ข้อความโดย: GeT
ใส่การอ้างถึงคำพูด
อ้างจาก: Al Fatoni ที่ วันนี้ เวลา 03:08 pm
จริงอยู่ที่ประเด็นฟิกฮฺบางเรื่อง แค่ประเด็นเดียวก็มีหลากหลายทัศนะ แต่ก็ใช่ว่า ทุกทัศนะจะเป็นที่อนุญาตให้ปฏิบัติได้หมด แม้ทัศนะนั้นจะแข็งก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้น จะอนุญาตให้เขาหันไปปฏิบัติด้วยกับอีกทัศนะหนึ่งได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้อยู่ในบริบท เงื่อนไข และสภาวะตามที่เอื้ออำนวย หรือจำเป็น หรือเข้าตามเกณฑ์ที่กำหนดของทัศนะนั้นๆ พอดี เขาก็สามารถที่จะปฏิบัติอีกทัศนะหนึ่งเมื่อเขาต้องการ แต่ถ้าหากเขาไม่ได้อยู่เกณฑ์ข้างต้น การที่เขาคงอยู่ในทัศนะเดิมย่อมเป็นการสมควรกว่า และไม่อนุญาตให้เขาปฏิบัติตามอีกทัศนะเพราะมองว่าอีกทัศนะหนึ่งมันตรงกับอารมณ์ของตน หรือมันสร้างความง่ายดายแก่ตนเอง ทั้งๆ ที่ตนไม่ได้เข้าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้เลย ดังนั้น จึงเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) ที่จะเขาปฏิบัติเช่นนั้น เพราะถือว่าเขากำลังศาสนาให้เป็นของเล่นสำหรับเสียแล้ว - วัลอิยาฑุบิลลาฮฺ - วัสสลามุอลัยกุม
แสดงว่า ถ้าเขาปฏิบัติตามอีกทัศนะหนึ่ง ไม่ใช่เพราะตรงกับอารมณ์ของตน หรือสร้างความง่ายดายแก่ตน แต่เพราะเขาเห็นว่าอีกทัศนะมีหลักฐานที่แน่นกว่า และใกล้เคียงกับความถูกต้องมากกว่า ซึ่งบางครั้งอาจจะลำบากกว่าทัศนะเดิมด้วยซ้ำ แบบนี้ถือว่าอนุญาตใช่หรือไม่ใช่
[/b] [/color]
ครับ..ถือว่าไม่เป็นไร...ถ้าจะกระทำเช่นนั้น
แต่การเลือกปฏิบัติตมทัศนะใดๆนั้นจำเป็นเขาต้องเรียนรู้ในมัสหับนั้นๆเสียก่อน ....ไม่ใช่ถือ เอาความสะดวกบวกกับอารมคล้อยตามกับสิ่งนั้นว่า มันง่ายกว่า โดยเอาความง่ายนั้นไปห้อยติดกับหลักฐานที่ตนคิดว่า นี่แหละใช่เลย
ฉนั้น ความถูกต้องนั้น จะไปยึดว่าของฉันยึดนี้ถูกแน่ นั้นก็เท่ากับว่า อีกทัศนะหนึ่งที่ผู้อื่นปฏิบัตอยู่ก็ถือว่าผิดใช่หรือไม่ใช่ครับ
และการที่คิดว่าอีกทัศนะหนึ่งมีความลำบาก แล้วนั้นคือ สิ่งที่ผิด กับหลักฐาน ถ้าคิดอย่างนี้ถือว่า เป้นสิ่งไม่ถูกต้องแน่
เพราะซอฮาบะยังมีการวินิจฉัยจากตัวบทเดียวกันแตกกลับปฏิบัติที่แตกต่างกันก็มีมากมาย
ขนาดท่าน อิบนุ อัล-ก๊อยยิม ยังยอมรับ และกล่าวเกี่ยวกับสิทธิของคนมุก๊อลลิตหรือคนเอาวามทั่วไปว่า
وقد ذم الله سبحانه من أعرض عما أنزله إلى تقليد الأباء، وهذا القدر من التقليد هو مما إتفق السلف، والأئمة الأربعة على ذمه وتحريمه، وأما تقليد من بذل جهده فى إتباع ما أنزل الله، وخفى عليه بعضه ، فقلد فيه من هو أعلم منه، فهذا محمود غير مذموم ، ومأجور غير مأزور
ความว่า" แท้จริง อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ทรงตำหนิ ผู้ที่หันเหออกจากสิ่งที่อัลเลาะฮฺทรงประทานมา ไปยังการตักลีดตามบรรดาบรรพบุรุษ และขนาดจากการตักลีดแบบนี้ คือสิ่งที่บรรดานักปราชญ์สะลัฟ และอิมามทั้งสี่ ได้มีมติเห็นพร้องว่า เป็นสิ่งที่น่าตำหนิและต้องห้าม สำหรับการตักลีดตามนักปราชญ์ผู้ที่ทุ่มเทความพยายาม(วินิจฉัย)ของเขา ในการตามสิ่งที่อัลเลาะฮฺทรงประทานลงมา โดยที่มีบางประเด็นที่ซ่อนเร้น(ไม่ค่อยเข้าใจ)สำหรับเขา(คนเอาวาม) แล้วเขาก็ได้ทำการตักลีดในมัน(ในสิ่งที่อุลามาอฺได้วินิจฉัยทุ่มเทจากอัลกุรอาน) กับผู้ที่มีความรอบรู้มากกว่า แน่นอน กรณีนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ได้รับการสรรญเสริญ ไม่ถูกตำหนิ และได้รับการตอบแทน โดยที่ไม่ได้รับบาปแต่อย่างใด " ดู เอี๊ยะลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม 2 หน้า 177