ผู้เขียน หัวข้อ: การตีความเป็นการปฏิเสธอัลกุรอ่านหรือเปล่า  (อ่าน 5430 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam

ผมไม่กล้าฟันธงหรอกครับ ว่าอัลลอฮจะหมายถึงเรื่องตีความด้วยหรือไม่ ผมก็ยอมรับไปกว้างๆดีกว่า เพราะการบอกว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องใดไปเลย
ผมว่าอันตรายอ่ะตามเหตุผลที่ให้ไปแล้วผมถึงได้เห็นด้วยกับข้อความของฟาตอนีไง ไม่ต้องไปคิดอะไรมากกับโองการที่ความหมายคลุมเคลือไม่ชัดเจน
ก็ก้มหน้าก้มตาทำอีบาดัตอย่างเดียวผมว่าดีกว่าไม่เดือดร้อน แล้วก็ไม่รู้ว่าไปตีความเรื่องของอัลลอฮแล้วไม่รู้จะได้บุญป่าว ถ้าถามถึงเรื่องที่ผมสงสัย
เกี่ยวกับเรื่องตีความโองการบางโองการเกี่ยวกับอัลลอฮ ก็คือเมื่อถึงโองการนั้น ท่านนบีได้อรรถาธิบายให้กับศอฮาบะอย่างไรนั่นแหละครับที่ผมอยากรู้
และอยากปฏิบัติตาม แต่ไม่ว่าจะอย่างไงหรือนักวิชาการจะแสดงความเห็นไว้อย่างไร ผมก็ว่าความหมายและเรื่องที่โองการนั้นครอบคลุมถึงเรื่องอะไร
บ้างก็อัลลอฮรู้ดีที่สุดแหละครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 12, 2009, 11:49 AM โดย al-azhary »
เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ผมไม่กล้าฟันธงหรอกครับ ว่าอัลลอฮจะหมายถึงเรื่องตีความด้วยหรือไม่ ผมก็ยอมรับไปกว้างๆดีกว่า เพราะการบอกว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องใดไปเลย
ผมว่าอันตรายอ่ะตามเหตุผลที่ให้ไปแล้วผมถึงได้เห็นด้วยกับข้อความของฟาตอนีไง ไม่ต้องไปคิดอะไรมากกับโองการที่ความหมายคลุมเคลือไม่ชัดเจน
ก็ก้มหน้าก้มตาทำอีบาดัตอย่างเดียวผมว่าดีกว่าไม่เดือดร้อน แล้วก็ไม่รู้ว่าไปตีความเรื่องของอัลลอฮแล้วไม่รู้จะได้บุญป่าว ถ้าถามถึงเรื่องที่ผมสงสัย
เกี่ยวกับเรื่องตีความโองการบางโองการเกี่ยวกับอัลลอฮ ก็คือเมื่อถึงโองการนั้น ท่านนบีได้อรรถาธิบายให้กับศอฮาบะอย่างไรนั่นแหละครับที่ผมอยากรู้
และอยากปฏิบัติตาม แต่ไม่ว่าจะอย่างไงหรือนักวิชาการจะแสดงความเห็นไว้อย่างไร ผมก็ว่าความหมายและเรื่องที่โองการนั้นครอบคลุมถึงเรื่องอะไร
บ้างก็อัลลอฮรู้ดีที่สุดแหละครับ

ไม่รู้จักอัลลอฮ์แล้วจะก้มหน้าก้มตาทำอิบาดะห์เพื่ออะไร

ไปถางป่า เจ้าของสวนยังไม่รู้จัก แล้วจะเอาตังค์ที่ใคร เหนื่อยปล่าว



เรื่องที่ผมกำลังพูดถึงน่ะ หมายถึงเรื่องการตีความโองการที่เป็นความนัยครับ ที่โพสต์ไว้ที่เว็บนี้กับเว็บมุสลิมไทย
ไม่ได้ประเด็นเรื่องรู้จักหรือไม่รู้จักอัลลอฮน่ะครับ เรื่องรู้จักอัลลอฮน่ะ มุสลิมเรารู้จักอยู่แล้วตามที่อัลลอฮบอก แต่
โองการที่เป็นความนัยอย่างเวลาที่อัลลอฮกล่าวถึงอัลลอฮเองด้วยรูปร่างมนุษย์ หรือเรื่องบัลลังค์น่ะ ถามผมก่อนก็ดีนะ
ก่อนตำหนิกัน ผมนึกว่ารู้กันแล้วซะอีกว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไรเพราะเห็นเป็นประเด็นหลักๆประเด็นหนึ่งในเว็บมุสลิมไทย
แต่ความจริงก็ยังไม่รู้ หน้าที่ผมก็ต้องบอก แต่หน้าที่คนจะตอบก็ต้องถามก่อนไม่ควรตำหนิปั้บครั้งแรกที่คุยกัน
เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
 salam

เรื่องที่คุณว่า
"โองการที่เป็นความนัยอย่างเวลาที่อัลลอฮกล่าวถึงอัลลอฮเองด้วยรูปร่างมนุษย์"

คำเหล่านั้นคือ "ซีฟัต" (คุณลักษณะ) ของพระองค์ครับ  "ไม่ใช่อวัยวะ"


ด้านล่างนี้ผมอ้างมาจากการอธิบายของ al-azhary ในกระทู้  http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=60.105
อ้างถึง
ตัวอย่าง

คำว่า يد الله  (ภาษาไทยแปลว่าพระหัตถ์ของอัลเลาะฮ์)  แต่ตามหลักการแล้วซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้นพระองค์ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานเป็น ภาษาอาหรับ  ดังนั้น  ผมจึงขอใช้เรียกคำว่า "ยะดุน" يَدٌ  แล้วกันนะครับ  เพราะอัลเลาะฮ์ทรงเรียกอย่างนี้

คำว่า يد الله  "ยะดุลลอฮ์"  (ยะดุน) นั้น
 
แนวทางที่หนึ่ง : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"  แต่ขอมอบความหมาย , จุดมุ่งหมายที่แท้จริง และรูปแบบวิธีการไปยังอัลเลาะฮ์ตาอาลา

แนวทางที่สอง : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"   แต่ทำการตีความ (ตะวีล)เพื่อให้มีความเข้าใจง่ายโดยสอดคล้องกับหลักภาษาอัลกุรอาน(ภาษา อาหรับ) , ตรงกับหลักของศาสนา(ไม่คัดค้านกับตัวบทที่ชัดเจนเด็ดขาดและแน่นอน) , และสอดคล้องตามหลักของสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน  คือตีความว่า  มันคือ "อำนาจ"  แล้วทำการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์สำทับอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางที่สาม : คือ  เชื่อในซีฟัต "ยะดุน"  แต่ทำการอธิบายความหมาย (ตัฟซีร) ของมันให้อยู่ในเชิงภาษาของคำแท้ตามที่มนุษย์เข้าใจกัน  คือหมายถึงซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่เป็นส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามือที่เป็นส่วน หนึ่งจากตัวตนของพระองค์! ที่เหมาะสมกับเกียรติของพระองค์!??

ทำให้เห็นง่าย ๆ คือ   

แนวทางที่หนึ่ง : เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->> แต่มอบหมายกับความหมายและรูปแบบวิธีการ

แนวทางที่สอง  :  เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->>  แต่ทำการตีความอยู่ในความหมายของอำนาจ

แนวทางที่สาม  : เชื่อในซีฟัตยะดุน  >-------------------->> แต่อธิบายให้อยู่ในความหมายของอวัยวะส่วนของร่างกายที่เป็นฝ่ามือให้กับอัล เลาะฮ์

สรุป : แนวทางที่หนึ่งและสองคือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ  ศรัทธาในความบริสุทธิ์ในซีฟัตอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายและเหมือนกับมัคโลคใน ทุกรูปแบบ   

ส่วนแนวทางที่สามนั้นเป็นแนวทางของวะฮาบีย์  ถึงแม้ว่าพวกเขาปฏิเสธการเหมือนระหว่างมัคโลคกับอัลเลาะฮ์  แต่พวกเขายืนยันความคล้ายคลึง(ตัชบีฮ์)ระหว่างซีฟัตของอัลเลาะฮ์และมัคโลค  กล่าวคือ  มนุษย์มีส่วนอวัยวะที่เป็นฝ่ามืออยู่ที่ร่างกายและอัลเลาะฮ์ก็มีส่วนอวัยวะ ที่เป็นฝ่ามือที่อยู่ตัวตนของพระองค์!  แต่ไม่เหมือนกับมัคโลค!? ซึ่งเป็นแนวทางของวะฮาบีย์ปัจจุบัน

และแน่นอนเมื่อไม่มีใครรู้ว่า ฮะกีกัตของ ซาต (ตัวตน) ของพระองค์เป็นอย่างไร เราก็ย่อมไม่รู้ว่า ฮะกีกัตของซีฟัต (คุณลักษณะ) เป็นอย่างไรเช่นกัน


และตามตัวอย่างข้างนั้น แนวทางที่ 1 คือเชื่อว่าพระองค์ทรงมีซีฟัตที่พระองค์ทรงเรียกว่า "ยะดุน"  ที่สมบูรณ์ โดยปล่อยพ่านไปเพียงเท่านี้ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการยึดมั่น

วัลลอฮุอะอฺลัม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 04, 2009, 06:53 PM โดย Deeneeyah »

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
 salam

 พระองค์ทรงตรัสว่า

وَلَمْ يَكُن لَّهُ كُفُوًا أَحَدٌ

" และไม่เคยมีผู้ใดมาเทียบกับพระองค์"

หมายถึง  พระองค์นั้น  ไม่มีอะไรมาเทียบเหมือน กับพระองค์เลย  ไม่ว่าจะด้วยหนทางหนึ่งหนทางใด   และอายะฮ์นี้  ได้ถูกอธิบายโดยคำตรัสของอัลเลาะฮ์ที่ว่า

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ

"ไม่มีสิ่งใด  มาคล้าย  เหมือนกับพระองค์"  อัช-ชูรอ 11

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
 salam


เข้าใจค่ะว่ากำลังศึกษา แต่ทำไมชื่อกระทู้รุนแรงจริง
แนะนำให้ใจเย็น ๆ เปิดใจก่อนศึกษาแล้วกันนะ  อินชาอัลลอฮฺ

ส่วนเรื่องชื่อกระทู้ขอเวลาคิดก่อนนะ - -''
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ Molto

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
salam
อ่านบทความของอัลอัซฮะรีย์แล้วหลายๆบทความรู้สึกว่าบางความเชื่ออะกีดะของอัลอัซฮะรีย์ไม่เหมือนกับที่อัลลอบอกในอัลกุรอ่าน
หรือบางจุดก็เป็นการเชื่อไม่ตรงกับอัลกุรอ่านหรือตรงกันข้ามไปเลยก็มี ยังไม่นับรวมที่ตรงกันข้ามกับฮะดีษศอฮียของท่านนบีอีก
ยอมรับว่า รู้สึกกับตัวเองเงียบๆแล้วตอนนี้ว่าเริ่มไม่แน่ใจกับอัลอัซฮะรีย์

งงกับผู้ตั้งกระทู้  เพราะอะกีดะฮ์ที่บังอัซฮะรีย์นำเสนอมานั้นคืออะกีดะฮ์อัลกุรอานและซุนนะฮ์

ทำให้พวกเขาเข้าใจอะกีดะฮ์มากขึ้นต่างหาก  ทำให้ไม่หลงไปยังเชื่ออะกีดะฮ์บิดอะฮ์ทั้งหลายที่อ้างว่าสะลัฟ

เว็บไซต์แห่งนี้เขามีจุดยืนว่า ให้มอบหมายการรู้ไปยังอัลเลาะฮ์  แต่การตีความนั้นขณะที่มีความจำเป็น

เพราะสะลัฟบางส่วนก็ทำการตีความด้วยเหมือนกัน  หากคุณบอกว่าการตีความทำให้ปฏิเสธอัลกุรอานและฮะดีษ

สะลัฟศอและฮ์เหล่านั้นมีหลักอะกีดะฮ์ที่ปฏิเสธอัลกุรอานและฮะดีษด้วยเช่นกัน (แสดงว่าคุณละเมิดสะลัฟเชิงหลักการแล้ว)

ดังนั้นอะกีดะฮ์ของพวกเราคืออะกีดะฮ์สะลัฟศอและห์ 

ออฟไลน์ Molto

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

แล้วถ้าหากเราถามบ้างล่ะว่า  อิสติวาอฺ นั้น  นบีหรือซอฮาบะฮ์คนใดบ้างเคยอธิบายไหมว่านั้นมีความว่า นั่ง หรือหมายความว่า สถิต บนบัลลังก์

