"โอกาส" หรือ
"โอกาส"เป็นคำที่พบบ่อยคำหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเขียนเป็น
"โอกาส" ซึ่งในพจนานุกรมไม่ปรากฏความหมายของคำนี้
ขณะที่คำว่า โอกาส [กาด] น. ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายไว้ว่า
หมายถึง ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).
บางครั้งเมื่อใช้ในพระราชพิธี หรือ งานที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ
จะใช้ "วโรกาส" ซึ่งเป็นราชาศัพท์ ที่สื่อความหมายเดียวกันกับข้างต้น
ขอให้พึงจำว่า "กาศ" ใช้กับ "อากาศ" "อวกาศ" "ประกาศ" เป็นอาทิเหตุเพราะคำว่า "โอกาส" เขียนผิดเป็นส่วนมาก
ฉะนั้น เราจึงต้องหา "โอกาส" เรียนรู้ ฝึกฝน
เพื่อที่จะเขียนคำว่า "โอกาส" ให้ถูกต้อง"อนุญาต" หรือ
"อนุญาติ" กันแน่
หลายคนคุ้นตา กับ การเขียนเป็น
"อนุญาติ" ซึ่งแท้จริงแล้วคำนี้
เขียนผิด และไม่มีความหมาย
ทั้งนี้ พจนานุกรม ได้บัญญัติไว้ว่า การเขียน
ที่ถูกต้องคือ
"อนุญาต" ไม่ต้องมีสระ "อิ" หลัง "ต"
โดยให้ความหมายของคำไว้ว่า อนุญาต ก. ยินยอม, ยอมให้, ตกลง.
ขณะที่ คำว่า ญาติ, ญาติ- [ยาด, ยาติ-, ยาดติ-] น. ได้อธิบายว่า
หมายถึง คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสาย ฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่. (ป.).
แต่หากจะพยายามแปลความหมายของคำว่า "อนุญาติ"
ซึ่งมีความหมายที่ผิดเพี้ยน และเสมือนรวม 2 คำ ไว้ด้วยกันระหว่าง อนุ+ญาติ
โดย
อนุ เป็นคําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า
น้อย นั่นเท่ากับว่า คำว่า
"อนุญาติ" จะหมายถึง
ญาติผู้น้อย หรือ ญาติผู้เล็กน้อยฉะนั้น ต่อไปเราจะไม่ยอมเขียนว่า "อนุญาติ"
แต่จะพึงจำและเขียนว่า "อนุญาต" เสมอ
และ "อนุญาต" ให้ทุกท่านฝึกฝน หัดเขียนหลายๆ หน จนคุ้นตาได้ครับ"น้ำแข็งใส" ไม่ใช่...พึงจำไว้ต้องเขียน
"น้ำแข็งไส"หลายครั้ง เมื่อเราผ่านร้านขนมหวาน ที่มีรายการชวนทานให้ชื่นใจ
ที่ใส่มาพร้อมน้ำแข็งเกล็ดละเอียด หลายร้านมักเขียนเป็น
"น้ำแข็งใส"อาจจะเป็นเพราะ คิดเหมาสรุปความไปเอง เข้าใจไปเอง
จากที่เคยได้ยินมา เลยเขียนเป็น "น้ำแข็งใส"
โดยคิดว่า ความหมายคือความ"ใส" ของน้ำแข็งแต่แท้จริงแล้ว อยากชวนไปอ่านเอนทรี่
"ร้อนเหลือเกิน จะดับร้อนด้วยอะไรถึงจะเย็นใจ" ที่บ้านคุณ วิตามินบี
ซึ่งได้ให้ความรู้ถึงที่มาของ "น้ำแข็งไส" ว่าเป็นกริยา การไสน้ำแข็งไปบนม้า
ที่มีลิ้นเป็นใบมีด เมื่อไสก้อนน้ำแข็งไปบนใบมีด
ก็จะได้เกล็ดน้ำแข็งเป็นแผ่นเล็กๆ ร่วงลงมาในถ้วยที่รองรับ ก่อนที่จะราดด้วยนม น้ำเชื่อม น้ำหวาน พร้อมเครื่องเคราอีกตามชอบ
ซึ่งหากย้อนไปสัก 20-30 ปี จะพบ การขาย
น้ำแข็งไสแบบนี้อยู่ดาษดื่น
โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน เป็นที่นิยมนัก
ฉะนั้น "น้ำแข็งไส" คือเกล็ดน้ำแข็งที่ได้จาก การ"ไส" น้ำแข็ง
หาใช่ความ "ใส" ของน้ำแข็ง ฉะนั้น จึงต้องเขียนให้ถูกเป็น "น้ำแข็งไส"คำนี้เขียนอย่างไรดี
"สีสรรค์" "สีสัน" หรือว่า
"สีสรร"หลายครั้ง เราอาจจะเคยอ่านพบข้อเขียน
"บรรยากาศในวันนั้น มีหลากหลายรายการที่ผู้จัดงานได้นำมาช่วยสร้างสีสรร" บ้างก็เขียนว่า
"วันนี้ ทุกคนต่างสนุกสนานกันถ้วนหน้า ที่นักแสดงชื่อดัง
ได้มาร่วมร้องเพลงสร้างสีสรรค์"หากไม่คุ้นกับการเขียนคำนี้ หลายคนก็อาจจะผ่านตาไป ไม่ได้สนใจ
แต่บางคนก็จะนึกขัดๆ ตา และถามตัวเองว่า
จริงๆ แล้วคำนี้ เขียนว่า
"สีสัน" "สีสรรค์" หรือว่า
"สีสรร" กันแน่
หากเปิดพจนานุกรม เพื่อค้นหาความหมายของคำว่า
"สีสรรค์" เราจะไม่พบอะไร ส่วนคำว่า
"สีสรร" เมื่อค้น ก็จะไม่พบความหมายเช่นกัน
แต่อาจจะแปลความตามหลักการผสมคำได้ว่า สี+สรร
ซึ่งจะรวมความหมายแปลได้ว่า
สีที่สรร หรือ สีที่เลือกสรรมา ซึ่งความหมายก็จะไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อผ่านประโยคดังข้างต้น
ครั้นค้นความหมายคำว่า
"สีสัน" เราก็จะไม่พบความหมายในพจนานุกรมเช่นกัน
ทว่า ได้มีการนำมาใช้เขียนเมื่อต้องการบรรยายในเชิงศิลปะ
หรือ บรรยากาศ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยภาพ เสียงดนตรี หรือความรื่นรมย์ บันเทิงต่างๆ
ซึ่งในหมู่นักเขียน จะเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
เมื่อใด ที่เห็นว่า เหมาะควรจะใช้คำนี้ เราจึงเขียนว่า "สีสัน"ที่มา
http://www.oknation.net/blog/tewson/2009/05/19/entry-1ปล.ภาษาไทยนั้นมีที่มาที่ไปที่ลึกซึ้งใช่เล่นเลยนะคะ
