ผู้เขียน หัวข้อ: ร่วมกันเสวนา อธิบายและนำเสนอเกี่ยวกับศิฟาต 20  (อ่าน 2607 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด

อัสสลามุอลัยกุม

            ช่วยกันอธิบายกันนะครับ ใครเข้าใจอะไรอย่างไร ช่วยนำเสนอกัน แล้วผมจะรวบรวม แล้วส่งให้บังอัลฯ ตรวจทานเนื้อหาอีกที อินชาอัลลอฮฺ

วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
การนำเสนอต่อไปนี้ สืบเนื่องจากคำถามหนึ่งที่ถูกถามแก่ผมโดยสมาชิกท่านหนึ่งจากเว็บมุสลิมไทย ซึ่งเนื้อหานั้น ต่อมาผมได้ปรับสำนวนและเพิ่มเติมข้อมูลอีกมากกว่าเดิม จากที่นำเสนอในเว็บมุสลิมไทย ซึ่งมีดังต่อไปนี้

กระทู้ที่ 12 ตอบกระทู้โดย : beechern ( 23 เมษายน 52 17:55:00 )
               ตกลงนี่ลืม 99 พระนามไปหมดแล้วเหรอเนี่ย .... วันๆนี้ว่างกันจังนะครับ ขุดคุ้ยเรื่องพวกนี้มาถกอยู่ได้ เรื่องที่ควรแตะ กับเรื่องที่ไม่ควรแตะยังแยกไม่ออก แล้ววันๆๆเอาหน้าผาก+จมูกแนบพื้นไปทำซากอะไรครับ.... เรื่องพวกนี้เค้าต้องเอาไปพูดกับพวกที่หลงทาง แล้วนี่ดันมาคุยกันเอง...จำเริญ จำเริญ นะ โยม... อามิตตาพุทธ

กระทู้ที่ 18 ตอบกระทู้โดย : shabab jihad ( 23 เมษายน 52 20:52:00 )
              เห็นด้วยกับคุณ beechern..ครับ แต่ก็ต้องทำใจครับ เพราะเค้าเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ครับ.....น่าเสียใจนะว่า คนที่ไม่รู้ตัวเอง คนที่ไม่รู้จักตัวเอง เค้ามักจะพูดในสิ่งที่ตัวเองนั้น ไม่รู้ แต่ทำเป็นรู้ครับ... เฮอ..เหนื่อย มาเจอสิ่งๆนี้เรื่อยอ่ะ

-----------------------------------------------

ผม Al Fatoni กล่าวว่า :

             บทนำ
             แท้จริง "เอาวะลุดดีน ม๊ะอริฟะตุลลอฮฺ" (เริ่มแรกแห่งศาสนาคือการรู้จักอัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตอาลา), ก่อนที่เราจะรู้จักพระผู้เป็นเจ้า เราจำเป็นต้องรู้จักตัวเองก่อน ว่าโดยดั้งเดิมนั้น เราเป็นใคร? และเป้าหมายของเราคืออะไร? และสถานภาพของเราที่แท้จริงคืออะไร? ดังนั้น การวางตัวระหว่างเรากับพระผู้เป็นเจ้านั้น จะต้องเป็นอย่างไร? เป็นต้น

              การเรียนวิชาอุศูลุดดีน (ว่าด้วยรากเหง้าแห่งศาสนา) ด้วยวิธีการแบบอะฮฺลุสสุนนะฮ์วัลญมาอะฮ์อัลอชาอิเราะฮ์ ซึ่งมักจะมีการสอนโดยใช้ "ศิฟาต 20" กล่าวคือ
              ศิฟาต (เป็นคำพหูพจน์ของคำว่า ศิฟะฮ์ หรือ ศิฟัต) หมายถึง บรรดาคุณลักษณะแห่งอัลลอฮฺ ตอาลา ที่ถูกระบุในนั๊ศฺศ์ (ตัวบท) นั่นก็คือ กิตาบุลลอฮฺ (อัลกุรฺอาน) และอัสสุนนะฮ์ (อัลหะดีษ) และ...
             20 หมายถึง จำนวนนับยี่สิบคุณลักษณะแห่งอัลลอฮฺ ตอาลา ที่ได้มาจากตัวบทที่ระบุถึงคุณลักษณะข้างต้นมากและบ่อยที่สุด อีกทั้งตัวมันเองก็มีความเป็นคุณลักษณะหลักที่คุณลักษณะอื่นๆ ที่เหลือล้วนแต่อยู่ภายใต้เจตนารมณ์ของคุณลักษณะทั้งยี่สิบนี้ทั้งสิ้น

               ดังนั้น เมื่อรวมระหว่างทั้งสองก็จะได้ว่า ศิฟาต 20 อันหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮฺยี่สิบคุณลักษณะอย่างละเอียด พร้อมทั้งการระบุหลักฐานในแต่ละคุณลักษณะ ทั้งหลักฐานทางนักลีย์และอักลีย์ นอกจากนี้ มันยังเป็นอีกชื่อหนึ่งของสาขาวิชาว่าด้วย หลักการยึดมั่นแห่งอัลอิสลาม อีกด้วย ซึ่งมันจะครอบคลุมเนื้อหา 4 ประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้คือ:-

               1.) อัลอุลูฮียาต : จะกล่าวถึงบรรดาคุณลักษณะแห่งความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของอัลลอฮฺ ตอาลา ซึ่งจะกล่าวถึง
                           1.1.) 20 คุณลักษณะหลักที่จำเป็นต้องมีสำหรับอัลลอฮฺ ตอาลา    (Wajib    bagi Allah)
                           1.2.) 20 คุณลักษณะหลักที่เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮฺ ตอาลา   (Mustahil bagi Allah)
                           1.3.)   1 คุณลักษณะที่เป็นไปได้ตามพระประสงค์แห่งอัลลอฮฺ ตอาลา (Jaa'iz bagi Allah)

               2.) อันนุบูวาต : จะกล่าวถึงบรรดาคุณลักษณะแห่งความเป็นศาสนทูต (ร็สูล) ของบรรดาศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ซึ่งจะกล่าวถึง
                           2.1.) 4 คุณลักษณะหลักที่จำเป็นต้องมีสำหรับศาสนทูตทุกท่าน    (Wajib bagi Rasul)
                           2.2.) 4 คุณลักษณะหลักที่เป็นไปไม่ได้สำหรับศาสนทูตทุกท่าน    (Mustahil bagi Rasul)
                           2.3.) 1 คุณลักษณะที่เป็นไปได้สำหรับศาสนทูตทุกท่าน      (Jaa'iz    bagi Rasul)

              3.) อัสสัมอียาต : จะกล่าวถึงบรรดาสิ่งเร้นลับที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าของมนุษย์บนโลกนี้ อีกทั้งอยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ด้วย เช่น เรื่องบาปบุญ, สภาพ ณ ทุ่งมะหฺชัรฺ, นรกสวรรค์ เป็นต้น

             4.) อัลมุมกินาต : จะกล่าวถึงบรรดาสิ่งที่ตัวมันสามารถรับสภาพที่จะเกิดขึ้น หรือดับสูญก็ได้ หรือจะมี หรือไม่มีก็ได้ อาทิเช่น สิ่งที่อยู่รอบข้างตัวเราและสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลแห่งนี้ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งถูกสร้างที่ตัวมันสามารถรับสภาพดังกล่าวข้างต้นได้ ซึ่งต่างจากคุณลักษณะแห่งความเป็นพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรับสภาพดังกล่าว แม้เพียงเศษเสี้ยวแห่งผงธุลีก็ตาม
จากเนื้อหาที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดนั้น ก็ล้วนแต่ครอบคลุมอยู่ใน “หลักศรัทธาทั้งหกประการ” อยู่แล้ว ซึ่งเราจะได้กล่าวในลำดับต่อไปเกี่ยวกับเรื่องนี้
   
             แหล่งที่มาของหลักฐาน ที่ใช้ยืนยันในหลักศรัทธาให้มั่นคงยิ่งขึ้นนั้น จะได้มาจากสองแหล่งใหญ่ที่สำคัญคือ
                    1.) หลักฐานทางนักลีย์ : หมายถึง หลักฐานทางตัวบท (นั๊ศฺศ์) อันได้แก่ บรรดาโองการ (อายะฮ์) แห่งอัลกุรฺอาน และบรรดาอัลหะดีษของท่านผู้สื่อแห่งอัลลอฮฺ, มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม
                    2.) หลักฐานทางอักลีย์ : หมายถึง หลักฐานทางสติปัญญา เพื่อใช้ประกอบการใคร่ครวญพิจารณาสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น รวมทั้งที่สามารถสัมผัสได้หรืออยู่นอกเหนือประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อยืนยันถึงสัจธรรมแห่งคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า, อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตอาลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 22, 2009, 09:35 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
เหตุใดจึงต้องเรียนแค่ 20 ศิฟาต แล้วทำไมต้องใช้สติปัญญาร่วมในเรื่องนี้ด้วย?

            ในความเป็นจริงนั้น คุณลักษณะของอัลลอฮฺมีมากมายเหลือคณานับ ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริงได้เว้นแต่ อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตอาลา หนึ่งเดียวเท่านั้น แต่เหตุที่ต้องเรียนแค่ยี่สิบคุณลักษณะ ก็เนื่องจากยี่สิบคุณลักษณะข้างต้น ถือเป็นเพียงก้าวแรกของการศึกษาเกี่ยวกับวิชาเตาฮีด (ว่าด้วยความเอกะแห่งอัลลอฮฺ) เท่านั้นเอง ซึ่งผู้เรียนก็จะได้ทำการเจาะลึกไปอีกเกี่ยวกับบรรดาพระนามและคุณลักษณะแห่งอัลลอฮฺ ตอาลา ที่เหลืออีกจนครบทั้ง 99 ดั่งที่ถูกระบุในอัลกุรฺอานในขั้นต่อไป ซึ่งคุณลักษณะทั้งยี่สิบดังกล่าวนั้น เกิดจากการลงมติของปวงปราชญ์สาขาวิชานี้ว่า คุณลักษณะทั้งยี่สิบนั้น เป็นคุณลักษณะแม่ หรือคุณลักษณะหลัก ที่คุณลักษณะอื่นๆ ที่เหลือที่ปรากฏในอัลกุรฺอานและอัลหะดีษนั้น ล้วนแต่อยู่ภายใต้คุณลักษณะทั้งยี่สิบนี้

            ศิฟัต 20 ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการทำการรู้จักต่ออัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ ซึ่งเป็นวิธีการที่บรรดาอุละมาอ์แห่งโลกอิสลามให้การยอมรับ และยึดใช้ในการสอนผู้คนมากที่สุด อีกทั้งเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้สอนกันมาอย่างยาวนานเกือบตลอดช่วงระยะเวลาแห่งประวัติศาสตร์อิสลามก็ว่าได้ แม้แต่เดิมนั้น มันไม่ได้มีการนับ 20 ศิฟัตอย่างที่เรียนกันในปัจจุบันก็ตาม แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรที่เราจะต้องมานั่งถกเถียงกันถึงจำนวนของมัน เพราะก็อย่างที่ทราบอยู่แล้วคือ บรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮฺนั้นมีมากมายนัก จนไม่มีใครอาจล่วงรู้ถึงจำนวนของมันได้ เว้นแต่พระผู้ทรงครอบครองคุณลักษณะเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์นั้นเท่านั้น ซึ่งโดยแท้ของมันแล้วก็ล้วนแต่เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นก็คือ การยืนยันหลักฐานถึงการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ ด้วยสองหลักฐานอันเป็นที่ยอมรับกัน นั่นก็คือหลักฐานทางนักลีย์ และหลักฐานทางอักลีย์ ดังกล่าวนี้ ก็เพื่อเป็นการสกัดกั้นทางใดๆ อันจะนำมนุษย์ไปสู่ความสงสัย หรือมีความคิดที่คลุมเครือเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า เป็นการปิดประตูสิ่งดังกล่าวพร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นที่มั่นคงไปในตัวด้วยหลักฐานทั้งสองที่จะนำมาประกอบการพิจารณาร่วมกันทุกครั้ง
 