แต่เมื่อเราอ่านอายะฮ์อัลกุรอานเกี่ยวกับโองการมีความหมายหลายนัย  จุดยืนของเราที่มีอายะฮ์นี้คือ การยืนยันความบริสุทธิ์ในหลักความเชื่อเราที่มีต่ออัลเลาะฮ์ 

เราต้องมอบหมายการรู้ไปยังอัลเลาะฮ์เป็นอันดับแรก  หากบางคนชอบคิดจินตนาการผุดเข้ามาบ่อยๆ  เลือกการตีความที่อยู่ในกรอบของหลักการ  คือตีความให้กลับไปยังซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายชัดเจน 

การไม่ตีความ  แบ่งออกเป็นสองแนวทาง  คือ 

(1) แนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  คือ  ทำการยืนยัน(อิษาต)ซีฟัตตามที่หลักฐานได้ระบุไว้  พร้อมทำการมอบหมายกับความหมายที่แท้จริงไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา

(2) แนวทางพวกบิดอะฮ์  คือ  ยืนยันซีฟัตและยืนยันความหมาย(ไม่ใช่แปลความหมาย)แบบผิวเผิน(ถ้อยคำคุณลักษณะภายนอก)แบบฮะกีกัตคำตรง  แล้วอธิบายความหมายได้ 

คุณ tksarb เลือกแนวทางใหน บอกจุดยืนหน่อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 12, 2009, 09:55 AM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

ผมว่าวะฮะบีไม่ได้บอกว่านั่งอยู่บนบัลลังค์หรอก เราไปเข้าใจเองแล้วใส่ความเขาป่าวต้องเช็กตัวเองให้ดีก่อนนา
เดี๋ยวกลายเป็นเรื่องโอละพ่อแล้วยุ่งเลย ส่วนผมเลือกแนวทางไม่ตีความ อัลลอฮว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น มอบหมายความ
หมายต่ออัลลอฮ พระองค์เท่านั้นที่รู้ความหมายที่แท้จริง เพราะในสมัยนบี ผมก็คาดว่าท่านนบีก็ไม่ได้อธิบายความหมาย
หรือตีความอะไรทั้งสิ้น แต่สั่งใช้ให้ซอฮาบะให้อีมานเท่านั้นแทน ไม่งั้นคงมีหะดีษเกี่ยวกับการตีความของท่านนบีออกมา
เยอะแยะมากมายเเล้วเเหละ ผมค้นเท่าไหร่ก็ไม่เจอหะดีษที่ว่า ถ้าคุณ TilmeEz จะกรุณาแสดงหะดีษที่ท่านนบีอธิบายตีความ
โองการเรื่องบัลลังค์เอาไว้มาให้ผมได้เห็นกับตา และจะได้นำไปตรวจสอบจะเป็นพระคุณอย่างมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 12, 2009, 09:55 AM โดย al-azhary »
เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
salam
ขอบคุณมากๆก้าบบบ  :ameen: :ameen: :ameen: สงสัยไรค่อยถามอีกครับ

อยากให้กระทู้นี้ เป็นกระทู้เน้นเชิงวิชาการ  ดังนั้นถ้าหากคุณ tksarb สงสัยเกี่ยวอะกีดะฮ์ที่เรานำเสนอ โปรดถามมาได้เลยครับ ผมจะชี้แจงให้กระจ่างครับ

วัสสะลาม



อยากได้หลักฐานที่นบีตีความหรืออธิบาย โองการที่คลุมเครือนั้นๆให้กับซอฮาบะครับ ค้นแล้วไม่เจอที่ซอเฮียะเลย
เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

อืมกระทู้นี้ผมอ่านดูแล้วไม่รู้จะบริหารการเสวนาให้อยู่ในเชิงวิชาการอย่างไรดี  ดังนั้นผมจะลบข้อความที่โพสต์แบบไม่อยู่ในเชิงวิชาการ และไม่ทำให้เกิดประโยชน์ในการศึกษา

เอาอย่างนี้ครับ คุณ tksarb ผมคิดว่าให้คุณกับผมมาเสวนาเรื่องอะกีดะฮ์กัน คุณมีอะไรสงสัยเรื่องอะกีดะฮ์ถามกระผมมาได้เลยครับ  การเสวนาในกระทู้นี้จะดำเนินไประหว่างผมกับคุณเท่านั้น

กระทู้นี้ผมอยากขอเรียนเพื่อนสมาชิกว่า อย่างทำการโพสต์ออกความเห็น นอกจากปล่อยให้กระผมกับคุณ tksarb เท่านั้นนะครับ เพื่ออย่างน้อยเขาจะได้เข้าใจหลักอะกีดะฮ์มากขึ้น

หวังว่าเพื่อนสมาชิกนักศึกษาคงเข้าใจนะครับ

วัสลามุอะลัยกุ้ม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  พวกเจ้าจงภักดีต่ออัลเลาะฮ์และภักดีต่อร่อซูล  และผู้ปกครองการงานของพวกเขา (เช่น ผู้นำและอุลามาอฺ เป็นต้น)  ดังนั้นหากแม้นพวกเจ้าพิพาทกันในกรณีหนึ่ง ๆ พวกเจ้าก็จงส่งมันกลับไปยังอัลเลาะฮ์และร่อซูล" อันนิซาอฺ 59

และพระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَلَوْ رَدُّوهُ إِلَى الرَّسُولِ وَإِلَى أُوْلِي الأَمْرِ مِنْهُمْ لَعَلِمَهُ الَّذِينَ يَسْتَنبِطُونَهُ مِنْهُمْ

"หากพวกเขาส่งกลับเรื่องนั้นไปยังร่อซูลและผู้ปกครองการงานของเขา  แน่นอนก็จะรู้มันได้โดยบรรดาผู้สามารถวิเคราะห์(วินิจฉัย)มันได้จากพวกเขา" อันนิซาอฺ 83

สองอายะฮ์นี้  มีถ้อยคำที่ความหมายครอบคลุมโดยไม่เจาะจงสาเหตุในการประทานลงมา ตามหลักวิชาอุศูลลุตตัฟซีร(วิชาพื้นฐานการอธิบายอัลกุรอาน) ซึ่งได้ระบุว่าเมื่อมีการถกเถียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ให้กลับไปหาอัลเลาะฮ์(อัลกุรอาน)และร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม(คือซุนนะฮ์) และหากไม่เข้าใจอัลกุรอานและซุนนะฮ์  ก็ให้กลับไปยังบรรดาทรงความรู้ที่สามารถวิเคราะห์และเข้าใจตัวบทได้


