เรื่องที่ 2 เราไม่ยอมรับว่าอายะห์นั้นมีความหมายกว้างคลุมถึงสตรีทั้งหมด แต่ได้จำกัดความด้วยกับฮะดีษที่ศ่อฮีฮ์ที่ให้ประโยชน์ว่าไม่เสียน้ำละหมาด โดยการสัมผัส โดยไม่มีความรู้สึกทางเพศ
* ข้อโต้ตอบในเรื่องนี้ จะมีมาในการวิจารณ์บรรดาฮะดีษต่าง ๆ เมื่อถึงที่ของมัน โดยจะอธิบายถึงหลักฐานของมัษหับอื่น ๆ ด้วย
สอง : หลักฐานของมัษหับที่ 2บรรดาเจ้าของมัษหับที่สองที่ได้กล่าวว่า แท้จริงการสัมผัสสตรีเพศ นั้นไม่เป็นฮะดัษ และไม่เป็นที่คาดการณ์ว่าจะเป็นฮะดัษ ดังนั้น จึงไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่ประการใด โดยมีหลักฐานจากซุนนะห์ และทางปัญญา
(1) หลักฐานทางซุนนะห์ มีฮะดีษหลายบทส่วนหนึ่งจากนั้นคือ
ก. บรรดาเจ้าของหนังสือสุนันได้บันทึกรายงานจากอะอิชะฮ์ ว่า แท้จริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม เคยจูบภรรยาบางคนของท่านต่อจากนั้นท่านได้ออกไปละหมาด โดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด
* และในรายงานหนึ่ง จากอาอิชะห์ ว่า แท้จริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม เคยจูบหญิงบางคนจากภรรยาของท่าน ต่อจากนั้นท่านได้ออกไปละหมาด โดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด แล้วฉันได้กล่าวแก่นางว่า เขาเป็นใครนอกจากเธอใช่ไหม ? แล้วนางหัวเราะ
* แนวทางในการอ้างหลักฐานจากฮะดีษบทนี้ คือ แท้จริงท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ก็ดังเช่นที่ปรากฏชัดในฮะดีษท่านเคยจูบภรรยาบางคนของท่าน ต่อจากนั้นท่านก็ได้ละหมาดโดยมิได้อาบน้ำละหมาด แล้วถ้าแม้ว่าการสัมผัสสตรีเพศเสียน้ำละหมาดแล้วละก็ การจูบนั้นก็ยิ่งจะต้องทำให้เสียน้ำละหมาด
ข. ฮะดีษที่บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิมจากอาอิชะห์ ได้กล่าวว่า เมื่อปรากฏว่าท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ละหมาดโดยที่ดิฉันนอนขวางอยู่ข้างหน้าท่านเช่นดังคนตาย จนกระทั่งเมื่อท่านต้องการจะละหมาดวิตร์ เท้าของท่านกับสัมผัสกับดิฉัน* และในรายงานหนึ่งของมุสลิม โดยนางได้เล่าว่า ดิฉันได้สัมผัสกับท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม โดยที่ดิฉันไม่ทราบ แล้วมือของดิฉันก็ไปวางอยู่บนฝ่ายเท้าของท่านในขณะที่ท่านสุหญูด
* การอ้างหลักฐานจากฮะดีษนี้ ถ้าแม้ว่าน้ำละหมาดของท่านได้เสียจากการสัมผัสนั้นท่านก็ต้องเริ่มละหมาด ใหม่ด้วยการทำความสะอาดใหม่ แต่ท่านไม่ได้ทำเช่นนั้น จึงชี้ให้เห็นว่าการสัมผัสสตรีไม่เสียน้ำละหมาด
ค. ฮะดีษที่บันทึกโดยอัลบัยหะกีย์ และบรรดาเจ้าของหนังสืออัลมุศ็อนนะฟ๊าต จากอิบนิ อับบาสว่า “การอาบน้ำละหมาดนั้นอันเนื่องจากสิ่งที่ออกมา ไม่ใช่จากสิ่งที่เข้า เช่นอย่างนี้มันจะไม่เกิดขึ้นจากการหยุดฟังหลักฐาน
(2) หลักฐานทางปัญญาก็มีหลายหนทาง เราจะขอกล่าวเพียง 3 ทาง
ทางที่ 1 แท้จริงการอาบน้ำละหมาดนั้นปรากฏอยู่ก่อนการสัมผัสอย่างมั่นใจ ดังนั้นมันจะไม่ถูกยกออกไป ด้วยการคาดคะเน เพราะว่าผู้ที่กล่าวว่าจำเป็น (วาญิบ) ต้องอาบน้ำละหมาดจากการสัมผัสที่จริงแล้ว อันเนื่องการคาดว่าจะมีน้ำมะษีย์ออกมามันก็ไม่ปรากฏอย่างมั่นใจ
ทางที่ 2 แท้จริงการที่จำเป็น (วาญิบ) ต้องอาบน้ำละหมาดนั้น จะไม่เกิดขึ้นนอกจากมาจากบทบัญญัติ แต่ก็ไม่มีหลักฐานในเรื่องนี้แล้ว แม้แต่ความหมายที่จะมีมาตามศาสนบัญญัติ ดังนั้น จึงไม่มีรายงานมาจากท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ที่ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ได้สัมผัสภรรยาของเขาน้ำละหมาดของเขาก็เสีย
ทางที่ 3 แท้จริงเรื่องนี้ มีข้อชี้ขาดคลุมไปทั่วลำบากที่จะระมัดระวัง ดังนั้นจึงอภัยให้
วิจารณ์หลักฐานนี้(1) หลักฐานจากซุนนะห์ ไม่ถือเป็นหลักฐานในเรื่องนี้ดังต่อไปนี้ ก. ฮะดีษที่รายงานโดยอาอิชะห์ ว่า “แท้จริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ได้จูบภรรยาบางคนของท่าน เสร็จแล้วท่านได้ออกไปละหมาด โดยไม่ได้อาบน้ำละหมาด
* อิบนุ ฮัซม์ ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เป็นฮะดีษที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าผู้รายงานฮะดีษนี้ คือ อะบูเราก์ ซึ่งเป็นคนที่อ่อนหลักฐาน และมาจากทางชายคนหนึ่ง ชื่อว่า อุรวะห์ อัลมุซานีย์ โดยเป็นคนที่ไม่รู้จัก และจากทางอัลอะอ์มัซ โดยเอามาจากบรรดาสหายของเขาที่เขาไม่ได้ระบุชื่อพวกเขาเอาไว้จากอุรวะห์อัล มุซะนีย์ ซึ่งเป็นคนที่ไม่รู้จัก
* อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวว่า อัลบุคอรีย์ ได้ถือว่าเป็นฮะดีษฏ่ออีฟ ถือว่าฮะดีษนี้อ่อนหลักฐาน
* อัตติรมิษีย์ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินมุฮัมหมัด อิบนะ อิสมาอีล ถือว่า ฮะดีษนี้อ่อนหลักฐาน
* อัศศ็อนอานีย์ ได้กล่าวว่า อะบูดาวูด ได้นำฮะดีษนี้ออกมาจากทางอิบรอฮีมอัตตัยมีย์ จากอาอิชะห์ โดยที่เขาไม่เคยได้ยินจากนางเลย ถือว่าเป็นฮะดีษมุรซัล
* อันนะชาอีย์ ได้กล่าวว่า ในเรื่องนี้ไม่มีฮะดีษที่จะดีไปกว่าฮะดีษนี้ แต่มันเป็นฮะดีษมุรซัล
* ผู้เขียนหนังสือ (อิบนุ ฮะญัร) ได้กล่วว่า ได้มีรายงานมาจาก 10 ทางจากอาอิชะห์ ที่อัลบัยหะกีย์ ได้นำมาไว้ ในอัลคิลาฟ๊าต และถือว่ามันอ่อนหลักฐาน
* อัดดารุกุฏนีย์ ได้กล่าวว่า คำ ๆ นี้ไม่เป็นที่จดจำ แต่ที่จดจำมานั้นคือท่านเคยจูบ (ภรรยา) ขณะที่ท่านถือศีลอด
* ขอตอบดังนี้ ว่า แท้จริงฮะดีษนี้ ถึงแม้จะมีข้อวิจารณ์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ทางที่มาของฮะดีษนั้นจะช่วยกันทำให้แข็งแรง
ข. ฮะดีษที่รายงานโดยอาอิชะห์นั้น ความจริงนางเคยนอนขวางทางทิศกิบละห์ของท่าน และมีรายงานจากนางว่า มือของนางเคยวางที่ฝ่าเท้าของท่านขณะที่ท่านกำลังสุหญูดอยู่
* ก็ขอตอบว่า มันไม่มีหลักฐานในเรื่องนี้ด้วยข้อคิดหลายประการโดยจะขอกล่าวเพียง 2 ประการ คือ
หนึ่ง คาดว่าการกระทำดังกล่าวนั้นมีสิ่งขวางกั้น หรือเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม
อัศศ็อนอานีย์ ว่า ไม่ประหลาดใจเลยกับการตีความเช่นนี้ เพราะมันเกินความจริงไปมาก ๆ และไม่มีหลักฐานในทางศาสนบัญญัติเลย
สอง แท้จริงการอาบน้ำละหมาด ที่จริงแล้วคืออยู่บนจุดมุ่งหมายของคนสัมผัส ไม่ใช่อยู่ที่ผู้ถูกสัมผัสโดยไม่มีจุดประสงค์ไปสู่การกระทำการสัมผัส เพราะท่านไม่ได้สัมผัส
ค. คำพูดของอิบนุ อับบาสที่ว่า “การอาบน้ำละหมาดนั้นอันเนื่องจากสิ่งที่ออกมา” เป็นการอธิบายให้ทราบถึงฮะดัษที่ออกมาจากสองหนทาง ไม่ใช่เป็นการบรรยายให้ทราบถึงประเภทของฮะดัษ ถ้ามิเช่นนั้น ก็จะเกิดการขาดสติปัญญาโดยไม่เสียน้ำละหมาด
(2) หลักฐานทางปัญญา ไม่ถือเป็นหลักฐานในเรื่องนี้อีกเช่นกันใน 3 ทัศนะด้วยกัน
ทัศนะที่ 1 ถ้าพูดที่ว่า การอาบน้ำละหมาดจะไม่ถูกยกด้วยการคาดคะเนที่จริงแล้ว หากเรายอมรับว่าการสัมผัสนั้นไม่เป็นฮะดัษด้วยตัวของมันเอง ถ้าสมมุติว่า ในการสัมผัสนั้นคาดว่าจะทำให้เกิดฮะดัษ และการคาดการณ์สิ่งหนึ่งนั้นจะให้ข้อชี้ขาดในสิ่งนั้นได้ และถึงแม้เราจะสามารถหยุดอยู่กับมันได้ เช่น การที่อวัยวะเพศทั้งสองพบกับมันจะทำให้คาดการณ์ให้เกิดการหลั่งอสุจิได้ ก็ให้ข้อชี้ขาดไปเลยว่า การนอนนั้นคาดว่าจะเกิดฮะดัษได้ ดังนั้น จึงต้องให้ข้อชี้ขาดพร้อมกับสามารถที่จะเป็นอย่างนั้นได้ และตามความเห็นของพวกเขานั้น การสัมผัสโดย โดยปราศจากเสื้อผ้า และสิ่งที่เกี่ยวข้องเป็นที่คาดการณ์เช่นนั้น
