ผู้เขียน หัวข้อ: การอธิบายความหมายของบิสมิลลาฮ์  (อ่าน 4606 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป

การอธิบายความหมาย ? بَسْمَلَة ?

بسم الله الرَّحْمن ِالرَّحِيْمِ

ประเด็นที่ 1

? الْبَاءُ ? อักษร ? บาอฺ ? คือ حَرْفُ جَرٍّ ( อักษรที่มีผลบังคับให้คำนามที่อยู่ถัดจากมันจำเป็นต้องใส่สระกัสเราะห์ ( -ِ-- ) โดยส่วนใหญ่ตามหลักวิชาไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ) และทุกๆ ?حَرْفُ جَرّ ٍ ? จำเป็นต้องมีสิ่งเกี่ยวเนื่องกัน ? اَلْمُتَعَلِّقَةُ ? บางครั้งสิ่งเกี่ยวเนื่องอาจเป็นคำนาน , บางครั้งอาจเป็นกริยา , บางครั้งถูกนำมาไว้ก่อน?حَرْفُ جَرّ ٍ ? , และบางครั้งถูกนำมาไว้ข้างหลัง

ส่วน ?حَرْفُ جَرّ ٍ ? อักษร ? บาอฺ ?ในประโยค ?บัสมาละห์ ? นี้ นักวิชาการไวยากรย์ภาษาอาหรับบางกลุ่มมีทัศนะว่า ? สิ่งเกี่ยวเนื่อง ? اَلْمُتَعَلِّقَةُ ? ในที่นี้ ไม่มีการกล่าวให้เห็นอย่างชัดเจน ดังนั้นกลุ่มๆนี้จึงทำการสมมุติ สิ่งเกี่ยวเนื่อง ? اَلْمُتَعَلِّقَةُ ? ขึ้นมา ด้วยกับรูปคำที่เป็น

? คำนาม ? ? اِسْمٌ ? คือคำว่า ? اِبْتِدَاءِى ? รูปประโยคก็คือ ?بِسْمِ اللهِ ابْتِدَاءِى ? ความหมายคือ ? ด้วยพระนามของพระองค์อัลลอฮ์กับการเริ่มของฉัน ? แต่มีนักวิชาการไวยากรย์ภาษาอาหรับ อีกกลุ่มหนึ่ง ได้ทำการสมมุติสิ่งเกี่ยวเนื่อง ? اَلْمُتَعَلِّقَةُ ? ดังกล่าวในรูปคำที่เป็น ? กิริยา ? ? فِعْلٌ ? คือคำว่า ? أَبْدَأُ หรือ اِبْتَدَأْتُ ? รูปประโยคคือ ? عَلَىاْلأَمْرِ بِسْمِ اللهِ أَبْدَأُ,ابْتَدَأْتُ ? ความหมายคือ ?ฉันขอเริ่มกับเรื่องนั้นๆ ( เรื่องหนึ่งเรื่องใดที่กำลังจะกระทำ ) ด้วยกับพระนามขององค์อัลลอฮ์ ?

อักษร ? บาอฺ ? เป็นอักษรที่มีหลายๆ ความหมายด้วยกัน แต่ความหมายที่เป็นเป้าประสงค์ในประโยค ? บัสมาละห์ ? นี้คือ ? َاْلأِسْتِعَانَةُ ? หมายถึง ? การขอความช่วยเหลือ ? คือการขอความช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จด้วยกับพระนามขององค์อัลลอฮ์ในทุกๆ การกระทำ

ประเด็นที่ 2

? اْلاِسْمُ ? หมายถึง คำนามที่ชี้บนรูปธรรมหรือนามธรรม กลุ่มนักวิชาการไวยากรย์ภาษาอาหรับได้มีความเห็นต่างกันใน สอง มุมมองด้วยกัน

กลุ่มแรก

นักวิชาการไวยากรย์ภาษาอาหรับที่เป็นชนเมือง ? บัซเราะห์? ? اَلْبَصْرِيُّوْنَ ? ประเทศอีรักมีทัศนะว่า คำว่า ? اْلاِسْمُ ? ถูกแยกออกมาจากคำ ? اَلسُّمُوِّ? หมายถึง ความสูงส่ง ดังนั้นการนำคำๆนี้? اْلاِسْمُ ?มาใช้อันเนื่องจาก เจ้าของนามนี้อยู่ตำแหน่งที่ความสูงส่ง

กลุ่มที่ 2

นักวิชาการไวยากรย์ภาษาอาหรับที่เป็นชนเมือง ? กูฟะฮ์ ? ? اَلْكُوْفِيُّوْنَ ? ประเทศอีรักมีทัศนะว่า คำว่า ? اْلاِسْمُ ? ถูกแยกมาจากคำ ? اَلسِّمَةِ? หมายถึง สัญลักษณ์ อันเนื่องจากคำ ? اْلاِسْمُ ? เป็นสัญลักษณ์ของผู้ทรงกำหนดมัน

บทสรุปทัศนะของนักวิชาการไวยากรณ์ภาษาอาหรับทั้งสองกลุ่มนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่ได้ให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือกับกลุ่มนักวิชาการกลุ่มแรก

อนึ่งได้มีการเขียน คำว่า ?بِسْمِ ? โดยไม่มีอักษร ? อาลีฟ ? ซึ่งเดิมทีเดียวแล้วควรจะเขียนโดยมีอักษร ? อาลีฟ ? คือ ? بِاسْمِ ? ก็อันเนื่องจากนักวิชาการชาวอาหรับจะเขียนในลักษณะแบบนี้?بِسْمِ ? โดยส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเขียนอักษร ? อาลีฟ ? ในบางครั้ง ตัวอย่างเช่น พระดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฯ ในซูเราะห์ อัลอ่าลัก โองการแรก ดังมีใจความว่า ? اِقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ ? แต่การเขียนในลักษณะแบบนี้ ? بِاسْمِ ? จะมีน้อย

ประเด็นที่ 3

? الله ? พระคำที่สูงส่ง พระนามที่ใช้สำหรับองค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ และทรงบังเกิดโดยพระองค์เอง ไม่อนุญาตใช้กับผู้อื่นนอกจากพระองค์

ท่านอีหม่าม อัลกุรตุบี้ ( القُرْطُبِىِّ ) ได้กล่าวว่า ? คำว่า ? الله ? เป็นพระนามที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนามอื่นๆ ของพระองค์ พระนามที่รวมบรรดาคุณลักษณะแห่งความเป็นเจ้าผู้เที่ยงแท้ ไม่มีเจ้าองค์ใดที่ควรค่าแก่การสักการะนอกจากพระองค์ผู้ทรงบริสุทธิ์ ?

? الله ? พระนามที่สูงส่ง ณ ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ ไม่มีการกล่าวพระนามนี้กับผู้ใดนอกจากพระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงควรค่าแก่การสักการะอย่างแท้จริง ? الله ? เป็นรูปคำ เดิมๆ ไม่ได้แยกมาจากคำคำใด อักษรอาลีฟ และอักษร ลาม เป็นอักษรเดิมที่สถิตอยู่ในคำๆ นี้ เราจะพบว่าในขณะที่เรากล่าวว่า ? يَا اَللهُ ? ( ปรากฏ อักษร อาลีฟและอักษร ลาม ) เราจะไม่กล่าวคำว่า ? يَاالرَّحْمنُ ? ( โดยปรากฏอักษร อาลีฟ และอักษร ลาม )

มีนักวิชาการบางกลุ่มมีทัศนะว่า ? คำว่า ? الله ? มีที่มาจากคำว่า ? اِلهٌ ? อักษร อาลิฟ และอักษรลามที่เข้ามาในคำๆ นี้ เป็นการแทนจากอักษร ฮัมซะห์ ที่เป็นอักษรเดิมของคำๆนี้ เช่นเดียวกับคำว่า ? اَلنَّاسُ? ซึ่งมีที่มาจากคำว่า ? أَنَاسٌ? ?

นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งที่มีทัศนะว่า ? คำว่า ? الله ? มีที่มาจากคำว่า ? لاَهٌ ? การที่มีอักษรอาลีฟ และ อักษรลาม เข้ามาในคำๆนี้ ก็เพื่อเป็นการให้ความสำคัญหรือให้ความยิ่งใหญ่กับคำๆนี้

นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งมีทัศนะว่า ? คำว่า ? الله ? มีที่มาจากคำว่า ? اََْلاِلهُ ? ต่อมามีการตัดอักษร ฮัมซะห์ ออก และพวกเขาได้นำอักษร ลามตัวแรกมาพักไว้ในอักษร ลามตัวที่สอง ดังนั้นจึงก่อเกิดลามที่มีสระ ชัดดะห์ ( ّ )

คำว่า? اََلاِلهُ ? เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดานามสามัญ ซึ่งคำๆนี้มักจะถูกกล่าวกับทุกๆสิ่ง

ถูกสักการะทั้งที่เที่ยงแท้และจอมปลอม แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้กับเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้

ท่านอีหม่ามอัรรอซี ( الرَّاَزِىُّ ) ท่านอัลค่อลี้ล ( الْخَلِيْلُ ) ท่านซีบ่าวัยฮ์

( سِيْبَوَيْهِ ) ตลอดจนนักวิชาการที่คร่ำหวอดอยู่ในวิชาฟิกฮ์ ได้เลือกเอาทัศนะที่ว่า ? الله ? เป็นรูปคำ เดิมๆ ไม่ได้แยกมาจากคำคำใด อักษรอาลีฟ และอักษร ลาม เป็นอักษรที่สถิตอยู่ในคำๆ นี้มาแต่เดิม เป็นพระนามที่ใช้สำหรับองค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่มีการใช้พระนามนี้กับผู้อื่นนอกจากพระองค์

ประเด็นที่ 4

?الرَّحِيْمِ اَلرَّحْمنِ? คุณลักษณทั้งสองเป็นคุณลักษณะที่แยกมาจากคำว่า ?الرَّحْمَةُ? หมายถึง ? ความเห็นอกเห็นใจหรือความรู้สึกสงสารที่เกิดขึ้นในใจ และต้องการคุณธรรมเป็นส่วนประกอบ ? แต่ความหมายตรงนี้เป็นความหมายที่ยังไม่คู่ควรหรือเหมาะสมกับคุณลักษณะพระองค์อัลลอฮ์ ซุบๆ เป็นแค่คุณลักษณะที่เกิดกับมนุษย์ มนุษย์มีการป่วยทางใจ ยาที่จะรักษาอาการป่วยนี้ ก็คือ คุณธรรม แต่พระองค์อัลลอฮ์ ซุบๆ ทรงบริสุทธิ์ ทรงปราศจากจากอาการป่วยดังกล่าว ดังนั้นนักวิชาการบางกลุ่มได้อธิบายคำว่า ? الرَّحْمَةُ ? คือ การที่ พระองค์ประสงค์ในเรื่องคุณธรรม และ นักวิชาการบางกลุ่มอธิบายคำว่า ? الرَّحْمَةُ ? คือ คุณธรรมที่สถิตอยู่ที่ซาตของพระองค์ ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะของกลุ่มนักวิชาการในยุคก่อนๆ โดยที่พวกเขากล่าวว่า ? الرَّحْمَةُ ? นั้นคือ ? คุณลักษณะที่สถิตอยู่ ณ ที่ซาตของพระองค์ ซึ่งเราไม่สามารถที่จะรู้ถึงแก่นแท้ของคำๆ นี้ได้ ณ ที่พระองค์ แต่จะสามารถรู้ได้ถึงผลของมัน ? الرَّحْمَةُ ? นั้นก็ คือ คุณธรรม

นักอรรถธิบายอัลกุรอาน ( الْمُفَسِّرُوْنَ ) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทั้งสอง ?الرَّحِيْمِ اَلرَّحْمنِ? ไว้หลายๆ คำกล่าวด้วยกันและส่วนหนึ่งจากคำกล่าวเหล่านั้นมีดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ หนึ่ง

คำว่า ?اَلرَّحْمنِ ? หมายถึง พระผู้ทรงประทานความโปรดปรานกับสรรพสิ่งในโลกทั้งมวล ส่วนคำว่า ? الرَّحِيْمِ ? หมายถึงพระผู้ทรงประทานความโปรดปรานเฉพาะมวลผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์อย่างเคร่งครัด

กลุ่มที่ สอง

คำว่า ?اَلرَّحْمنِ ? หมายถึง พระผู้ทรงประทานความโปรดปรานอย่างมากมายไม่มีจำกัด ส่วนคำว่า ? الرَّحِيْمِ ? ความโปรดปรานของพระองค์จะน้อยกว่าคำว่า ?اَلرَّحْمنِ ? และมีจำกัด

กลุ่มที่สาม

กลุ่มนี้มีทัศนะว่า ? ความจริงแล้วคุณลักษณะทั้งสอง ?الرَّحِيْمِ اَلرَّحْمنِ? มีความหมายเดียวกัน คำที่สอง ? الرَّحِيْمِ ? มีมาเพื่อแน้นหรือย้ำกับคำๆ แรก ?اَلرَّحْمنِ ? แต่นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะแตกต่างกับทัศนะนี้ คือ คุณลักษณะทั้งสองไม่ได้มีความหมายเดียวกัน แต่ละคุณลักษณทั้งสองต่างมีหมายความที่ลึกซึ้งในตัวของมัน ดังนั้นคำว่า ?اَلرَّحْمنِ ? จะมีความหมายว่า ? ความโปรดปรานอันใหญ่หลวง? โดยที่คำๆ นี้ใช้รูปคำ ? فَعْلاَنِ ? ซึ่งเป็นรูปคำที่บ่งถึงความหมายที่ลึกซึ้งหมายถึง มากมายเหลือที่จะคณนา ( นับ ) ได้ ส่วนคำว่า ? الرَّحِيْمِ ? มีความหมายว่า ?โปรดปรานที่ไม่สิ้นสุดตลอดกาล? อันเนื่องจากคำๆ นี้ใช้รูปคำ ? فَعِيْلٌ? รูปคำในลักษณะแบบนี้มักจะใช้ในคุณลักษณะที่บ่งถึงความถาวรหรือตลอดการ

 มิฟตาห์ไคโร

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: การอธิบายความหมายของบิสมิลลาฮ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.พ. 27, 2009, 05:33 PM »
0
อ้างถึง
รูปประโยคคือ ? عَلَىاْلأَمْرِ بِسْمِ اللهِ أَبْدَأُ,ابْتَدَأْتُ ? ความหมายคือ ?ฉันขอเริ่มกับเรื่องนั้นๆ ( เรื่องหนึ่งเรื่องใดที่กำลังจะกระทำ ) ด้วยกับพระนามขององค์อัลลอฮ์ ?



ตรงนี้มันแปลกๆนะ ทำไมความหมายไม่เหมือนกับตัวอาหรับ ดูมาจากต้นฉบับเว็บมิฟตาฮไคโรแล้ว คิดว่าอาจจะเกิดจากก๊อปจากเน็ตลงเวิร์ดแล้วก๊อปจากเวิร์ดไปเน็ตอีกที ถ้าสมมติภาษาอาหรับนั้นเยงผิด ช่วยเรียงให้ถูกหน่อยครับ ถ้ามันถูกแล้วก็ขอโทษด้วย
ลองดูสิ ความหมายไม่ตรงกับตัวอาหรับ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

GoogleTagged