           โดยเฉพาะหลักฐานที่สองนั้น (อักลีย์) มักจะมีการโจมตีจากผู้ที่ไม่ใคร่จะเข้าใจถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงว่า ทำไม? แนวทางที่ใช้ศิฟัต 20 ในการทำการรู้จักต่ออัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ จึงต้องใช้สติปัญญาเข้ามาร่วมด้วย แม้มันจะไม่สมควรอย่างยิ่งตามทัศนะของพวกเขา
   
            ตอบ คำตอบง่ายๆ สำหรับข้อนี้ก็คือ เพราะอัลกุรฺอานและอัสสุนนะฮ์เองกลับแนะนำ และสั่งให้มนุษย์ใช้สติปัญญาของตนในการใคร่ครวญถึงสิ่งรอบตัวเขา เพื่อยืนยันถึงการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล และเพื่อให้เขาประจักษ์และตระหนักอยู่เสมอว่า เขาเป็นใครและมาบนโลกนี้เพื่ออะไร และผู้ใดที่ทรงอำนาจสิทธิ์ขาดอย่างแท้จริงในตัวเขาและสรรพสิ่งทั้งหลาย ความตระหนักในสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากเขาไม่รู้จักใช้สติปัญญาใคร่ครวญอย่างจริงจัง ซึ่งหากเราพิเคราะห์ถึงบทบัญญัติแห่งอิสลามแล้ว เราจะพบได้ว่า เงื่อนไขเกือบทั้งหมดที่ศาสนาบังคับเหนือนิติบุคคล (มุกัลลัฟ) ทุกคนนั้น จะมีสติสัมปชัญญะเป็นเงื่อนไขสำคัญอยู่ด้วยเสมอ สิ่งเหล่านี้จะบอกอะไรแก่เราหรือ ถ้าไม่ใช่เพราะความตระหนักและใคร่ครวญในสรรพสิ่งเพื่อยืนยันถึงการมีอยู่จริงและความซาบซึ้งในสัจธรรมแห่งพระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลจักรวาล ที่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการใช้สติปัญญานั่นเอง
   
            นอกจากนี้ หากว่ากันโดยพื้นฐานของมนุษย์แล้ว มนุษย์มักจะยอมรับอะไรที่สมเหตุสมผลเสมออยู่แล้ว ซึ่งก็เกิดจากการใช้สติปัญญานั่นเอง แต่ปัญหาที่ปรากฏก็คือ บางครั้งการคิดของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ได้วางอยู่ในกรอบความคิดที่เหมาะสมและสอดคล้องกับตัวบท อาจจะเป็นเพราะความไม่รู้เดียงสา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความโอหังก็ตามที ดังนั้น การที่มนุษย์จะจินตนาการถึงพระเจ้าของเขาไปต่างๆ นานา ที่ขัดกับความจริงตามตัวบทที่พระองค์ทรงเปิดเผยนั้น ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเกิดความผิดพลาด และความผิดพลาดนั้นก็อาจจะนำเขาเข้าสู่ห้วงแห่งการปฏิเสธพระองค์ก็เป็นได้ และยิ่งถ้าเขาเจอโองการใดๆ จากตัวบทที่มีความหมายคลุมเครือด้วยแล้ว ก็ย่อมเป็นอันตรายสำหรับเขาที่จะอ่านมันและเข้าใจอย่างผิวเผิน เพราะมนุษย์มักจะจิตนาการไปตามผิวเผินของสิ่งที่ตนได้รับ หรืออ่านมาเสมอเมื่อไม่มีผู้ใดมาชี้แนะแก่เขาถึงการนั้น
   
             ดังนั้น เพื่อเป็นการปิดประตูแห่งความคลุมเครือทางความคิดของมนุษย์ที่อาจจะมีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาได้ตลอดเวลา และเพื่อให้อกีดะฮฺ (หลักยึดมั่น) แห่งอิสลามนั้นคงความบริสุทธิ์อย่างที่มันเป็นมา และเพื่อให้การคิดของมนุษย์เกี่ยวกับพระเจ้ามีความสอดคล้องกับทั้งตัวบทและสติปัญญาไปพร้อมกันแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องชิง หรือรีบสร้างกรอบทางความคิดแก่มนุษย์เป็นพื้นฐานก่อนเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะแก่ผู้ศรัทธาเอง

          อาจจะเกิดคำถามได้ว่า แล้วทำไมยังต้องให้ผู้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าอยู่แล้วใช้สติปัญญาในการใคร่ครวญถึงการมีอยู่จริงของพระองค์อีกหละ หรือพวกเขายังไม่ได้ศรัทธาอย่างแท้จริง อย่างนี้ก็ไม่เรียกว่าผู้ศรัทธาสิ เพราะพวกเขายังคงคลุมเครือในพระองค์ ซึ่งการคลุมเครือถึงการมีอยู่ในพระผู้เป็นเจ้า ย่อมนำเขาสู่ห้วงแห่งการปฏิเสธศรัทธาต่อพระองค์ได้ แล้วเราจะว่าอย่างไรกับเรื่องนี้

          คำตอบของคำถามนี้ ก็คงจะตอบเช่นเดียวกับคำตอบสำหรับคำถามที่ผ่านมาแล้วข้างต้น แต่ที่จะเพิ่มเติมอีกนิดก็คือ ... (ใครอาสาจะตอบครับ)
   
             และสิ่งที่มีอยู่กับตัวมนุษย์เองทุกคนอยู่แล้วนั้น ไม่ว่าเขาจะศรัทธาต่อพระเจ้าหรือไม่ก็ตาม นั่นก็คือ สติปัญญา ดังนั้น สิ่งนี้ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่เราจำเป็นต้องรีบวางกรอบทางความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับพระเจ้าและสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมดไว้ภายใต้กฎที่วางไว้ ซึ่งกฎดังกล่าวก็ล้วนแต่ตายตัวในตัวมันเองและมีอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่มันได้ถูกนำมาทำให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และระบบหรือกระบวนการคิดข้างต้นก็ได้รับการพัฒนาอยู่เรื่อยมา ตามแต่สภาพที่บุคคลในแต่ละยุคสมัยจะเข้าใจมันได้

          วิธีการดังกล่าวก็โดยการวางพื้นฐานตัวบทเป็นแม่หลักของกระบวนการคิด ดังนั้น ความคิดใดๆ ที่ขัดแย้งกับตัวบท ความคิดนั้นก็ย่อมถูกปฏิเสธไปโดยปริยาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการคิดใดๆ ที่ขัดต่อตัวบท ในความเป็นจริงอันเป็นสัจธรรมนั้นมันก็ย่อมขัดกับเหตุผลและสติปัญญาอยู่แล้ว หากแต่ความคิดของมนุษย์เองที่อาจจะยังคิดไม่ถึงในข้อเท็จจริงของสิ่งนั้น และมักจะคิดว่ามันไม่สมเหตุสมผล หรือไม่เป็นความจริง โดยให้เหตุผลว่า มันไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
               
             ดังนั้น การวางระบบทางกระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เสียใหม่นั้น ก็เพื่อเป็นการปิดความคิดของมนุษย์จากการสร้างความคลุมเครือต่อคุณลักษณะของพระเจ้า และสรรพสิ่งทั้งหลายอย่างผิดฐานะที่มันควรจะเป็น ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในความคิดของเขาได้ตลอดเวลา ซึ่งไม่เว้นแต่ผู้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเองก็ตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 22, 2009, 09:44 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วยบรรดากฎเกณฑ์ที่จะใช้ประกอบการพิจารณาในการศึกษาศิฟาต 20

                     เริ่มแรกสุด ก่อนที่ผู้เรียนศิฟัต 20 จะต้องเรียนและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนนั้น ก็คือบรรดาหุกุม หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ในวิชาอุศูลุดดีน เพราะหุกุมเหล่านี้ จะถูกนำมาประกอบในการพิจารณาร่วมถึงสิ่งถูกสร้างต่างๆ ต่อไป เพื่อยืนยันถึงความมีอยู่จริงและคุณลักษณะต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะได้ว่า คุณลักษณะเช่นใดคือคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้าง และคุณลักษณะใดคือคุณลักษณะของพระผู้ทรงสร้างสรรพสิ่ง พระผู้ซึ่งทรงพระนามว่า อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตอาลา ซึ่งบรรดาหุกุม (กฎเกณฑ์) ดังกล่าวที่ว่านั้น มีดังต่อไปนี้

   1.) หุกุม-อาดัต หรือกฎเกณฑ์แห่งปกติวิสัย ซึ่งประกอบด้วย 3 กฎเกณฑ์คือ
                    1.1) กฎที่ตามปกติวิสัย (วาญิบต่ออาดัต) เช่นเมื่อเราเทน้ำ ตามปกติแล้วมันจะต้องลงมายังข้างล่าง หรือเราปลูกต้นมะพร้าวก็ต้องออกลูกมะพร้าว เป็นต้น กล่าวคือสิ่งต่างๆ ที่เราเห็นอยู่ที่ดำเนินไปตามวิถีของมัน อย่างสมควรแก่เหตุและผลนั้น เราเรียกว่า การดำเนินไปตามกฎปกติวิสัย นั่นเอง
                    1.2) กฎที่ผิดปกติวิสัย (มุสตะฮิลต่ออาดัต) เช่น เมื่อเราเทน้ำบนพื้นโลกที่มีแรงดึงดูด ซึ่งตามปกติแล้ว น้ำจะต้องตกลงยังพื้นล่าง แต่เมื่อเราเทน้ำครั้งนั้นบนพื้นโลกที่มีแรงดึงดูดอย่างเดียวกัน น้ำนั้นกลับลอยขึ้นไปทางทิศบน หรือเราปลูกต้นมะพร้าว ซึ่งโดยปกติ มันก็จะต้องออกลูกมะพร้าว แต่กลับออกลูกมะม่วงแทน ฯลฯ เหล่านี้เราจะเห็นได้ว่า มันขัดกับธรรมชาติ หรือขัดกับเหตุและผลที่มันควรจะเป็น ดังนั้น เราจึงเรียกว่า การดำเนินที่ขัดกับปกติวิสัย
                     1.3) กฎที่จะตามหรือผิดปกติวิสัยก็ได้ (ญาอิซต่ออาดัต) เช่น นาย ก.กินข้าว 3 จาน ซึ่งเป็นไปได้ที่เขาจะอิ่ม หรือไม่อิ่มก็ได้ ทั้งสองมีเหตุและผลในตัวมันเอง เป็นไปได้ทั้งสอง โดยไม่ขัดแย้งกัน เป็นต้น

   2.) หุกุม-อกัล หรือกฎเกณฑ์แห่งสติปัญญา ซึ่งประกอบด้วย 3 กฎเกณฑ์เช่นกัน คือ
                     1.1) กฎที่กินต่อสติปัญญา (วาญิบต่ออกัล) กฎข้อนี้มีคำนิยามอยู่ว่า "สิ่งใดๆ ที่ต้องมีเท่านั้น การไม่มีสำหรับมันเป็นสิ่งที่สติปัญญามิอาจยอมรับได้เลย" เช่น เรารู้ได้ว่า บ้านหลังหนึ่งที่อยู่ต่อหน้าจะต้องมีช่างทำการก่อสร้างมัน, ซึ่งสติปัญญาเราย่อมไม่ยอมรับ หากจะกล่าวว่า อยู่ดีๆ บ้านหลังหนึ่งได้ผุดขึ้นมาเองจากพื้นดิน โดยไม่มีใครมาสร้าง หรือประกอบมันขึ้นแต่อย่างใด เป็นต้น
                     1.2) กฎที่ขัดต่อสติปัญญา (มุสตะฮิลต่ออกัล) กฎข้อนี้มีคำนิยามว่า "สิ่งใดๆ ที่ต้องไม่มีเท่านั้น การมีสำหรับมันเป็นสิ่งที่สติปัญญามิอาจยอมรับได้เลย" เช่น การมีบุตรสำหรับอัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ แน่นอน การมีบุตรสำหรับอัลลอฮฺ เป็นการแสดงว่ามีอีกสิ่งหนึ่งได้แยกตัวมาจากพระองค์ และการที่มีบางสิ่งได้แยกตัวมาจากพระองค์ ย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีภาคีร่วม และการมีภาคีร่วมสำหรับพระองค์ เป็นการแสดงว่าพระองค์ไม่ได้ทรงอำนาจสิทธิ์ขาด และการไม่ทรงอำนาจสิทธิ์ขาด เป็นการแสดงว่าพระองค์ทรงอ่อนแอ และการอ่อนแอสำหรับพระองค์ เป็นการบ่งชี้ว่าพระองค์ทรงคุณลักษณะที่ไม่สมบูรณ์หรือบกพร่อง และสิ่งที่มีคุณลักษณะที่บกพร่อง ย่อมมิอาจถือว่าเป็นพระเจ้าได้เลย เพราะพระผู้เป็นเจ้าจะต้องทรงสิทธิ์ขาดในอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีภาคีร่วมใดๆ สำหรับพระองค์ในการบริหารสรรพสิ่ง และพระองค์จะต้องทรงคุณลักษณะที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง
                     1.3) กฎแห่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดหรือไม่มีสำหรับมัน (ญาอิซต่ออกัล) กฎข้อนี้ก็คือ สิ่งใดๆ ที่ล้วนแต่เป็นไปตามพระประสงค์แห่งอัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ ที่ทรงต้องการให้เกิดขึ้นหรือดับสลายไป เช่น การมีมนุษย์ เพราะอัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีขึ้นมา พระองค์ทรงสร้างมนุษย์จากความไม่มีให้มีขึ้น แต่หากคิดในอีกด้านหนึ่ง หากพระองค์ไม่ทรงต้องการให้มนุษย์มีขึ้น มันก็ย่อมกินกับปัญญา เพราะพระองค์ทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ โดยไม่มีผู้ใดสามารถบังคับได้ เป็นต้น

   3.) หุกุม-อาริฎิ หรือกฎนว (นะวะ - กฎที่เพิ่งมาใหม่ในภายหลัง) ซึ่งกฎนวนั้นหมายถึง สิ่งที่แต่เดิมนั้น เป็นสิ่งที่ตัวมันเองรับสภาพแห่งการมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งถ้าเทียบกับกฎเกณฑ์แห่งสติปัญญาแล้ว มันจะอยู่ในกฎที่สามคือ ญาอิซต่ออกัล กล่าวคือ มันจะมีหรือไม่มี, เกิดขึ้นหรือดับสูญ ทุกอย่างนั้นก็ล้วนแต่เป็นไปตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ อย่างไม่ผิดเพี้ยนใดๆ ดังนั้น ในเวลาต่อมาเมื่อมีการยืนยัน, สำทับหรือสัญญาจากตัวบท (นั๊ศฺศ์) อีกที ว่ามันจะเกิดขึ้น หรือดับสูญในอนาคต ดังนั้น มันก็จะต้องเป็นไปตามนั้นอย่างไม่บิดพลิ้วใดๆ ซึ่งเราเรียกว่า กฎนวที่ต้องเป็น หรือ "วาญิบต่ออาริฎิ" นั่นเอง ตัวอย่างเช่น วันกิยามะฮ์ ซึ่งแต่เดิมนั้น มันจะเกิดหรือไม่เกิดก็ล้วนแต่เป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น แต่ต่อมา เมื่อได้มีการยืนยันในพระคัมภีร์ของพระองค์ว่ามันจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้น จากเดิมที่มันจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ มันก็จะผันเป็นกฎที่จำเป็นต้องเกิดเนื่องจากอัลกุรฺอานได้ทำการยืนยันสำทับมันอีกที และการที่มันไม่เกิด ย่อมเป็นการขัดต่อสิ่งที่ได้ถูกยืนยันไว้แล้ว แต่หากพิจารณาในทางสติปัญญาประกอบกับโองการที่กล่าวว่าอัลลอฮฺทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์แล้ว ดังนั้น การข้างต้น หากมันจะไม่เกิดขึ้น แม้จะได้มีการยืนยัน, สำทับ หรือสัญญาจากตัวบทแล้วก็ตาม การนั้นก็ย่อมมิอาจเกิดขึ้นหากอัลลอฮฺมิทรงประสงค์เช่นนั้น แต่เนื่องด้วยพระองค์ทรงกล่าวไว้เช่นกันว่าแท้จริงพระองค์มิทรงบิดพลิ้วในสัญญาใดๆ เช่นกัน ดังนั้น สิ่งดังกล่าวก็ย่อมต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเมื่อว่าไปตามที่ทรงสัญญาไว้ในตัวบท และสิ่งใดๆ ที่ถูกสัญญาในตัวบท แต่ไม่เกิดขึ้น สิ่งนั้นเราเรียกว่า กฎนวที่เป็นไปไม่ได้ หรือ "มุสตะฮิลต่ออาริฎิ" และสิ่งใดที่สามารถรับสภาพการเกิด หรือดับสูญได้ทั้งสอง สิ่งนั้นเราเรียกว่า กฎนวที่เป็นไปได้ทั้งสอง หรือ "ญาอิซต่ออาริฎิ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 22, 2009, 09:50 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
นี่คือหุกุม (กฎเกณฑ์) เบื้องต้น ซึ่งผู้ที่เรียนศิฟัต 20 ทุกคน จำเป็น (วาญิบ) จะต้องเรียนและทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานก่อนเข้าสู่เนื้อหาจริงๆ คือศิฟัต 20 
   
