แปลให้หน่อยละกัน เพื่อบางท่านจะไม่สันทัดภาษาอาหรับ
การเสวนาถกประเด็นหนังสืออะกีดะฮฺวาสิฏิยะฮฺครั้งที่ 1 ท่านอิบนุกะษีร เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า :
أول المجالس الثلاثة لشيخ الاسلام ابن تيمية
وفي يوم الاثنين ثامن رجب حضر القضاة والعلماء وفيهم الشيخ تقي الدين بن تيمية عند نائب السلطنة بالقصر وقرئت عقيدة الشيخ تقي الدين الواسطية، وحصل بحث في أماكن منها، وأخرت مواضع إلى المجلس الثاني
การเสวนาครั้งแรกจากสามครั้งของชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมิยะฮฺและในวันจันทร์ที่ 8 เดือนรอญับ บรรดากอฎีย์ (ผู้พิพากษา) และอุละมาอ์ ซึ่งหนึ่งในท่านเหล่านั้นคือเชคตะกิยุดดีน บิน ตัยมิยะฮฺ ได้มากันอย่างพร้อมเพรียงต่อหน้าผู้ปกครองรัฐในวังของท่าน และได้มีการอ่านหนังสืออะกีดะฮฺวาสิฏิยะฮฺของเชคตะกิยุดดีน (อิบนุตัยมิยะฮฺ) และได้มีการเสวนาวิพากษ์วิจารณ์ในหลายๆจุดของหนังสือเล่มดังกล่าว ในขณะที่บางประเด็นก็เลื่อนไปคุยกันในการเสวนาครั้งที่สอง
การเสวนาครั้งที่ 2ท่านอิบนุ กะษีร เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า :
فاجتمعوا يوم الجمعة بعد الصلاة ثاني عشر الشهر المذكور وحضر الشيخ صفي الدين الهندي، وتكلم مع الشيخ تقي الدين كلاما كثيرا، ولكن ساقيته لاطمت بحرا،
หลังจากนั้นพวกเขาก็มานั่งเสวนากันอีกครั้งหนึ่ง หลังละหมาดวันศุกร์ที่ 12 ในเดือนเดียวกัน ในครั้งนี้เชคเศาะฟิยุดดีน อัลฮินดีย์ มาด้วย และท่านก็พูดคุยสนทนากับเชคตะกิยุดดีน (อิบนุตัยมิยะฮฺ) ด้วยคำพูดมากมาย แต่ก็ไม่ได้ความสักเท่าไหร่
ثم اصطلحوا على أن يكون الشيخ كمال الدين بن الزملكاني هو الذي يحاققه من غير مسامحة، فتناظرا في ذلك، وشكر الناس من فضائل الشيخ كمال الدين بن الزملكاني وجودة ذهنه وحسن بحثه حيث قاوم ابن تيمية في البحث، وتكلم معه،
พวกเขาจึงตกลงให้เชคกะมาลุดดีน บิน อัซซัมละกานีย์ เป็นผู้สอบเขา (อิบนุตัยมิยะฮฺ) แทนอย่างไม่ประนีประนอม ทั้งสองก็ทำการเสวนาโต้ตอบกัน ผู้คนก็ต่างพากันชื่นชมเชคความเก่งกาจของเชคกะมาลุดดีน บิน อัซซัมละกานีย์ ความเฉลียวฉลาด การถกอย่างมีหลักการ และสามารถตอบโต้เสวนากับอิบนุตัยมิยะฮฺได้
ثم انفصل الحال على قبول العقيدة، وعاد الشيخ إلى منزله معظما مكرما، وبلغني أن العامة حملوا له الشمع من باب النصر إلى القصاعين على جاري عادتهم في أمثال هذه الاشياء،
หลังจากนั้น ก็เป็นอันสรุปว่าหนังสืออะกีดะฮฺเล่มดังกล่าวเป็นที่ยอมรับ และเชค (อิบนุตัยมิยะฮฺ) ก็กลับไปยังบ้านของท่านด้วยความยิ่งใหญ่และสง่าผ่าเผย ฉันได้ทราบมาว่า พวกชาวบ้านต่างพากันแห่เทียนสว่างไสว ติดตามท่านตั้งแต่ประตูอันนัศรฺจนถึงอัลก็อศศออีน ตามประเพณีความเคยชินของพวกเขาในสถานการณ์เช่นนี้
وكان الحامل على هذه الاجتماعات كتاب ورد من السلطان في ذلك، كان الباعث على إرساله قاضي المالكية ابن مخلوف، والشيخ نصر المنبجي شيخ الجاشنكير وغيرهما من أعدائه، وذلك أن الشيخ تقي الدين بن تيمية كان يتكلم في المنجبي وينسبه إلى اعتقاد ابن عربي وكان للشيخ تقي الدين من الفقهاء جماعة يحسدونه لتقدمه عند الدولة، وانفراده بالامر بالمعروف والنهي عن المنكر، وطاعة الناس له ومحبتهم له وكثرة أتباعه وقيامه في الحق، وعلمه وعمله،
ซึ่งสาเหตุของการเสวนาถกเถียงกันหลายต่อหลายครั้งนี้ ก็มาจากคำสั่งของสุลต่านผู้ปกครอง โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังคืออิบนุมัคลูฟกอฎีย์มัซฮับมาลิกีย์ และเชคนัศร์อัลมันบะญีย์ เชคแห่งญาชันกีร รวมไปถึงท่านอื่นๆซึ่งเป็นอริกับอิบนุตัยมิยะฮฺ อันเนื่องมาจากเชคตะกิยุดดีน บิน ตัยมิยะฮฺ ได้กล่าววิจารณ์อัลมันบะญีย์ และกล่าวว่าท่านมีอะกีดะฮฺเช่นเดียวกับอิบนุอะเราะบีย์
เชคตะกิยุดดีน (อิบนุตัยมิยะฮฺ) นั้น มีปราชญ์ฟิกฮฺกลุ่มหนึ่งอิจฉาท่าน ด้วยความที่ท่านใกล้ชิดกับผู้ปกครอง และมีความโดดเด่นในการเชิญชวนผู้คนให้กระทำความดี และห้ามปรามพวกเขาจากความชั่ว และด้วยความที่ผู้คนเคารพรักท่าน มีผู้ชื่นชอบติดตามมากมาย และการต่อสู้ของท่านในหนทางแห่งสัจธรรม ตลอดจนความรู้และอะมั้ลของท่านثم وقع بدمشق خبط كثير وتشويش بسبب غيبة نائب السلطنة، وطلب القاضي جماعة من أصحاب الشيخ وعزر بعضهم ثم اتفق أن الشيخ جمال الدين المزي الحافظ قرأ فصلا بالرد على الجهمية من كتاب أفعال العباد للبخاري تحت قبة النسر بعد قراءة ميعاد البخاري بسبب الاستسقاء، فغضب بعض الفقهاء الحاضرين وشكاه إلى القاضي الشافعي ابن صصرى، وكان عدو الشيخ فسجن المزي،
หลังจากนั้นก็เกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมากในเมืองดิมัชก์ (ดามัสกัส) อันเนื่องจากผู้ปกครองเมืองไม่อยู่ กอฎีย์ก็เรียกตัวผู้ที่นิยมเชค (อิบนุตัยมิยะฮฺ) กลุ่มหนึ่งไป แล้วก็ลงโทษบางคนจากพวกเขา ในเวลาเดียวกันนั้นท่านอัลหาฟิซเชคญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ ก็ได้ทำการสอนบทว่าด้วยการโต้พวกญะฮฺมิยะฮฺ จากหนังสืออัฟอาลุลอิบาดของบุคอรีย์ใต้โดมอันนัสร์ หลังจากที่ได้มีการอ่านเศาะฮีห์บุคอรีเพื่อขอฝน ทำให้ปราชญ์ฟิกฮฺบางคนที่อยู่ในเหตุการณ์เกิดความไม่พอใจขึ้น และนำเรื่องไปร้องเรียนต่ออิบนุเศาะเศาะรีย์กอฎีย์ชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นอริกับเชค ท่านจึงสั่งให้ขังอัลมิซซีย์
فبلغ الشيخ تقي الدين فتألم لذلك وذهب إلى السجن فأخرجه منه بنفسه، وراح إلى القصر فوجد القاضي هنالك، فتقاولا بسبب الشيخ جمال الدين المزي، فحلف ابن صصرى لا بد أن يعيده إلى السجن وإلا عزل نفسه فأمر النائب بإعادته تطييبا لقلب القاضي فحبسه عنده في القوصية أياما ثم أطلقه
เมื่อเชคตะกิยุดดีนทราบข่าวก็เสียใจ ท่านจึงมุ่งหน้าไปยังที่คุมขัง แล้วนำตัวอัลมิซซีย์ออกมาด้วยตัวเอง แล้วจึงมุ่งหน้าไปที่วัง ก็พบว่ากอฎีย์ท่านนั้นอยู่ที่นั่นด้วย ทั้งสองท่านจึงโต้เถียงกันเรื่องเชคญะมาลุดดีน อัลมิซซีย์ แล้วอิบนุเศาะเศาะรีย์ก็สาบานว่าจะต้องนำตัวอัลมิซซีย์กลับไปขังคุกให้ได้ มิเช่นนั้นจะปลดระวางตัวเอง ผู้ช่วยผู้ปกครองเมืองจึงมีคำสั่งให้นำตัวอัลมิซซีย์กลับไปคุมขังตามเดิม เพื่อเห็นแก่กอฎีย์ จึงคุมขังอัลมิซซีย์ไว้ที่อัลกูศิยะฮฺอยู่หลายวันแล้วก็ปล่อยตัวไป
ولما قدم نائب السلطنة ذكر له الشيخ تقي الدين ما جرى في حقه وحق أصحابه في غيبته، فتألم النائب لذلك ونادى في البلد أن لا يتكلم أحد في العقائد، ومن تكلم في ذلك حل ماله ودمه ونهبت داره وحانوته، فسكنت الأمور
เมื่อผู้ปกครองเมืองกลับมา เชคตะกิยุดดีน ก็เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวท่านและมิตรสหายของท่าน ขณะที่ผู้ปกครองไม่อยู่ ผู้ปกครองได้ยินแล้วก็รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงให้ป่าวประกาศไปทั่วเมืองว่า ห้ามให้ผู้ใดพูดเรื่องอะกีดะฮฺอีก ถ้าผู้ใดพูดจะมีโทษถึงชีวิต และจะถูกยึดทรัพย์ยึดเรือนยึดร้าน เหตุการณ์จึงสงบลง
การเสวนาครั้งที่ 3ท่านอิบนุกะษีร เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า :
ثم عقد المجلس الثالث في يوم سابع شعبان بالقصر واجتمع الجماعة على الرضى بالعقيدة المذكورة
หลังจากนั้น ก็ได้มีการจัดเสวนาครั้งที่สาม ในวันที่ 7 เดือนชะอฺบาน ที่วัง
และได้บทสรุปจากผู้เข้าร่วมว่ามีความพึงพอใจในหนังสืออะกีดะฮฺเล่มดังกล่าว(อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 14 หน้า 42)
** ย้ำอีกครั้งว่า รบกวนพี่น้องที่มีหนังสืออัลบิดายะฮฺ ช่วยตรวจสอบเปรียบเทียบความถูกต้องด้วยครับ เพราะผมก็อปมาจากฉบับโปรแกรมคอม อาจมีข้อผิดพลาดได้ ญะซากุมุลลอฮุคอยรอน