อยากได้หลักฐานที่นบีตีความหรืออธิบาย โองการที่คลุมเครือนั้นๆให้กับซอฮาบะครับ ค้นแล้วไม่เจอที่ซอเฮียะเลย

คืออย่างนี้นะครับ  หลักฐานอัลกุรอานและซุนนะฮ์ที่ซอฮิห์เด็ดขาดได้ระบุเกี่ยวกับ "ซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย" นั้นเราเชื่อตามที่ได้ระบุไว้  ส่วนการอธิบาย "ซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย" นั้น  หากปรากฏว่าท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ตีความหรืออธิบายไว้จริง  ก็จะไม่มีการขัดแย้งระหว่างอุลามาอฺเกี่ยวกับเรื่องนี้   เอาล่ะเมื่อเราเชื่อในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ที่ซอฮิห์เด็ดขาดแล้ว  โดยท่านร่อซุลลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ได้อธิบายไว้อย่างเด็ดขาด  เราก็ต้องกลับไปหาความเข้าใจของผู้ที่ดีและประเสริฐกว่าเรานั่นคือบรรดาอุลามาอฺปราชญ์แห่งโลกอิสลามที่อัลเลาะฮ์ทรงยืนยันไว้ในอัลกุรอานว่าพวกเขาเป็นบ่าวที่มีความเกรงกลัวของพระองค์(ซูเราะฮ์ฟาฏิร อายะฮ์ที่ 28)  ว่าเขามีจุดยืนกันอย่างไรต่อการเข้าใจตัวบทหลายนัยที่พูดถึงซีฟัตของอัลเลาะฮ์

คือบรรดาปราชญ์ที่มีคุณธรรมนั้น  เขามีจุดยืนที่ขัดแย้งกัน  2  ทัศนะ  ซึ่งจุดยืนทั้ง 2 นั้นล้วนมีหลักฐานจากอัลกุรอานและฮะดีษมารับรอง  คืออายะฮ์ที่ว่า......

هُوَ الَّذِيَ أَنزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُّحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ فَأَمَّا الَّذِينَ في قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاء الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاء تَأْوِيلِهِ وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلاَّ اللّهُ وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِّنْ عِندِ رَبِّنَا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلاَّ أُوْلُواْ الألْبَابِ

" พระองค์ทรงประทานคำภีร์ให้ลงมายังเจ้า  ซึ่งมีบางส่วนมีความชัดเจน(จะตีความเปนอื่นไม่ได้)  โองการเหล่านั้นเป็นแม่บทแห่งคำภีร์  และโองการอื่นๆ ที่มีโวหารคลุมเคลือ (ที่มีความหมายหลายนัยต้องตีความถึงจะเข้าใจ)  อนึ่งบรรดาผู้ที่มีความรวนเรในหัวใจของพวกเขานั้น  พวกเขาก็จะถือตามข้อความที่คลุมเคลือจากมัน  เพื่อหวังสร้างวิกฤติกาล  และหวังที่จะตีความมัน (ตามใจชอบของพวกเขาเอง)  และไม่(มีใคร)รู้การตีความมันได้หรอก  นอกจากอัลเลาะฮ์และบรรดาผู้ที่เชี่ยวชาญในความรู้ พวกเขาจะกล่าวว่า  "เราขอศรัทธาต่อโองการนั้น ทุกๆ โองการล้วนมาจากองค์อภิบาลของเราทั้งสิ้น"  และจะไม่สำนึกหรอกนกจากโดยผู้มีวิจารณญาณเท่านั้น" อาลิอิมรอน 7

อุลามาอฺทัศนะที่หนึ่ง : กล่าวว่า "และไม่(มีใคร)รู้การตีความมันได้หรอก  นอกจากอัลเลาะฮ์เท่านั้น"  โดยอ่านหยุดแค่นี้  โดยอุลามาอฺอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ได้มีจุดยืนที่ว่า  ซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่ระบุไว้ในตัวที่มีความหมายหลายนัยนั้น   เรารู้ความหมายหลายนัยเหล่านั้น  แต่เราไม่เจาะจงว่ามันคือความหมายใดที่เป็นเป้าหมายของอัลเลาะฮ์  ดังนั้นเราจึงมอบหมายการรู้ความหมายที่เจาะจงนั้นไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้เป็นแนวทางส่วนมากของสะละฟุศศอลิห์  และเป็นแนวทางเดิม  อีกทั้งเป็นแนวทางหลักของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์  และเป็นแนวทางที่ตัวกระผมเอง(อัลอัซฮะรีย์) ให้เลือกและให้น้ำหนัก

ท่านอิบนุกุดามะฮ์ได้กล่าวว่า

فَإِنْ قِيْلَ :  فَكَيْفَ يُخَاطِبُ اللهَ الْخَلْقَ بِمَا لاَ يَعْقِلُوْنَ؟ أَمْ كَيْفَ يُنَزُِّل عَلَى رَسُوْلِهِ مَا لاَ يُطْلِعُ عَلَى تَأْوِيْلِهِ؟ قُلْنَا : يَجُوْزُ أَنْ يُكَلِّفَهُمُ الإِيْمَانَ بِمَا لاَ يُطْلِعُوْنَ عَلَى تَأْوِيْلِهِ لِيَخْتَبِرَ طَاعَتَهُمْ

"ดังนั้นถ้าหากกล่าวว่า  อย่างไรหรือที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสแก่บรรดามัคโลคด้วยกับสิ่งที่พวกเขาคิดไปเข้าใจ(แก่นแท้ของมัน)?  หรืออย่างไรเล่าที่อัลเลาะฮ์ทรงประทาน(อัลกุรอาน)ลงมายังท่านร่อซูลของพระองค์ด้วยกับสิ่งที่ร่อซูลไม่สามารถรู้ถึงการตีความได้?  เราขอตอบว่า  เป็นไปได้การที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติแก่พวกเขาให้ทำการศรัทธาต่อสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถล่วงรู้ในการตีความมันได้  เพื่อพระองค์จะได้ทำการทดสอบการภักดีของพวกเขานั่นเอง"  หนังสือ เราฎุลนาซิร  หน้า 68

