  ไม่ว่าจะก่อนละหมาดญะนาซะฮ์หรือหลังจากละหมาดญะนาซะฮ์  หรือเวลาใด ๆ ก็ตาม  แต่ที่บ้านเราทำกันนั้น  มีข้อดีก็คือ  เงินที่ทายาทนำมาศ่อดะเกาะฮ์คือเงินที่พี่น้องมุสลิมบ้านใกล้เรือนเคืองหยิบยื่นช่วยเหลือกัน  บางที่ช่วยเหลือทายาทผู้ตายด้วยการให้เป็นเงิน  เมื่อเวลาละหมาดญะนาซะฮ์เสร็จก็ทำการศ่อดาเกาะฮ์  แล้วผู้รับก็จะทำการคืนเงินศ่อดะเกาะฮ์กลับไปให้อีกครั้ง  ซึ่งพื้นที่จะกระทำกันเช่นนั้น

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า

صَدَقَةُ التَّطَوُّعِ سُنَّةٌ : وَتَحِلُّ لِغَنِيٍّ ، وَكَافِرٍ

"การบริจาคท่านแบบสมัครใจ(ไม่ทานบังคับเช่นซะกาต)ถือว่าเป็นซุนนะฮ์  และอนุญาตศ่อดะเกาะฮ์แก่คนรวยและคนกาเฟร"  หนังสือมินฮาจญุฏฏอลิบีน หน้า 84

ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ได้กล่าวรายงานว่า

‏عَنْ النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَالَ ‏ ‏قَالَ رَجُلٌ لَأَتَصَدَّقَنَّ اللَّيْلَةَ بِصَدَقَةٍ فَخَرَجَ بِصَدَقَتِهِ فَوَضَعَهَا فِي يَدِ زَانِيَةٍ فَأَصْبَحُوا يَتَحَدَّثُونَ تُصُدِّقَ اللَّيْلَةَ عَلَى زَانِيَةٍ قَالَ اللَّهُمَّ لَكَ الْحَمْدُ عَلَى زَانِيَةٍ لَأَتَصَدَّقَنَّ بِصَدَقَةٍ فَخَرَجَ بِصَدَقَتِهِ فَوَضَعَهَا فِي يَدِ غَنِيٍّ فَأَصْبَحُوا يَتَحَدَّثُونَ تُصُدِّقَ عَلَى غَنِيٍّ قَالَ اللَّهُمَّ لَكَ الْحَمْدُ عَلَى غَنِيٍّ لَأَتَصَدَّقَنَّ بِصَدَقَةٍ فَخَرَجَ بِصَدَقَتِهِ فَوَضَعَهَا فِي يَدِ سَارِقٍ فَأَصْبَحُوا يَتَحَدَّثُونَ تُصُدِّقَ عَلَى سَارِقٍ فَقَالَ اللَّهُمَّ لَكَ الْحَمْدُ عَلَى زَانِيَةٍ وَعَلَى غَنِيٍّ وَعَلَى سَارِقٍ فَأُتِيَ فَقِيلَ لَهُ أَمَّا صَدَقَتُكَ فَقَدْ قُبِلَتْ أَمَّا الزَّانِيَةُ فَلَعَلَّهَا تَسْتَعِفُّ بِهَا عَنْ زِنَاهَا وَلَعَلَّ الْغَنِيَّ يَعْتَبِرُ فَيُنْفِقُ مِمَّا أَعْطَاهُ اللَّهُ وَلَعَلَّ السَّارِقَ يَسْتَعِفُّ بِهَا عَنْ سَرِقَتِهِ

"จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ท่านได้กล่าวว่า  มีชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า  ขอยืนยันฉันจะทำการบริจาคทานในยามค่ำคืนด้วยการบริจาคทานหนึ่ง   แล้วเขาก็ออกไปพร้อมทานบริจาคของเขา แล้ววางไว้ที่ในมือของหญิงทำซินา  แล้วตอนเช้าพวกเขาก็ทำการพูดกันว่า  ทานได้ถูกบริจาคแก่หญิงทำซินา(โสเพณี)  เขากล่าวว่า  ใช่แล้ว!  ข้าแด่อัลเลาะฮ์มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์แด่พระองค์  ฉันได้ทำการบริจาคทานหนึ่งแก่หญิงทำซินา  แล้วเขาก็ออกไปพร้อมกับทานบริจาคของเขาแล้ววางมันบนมือของคนรวย  แล้วตอนเช้าพวกเขาก็ทำการพูดกันว่า  ทานได้ถูกบริจาคแก่คนรวย  เขากล่าวว่า  ใช่แล้ว!  ข้าแด่อัลเลาะฮ์มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์แด่พระองค์  ฉันได้ทำการบริจาคทานหนึ่งแก่คนรวย  แล้วเขาก็ออกไปพร้อมกับทานบริจาคของเขาแล้ววางมันบนมือของคนขโมย  แล้วตอนเช้าพวกเขาก็ทำการพูดกันว่า  ทานได้ถูกบริจาคแก่คนขโมย  ใช่แล้ว!  เขากล่าวว่า  ข้าแด่อัลเลาะฮ์มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์แด่พระองค์  ฉันได้ทำการบริจาคทานหนึ่งแก่หยิงทำซินา , จนรวย , และคนขโมย  ดังนั้นเขาจึงถูกนำตัวมา(หาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) แล้วถูกกล่าวแก่เขาว่า  สำหรับการบริจาคทานของท่าน  ได้ถูกตอบรับแล้ว  สำหรับหญิงทำซินา  เผื่อว่านางจะได้ห่างไกลจากการซินาด้วยเหตุการบริจาคทานดังกล่าว  และเผื่อว่าคนรวยจะใคร่ครวญ  แล้วเขาก็จะทำการใช้จ่าย(บริจาคทาน)จากสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานแก่เขา  และเผื่อว่าคนขโมยนั้นจะห่างไกลจากการขโมยด้วยเหตุการบริจาคทานของเขา" รายงานโดยมุสลิม (1022)

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า

‏فِيهِ حَدِيثُ الْمُتَصَدِّق عَلَى سَارِق وَزَانِيَة وَغَنِيّ , وَفِيهِ : ثُبُوت الثَّوَاب فِي الصَّدَقَة وَإِنْ كَانَ الْآخِذ فَاسِقًا وَغَنِيًّا

"ในฮะดีษนี้ได้พูดถึงผู้บริจาคทาน  แก่คนขโมย , หญิงโสเพณี , และคนรวย , และในฮะดีษนี้ได้ยืนยันการได้รับผลบุญในการบริจาคทาน , และถ้าหากว่าผู้รับนั้นจะเป็นคนชั่วหรือคนร่ำรวยก็ตาม"  หนังสือชัรห์ซอฮิห์มุสลิม 4/119

สำหรับการที่มีบางกลุ่มบอกว่ามีทายาทไปกู้เงินมา  แล้วนำมาศ่อดาเกาะฮ์หลังละหมาดญะนาซะฮ์นั้น  ผมเองก็ไม่ได้เคยได้ยิน  แต่หากเป็นเช่นนั้นจริง  ก็ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งยวด  ผู้นำทางศาสนาในท้องถิ่นต้องคอยให้การแนะนำและตักเตือน 

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 03, 2009, 06:23 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged