ผู้เขียน หัวข้อ: รอยสัก+ การซื้อทองเพื่อเกร็งกำไร  (อ่าน 4341 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ JawhaR

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1303
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: รอยสัก+ การซื้อทองเพื่อเกร็งกำไร
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ก.ย. 15, 2011, 11:45 PM »
0
ขอถามอีกคำถามนะครับ        การซื้อทองคำมาเก็บไว้โดยตั้งใจจะขายในตอนที่ราคาทองคำสูงขึ้น(ชื้อทองคำเพื่อเกร็งกำไร) ใช้ได้หรือไม่ตามหลักการอิสลาม?     แล้วถ้าหากว่าใช้ได้แล้ว การออกซากาตจะเข้าอยู่ในเรื่องไหน
ระหว่างซะกาตเงิน-ทอง (นักดัย)  หรือว่าจะตอ้งออกซะกาตในเรื่องค้าขาย (عروض التجارة)?ขอบคุณสำหรับคำตอบ

ไม่ว่าจะซื้อทองมาเก็บไว้หรือซื้อทองเพื่อทำการค้า(กำไร) หากครบพิกัดและครบรอบปี  ก็ต้องจ่ายซะกาตน่ะครับ 

วัลลอฮุอะลัม


เเสดงว่า เราสามารถซื้อทองมาเก็งกำไรได้ใช่มั้ยครับ

I'm just a Mini Muslim and will try to be   StrongeR. Insha-Allah

ออฟไลน์ pajupong

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 64
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: รอยสัก+ การซื้อทองเพื่อเกร็งกำไร
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ต.ค. 27, 2011, 10:11 AM »
0
พอถึงเวลา359วัน ก็เอาออกมาขาย พรุ่งนี้ซื้อมาเก็บต่อ

เก่งแฟกอฮเยอะๆเนี่ยใช้หากินได้เลยพวกนี้ 5555

พูดเล่นหรือจริงเนี้ย น้อง  oh:

ออฟไลน์ Pakarang

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รอยสัก+ การซื้อทองเพื่อเกร็งกำไร
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ต.ค. 28, 2011, 11:58 AM »
0
ถึงพิกัด  6 บาทป่าว และก็จ่าย 2.5% ป่าว ไม่แน่ใจ
ปัญหามีไว้แก้  ไม่ได้มีไว้หาคนผิด

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
Re: รอยสัก+ การซื้อทองเพื่อเกร็งกำไร
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ต.ค. 29, 2011, 09:00 AM »
0
การซื้อทองคำมาเก็บไว้โดยตั้งใจจะขายในตอนที่ราคาทองคำสูงขึ้น(ชื้อทองคำเพื่อเกร็งกำไร) ใช้ได้หรือไม่ตามหลักการอิสลาม?     แล้วถ้าหากว่าใช้ได้แล้ว การออกซากาตจะเข้าอยู่ในเรื่องไหน
ระหว่างซะกาตเงิน-ทอง (นักดัย)  หรือว่าจะตอ้งออกซะกาตในเรื่องค้าขาย (عروض التجارة)?ขอบคุณสำหรับคำตอบ

เป็นซะกาตการค้า ต้องออกซะกาตการค้าเมื่อครบรอบปี

คนที่ทำการค้าเขาก็เก็งกำไรกันทั้งนั้นครับ




อ้างถึง
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

การค้าหมายถึง การแลกเปลี่ยนทรัพย์กับสิ่งตอบแทน เพื่อผลกำไรและการค้าไม่จำกัดว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด ดังนั้นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าก็คือ สินค้าที่มีการเปลี่ยนมือเพื่อผลกำไร (ปลาสวยงามและต้นไม้ประดับก็เข้าอยู่ในคำนิยามนี้)

และทรัพย์สินที่อยู่ในการครอบครองกรรมสิทธิ์ จะไม่กลายสภาพเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตนอกจากต้องมีเงื่อนไขประการนี้

1. ได้ทรัพย์นั้นมาครอบครองโดยมีข้อตกลงแลกเปลี่ยน เช่น ซื้อขาย เป็นต้น ถ้าหากได้มาครอบครองโดยการรับมรดก หรือพินัยกรรม หรือยกให้ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้า

2. เมื่อครอบครองแล้วมีเจตนาเอาไว้ใช้ในการค้า และการมีเจตนานี้มีอยู่โดยตลอด หากได้ครอบครองแล้วไม่มีเจตนาเอาไว้ใช้ในการค้า ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการค้าที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และหากมีการเปลี่ยนเจตนาในภายหลังก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเช่นกัน


ทรัพย์ที่ใช้ทำการค้านั้น ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับทองคำและเงินในเรื่องพิกัด,การครบรอบปี และจำนวนที่จำเป็นต้องจ่ายออกไป กล่าวคือ ให้ตีราคาสินค้าเป็นทองคำหรือเงิน ที่ใช้เป็นเงินตรา ดังนั้นถ้าหากราคาสินค้ามีค่าเท่ากับทองคำ 96 กรัม หรือเท่ากับเงินสองร้อยดิรฮัมก็จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และผู้ทำการค้ามีสิทธิที่จะเลือกว่าจะเทียบราคาสินค้ากับทองคำหรือกับเงิน ยกเว้นในกรณีที่เขาซื้อสินค้ามาด้วยราคาที่เป็นทองคำหรือเป็นเงิน ก็จำเป็นต้องตีราคาตามนั้นโดยไม่มีสิทธิเลือก ทั้งนี้มีหลักให้พิจารณาท้ายปี นับแต่เริ่มทำการค้า โดยไม่พิจารณาว่าทรัพย์ที่ใช้ในการทำการค้านั้นจะครบพิกัดหรือไม่ในตอนเริ่มต้น และไม่ต้องคำนึงว่าทรัพย์นั้นต้องมีอยู่ครบตามพิกัดตลอดทั้งปี กล่าวคือ ให้พิจารณาการครอบครองสินค้าโดยมีเจตนาทำการค้าครบหนึ่งปี (ตามจันทรคติ) โดยเมื่อครบรอบปีให้ผู้ทำการค้าสำรวจสินค้าทุกชนิดในร้านของตนที่มีไว้เพื่อขาย

เช่น สำรวจจำนวนของปลาสวยงามมีทั้งหมดเท่าไหร่และทั้งหมดรวมเป็นจำนวนเท่าใด เงินจำนวนนั้นถึงอัตราพิกัดหรือไม่ เป็นต้น และให้ตีราคาสินค้าขณะสำรวจเป็นราคาทองคำหรือเงิน ถ้าถึงอัตราพิกัดก็ให้จ่ายซะกาตเศษหนึ่งส่วนสี่ของเศษหนึ่งส่วนสิบ (ร้อยละ 2.5%) ถ้าหากไม่ถึงอัตราพิกัด ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต และสิ่งที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตนั้นเป็นราคาของสินค้าที่ตีราคาได้ มิใช่ตัวสินค้าแต่อย่างใด ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในมัซฮับอัชชาฟิอีย์ แต่ถ้าจะจ่ายเป็นตัวสินค้าตามทัศนะที่ระบุเช่นนั้น ก็สามารถทำได้ โดยต้องจ่ายร้อยละสองครึ่งจากสินค้าทุกชนิดที่ครอบครองซึ่งตัวสินค้าดังกล่าวต้องไม่มีตำหนิหรือเสื่อมความนิยมจากท้องตลาด หากนำสินค้าที่มีลักษณะดังกล่าวมาจ่ายก็ถือว่าใช้ไม่ได้
(สรุปความจากอัลฟิกฮุล-มันฮะญี่ย์ เล่มที่ 2 หน้า 26 , 27 , 43-45)

والله أعلم بالصواب
http://www.alisuasaming.com/index.php/webbord/17---/369





كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



 

GoogleTagged