อุลามาอฺทัศนะที่สอง : กล่าวว่า  "และ ไม่(มีใคร)รู้การตีความมันได้หรอก  นอกจากอัลเลาะฮ์และบรรดาผู้ที่เชี่ยวชาญในความรู้"  พวกเขาเข้าใจและวิเคราะห์ว่า  การตีความนั้นนอกจากอัลเลาะฮ์ทรงรู้แล้ว  พระองค์ยังเปิดโอกาสให้บรรดาปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญรู้ความหมายด้วยเหมือนกัน(แต่ไม่รู้ถึงแก่นแท้ฮะกีกัตในซีฟัตของอัลเลาะฮ์)   เพราะมีสะละฟุศศอลิห์หลายท่านได้ทำการตีความเอาไว้เช่นกันนั่นเอง  และแนวทางนี้ก็เป็นทางเลือกที่สองของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์  ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถนำมาใช้ในยามจำเป็น  เอามาใช้เพื่อตอบโต้พวกนอกศาสนาที่ไม่ใช่ในอัลกุรอานและซุนนะฮ์และพวกนอกลู่   อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้กับคนเอาวามที่จิตใจอ่อนแอที่ชอบจินตนาการคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ให้คล้ายหรือเหมือนกับมัคโลค

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้อธิบายว่า

وَيُطْلَق عَلَى مَا وَرَدَ فِي صِفَات اللَّه تَعَالَى مِمَّا يُوهِم ظَاهِره الْجِهَة وَالتَّشْبِيه , وَيَحْتَاج إِلَى تَأْوِيل . وَاخْتَلَفَ الْعُلَمَاء فِي الرَّاسِخِينَ فِي الْعِلْم هَلْ يَعْلَمُونَ تَأْوِيل الْمُتَشَابِه ؟ وَتَكُون الْوَاو فِي { وَالرَّاسِخُونَ } عَاطِفَة أَمْ لَا ؟ وَيَكُون الْوَقْف عَلَى { وَمَا يَعْلَم تَأْوِيله إِلَّا اللَّه } , ثُمَّ يَبْتَدِئ قَوْله تَعَالَى : { وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْم يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ } وَكُلّ وَاحِد مِنْ الْقَوْلَيْنِ مُحْتَمَل , وَاخْتَارَهُ طَوَائِف , وَالْأَصَحّ الْأَوَّل , وَأَنَّ الرَّاسِخِينَ يَعْلَمُونَهُ لِأَنَّهُ يَبْعُد أَنْ يُخَاطِب اللَّه عِبَاده بِمَا لَا سَبِيل لِأَحَدٍ مِنْ الْخَلْق إِلَى مَعْرِفَته , وَقَدْ اِتَّفَقَ أَصْحَابنَا وَغَيْرهمْ مِنْ الْمُحَقِّقِينَ عَلَى أَنَّهُ يَسْتَحِيل أَنْ يَتَكَلَّم اللَّه تَعَالَى بِمَا لَا يُفِيد . وَاَللَّه أَعْلَم . ‏

"คำที่มีความ หมายคลุมเคลือ(หลายนัย)นั้น ถูกนำมาใช้กับตัวบทที่รายงานมาเกี่ยวกับบรรดาซีฟาตของอัลเลาะฮ์ตะอาลา  ที่ความหมายผิวเผินของมันทำให้เข้าใจผิดไปว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีทิศหรือมี คุณลักษณะคล้ายคลึงกับมัคโลค  และบรรดานักปราชญ์ได้มีทัศนะแตกต่างกันเกี่ยวกับ  บรรดาผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้น  พวกเขารู้การตีความอายะฮ์ที่มีความหมายหลายนัยหรือเปล่า?  และอักษรวาวในคำว่า { وَالرَّاسِخُونَ } นั้นเป็นวาวอะฏัฟ(เชื่ยมโยง)กับคำว่าอัลเลาะฮ์หรือไม่? (คือหมายถึงอัลเลาะฮ์และผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้นรู้เกี่ยวกับอายะฮ์ที่มี ความหมายหลายนัย) หรือให้อ่านหยุดบนถ้อยคำที่ว่า { وَمَا يَعْلَم تَأْوِيله إِلَّا اللَّه } แล้วทำการเริ่มอ่านคำตรัสของพระองค์ใหม่ว่า { وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْم يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ } ดังนั้น ทุก ๆ ทัศนะคำพูดจากทั้งสองนั้น  ก็มีการตีความกันไป  และมีปราชญ์หลายกลุ่มเลือกทัศนะที่สอง (คือให้อ่านหยุดบนถ้อยคำ....หมายถึงอัลเลาะฮ์องค์เดียวเท่านั้นที่รู้) แต่ ทว่าทัศนะที่ถูกต้องชัดเจนยิ่งคือ ทัศนะแรก (คือหมายถึงอัลเลาะฮ์และผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้นรู้เกี่ยวกับอายะฮ์ที่มี ความหมายหลายนัย)  คือแท้จริงบรรดาผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้น ต่างก็รู้การตีความ(อายะอ์ที่มีความหมายหลายนัย)  เพราะถือว่าห่างไกล(เป็นไปไม่ได้)เหลือเกินที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสกับปวงบ่าว ของพระองค์ด้วยกับสิ่งที่ไม่มีหนทางใดที่มัคโลค(จากปวงปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญใน ความรู้)จะทำการรู้จักความหมายมันได้  และบรรดาปวงปราชญ์แห่งเราและปราชญ์ท่านอื่น ๆ ที่เน้นแฟ้นในวิชาความรู้  ได้เห็นพร้องต้องกันว่า  เป็นไปไม่ได้ที่อัลเลาะฮ์จะทรงตรัสด้วยกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์(คือด้วยกับ สิ่งที่นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในความรู้ไม่เข้าใจ) วัลลอฮุอะลัม" หนังสือชัรห์ซอฮิห์มุสลิม : 8/471

ท่านอิมามอะห์มัด  ได้กล่าวรายงานว่า

حَدَّثَنَا ‏ ‏عَبْدُ الرَّزَّاقِ ‏ ‏أَخْبَرَنَا ‏ ‏مَعْمَرٌ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏الزُّهْرِيِّ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏أَبِيهِ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏جَدِّهِ ‏ ‏قَالَ سَمِعَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَوْمًا ‏ ‏يَتَدَارَءُونَ ‏ ‏فَقَالَ ‏ ‏إِنَّمَا هَلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ بِهَذَا ضَرَبُوا كِتَابَ اللَّهِ بَعْضَهُ بِبَعْضٍ وَإِنَّمَا نَزَلَ كِتَابُ اللَّهِ يُصَدِّقُ بَعْضُهُ بَعْضًا فَلَا تُكَذِّبُوا بَعْضَهُ بِبَعْضٍ فَمَا عَلِمْتُمْ مِنْهُ فَقُولُوا وَمَا جَهِلْتُمْ ‏ ‏فَكِلُوهُ ‏ ‏إِلَى عَالِمِهِ

ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุรร็อซซาก  ได้บอกให้เราทราบโดย มะอฺมัร  จากท่านอัซซุฮ์รีย์  จากอัมร์ บิน ชุอัยบฺ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา  ได้กล่าวว่า  "ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ยินว่ามีกลุ่มนี้กำลังโต้แย้งกัน  ดังนั้นท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จึงกล่าวว่า  แท้จริง  ผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกท่านนั้นได้วิบัติด้วย(การโต้แย้ง)นี้  พวกเขาไม่สนใจกิตาบุลลอฮ์บางส่วนด้วยเหตุของบางส่วน  ทั้งที่ความจริง  กิตาบุลลอฮ์ได้ประทานลงมาในลักษณะที่มันต่างยืนยัน(สนับสนุน)ซึ่งกันและกัน  ฉะนั้นพวกท่านก็อย่ากล่าวโกหก(ไม่ยอมรับ)บางส่วนด้วยกับบางส่วน  ดังนั้นสิ่งใด(อายะฮ์ใด)ที่พวกท่านรู้   พวกท่านก็จงกล่าวมัน(ตามที่ท่านรู้)  และสิ่งใด(อายะฮ์ใด)ที่พวกท่านไม่รู้  พวกท่านก็จงมอบหมายมันไปยังผู้ที่รู้(คือมอบหมายไปยังอัลเลาะฮ์และร่อซูลลุลอฮ์)" รายงานโดยท่านอะห์มัดไว้ในมุสนัดของท่าน (6453) , ท่านอับดุรร็อซซากได้รายงานไว้ในหนังสือ อัลมุซ็อนนัฟ 11/216

ฮะดีษนี้ได้บอกว่า  สิ่งใดที่พวกเขารู้จากอัลกุรอาน  ก็จงกล่าวมัน  และหากสิ่งใดที่ไม่รู้ก็จงมอบหมายไปยังที่ผู้รู้ยิ่ง  นั่นคืออัลเลาะฮ์ตะอาลา เห็นไหมครับไม่ว่าปราชญ์ทัศนะที่มอบหมายหรือปราชญ์ทัศนะที่ตีความพวกเขาก็มีจุดยืนบนอัลกุรอานและซุนนะฮ์ทั้งสิ้น จะมอบหมายก็ถือว่าตามอัลกุรอานและซุนนะฮ์นบี  หรือจะตีความก็อยู่บนหลักการของอัลกุรอานและซุนนะฮ์

ดังนั้นน้อง  tksarb จะเลือกแนวทางใหนดี  ซึ่งเท่าที่ผมได้อ่านจุดยืนของน้องมาผมเชื่อว่า  น้องคงจะเลือกแนวทางที่หนึ่ง  คือมอบหมายการรู้ไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับที่กระผม(อัลอัซฮะรีย์)เลือก   แสดงว่าตรงนี้เรามีจุดยืนตรงกัน แต่หากน้องตั้งคำถามว่า "แล้วทำไมบังอัลอัซฮะรีย์ถึงชอบนำเสนอเรื่องการตีความของสะละฟุศศอลิห์และปวงปราชญ์ด้วยล่ะ?" และ "ใหนบอกว่าเลือกการมอบหมาย ทำไมต้องนำเสนอเรื่องการตีความในเว็บแห่งนี้ด้วย?"

คำตอบก็คือ : หากเราไปพิจารณาในแนวทางที่สอง  คือการตีความ  ก็มีปราชญ์สะละฟุศศอลิห์หลายท่านได้ทำการตีความและมีปราชญ์ผู้มีคุณธรรมมากมายได้ทำการตีความ  และอัลกุรอานก็ยืนยันว่า  ผู้เชี่ยวชาญในความรู้นั้นก็สามารถรู้การตีความได้ (ตามทัศนะของปราชญ์กลุ่มที่สอง)  และฮะดีษนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ยืนยันว่า หากรู้ก็จงกล่าวไป  หากไม่รู้ก็จงมอบหมาย  ดังนั้นเมื่อน้อง  tksarb ทราบเช่นนี้แล้ว  และผมทราบเช่นนี้แล้ว   จุดยืนที่เราควรมีต่อปราชน์ทัศนะที่สองนี้  มีให้เลือกอยู่ 2 ประการ

ประการที่หนึ่ง : ฮุกุ่มไปเลยว่าอุลามาอ์สะละฟุศศอลิห์บางส่วนและปราชญ์ผู้มีคุณธรรมท่านอื่น ๆ ผิดพลาด  มีจุดยืนที่บิดอะฮ์  เพราะไปตีความตามทัศนะที่เราไม่เลือก

ประการที่สอง : เราไม่ไปกล่าวฮุกุ่มและกล่าวหาบิดอะฮ์ต่อสะละฟุศศอลิห์และปราชญ์ผู้มีคุณธรรมเหล่านั้น  แต่เราเพียงให้น้ำหนักว่า  การมอบหมายไปยังอัลเลาะฮ์ดีกว่าและปลอดภัยกว่าตามทัศนะที่กระผม(อัลอัซฮะรีย์)และน้อง tksarb เลือก

เราจะเอากันอย่างไรดีครับ  จะฟันธงไปเลยว่าทัศนะที่ 2 บิดอะฮ์ลุ่มหลง  หรือเพียงเราให้น้ำหนักว่าแนวทางที่ 1 ปลอดภัยกว่าโดยไม่ไปฮุกุ่มปราชญ์แนวทางที่ 2

ผมจะรอคำตอบจากน้อง tksarb ครับ  แล้วเราจะมาเสวนากันต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์  ก็ขออัลเลาะฮ์ทรงประทานทางนำแก่ผมและน้อง tksarb ครับยาร็อบ

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 15, 2009, 12:08 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
salam

ถึงน้อง tksarb ครับ ผมได้นำเสนอไปเสียยืดยาวเลยครับ ยังไงก็อดทนอ่านแบบช้า ๆ อย่างมีสมาธิเพื่อจะได้เข้าใจยิ่งขึ้น และหากว่าตรงใหนไม่เข้าใจก็โปรดถามครับ

เรียนถึงพี่น้องสมาชิกทุกท่านครับ กระทู้นี้ผมของสงวนในการโพสต์ระหว่างกระผมและน้อง tksarb เท่านั้นนะครับ เพื่อการเสวนาจะได้เป็นระเบียบและสร้างความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น

วัสลามุอะลัยกุ้ม


ครับ
เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam
ผมตอบเป็นประเด็นๆไปละกัน เพราะว่าตัวผมเองและคนอ่านจะได้ไม่สับสน
ก่อนอื่นก็ต้องขอชมเชยบังที่เขียนแยกประเด็นมาได้ชัดเจนดี อ่านแล้วเข้าใจแยกแยะเป็นเรื่องๆได้

อัลกุรอ่านอันนิสา/59 ที่บังยกมา

59. ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย (*1*) แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล (*2*) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป (*3*) ที่สวยยิ่ง 

(1)  บรรดาเจ้าหน้าที่ในหมู่พวกเจ้าที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครอง เมื่อเจ้าหน้าที่เหล่านั้นสั่งให้ทำสิ่งใดก็จงปฏิบัติตาม
(2)  นำสิ่งที่ขัดแย้งกันนั้นไปตรวจสอบดูกับอัล-กุรอานและซุนนะฮ์ของท่านนะบีว่า อัลลอฮฺ และท่านนะบีได้กล่าวว่าอย่างไร แล้วให้ยึดถือตามนั้นโดยปราศจากดื้อดึงใด ๆ ทั้งสิ้น
(3)  กลับไปสู่ความจริงที่สวยงามยิ่ง เพราะจะทำให้ทุกฝ่าย ตั้งอยู่ในสิ่งที่ถูกต้อง และมีความพอใจโดยทั่วกัน

โองการนี้ก็เป็นที่มาที่ไปของคำถามของผมที่ต้องการหลักฐานจากหะดีษที่ท่านนบีได้กล่าวไว้แก่ซอฮาบะในเรื่องโองการคลุมเครือนั้น
ที่ใช้หลักเกณฑ์นี้ก็เพราะอยากจะกลับสู่อิสลามอย่างดีและสวยงาม ตามที่อัลลอฮทรงแนะนำขอให้พี่น้องในเว็บนี้เข้าใจกฎเกณฑ์ตรงนี้ที่ผมยึดถือด้วยนะครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 12, 2009, 12:11 PM โดย tksarb »
เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
salam
ผมตอบเป็นประเด็นๆไปละกัน เพราะว่าตัวผมเองและคนอ่านจะได้ไม่สับสน
ก่อนอื่นก็ต้องขอชมเชยบังที่เขียนแยกประเด็นมาได้ชัดเจนดี อ่านแล้วเข้าใจแยกแยะเป็นเรื่องๆได้

อัลกุรอ่านอันนิสา/59 ที่บังยกมา

59. ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย (*1*) แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล (*2*) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไป (*3*) ที่สวยยิ่ง 

(1)  บรรดาเจ้าหน้าที่ในหมู่พวกเจ้าที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครอง เมื่อเจ้าหน้าที่เหล่านั้นสั่งให้ทำสิ่งใดก็จงปฏิบัติตาม
(2)  นำสิ่งที่ขัดแย้งกันนั้นไปตรวจสอบดูกับอัล-กุรอานและซุนนะฮ์ของท่านนะบีว่า อัลลอฮฺ และท่านนะบีได้กล่าวว่าอย่างไร แล้วให้ยึดถือตามนั้นโดยปราศจากดื้อดึงใด ๆ ทั้งสิ้น
(3)  กลับไปสู่ความจริงที่สวยงามยิ่ง เพราะจะทำให้ทุกฝ่าย ตั้งอยู่ในสิ่งที่ถูกต้อง และมีความพอใจโดยทั่วกัน

โองการนี้ก็เป็นที่มาที่ไปของคำถามของผมที่ต้องการหลักฐานจากหะดีษที่ท่านนบีได้กล่าวไว้แก่ซอฮาบะในเรื่องโองการคลุมเครือนั้น
ที่ใช้หลักเกณฑ์นี้ก็เพราะอยากจะกลับสู่อิสลามอย่างดีและสวยงาม ตามที่อัลลอฮทรงแนะนำขอให้พี่น้องในเว็บนี้เข้าใจกฎเกณฑ์ตรงนี้ที่ผมยึดถือด้วยนะครับ

ครับบังเข้าใจเป้าหมายและเป็นกฏเกนฑ์ที่ดีงามที่สุดที่น้องยึดอยู่ ซึ่งเว็บแห่งนี้ไม่เคยตำหนิเลยและยังยอมรับอีกด้วย  ดังนั้นฮายะฮ์ที่พูดเกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์โดยที่พระองค์ไม่ได้อธิบายความหมายรายละเอียดไว้หรือฮะดีษของท่านนบีที่ซอฮิห์เด็ดขาดด้กล่าวถึงซีฟัตของอัลเลาะฮ์โดยที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ได้อธิบายรายละเอียดไว้ให้แก่ซอฮาบะฮ์  เราก็ต้องทำการกลับไปหาอัลเลาะฮ์และร่อซูลุลลอฮ์  โดยทำการมอบหมายการรู้ในความหมายไปยังอัลเลาะฮ์และร่อซูลุลลอฮ์นั่นเอง นี่คือทัศนะที่หนึ่ง ซึ่งน้อง tksarb ทำการเลือกและกระผม(อัลอัซฮะรีย์)ก็เลือกและให้น้ำหนักทัศนะนี้เช่นเดียวกันเลยครับ ซึ่งถือว่าเรามีจุดยืนตรงกัน

ส่วนประเด็นในการตีความนั้น กระผมเองก็ได้นำเสนอหลักฐานและความเข้าใจของปราชญ์ที่มีต่อหลักฐานจากอัลกุรอานที่ทำให้ทำการตีความได้นั้น ซึ่งกระผมเองแม้จะไม่เลือกทัศนะนี้  ก็ไม่ได้หมายถึงว่ากระผมตัดสินว่ามันเป็นแนวทางที่บิดอะฮ์เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับสะละฟุศศอลิห์บางส่วนด้วย แต่ผมให้น้ำหนักน้อยกว่าทัศนะแรกเท่านั้นเอง

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวดุอาแก่ท่านอิบนุอับบาสความว่า

اَللَّهُمَّ عَلِّمْهُ التَّأْوِيْلَ، وَفَقِّهْهُ فِي الدِّيْنِ، وَاجْعَلْهُ مِنْ أَهْلِ الإِيْمَانِ

"โอ้อัลเลาะฮ์  พระองค์โปรดทรงสอนให้ให้รู้การตะวีลด้วยเถิด และทรงให้เขามีความเข้าใจในเรื่องศาสนาด้วยเถิดและโปรดทำให้เขามีส่วนหนึ่งจากผู้มีศรัทธาด้วยเถิด" รายงานโดยอัลฮากิม ฮะดีษนี้ซอฮิห์ตามเงื่อนไขของบุคอรีและมุสลิม  หนังสืออัลมุสตัดร็อก 3/618

ท่านอิมามอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวว่า

عَنْ مُجَاهِد , عَنْ اِبْن عَبَّاس أَنَّهُ قَالَ : أَنَا مِمَّنْ يَعْلَم تَأْوِيله

"รายงานจากมุญาฮิด  จากท่านอิบนุอับบาส ว่า แท้จริงท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า  "ฉันคือส่วนหนึ่งจากผู้ที่รู้การตีความ"  ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน อายะฮ์ที่ 7

ท่านกล่าวรายงานเช่นเดียวกันว่า

عَنْ اِبْن أَبِي نَجِيح , عَنْ مُجَاهِد : { وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْم } يَعْلَمُونَ تَأْوِيله وَيَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ

" จากอิบนุอะบีนะญีห์  จากท่านมุญาฮิด  ว่า  คำตรัสของพระองค์ที่ว่า "และบรรดาผู้ที่เชี่ยวชาญในความรู้"  นั้น  คือพวกเขารู้การตีความและพวกเขาก็กล่าวว่าเราได้ศรัทธามัน"  ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน อายะฮ์ที่ 7

ดังนั้นการจะตีความหรือไม่ตีความ มันอยู่ที่เราเลือกให้น้ำหนัก กระผมไม่ฟันธงว่าตีความผิดและบิดอะฮ์ เพราะต่างก็อยู่บนจุดยืนจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ครับ

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam
โองการนี้บังแปลผิดนิดหน่อย ตรงคำว่าพวกเจ้า



และพระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَلَوْ رَدُّوهُ إِلَى الرَّسُولِ وَإِلَى أُوْلِي الأَمْرِ مِنْهُمْ لَعَلِمَهُ الَّذِينَ يَسْتَنبِطُونَهُ مِنْهُمْ

"หากพวกเจ้าส่งกลับเรื่องนั้นไปยังร่อซูลและผู้ปกครองการงานของเขา  แน่นอนก็จะรู้มันได้โดยบรรดาผู้สามารถวิเคราะห์(วินิจฉัย)มันได้จากพวกเขา" อันนิซาอฺ 83


ส่วนจะเจาะจงสาเหตุในการประทานลงมาหรือไม่ผมไม่รู้ วัลลอฮูอลัม แต่เมื่อได้อ่านย้อนไปก็เจอว่า


80. ผู้ใดเชื่อฟังร่อซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว และผู้ใดผินหลังให้ เราก็หาได้ส่งเจ้าไปในฐานะเป็นผุ้ควบคุมพวกเขาไม่ 
81. และพวกเขากล่าวว่า เชื่อฟัง(*1*) แต่เมื่อพวกเขาออกไปจากเจ้าแล้ว กลุ่มหนึ่งในพวกเขาก็ได้วางแผนในเวลากลางคืน อื่นจากสิ่งที่เจ้ากล่าว และอัลลอฮฺจะทรงบันทึกสิ่งที่พวกเขาวางแผนกันในเวลากลางคืน ดังนั้นจงเพิกเฉยต่อพวกเขาเสีย และจงมอบหมายแก่อัลลอฮฺเถิด(*2*) และพอเพียงแล้วที่อัลลอฮฺเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้คุ้มครองรักษา 

(1)  คือพวกมุนาฟิกนั้นเมื่อได้รับคำสั่งจากท่านนะบีให้ปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว พวกเขาก็จะกล่าวว่า พวกเราเชื่อฟังและจะปฏิบัติตาม
(2)  มอบหมายให้อัลลอฮฺทรงจัดการแก่พวกเขาเอง 

82. พวกเขาไม่พิจารณาดูอัล-กุรอานบ้างหรือ ? และหากว่า อัล-กุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนพวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความขัดแย้งกันมากมาย
83. และเมื่อมีเรื่องหนึ่งเรื่องใดมายังพวกเขาจะเป็นความปลอดภัยก็ดีหรือความกลัวก็ดี(*1*) พวกเขาก็จะแพร่มันออกไป(*2*)และหากว่าพวกเขาให้มันกลับไปยังร่อซูล และยังผู้ปกครองการงานในหมู่พวกเขาแล้ว(*3*) แน่นอนบรรดาผู้ที่วินิจฉัยมันในหมู่พวกเขาก็ย่อมรู้มันได้ และหากมิใช่ความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้าแล้ว แน่นอน พวกเจ้าก็คงปฏิบัติตามชัยฎอนไปแล้ว นอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น(*4*) 

(1)  จะเป็นข่าวคราวที่ทหารได้รับชัยชนะและปลอดภัยก็ดี หรือได้รับความปราชัยและสูญเสียชีวิตก็ดี
(2)  พวกที่มีอีมานอ่อนแอก็จะดีอกดีใจหรือตกอกตกใจจนเลยขอบเขต และแพร่ข่าวกันออกไปสู่ประชาชนคนอื่น ๆ ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เนื่องจากความเข้าใจผิดหรือได้รับข่าวที่ไม่ถูกต้อง
(3)  หมายถึงบรรดาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นโดยตรง
(4)  ถ้าอัลลอฮฺไม่ทรงกรุณาแนะนำให้พวกเจ้ารับฟังข่าวการสู้รบจากท่านนะบี และบรรดาเจ้าหน้าที่แถลงข่าวโดยตรงแล้ว แน่นอนพวกเจ้าก็จะปฏิบัติตามการชี้นำของชัยฏอนกันแล้ว นั่นก็หมายความว่าพวกเจ้าจะต้องได้รับความหายนะอย่างแน่นอน และผู้ที่จะไม่ปฏิบัติตามชัยฏอนนั้นก็จะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 

เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

 

GoogleTagged