ทัศนะที่ 2 คำพูดที่ว่า จำเป็น (วาญิบ) ต้องอาบน้ำละหมาดจะไม่จำเป็น นอกจากจะต้องเป็นบัญญัติ ถือเป็นคำพูดที่ถูกต้อง และความจริงอัลกุรอานได้มีมาในเรื่องนี้ โดยพระองค์ตรัสว่า(أَوْلاَمَسْتُمُ النِّسَاءَ) และในการอ่านที่ว่า (أَوْلَمَسْتُمْ النِّسَاءَ)
ทัศนะที่ 3) การยึดถือสภาพ “อุมูมุลมัลวา” คือ สภาพที่อันตรายคลุมไปกว้างมากป้องกันลำบากเป็นการเสียน้ำละหมาดโดยการวาญิบ (จำเป็น) ต้องอาบน้ำละหมาด อันเนื่องจากการกรอกเลือด การมีเลือดไหลออกจากร่างกาย และอื่น ๆ ความจริงปรากฏว่าท่านนะบี อะลัยหิสสะลาม เคยอ่านตลอดชีวิตของท่าน (أَوْلاَمَسْتُمُ النِّسَاءَ) ซึ่งเป็นรายงานที่เด็ดขาดผู้รายงานครบถ้วน
(จากหนังสืออัษษะคีเราะห์ เล่ม 1 หน้า 220)
สาม: หลักฐานของมัษหับที่ 3บรรดาเจ้าของมัษหับ ได้อ้างหลักฐานว่า การสัมผัสสตรีเพศเป็นการคาดว่าจะเกิดฮะดัษ ซึ่งเป็นคำพูดของนักปราชญ์ส่วนใหญ่ โดยการรวมกันระหว่างหลักฐานของมัษหับที่ 1 และมัษหับที่ 2 โดยเฉพาะ และแท้จริงอายะห์ อาจจะมีความหมายว่า ร่วมเพศหรืออื่น ๆ ก็ได้
แต่พวกเขามีความเห็นแตกต่างกันในการกำหนดการคาดการณ์นั้นออกเป็นหลายคำพูด โดยแต่ละคำพูดนั้นพาดพิงไปยังสภาพแวดล้อมที่พวกเขาได้ใช้น้ำหนัก และเราจะขออธิบายหลักฐานของแต่ละคำพูดต่อไปนี้
(1) หลักฐานคำพูดที่ 1 ที่กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาดนั้น คือการสัมผัสที่น่าเกลียด - ซึ่งเป็นคำพูดของอะบูฮะนีฟะห์ และอะบูยูซุฟนั่นก็คือ การสัมผัสในรูปแบบนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วต้องไม่ปราศจากน้ำมะษีย์ ดังนั้น จึงถือว่าเอาส่วนใหญ่เป็นเสมือนความมั่นใจโดยเป็นการเอาเผื่อไว้ และเพื่อดำเนินการบนพื้นฐานข้อชี้ขาดตามส่วนใหญ่โดยไม่เกี่ยวข้องกับของที่ เกิดน้อย เช่นเดียวกับผู้ที่นอนตะแคง น้ำละหมาดของเขาก็เสีย แม้จะมั่นใจว่ไม่มีสิ่งใดออกมาก็ตาม ในทำนองเดียวกับคนที่ไม่มีน้ำในหัวเมือง การทำตะยัมมุมของเขาจะใช้ไม่ได้ โดยถือตามส่วนใหญ่แล้ว น้ำจะไม่ขาดในหัวเมือง
(2) หลักฐานคำพูดที่ 2 ที่กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้เสียน้ำละหมาดก็คือผู้ชายสัมผัสกับผู้หญิงบนผ้า หรือใต้ผ้าหรือจูบโดยที่มีความรู้สึกทางเพศ ที่เป็นทัศนะของอิมามมาลิก – คือ ความรู้สึกอร่อย ถือเป็นที่คาดว่าจะมีน้ำมะษีย์ และการคาดว่าจะมีสิ่งหนึ่งออกมาก็จะให้ข้อชี้ขาดไปตามนั้น โดยไม่มีข้อจำแนกระหว่างผู้หญิงคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง เพราะอายะห์อัลกุรอานนั้น กล่าวไว้กว้าง ๆ
