salam
นี่คือสิ่งที่ท่านอัซฮะรีย์สร้างฟิตนะไว้กับอ.ปราโมทย์
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?PHPSESSID=a0800847079c9b9a491f17bacbb54997&topic=4412.15 ก. พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงดำรัสในซูเราะฮ์อัล-หุญุรอต อายะฮ์ที่ 6 ว่า ...
يَا أَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوْا إِنْ جَآءَكُمْ فَاسِقٌ بِنَبَأٍ فَتَبَيَّنُوْا أَنْ تُصِيْبُوْا قَوْمًا بِجَهَالَةٍ فَتُصْبِحُوْا عَلَى مَا فَعَلْتُمْ نَادِمِيْنَ
ศรัทธาชนทั้งหลาย หากคนชั่วคนใดนำข่าวใดมาบอกพวกเจ้า ก็จงสอบสวนให้แน่ชัดก่อน หาไม่แล้วพวกเจ้าจะสร้างเคราะห์กรรมแก่ชนกลุ่มหนึ่งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แล้วพวกเจ้าจะกลายเป็นผู้เสียใจในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำลงไป ...
ข. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
أَتَدْرُوْنَ مَاالْغِيْبَةُ ؟ قَالُوْا : اَللهُ وَرَسُوْلُهُ أَعْلَمُ، قَاَل : ذِكْرُكَ أَخَاكَ بِمَا يَكْرَهُ، قِيْلَ : أَفَرَأَيْتَ إِنْ كَانَ فِىْ أَخِىْ مَا أَقُوْلُ ؟ .. قَالَ : إِنْ كَانَ فِيْهِ مَا تَقُوْلُ فَقَدْ اغْتَبْتَهُ، وَإِنْ لَمْ يَكُنْ فِيْهِ مَا تَقُوْلُ فَقَدْ بَهَتَّهُ ...
พวกท่านทราบหรือไม่ว่า นินทา คืออะไร? .. พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮ์) กล่าวว่า .. อัลลอฮ์และรอซู้ลของพระองค์เท่านั้นที่รู้ยิ่ง, ท่านจึงกล่าวว่า .. (การนินทาก็คือ) การที่ท่านพูดเรื่องพี่น้อง(มุสลิม)ของท่านในสิ่งที่เขารังเกียจ, มีผู้ถามว่า .. โปรดบอกฉันด้วยว่า ก็ถ้าสิ่งที่ฉันพูดนั้นมันมีอยู่จริงในตัวพี่น้องของฉัน (จะเรียกว่านินทาหรือไม่?) ท่านก็ตอบว่า .. ถ้าสิ่งที่ท่านพูดมีอยู่จริงในตัวเขา ท่านก็นินทาเขา, และถ้าสิ่งที่ท่านพูดไม่มีอยู่จริงในตัวเขา ท่านก็ใส่ร้ายเขา ...
(บันทึกโดย ท่านมุสลิม โดยรายงานมาจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.) ...
ค. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลัม ยังเคยกล่าวอีกว่า ...
إِنَّ مِمَّا أَدْرَكَ النَّاسُ مِنْ كَلاَمِ النُّبُوَّةِ اْلأُوْلَى : إِذَا لَمْ تَسْتَحِ فَاصْنَعْ مَا شِئْتَ
แท้จริง หนึ่งจากสิ่งที่ประชาชนได้รับมาจากคำพูดของนบีย์ท่าน
ก่อนๆก็คือ เมื่อท่านไม่ละอาย ก็จงทำ(ทุกอย่าง) ที่ท่านต้องการเถิด ...
(บันทึกโดยท่านบุคอรีย์ โดยรายงานมาจากท่านอบูมัสอูด อัล-อันศอรีย์ ร.ฎ.) ...
4. ในส่วนของผู้ที่กล่าวว่า ตนเองฏออัตกับบาบอจนกระทั่งได้รับความรัก, ความพึงพอใจจากบาบอตลอดมา ผมก็ยินดีด้วยและขออวยพรให้เป็นจริงอย่างนั้นเถิด ...
แต่ .. ถ้าคำว่า ฏออัต ดังกล่าว หมายถึงว่า ตนเองเชื่อทุกอย่างที่บาบอพูด, คือบาบอว่าได้ก็ได้ บาบอว่าไม่ได้ก็ไม่ได้ .. โดยไม่กล้าขัดแย้งอะไรเลย ทั้งๆที่บางครั้งอาจจะมองเห็นแล้วว่า คำพูดหรือการกระทำบางอย่างของบาบอไม่น่าจะถูกต้อง สิ่งที่ผมกลัวก็คือ การฏออัตในลักษณะนี้มันจะเป็นเหมือนโองการที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ทรงดำรัสไว้ในซูเราะฮ์อัต-เตาบะฮ์ อายะฮ์ที่ 31 ที่ว่า ...
إِتَّخَذُوْا أَحْبَارَهُمْ وَرُهْبَانَهُمْ أَرْبَابًا مِنْ دُوْنِ اللهِ
พวกเขา (ชาวยิวและชาวคริ
สต์) ได้ยึดเอาบรรดาผู้รู้ของพวกเขาและบาดหลวงของพวกเขา เป็นพระเจ้าที่อื่นจากอัลลอฮ์ ..
ซึ่งได้รับคำอธิบายจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า ความหมายโองการดังกล่าว มิได้หมายความว่าพวกเขาทำนมาซและถือศีลอดเพื่อบรรดาผู้รู้หรือบาดหลวงเหล่านั้น แต่หมายถึงว่าพวกเขายอมฏออัต(คือเชื่อฟัง) ทุกอย่างที่ผู้รู้หรือบาทหลวงของพวกเขากล่าว นั่นแหละคือความหมายที่ว่ายึดเอาผู้รู้หรือบาดหลวงเป็นพระเจ้า ...
(จากหนังสือ อัส-สุนัน วัลมุบตะดะอาต หน้า 7) ...
5. ในส่วนที่ อ.อัซฮะรีย์กล่าวว่า ความรู้ของผมอาจจะไม่บะรอกะฮ์นั้น ...
เรื่องนี้ผมขอขอบคุณ อ.อัซฮะรีย์เป็นอย่างมากที่เป็นห่วงและหวังดีต่อผม ...
เรื่องความมีบะรอกะฮ์หรือไม่มีบะรอกะฮ์ในวิชาความรู้ของผู้ใด เจ้าตัวไม่อาจจะคิดเอาเอง, ทึกทักเอาเอง, หรือคิดแบบเข้าข้างตนเองได้หรอกว่า ความรู้ของตนมีบะรอกะฮ์หรือไม่ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ในเรื่องนี้ ...
สำหรับผมเชื่อว่า ไม่ว่าใครก็ตาม ถ้าจะแสวงหาความรู้มิใช่เพื่ออัลลอฮ์ แต่เพื่อนำความรู้นั้นไปกระทำหรือพูดในสิ่งที่เป็นความถูกใจของมนุษย์ (คือเน้นความ ถูกใจ ของมนุษย์เป็นหลัก แต่มิได้เน้นความ ถูกต้อง ของอัลลอฮ์), หรือแสวงหาความรู้โดยมีเจตนาเพื่อจะนำมันไปเป็นเครื่องมือสำหรับโต้แย้งกับผู้อื่น, หรือสร้างความสับสนให้ผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในศาสนา ผมคิดว่าความรู้ลักษณะนี้แหละที่ไม่น่าจะมีบะรอกะฮ์ ...
ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเคยกล่าวว่า ...
مَنِ الْتَمَسَ رِضَااللهِ بِسَخَطِ النَّاسِ كَفَاهُ اللهُ مُؤْنَةَ النَّاسِ، وَمَنِ الْتَمَسَ رِضَاالنَّاسِ بِسَخَطِ اللهِ وَكَلَهُ اللهُ إِلَى النَّاسِ ..
ผู้
ใดก็ตามที่แสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ ด้วย(การพูดหรือทำใน)สิ่งที่มนุษย์รังเกียจ พระองค์อัลลอฮ์ก็จะให้เพียงพอแก่เขาจากการพึ่งพาเพื่อนมนุษย์, และผู้ใดแสวงหาความโปรดปรานจากมนุษย์ด้วย (การพูดหรือทำ) สิ่งที่อัลลอฮ์กริ้ว พระองค์ก็จะมอบหมายเขาให้แก่มนุษย์ไป ...
(บันทึกโดยท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2540 โดยรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ.) ...
(คำว่า สิ่งที่อัลลอฮ์กริ้ว ผมว่าน่าจะหมายถึงการไม่ปฏิบัติตามหรือการปฏิเสธซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลฯ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมด้วยนะ) ...
และท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ยังกล่าวอีกว่า ...
مَنْ طَلَبَ الْعِلْمَ لِيُجَارِىَ بِهِ الْعُلَمَاءَ أَوْ لِيُمَارِىَ بِهِ السُّفَهَاءَ وَيَصْرِفَ بِهِ وُجُوْهَ النَّاسِ إِلَيْهِ أَدْخَلَهُ اللهُ النَّارَ
ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาความรู้ (โดยมีเจตนา)เพื่อจะใช้มัน(เป็นเครื่องมือ)ในการโต้แย้งกับนักวิชาการด้วยกัน หรือเพื่อสร้างความสับสนแก่ผู้ด้อยความรู้และเพื่อหวังจะให้ประชาชนหันมาหาเขา (คือยอมรับในความเก่งกาจของเขา) พระองค์อัลลอฮ์ก็จะนำเขาใส่ลงในนรก ...
(บันทึกโดย ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2805 โดยรายงานมาจากท่านกะอับ บินมาลิก ร.ฎ.ด้วยสายรายงานที่เฎาะอีฟ แต่ภาพรวมของหะดีษนี้ถือว่าเป็นหะดีษหะซัน ดังคำกล่าวของท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ เศาะเหี๊ยะฮ์อัต-ติรฺมีซีย์ เล่มที่ 2 หน้า 337) ..
ผมมั่นใจเป็นการส่วนตัวว่า อ.อัซฮะรีย์ คงไม่ใช่เป็นบุคคลในลักษณะดังกล่าวนี้อย่างแน่นอน ...
อ้างจาก
www.mureed.comจากจดหมายเปิกผนึกถึงอ.อัซฮะรีย็โดยอ.ปราโมทย์ศรีอุทัย