ตัวบังเองนั้น ไม่ได้เชี่ยวชาญนะหูแต่อย่างใด เพียงแต่พอจะเคยเรียนมาบ้างนิดหน่อยเท่านั้นเอง
ถามต่อล่ะกันน่ะครับ اسم العلم ทั้งหมดมีเท่าไหร่?
ถ้าจะถามว่า اسم العلم นั้นครอบคลุมอะไรบ้าง ก็ต้องตอบว่าเยอะแยะมากมายเลยครับ (แต่หนังสือเล่มเล็กๆมักจะยกตัวอย่างชื่อคน ชื่อสถานที่ ฯลฯ อะไรทำนองนั้นเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจในเบื้องต้น) ดังนั้นอุละมาอ์จึงนิยาม العلم ว่า :
اسم يدل على معين بحسب وضعه بلا قرينة
(คือนามที่บ่งบอกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องมีเกาะรีนะฮฺเสริม)
จากนิยามดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นชื่อเมืองชื่อประเทศ ชื่อคน ชื่อเผ่า ชื่อแม่น้ำทะเล ภูเขา หรือชื่อเดือน ก็ล้วนถือว่าเป็น اسم العلم ทั้งสิ้น
ซึ่งประเภทของ العلم โดยสรุป (เอาเท่าที่พอจะจำได้นะ รายละเอียดคงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาขยายความอีกที) ก็มีดังนี้
หนึ่ง : علم مفرد เช่น أحمد، خالد
สอง : علم مركب เช่น عبدالرحمن (เป็นการสมาสระหว่างคำสองคำ عبد + الرحمن)
ซึ่งประเภทมุร็อกกับ นี้ ก็อาจแบ่งได้เป็นประเภทย่อย ดังนี้
مركب مزجي (เป็นการสนธิคำสองคำเข้าด้วยกันเป็นชื่อหนึ่ง) เช่น بَعْلبَكّ
مركب إسنادي (เป็นการผสมระหว่างมุบตาดา+เคาบัร , ฟิอฺล+ฟาอิล หรือ มุฎอฟ+มุฎอฟุนอิลัยฮฺ เป็นชื่อๆหนึ่ง) เช่น جادَ الحق (ชื่อเชคอัซฮัรในยุคก่อน มาจาก جاد + الحق ซึ่งเป็นฟิอฺล+ฟาอิล)
นอกจากนี้ ก็ยังแบ่งได้อีกหลายประเภท แล้วแต่อิอฺติบาร เช่น
แบ่งตามอิอฺติบารนึง ก็จะได้ اسم، كنية، لقب
ในอีกอิอฺติบารนึง ก็จะได้ مرتجل، منقول
หรืออาจแบ่งได้เป็น علم شخص، علم جنس
เป็นต้น
ต้องกลับไปดูตำราอีกที ทิ้งมานานอาจจะมีขาดตกผิดพลาดไปบ้าง