(3) หลักฐานของกลุ่มที่ 3 ที่กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้เสียน้ำละหมาด คือ การสัมผัสผิวหนังของสตรีโดยมีความรู้สึกทางเพศ นี่เป็นทัศนะของมัษหับชาฟีอีย์ตามโกลก้อดีม คือ การสัมผัสนั้นจะไม่เกิดขึ้นเป็นความจริงโดยมีสิ่งขวางกั้น แล้วถ้าไม่มีสิ่งขวางกั้น แน่นอนจึงคาดว่าต้องมีความอร่อยซึ่งจะทำให้น้ำมะษีย์ออกมาโดยเฉพาะเมื่อ ปรากฏว่าสัมผัสกับผิวหนังที่ทำให้เกิดความรู้สึก และปรากฏว่าสตรีนั้นมีความรู้สึก โดยที่ไม่ใช่เด็กหรือคนชรา
(4) หลักฐานของกลุ่มที่ 4 ที่กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้เสียน้ำละหมาดนั้น คือ ผิวหนังของทั้งสองเพศพบกันพร้อมกับมีความอร่อยและมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งเป็นทัศนะที่ล่ำลือจากอิมามอะฮ์หมัด คือ แท้จริง ท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม เคยสัมผัสภรรยาของท่านในขณะละหมาด และนางก็เคยสัมผัสกับท่าน และถ้าปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวนั้นทำให้เสียน้ำละหมาด นางก็คงไม่ทำอย่างนั้น ดังนั้น จึงปรากฏว่า เรื่องนี้มาจำกัดความหมายของอายะห์นี้
(5) หลักฐานของกลุ่มที่ 5 ที่กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด คือ ผิวหนังของทั้งสองเพศมาพบกัน ถ้าปรากฏว่าสตรีคนนั้นเป็นคนอื่น นี่เป็นทัศนะของมัษหับชาฟีอีย์ ตามโกลญะดี๊ด คือ ผู้หญิงที่เป็นมะฮ์รอมกัน ไม่มีทางจะทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ การสัมผัสกับนางจึงคล้ายกับผู้ชายสัมผัสกับผู้ชายด้วยกัน หรือผู้หญิงกับผู้หญิงด้วยกัน
(6) หลักฐานของกลุ่มที่ 6 ที่กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด คือ การสัมผัสผิวหนังของสตรีกับอวัยวะหนึ่งของบรรดาอวัยวะที่อาบน้ำละหมาด ซึ่งเรื่องนี้ได้มีรายงานมาจากอัลเอาซาอีย์ - แต่เราไม่ทราบถึงหลักฐานของเขา และหวังว่าเขาเห็นว่าอวัยวะต่าง ๆ อย่างนั้น เป็นอวัยวะส่วนใหญ่ของมนุษย์ ทำให้เกิดความรู้สึกด้วยกับการสัมผัส โดยที่อิบนุกุดามะห์ ได้กล่าวว่า การเจาะจงไม่มีหลักฐานที่จะใช้เป็นข้อตัดสินให้เป็นอย่างนั้น
ทัศนะที่ถูกคัดเลือก สามารถจะประสานได้โดยการพิจารณาถึงความปลอดภัยของหลักฐาน ความแข็งแรง และเป้าหมายของศาสนบัญญัติที่ให้เกิดความสะดวก ไม่เกิดความลำบาก และหลักที่สำคัญโดยรวมที่ให้ประโยชน์ว่า แท้จริงความมั่นใจนั้นจะไม่หายไป นอกจากต้องมั่นใจเช่นเดียวกันที่มา :
http://gangland-dota.is.in.th/?md=content&ma=show&id=10