            เราจะเห็นได้ว่า การใช้สติปัญญาร่วมในการพิจารณาเกี่ยวกับศิฟัต 20 นั้น ล้วนแต่เป็นการวางกรอบทางความคิดใหม่ โดยเอาตัวบทเป็นที่ตั้ง เพื่อให้ทุกอย่างสอดคล้องกับตัวบทเป็นหลัก อีกทั้งยังจะสอดคล้องกับหลักเหตุและผลและหลักแห่งสติปัญญาไปในตัวด้วย ทำให้ผู้ที่ร่ำเรียนเกี่ยวกับหลักยึดมั่น (อกีดะฮ์) แห่งอิสลามนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ศรัทธาเอง หรือผู้ที่ไม่ใช่ผู้ศรัทธาจะเกิดความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ตนยึดถืออยู่ หรือกำลังจะยึดถือนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ไร้เหตุผล หรือมิอาจยอมรับได้แต่อย่างใด หากแต่สิ่งที่เขายึดมั่นนั้น ยังจะสอดคล้องกับตัวบทอีกด้วย เพราะกฎทางสติปัญญาทั้งหมดจะสอดคล้องกับตัวบท และตัวบทก็จะสอดคล้องกับกฎทางสติปัญญาข้างต้นด้วยเช่นเดียวกัน หากแต่ความคิดของมนุษย์เท่านั้นที่อ่อนแอและมีความจำกัด ทำให้บางสิ่งแม้ในความเป็นจริงมันจะสอดคล้องกับสัจธรรมและเหตุผล แต่หากมนุษย์ไม่รู้จักใช้สติปัญญาเท่าที่ควร แน่นอน สัจธรรมย่อมไม่ปรากฏต่อเขาเป็นแน่

            จิตใจของมนุษย์ย่อมไม่หยุดอยู่นิ่ง และมักจะเกิดความสงสัยจากการใคร่ครวญต่างๆ นานาอยู่เสมอ ยิ่งเป็นยุคที่ห่างไกลจากยุคของท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ด้วยแล้ว ความคงมั่นในศรัทธาเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ก็ยิ่งมีความคลุมเครือและพร้อมที่จะสั่นคลอนได้ทุกเมื่อด้วยข้ออ้างทางหลักเหตุผลที่นำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้าของเขาตามหลักแห่งวิทยาศาสตร์ และท้ายสุด บางคนก็พบกับจุดจบที่ว่า การไม่มีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสัจธรรมที่แท้จริง เนื่องจากมันไม่กินกับปัญญาเอาเสียเลย เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า วัลอิยาฑุบิลลาฮิมินฑาลิก
   
            โดยเฉพาะยุคสมัยนี้ เป็นยุคแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาการวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การยืนยันในสิ่งใดๆ มักจะวางพื้นฐานว่า ต้องกินกับสติปัญญาและสอดคล้องกับเหตุและผล สำหรับบางคนแล้ว, เพียงแค่การยืนยันโองการสำหรับพวกเขา ย่อมไม่เพียงพอเป็นแน่ เพราะบางครั้ง แม้แต่ผู้ศรัทธาเองก็ยังสั่นคลอนและเกิดความแคลงใจเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าของเขาได้ทุกเมื่อแม้จะมีโองการมายังเขาแล้วก็ตาม เพราะเขายังคงหมกมุ่นอยู่กับการใช้สติปัญญาใคร่ครวญเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา โดยไม่ได้รับการวางกรอบทางความคิดที่สอดคล้องกับตัวบท แน่นอน การออกนอกลู่ของเขาย่อมเป็นสิ่งที่ง่ายดายยิ่งนัก

         และหากเราศึกษาถึงเจตนารมณ์และความลุ่มลึกในการเข้าใจถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ที่มีอยู่อัลกุรฺอานแล้ว เราจะพบว่า อัลกุรฺอานไม่เพียงแต่เชิญชวนมนุษย์ให้ศรัทธาต่อการมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น แต่อัลกุรฺอานเองยังได้แนะนำเชิงสั่ง เพื่อให้มนุษย์ใคร่ครวญในสิ่งรอบข้างตัวเขา หรือแม้กระทั่งตัวเขาเอง เพราะอัลลอฮฺทรงรู้ถึงระดับจิตใจของมนุษย์เป็นอย่างดี หากมนุษย์มีความเพียงพอแล้ว กับแค่การบอกกล่าวในอัลกุรฺอานถึงการมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า เราก็คงจะไม่พบโองการที่แนะนำ หรือสั่งให้มนุษย์ใช้สติปัญญาใคร่ครวญถึงการมีอยู่จริงของพระองค์เป็นแน่ 
   
