ผู้เขียน หัวข้อ: หายสาบสูญ  (อ่าน 5250 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อาเรีย

  • บุคคลทั่วไป
หายสาบสูญ
« เมื่อ: เม.ย. 15, 2007, 05:16 PM »
0

อยากรบกวนให้อาจารยือัซอารีย์ ชวยอธิบายความหมาย ของคำว่า หายสาบสูญ ในหลัก นิติศาสตร์ ว่าเป็นแบบใหน มีความหมายว่าอย่างไร
ถ้ามีบทความของภาษาอาหรับด้วยยิ่งดีคะ แต่ขอคำแปลด้วยนะคะ...
อัลลอฮฺทรงตอบแทนคะ..
วัสลาม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หายสาบสูญ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เม.ย. 20, 2007, 05:02 AM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ผู้หายสาปสูญคือ  "บุคคลหนึ่งที่หายสาปสูญโดยไม่รู้ถึงสถานที่อยู่ , การมีชีวิตอยู่ , หรือการเสียชีวิตของเขา  ครอบครัวของเขามีความพยายามที่จะสืบหา  โดยที่ข่าวคราวและร่องรอยของเขาได้ขาดหายและซ่อนเร้นต่อพวกเขา"  ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะหฺตาจญ์  เล่ม 3 หน้า 398

เมื่อมีหลักฐานมายืนยันว่าผู้หายสาปสูญได้เสียชีวิตแล้ว  ก็ให้พิจารณาว่าเขาเป็นผู้ที่เสียชีวิตแล้ว  แต่ถ้าหากไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าเขาได้เสียชีวิต  ก็สามารถแบ่งประเด็นการหายสาปสูญนี้  ออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทที่หนึ่ง   ผู้ใดสาปสูญที่ไม่คาดการณ์ว่าเขาได้เสียชีวิต  เช่นการได้ออกเดินทางทำการค้าขาย หรือท่องเที่ยวในผืนแผ่นดิน  และอื่น ๆ  ดังนั้น  กรณีนี้  จึงไม่ถูกตัดสินว่าเขาได้เสียชีวิตโดยมติของปวงปราชญ์  ตราบใดที่ระยะเวลาการสาปสูญไม่นานจนเกินไปจนทำให้คาดการณ์ว่าเขาอาจจะเสียชีวิตแล้ว  ซึ่งระยะเวลาที่ยาวนานดังกล่าวนี้  บรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม  มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาดังกล่าว  บางทัศนะกำหนด 120 ปี นับตั้งแต่เวลาที่เกิด  ,  บางทัศนะกำหนด 100 ปี  , บางทัศนะกำหนด 90 ปี , บางทัศนะ 80 ปี , และนักปราชญ์บางส่วนกำหนดระยะเวลา 70 ปี เนื่องจากเป็นช่วงอายุไขของประชาชาตินี้   (ดู หนังสือ อัลมับซูฏ ของท่านซะร๊อคซีย์ เล่ม 30 หน้า 54 , หนังสือ อัลบะห์อัรรออิค ของท่านอิบนุนุญัยม์ เล่ม 5 หน้า 277 )

เพราะท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

أعمار أمتى ما بين الستين إلي السبعين

"บรรดาอายุไขประชาชาติของฉัน คือ ระหว่าง 60 ถึง 70 ปี"  รายงานโดย ท่านอัตติรมีซีย์ , ท่านอิบนุมาญะฮ์ และท่านอื่น ๆ จากอบูฮุร๊อยเราะฮ์  ดู หนังสือ กัชฟุลค่อฟาอ์ เล่ม 1 หน้า 131 ของท่านอัลอัจญ์ลูนีย์  ตีพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิลมียะฮ์

ส่วนมัซฮับชาฟิอียะฮ์  มีทัศนะว่า  กรณีนี้ต้องมอบหมายกับฮากิมเป็นผู้ตัดสิน  ซึ่งอนุญาตให้ฮากิมทำการตัดสินว่าเขาเสียชีวิตได้  ต่อเมื่อระยะเวลาที่ผ่านไปนั้น  คาดการณ์ว่าผู้สาปสูญคงไม่มีชีวิตอยู่แล้ว  และทัศนะนี้  ก็เป็นทัศนะที่ถูกเลือกเฟ้นของมัซฮับหะนะฟียะฮ์และมาลิกียะฮ์เช่นกัน  เนื่องจากพวกเขามีหลักนิติศาสตร์ที่ว่า

أن الأصل حياة المفقود

"หลักเดิมแล้ว คือผู้สาปสูญยังคงมีชีวิตอยู่"

ดังนั้น  หากการกำหนดว่าผู้สาปสูญเสียชีวิตนั้น  ต้องได้รับการยืนยันที่แน่นอน  ซึ่งหากไม่มีความแน่นอน  ก็จำเป็นต้องหยุดการตัดสินไว้ก่อน (ดู หนังสืออัลมุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่ม 8 หน้า 207 , หนังสือเราเฏาะฮ์อัตตอลิบีน ของท่านอิมามอันนะวาวีย์ เล่ม 5 หน้า 35 , และหนังสือ อัซซะคีเราะฮ์ ของท่านอัลก่อรอฟีย์ เล่ม 13 หน้า 22)

ประเภทที่สอง   ผู้สูญหายที่คาดการณ์ว่าเขาคงเสียชีวิตแล้ว  เช่นเขาได้ออกไปละหมาดญะมาอะฮ์  หลังจากนั้นเขาไม่กลับมาหาครอบครัวของเขาอีกเลย  หรือสูญหายในขณะที่มีการรบกันระหว่างสองฝ่าย  หรือเขาได้ขี่เรือและนั่งเครื่องบิน  เรือแตกและเครื่องบินตกโดยที่มีผู้คนบางส่วนรอดชีวิตมาได้  หรือเขาได้สูญหายโดยเกิดเหตุโรคระบาดในเมืองที่เขาได้อาศัยอยู่ 

ประเภทนี้  นักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกัน

1. นักปราชญ์ส่วนมาก  มีทัศนะว่า  หลักการของประเภทนี้  ก็เหมือนกับประเภทแรกในเรื่องของการกำหนดระยะเวลาที่สามารถตัดสินว่าผู้สูญหายได้เสียชีวิตแล้ว

2. มัซฮับอัลหัมบาลีย์  มีทัศนะว่า  หากคาดการณ์ว่าผู้สาปสูญได้เสียชีวิต  ก็จะไม่ถูกตัดสินว่าเขาเสียชีวิตนอกจากให้พ้นระยะเวลา 4 ปีเสียก่อน ( ดู หนังสืออัลมุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่ม 8 หน้า 205 - 206)

والله أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged