ละหมาดตรอเวียะแปดแบบตายตัวและเชื่อว่าท่านนบีกระทำแค่แปดรอกาอัตนั้นไม่มีหลักฐานหรอกครับ คุณ แอนตี้ บิดอะฮาซานะ 
ทำไมคุณไม่ตามบรรดาคอลีฟะอัรรอซีดีนละครับ ท่านนบีก็ใช้นี่คับ
ใครเจาะจงละหมาดแปดอย่างเดียวและคิดว่าท่านนบีกระทำแค่นี้ถือว่า ผิดแล้วคับ 
ไม่ได้เข้าเสวนาซะนานเชียว มาเจอแบบนี้ ก็ต้องขอชี้แจง เพราะมากล่าวหาว่า การละหมาดตะรอเวียะห์ 11 รอกาอัต ไม่มีหลักฐานจากนบี
คำว่า นมาซตะรอเวี๊ยะห์ ซึ่งพวกเราใช้เรียกการนมาซยามค่ำคืนของเดือนรอมะฎอนในปัจจุบันนี้นั้น เป็นคำศัพท์ที่นักวิชาการยุคหลังได้กำหนดหรือบัญญัติขึ้นมา เพื่อใช้เรียกการนมาซดังกล่าวให้สอดคล้องกับการปฏิบัติที่นิยมกระทำกันในยุคหนึ่งที่นครมักกะฮ์ ...
เพราะในทุกๆ 4 ร็อกอะฮ์ของการนมาซนี้จะมีการ หยุดพัก กัน 1 ครั้ง เพื่อไปฏอว้าฟบัยตุ้ลลอฮ์ ...
การหยุดพักนี้ ชาวอาหรับจะเรียกว่า ตัรฺวีหะฮ์ ซึ่งมีพหูหจน์เป็นคำว่า ตะรอเวี๊ยะห์ ดังที่พวกเราและมุสลิมทั่วโลกใช้เรียกนมาซนี้กันอยู่ ...
แต่ในสมัยของท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, สมัยของเศาะหาบะฮ์, สมัยของตาบิอีน เป็นต้น จะเรียกการนมาซนี้ว่า กิยามุรอมะฎอน หรือกิยามุ้ลลัยล์ หรือศ่อลาตุ้ลลัยล์ .. อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังมีปรากฏในหะดีษหลายบทที่กล่าวถึงการนมาซนี้ ...
ตัวอย่างเช่น ...
1. คำว่า กิยามุรอมะฎอน .. ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า
مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَلَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ
ผู้ใดยืน(นมาซยามค่ำคืน)ในเดือนรอมะฎอน ด้วยความศรัทธาและแสวงหาผลบุญจากอัลลอฮ์ เขาก็จะถูกอภัยโทษให้ในบาป(เล็ก)ของเขาที่ผ่านมาแล้ว
(บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิมและท่านอื่นๆ โดยรายงานมาจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.) ...
คำว่า قَامَ رَمَضَانَ กับคำว่า قِيَامُ رَمَضَانَ มีที่มาจากรากศัพท์เดียวกันและมีความหมายอย่างเดียวกัน .. คือ การยืนนมาซยามค่ำคืนในเดือนรอมะฎอน ...
2. คำว่า กิยามุ้ลลัยล์ .. (แปลว่า ยืนนมาซยามค่ำคืน) มีบันทึกในหะดีษหลายบทด้วยกัน ตัวอย่างเช่นหะดีษบทหนึ่งจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ.ที่กล่าวว่า ...
لاَ تَدَعْ قِيَامَ اللَّيْلِ! فَإِنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لاَ يَدَعُهُ .....
ท่านอย่าละทิ้งการยืน(นมาซ)ในยามค่ำคืนเป็นอันขาด เพราะท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมไม่เคยละทิ้งมัน ......
(บันทึกโดยท่านอิหม่ามอะห์มัด เล่มที่ 6 หน้า 249) ...
3. คำว่า ศ่อลาตุ้ลลัยล์ .. (แปลว่า นมาซยามค่ำคืนเช่นเดียวกัน) .. ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ...
صَلاَةُ اللَّيْلِ مَثْنىَ مَثْنىَ
การนมาซยามค่ำคืนนั้น ให้ทำทีละสองร็อกอะฮ์, ทีละสองร็อกอะฮ์ ...
(บันทึกโดยท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม, ท่านอิหม่ามมาลิก, ท่านอบูอะวานะฮ์ โดยรายงานจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.) ...
สรุปแล้ว คำว่า นมาซตะรอเวี๊ยะห์ ดังที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงไม่เป็นที่รู้จักหรือเรียกกันในยุคของท่านศาสดา, ยุคของเศาะหาบะฮ์หรือยุคของตาบิอีนแต่อย่างใด ...
ผมไม่เคยเจอหลักฐานใดที่รายงานว่า คำว่า นมาซตะรอเวี๊ยะห์ นี้เกิดขึ้นมาในสมัยใด และนักวิชาการท่านใดเป็นผู้บัญญัติคำศัพท์นี้ขึ้นมาเพื่อใช้เรียกการนมาซยามค่ำคืนของเดือนรอมะฎอนแทนการเรียกว่า กิยามุรอมะฎอน หรือศ่อลาตุ้ลลัยล์ ดังในสมัยของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .. แต่เท่าที่ทราบก็คือในสมัยของท่านบุคอรีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 194-256) คำๆนี้ก็เป็นที่รู้จักกันแล้ว .. ดังจะเห็นได้จากการที่ท่าน บุคอรีย์ได้ตั้งชื่อเรื่องในหนังสือหะดีษ อัศ-เศาะเหี๊ยะฮ์ ของท่านบทหนึ่งด้วยคำว่า ..
كِتَابُ صَلاَةِ التَّرَاوِيْحِ : (กิตาบ ศ่อลาติต-ตะรอเวี๊ยะห์) ...
ท่านอบูสะละมะฮ์ บินอับดุรฺเราะห์มาน ได้กล่าวถามท่านหญิงอาอิชะฮ์ รฺ.ฎ.ว่า ...
كَيْفَ كَانَتْ صَلاَةُ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِىْ رَمَضَانَ؟
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
ได้นมาซอย่างไรในเดือนรอมะฎอน? .. ซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ก็กล่าวตอบว่า ...
مَا كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَزِيْدُ فِىْ رَمَضَانَ وَلاَ فِىْ غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً .........
ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยนมาซ ไม่ว่าในเดือนรอมะฎอนหรือมิใช่เดือนรอมะฎอน เกินกว่า 11 ร็อกอะฮ์ .......................
(บันทึกโดยท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม, ท่านอิหม่ามมาลิก, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอะห์มัด, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, ท่านอัล-บัยฮะกีย์, และท่านอบู อะวานะฮ์)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์โดยปราศจากข้อโต้แย้ง ... จากคำถามและคำตอบข้างต้นระหว่างท่านอบูสะละมะฮ์และท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. มีข้อที่น่าสังเกตอยู่ 3 ประการคือ ...
1. ท่านอบูสะละมะฮ์ได้ถามท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ถึงเรื่องการนมาซของท่านรอซุ้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมในเดือนรอมะฎอนโดยเฉพาะ ซึ่งตามรูปการณ์แล้วก็คือ เป็นการถามเรื่องนมาซที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า นมาซตะรอเวี๊ยะห์ นั่นเอง ...
แล้วท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ก็ตอบว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยนมาซเกิน 11 ร็อกอะฮ์ ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ได้กล่าวในหนังสือ ฟัตหุ้ลบารีย์ อันเป็นหนังสืออธิบายหะดีษบุคอรีย์ เล่มที่ 4 หน้า 254 ว่า ...
وَأَمَّامَارَوَاهُ ابْنُ أَبِىْ شَيْبَةَ مِنْ حَدِيْثِ ابْنِ عَبَّاسٍ ((كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُصَلِّىْ فِىْ رَمَضَانَ عِشْرِيْنَ رَكْعَةً وَالْوِتْرَ)) فَإِسْنَادُهُ ضَعِيْفٌ! وَقَدْ عَارَضَهُ حَدِيْثُ عَائِشَةَ هَذَا الَّذِىْ فِى الصَّحِيْحَيْنِ مَعَ كَوْنِهَا أَعْلَمَ بِحَالِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَيْلاً مِنْ غَيْرِهَا وَاللهُ أَعْلَمُ
อนึ่ง สิ่งที่ท่านอิบนุอบีย์ชัยบะฮ์ได้รายงานมาจากหะดีษของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้นมาซในเดือนรอมะฎอน 20 ร็อกอะฮ์และนมาซวิตรี่นั้น สายรายงานของหะดีษนี้ เฎาะอีฟ! .. และแน่นอน มันยังขัดแย้งกับหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ.บทนี้จากการบันทึกที่ถูกต้องทั้งสอง (คือท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม) ซึ่งข้อเท็จจริงก็คือ ท่านหญิงอาอิชะฮ์ย่อมรู้ดีกว่าผู้อื่นถึงสภาพ(หมายถึงการนมาซและเรื่องอื่นๆ)ของท่านนบีย์ในยามค่ำคืน วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
(หะดีษของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. จากการบันทึกของท่านอิบนุอบีย์ชัยบะฮ์ ดังที่ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์อ้างถึงนั้น ผมจะนำรายละเอียดมาวิเคราะห์อีกครั้งในตอนหลัง อินชาอัลลอฮ์) ...
2. นมาซที่ท่านนบีย์ปฏิบัติไม่เกิน 11 ร็อกอะฮ์ดังคำตอบของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. มิได้หมายถึงนมาซสุนัตมุฏลัก .. ดังความเข้าใจของกลุ่มครูฟัรฺฎูอีน ...
ทั้งนี้เพราะไม่เคยปรากฏว่าจะมีนักวิชาการหะดีษท่านใด ไม่ว่าท่านบุคอรีย์, ท่านมุสลิม, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัน-นะซาอีย์, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ เป็นต้น จะนำเอาหะดีษบทนี้ไปบันทึกไว้ในเรื่อง นมาซสุนัตมุฏลัก แม้แต่ท่านเดียว ...
ตรงกันข้ามพวกท่านได้นำเอาหะดีษเรื่องการนมาซ 11 ร็อกอะฮ์นี้ไปบันทึกไว้ในเรื่องนมาซตะรอเวี๊ยะห์บ้าง นมาซตะฮัจญุดบ้าง, กิยามุรอมะฎอนบ้าง, ศ่อลาตุ้ลลัยล์บ้าง, นมาซวิตรี่บ้าง .. ดังจะถึงต่อไป ...
เพราะฉะนั้น นมาซจำนวน 11 ร็อกอะฮ์ ดังที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกระทำดังข้อความของหะดีษที่ถูกต้องข้างต้น แล้วมุสลิมจำนวนมากทั่วโลกก็รับมาปฏิบัติตาม จึงไม่ใช่นมาซสุนัตมุฏลักแน่นอน ...
และ .. สมมุติว่า ถ้าหะดีษข้างต้นของท่านนบีย์ เป็นนมาซสุนัตมุฏลักดังที่พวกท่านเข้าใจ ผมก็อยากจะถามว่า ...
ก. มีนักวิชาการท่านใดบ้างไหมที่อ้างหะดีษบทนี้เป็นหลักฐานเรื่องนมาซสุนัตมุฏลักดังข้ออ้างของพวกท่าน? ..
ข. หรือมีนักวิชาการท่านใดบ้างไหมที่อธิบายว่าให้พวกท่านทำนมาซสุนัตมุฏลักทีละ 4 ร็อกอะฮ์, 4 ร็อกอะฮ์ แล้วก็ 3 ร็อกอะฮ์ .. ดังคำอธิบายของท่านหญิงอาอิชะฮ์ในตอนหลังของหะดีษบทนี้

...
3. คำตอบของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ที่ว่า ..
ไม่ว่าจะเป็นเดือนรอมะฎอนหรือมิใช่รอมะฎอน ท่านนบีย์ไม่เคยนมาซเกิน 11 ร็อกอะฮ์ ...
คำตอบนี้มีความหมายชัดเจนว่า นมาซยามค่ำคืน ไม่ว่าจะกระทำในเดือนรอมะฎอน(ที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่านมาซตะรอเวี๊ยะห์) หรือในเดือนอื่นๆ (ที่เราเรียกกันว่า กิยามุ้ลลัยล์บ้าง, ศ่อลาตุ้ลลัยล์บ้าง, นมาซตะฮัจญุดบ้าง ฯลฯ) คือนมาซเดียวกัน! และตามปกติท่านนบีย์จะกระทำไม่เกิน 11 ร็อกอะฮ์ ...
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
จากบางส่วนของบทความ ชี้แจงข้อเขียนของกองทุนติญารียะห์ กลุ่มครูฟัรฺฎูอีน โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
สรุป เพราะฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า การละหมาด 8 รอกาอัต ไม่มีหลักฐานจากท่านนบี เป็นคำกล่าวหาที่เลื่อนลอยครับ