            เพื่อยืนยันเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา ดังนั้น เมื่อมีการนำมนุษย์มาสู่กระบวนการคิดที่สอดคล้องกับตัวบทโดยใช้สติปัญญาซึ่งก็เป็นสิ่งที่เขามีแต่เดิมอยู่แล้ว แน่นอนทีเดียว การที่เขาจะยอมรับสัจธรรมแห่งพระผู้เป็นเจ้า และมองว่าสัจธรรมเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลก็ย่อมเป็นเรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องเหลวไหลใดๆ เลย เนื่องเพราะสิ่งที่เขายึดอยู่นั้นสอดคล้องกับทั้งสติปัญญาและตัวบท และเขาก็จะรู้ถึงความแตกต่างระหว่างอกีดะฮ์อิสลามกับอกีดะฮ์อื่นที่ไม่ใช่อิสลาม, อัลหัมดุลิลลาฮฺ ขอพระองค์ทรงให้ตัวเรา คำพูดของเรา และจิตใจของเราคงมั่นในสัจธรรมแห่งพระองค์ตลอดไปด้วยเถิด, อามีน ยา ร็อบบัลอาละมีน - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุ อลัยกุม วะร็อหฺมะตุลลอฮิ ตอาลา วะบะร็ก้าตุฮฺ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 22, 2009, 09:52 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ช่วยกันนำเสนอ อธิบาย และเสวนาร่วมกันนะครับ และจากที่ผมนำเสนอข้างต้น ช่วยกันท้วงติงข้อพลาดได้ ซึ่งมันต้องมีแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเป็นหนทางในการศึกษาแก่ตัวผมเองอีกทางหนึ่งด้วย - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
อินชาอัลลอฮฺ เดียวผมจะเพิ่มหลักฐานอีกครับ เพราะที่เขียนข้างต้น เป็นเพียงการร่าง เพื่อตอบโต้คนบางคนที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับศิฟัต 20 ณ ที่เว็บมุสลิมไทย - วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
การกำหนดว่าต้องศึกษาศิฟาต 20 มีประวัติอย่างไรหรือ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และใครเป็นคนกำหนดหรือเริ่มต้นแบบนี้ ช่วยยกประวัติความเป็นมาหน่อยได้ไหม ถ้าจะกรุณา

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
การกำหนดว่าต้องศึกษาศิฟาต 20 มีประวัติอย่างไรหรือ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และใครเป็นคนกำหนดหรือเริ่มต้นแบบนี้ ช่วยยกประวัติความเป็นมาหน่อยได้ไหม ถ้าจะกรุณา

             ศิฟัต 20 ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการทำการรู้จักต่ออัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ ซึ่งเป็นวิธีการที่บรรดาอุละมาอ์แห่งโลกอิสลามให้การยอมรับ และยึดใช้ในการสอนผู้คนมากที่สุด (โดยเฉพาะในแถบเอเชียอาคเนย์) อีกทั้งเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้สอนกันมาอย่างยาวนานเกือบตลอดช่วงระยะเวลาแห่งประวัติศาสตร์อิสลามก็ว่าได้

          แม้แต่เดิมนั้น มันไม่ได้มีการนับ 20 ศิฟัตอย่างที่เรียนกันในปัจจุบันก็ตาม (เพราะในยุคแรกเริ่มของศิฟัต 20 นั้น จะพูดกันใน 7 ศิฟัต คือ กุดเราะฮ์, อิรอดะฮ์, อิลฺม์, หั๊ยฺย์, สะมะอฺ, บะศ็อร, กะลาม และเมื่อในยุคต่อมา อุละมาอ์บางท่านมีความเห็นว่า สมควรที่จะแยกบางศิฟัตเพื่อกล่าวเป็นการเฉพาะอีกต่างหาก และบางอุละมาอ์ก็มีความเห็นว่า บางศิฟัตไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงแล้ว เพราะเมื่อกล่าวถึงอัลลอฮฺ มันก็ย่อมรู้ทันทีว่าศิฟัตนี้มีอยู่กับพระองค์โดยปริยาย เช่นศิฟัตวุญุด เป็นต้น และนอกจากนี้นั้น ยังเป็นที่ปรากฏแก่เราว่า บางอุละมาอ์ได้นับศิฟัตหลักออกเป็น เจ็ดบ้าง, สิบสามบ้าง และยี่สิบบ้าง ซึ่งอย่างหลังสุด ถือเป็นที่ยอมรับมากที่สุด แต่โดยเนื้อหาและเป้าหมายในหลักยึดมั่นแล้วนั้น ก็คืออย่างเดียวกันนั่นเอง)

             แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรที่เราจะต้องมานั่งถกเถียงกันถึงจำนวนของมัน (เพราะหากเราพิจารณาดูแล้วนั้น ทุกศิฟัตก็หวนกลับไปยังพระนาม "อัลลอฮฺ" ด้วยกันทั้งสิ้น) เพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วคือ บรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮฺนั้นมีมากมายนัก จนไม่มีใครอาจล่วงรู้ถึงจำนวนของมันได้ เว้นแต่พระผู้ทรงครอบครองคุณลักษณะเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์นั้นเท่านั้น ซึ่งโดยแก่นแท้ของมันแล้วก็ล้วนแต่เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นก็คือ การยืนยันหลักฐานถึงการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ สุบฺห์ฯ ด้วยสองหลักฐานอันเป็นที่ยอมรับกัน นั่นก็คือหลักฐานทางนักลีย์ และหลักฐานทางอักลีย์

          ดังกล่าวนี้ ก็เพื่อเป็นการสกัดกั้นทางใดๆ อันจะนำมนุษย์ไปสู่ความสงสัย หรือมีความคิดที่คลุมเครือเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า เป็นการปิดประตูสิ่งดังกล่าวพร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นที่มั่นคงไปในตัวด้วยหลักฐานทั้งสองที่จะนำมาประกอบการพิจารณาร่วมกันทุกครั้ง

          (การตอบข้างต้น มันอาจจะยังไม่สมบูรณ์นัก แต่หากบัง Get มีข้อมูลที่ดีกว่า ก็เชิญนำเสนอได้ครับ การตอบของผมข้างต้น ผมไม่ได้มีการอ้างอิงใด ก็เนื่องจากเป็นการสรุปจากความเข้าใจของผมอีกที จากที่ได้เรียนมา และอินชาอัลลอฮฺ จะทะยอยเสริมหลักฐานไปเรื่อยๆ ซึ่งผมก็ยังคงต้องการการชี้แนะและท้วงติงจากท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วย) - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอลัยกุม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 23, 2009, 10:43 AM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ vrallbrothers

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 498
  • ALLAH MAHA BESAR...
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
 salam


จากสิ่งที่น้อง Al Fatoni อธิบายเรื่อง หุกุม-อาริฎิ นั้น จากข้างต้นที่ยกตัวอย่างมาสำหรับหุกุม วาญิบต่ออาริฎิ ก็คือ วันกิยามะห์จะเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอนตามหุกุมนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงสัญญาไว้ในอัลกุรอาน ดังนั้น

และจะทำให้ได้ว่า มุสตะฮิลต่ออาริฎิ ก็คือ วันกิยามะห์จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ต่อฮุกุมอาริฎิ ใช่ไหมครับ?

