salam
พี่ค้าง ขอตอบแทน ก๊ะ dho_dho ได้ไหมคะแอดมินน้อย

จริงๆพี่ไม่เก่งภาษาไทย...แต่เท่าที่สังเกตมาคือ...
คำว่า
"ไห้" ที่สะกดด้วยสระไอไม้มลาย ส่วนใหญ่ไม่ใช้แบบโดดๆ
คือต้องมีคำมาร่วมด้วยและมีเพียงไม่กี่คำเองที่เราใช้กันอยู่ประจำ...
เช่น ร้อง
ไห้ ช้าง
ไห้ (ชื่อวัด)
ส่วน
"ให้" ที่สะกดด้วยสระไอไม้ม้วนนั้น คือคำโดดๆที่เราใช้โดยทั่วไป
เช่น รักคือการ
ให้ 
แต่หากจะใช้สระไอไม้ม้วน(ใ) กับสระไอไม้มลาย(ไ)
ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาไทย...
ลองท่องจำ "ยี่สิบม้วนจำจงดี" ดูจ่ะ...
เพราะยี่สิบม้วนที่ว่าคือ...คำในภาษาไทยที่สะกดด้วยสระไอไม้ม้วน(ใ)
ซึ่งมีด้วยกัน 20 คำน่ะค่ะ
ซึ่งนอกเหนือจากยี่สิบม้วนจำจงดีแล้ว
ก็จะสะกดอยู่ในรูปของสระไอไม้มลาย(ไ)แทบทั้งหมดค่ะ
เพราะเนื่องจากว่ายังมีคำที่ออกเสียงไอ แต่ไม่ได้อยู่ในรูปของสระไอไม้ม้วน
และไม้มลายอยู่ด้วย เช่น สงสัย ปราศรัย หทัยชนก ฯลฯ อีกด้วยจ่ะ
และนี่คือบทกลอน"ยี่สิบม้วนจำจงดี"...
"ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อมิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัวหูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยงยี่สิบม้วนจำจงดี"เห็นมั้ยว่า คนไทยสมัยก่อนเก่งขนาด
ไหน สามารถร่ายกลอน
มาให้เราท่องจำคำในภาษาไทยกันได้คล้องจอง จำง่าย...

ปล.และหากสังเกต คำว่า
"ใหน" จะไม่มีในยี่สิบม้วนจำจงดี
ดังนั้น หากเห็น
"ใหน" ที่สะกดด้วยสระไอไม้ม้วนที่ไหนละก็
แสดงว่าไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์จ่ะ

เพราะว่าจริงๆแล้ว
"ไหน"สระไอไม้มลาย มิใช่
"ใหน" สระไอไม้ม้วนจ่ะ
หายสับสนแล้วใช่ไหม...เรื่องการใช้สระไอทั้งสอง

แต่อีกสองไอที่พี่ไม่รู้และไม่เข้าใจคือ
ไอ ด้อน โน / ไอ ด้อน อันเดอร์สแตน

หากผิดพลาดตรงไหนหรือต้องการเพิ่มเติม โปรดชี้แนะและนำเสนอด้วยนะคะ
วัสลามค่ะ