และในการยึดมั่นต่อหุกุม-อาริฎิ นั้น วาญิบต่ออาริฏิสำหรับสิ่งใด ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องยึดมั่นคู่กันกับมุสตะฮิลต่ออาริฎิสำหรับสิ่งนั้น เหมือนกับหุกุมต่ออกัลที่จะต้องยึดมั่นคู่กันสำหรับวาญิบต่ออกัลกับมุสตะฮิลต่ออกัล ใช่ไหมครับ?

และรบกวนน้อง Al Fatoni หรือผู้รู้ช่วยอธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติม สำหรับหุกุมญาอิซต่ออาริฎิ ด้วยนะครับ เพื่อความกระจ่างชัดยิ่งขึ้นครับ


ญะซากุมุลลอฮ์ ครับ

 myGreat:


เวลาเปรียบเสมือนคมดาบ...หากท่านไม่ตัดมัน มันจะตัดท่าน



ยะฮูดีใช้ระเบิดฟอสฟอรัส... เลวร้าย ป่าเถื่อนยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
             คุณ vrallbrothers กล่าวว่า: จากสิ่งที่น้อง Al Fatoni อธิบายเรื่อง หุกุม-อาริฎิ นั้น จากข้างต้นที่ยกตัวอย่างมาสำหรับหุกุม วาญิบต่ออาริฎิ ก็คือ วันกิยามะห์จะเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอนตามหุกุมนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงสัญญาไว้ในอัลกุรอาน ดังนั้น และจะทำให้ได้ว่า มุสตะฮิลต่ออาริฎิ ก็คือ วันกิยามะห์จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ต่อฮุกุมอาริฎิ ใช่ไหมครับ?
            และในการยึดมั่นต่อหุกุม-อาริฎิ นั้น วาญิบต่ออาริฏิสำหรับสิ่งใด ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องยึดมั่นคู่กันกับมุสตะฮิลต่ออาริฎิสำหรับสิ่งนั้น เหมือนกับหุกุมต่ออกัลที่จะต้องยึดมั่นคู่กันสำหรับวาญิบต่ออกัลกับมุสตะฮิลต่ออกัล ใช่ไหมครับ?
            และรบกวนน้อง Al Fatoni หรือผู้รู้ช่วยอธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติม สำหรับหุกุมญาอิซต่ออาริฎิ ด้วยนะครับ เพื่อความกระจ่างชัดยิ่งขึ้นครับ, ญะซากุมุลลอฮ์ ครับ

 ---------------------------------------

            ผม Al Fatoni กล่าวว่า: หุกุมอาริฎินั้น คือหุกุมที่ถูกขี้ขาดขึ้นมาใหม่ จากสภาพบังคับเดิมที่มันจะมี หรือไม่มีก็ได้ หุกุมนี้โดยรวมแล้ว จะอยู่ในหุกุมญาอิซต่ออกัล กล่าวคือ สิ่งต่างๆ ที่เป็นไปตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ

         แต่เมื่อได้มีการกล่าวสัญญา หรือสำทับ หรือยืนยันในอัลกุรฺอานและหะดีษที่เชื่อถือได้ ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นแน่นอน เช่น วันกิยามะฮ์ เป็นต้น มันก็สามารถแยกหุกุมได้เป็นดังนี้คือ
         1.) วาญิบต่ออาริฎิ คือ สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ตามที่ถูกสัญญา หรือสำทับ หรือยืนยันจากบรรดานั๊ศฺศ์ต่างๆ คืออัลกุรฺอานและอัลหะดีษที่เชื่อถือได้
         2.) มุสติหิลต่ออาริฎิ คือ สิ่งที่ถูกสัญญา หรือสำทับ หรือยืนยันในนั๊ศฺศ์ แต่ผลปรากฏว่า มันไม่ได้เกิดขึ้นตามนั้น ถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อนั๊ศฺศ์ที่ถูกสัญญาไว้แล้วข้างต้นว่าจะเกิดขึ้น
         3.) ญาอิซต่ออาริฎิ คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดก็ได้ ที่ถูกสัญญา หรือสำทับ หรือยืนยันในนั๊ศฺศ์

         ดังนั้น เมื่อเรามองภาพรวมจากทั้งสามหุกุมอาริฎินี้แล้ว เราจะเห็นว่า ล้วนแต่เป็นสิ่งมุมกิน หรือญาอิซที่จะเกิด หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นไปตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺอย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อสิ่งนั้นถูกสัญญา หรือสำทับ หรือยืนยันอีกครั้งในนั๊ศฺศ์ว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้น จากหุกุมเดิมที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ก็ผันมาเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเกิดขึ้นหรือดับสูญสลายไป ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดที่ดั้งเดิมอยู่แล้ว - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอลัยกุม

          * ฝากให้ผู้รู้ช่วยตรวจทานในสิ่งที่ผมนำเสนอด้วยนะครับ หากไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์อย่างไร เชิญท้วงติง หรือเสริมได้ทันทีเลยครับ เพื่อที่ตัวผมเองจะได้เรียนรู้ด้วย
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged