ผู้เขียน หัวข้อ: การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบอิสลาม  (อ่าน 2384 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เหรียญ 2 ด้าน

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 753
  • เพศ: ชาย
  • เรียบง่าย แต่ไร้เทียมทาน (จิงๆๆ)
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • กัมปงดูกู

 salam

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบอิสลามบ
อัลเลาะห์ตาอาลาทรงตรัสไว้ ในซูเราะห์อัลบากอเราะห์ อายะห์ที่ 29 ว่า

 “และอัลเลาะห์ทรงสร้างสรรพสิ่งในแผ่นดินทั้งหมด เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย .. ”

          ในบรรดาความโปรดปราน(เนียะอ์มะห์)ที่องค์อัลเลาะห์ตาอาลาทรงประทานมาให้แก่มนุษย์ ที่รวมเรียกว่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมนั้น คงไม่มีสิ่งใดที่จะยิ่งใหญ่ และสำคัญไปกว่าการประ ทานน้ำฝนลงมา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้อาศัยน้ำในการดำเนินชีวิต ตักตวงเอาผลประโยชน์จากมันให้ได้มากที่สุด หรือจะมีใครปฏิเสธว่า ในกิจวัตรประจำวันของมุสลิมอย่างเราท่านนั้น ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำก็ได้ ยิ่งในภาคการปฏิบัติศาสนกิจแล้ว น้ำถือเป็นปัจจัยหลักที่มุสลิมต้องใช้เป็นส่วนใหญ่

          เมื่อน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เปรียบ เสมือนเส้นเลือดใหญ่ ที่หล่อเลี้ยงร่างกายของเรา  น้ำจะมีความสำคัญ เทียบเท่าอากาศเลยก็ว่าได้ แต่การให้ความสำคัญกับคุณค่าของน้ำจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ ในพื้นที่แห้งแล้งกันดาร น้ำจะมีค่ามาก มีราคาแพง   แต่ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ น้ำอาจไม่มีค่า ไม่มีราคา ดังนั้นการเก็บกักน้ำและการชลประทานน้ำในแต่ละพื้น เพื่อใช้ในยามขาด แคลน จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในบางครั้ง น้ำฝนอาจตกลงมาอย่างมากมาย เกินกำลังความ สามารถที่มนุษย์จะควบคุม และกักเก็บเอาไว้ได้ น้ำที่มีคุณอนันต์ก็กลับกลายเป็นน้ำที่มีโทษมหันต์ เป็นสายธารแห่งการทำลายล้าง สร้างความเสีย หายย่อยยับกับทุกสิ่งที่ขวางหน้า ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

         ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะอุทกภัยหรือภัยจากน้ำท่วม ถือเป็นภัยพิบัติยอดฮิตที่สุดในขณะนี้ รวมทั้งประเทศไทย ที่หลายจังหวัดต้องประสบกับภัยน้ำท่วมอย่างหนัก ที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ และที่ย่ำแย่ไปกว่านั้นก็คือ น้ำจะท่วมขังเป็นเวลานานนับเดือน กว่าจะไหลลงสู่ทะเล ซึ่งสร้างความฉงนสนเท่ห์ให้แก่นักสิ่งแวดล้อมและประชาชนทั่วไป ที่สงสัยว่า ทำไมน้ำจึงไม่ไหลลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็วเหมือนที่ผ่านมา ? และทำไมน้ำทะเลจึงมีระดับสูงขึ้นทุกปี ?

          สาเหตุดังกล่าวมาจากภาวะ “โลกร้อน”  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภูมิอากาศของโลก เกิดจากการไหล เวียนของพลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของแสงแดด พลังงานประมาณร้อยละ 70 ได้ถูกดูดซับโดยผ่านชั้นบรรยากาศ ลงมาให้ความอบอุ่นกับพื้นผิวโลก แต่อีกร้อยละ 30 จะสะท้อนกลับสู่ห้วงบรรยากาศในรูปแสงอินฟาเรด หรือรังสีความร้อน ทำให้โลกไม่ร้อนจนเกินไป

          สูงจากโลกเราขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ มี “ก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งเปรียบเสมือน “ผ้าห่มธรรมชาติ” ห่อหุ้มอยู่ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญได้แก่ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ โอโซน มีเทน ไรตรัสออกไซค์ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก๊าซเหล่านี้มีปริมาณรวมกันทั้งสิ้นไม่ถึงร้อยละ 1 ของบรรยากาศ แต่ก็มากเพียงพอที่จะทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิอุ่นขึ้นจากเดิมประมาณ 30 อง ศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์

สาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อนกว่าร้อยละ 80 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในยุคปัจจุบัน (ข้อมูลจาก www.wwfthai.org)

          ผลจากโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ภูเขาน้ำแข็งแถบขั้วโลกและจากภูเขาสูง จะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินไหลลงสู่ทะเลช้าลงกว่าปรกติ ยิ่งกว่านั้นภาวะโลกร้อนยังทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทั้งบนบกและในน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อโลกร้อนขึ้น จะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  และเป็นภัยร้ายต่อชีวิตมนุษย์บนโลกในอนาคต

          มีการคาดการณ์ว่า ในอีก 100 ปีข้างหน้า พื้นดินที่ติดทะเลจะถูกน้ำท่วมเป็นส่วนใหญ่ รวม ทั้งกรุงเทพฯของเราด้วย  ซึ่งหลายประเทศได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และกำลังหาทางป้องกัน โดยการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมกันบ้างแล้ว

          จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ภัยพิบัติน้ำท่วมในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2549 ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในหลายจังหวัดนั้น เกิดจากภาวะ “โลกร้อน” และน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น  ซึ่งภาครัฐคงต้องเตรียมการณ์ในด้านการชลประทาน และการเร่งระบายน้ำไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันความเสีย หายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          มนุษย์คือตัวการหรือต้นเหตุของภัยพิบัติทั้งมวล มนุษย์คิดไม่ถึงหรอกว่า เทคโนโลยี่อันทันสมัยที่คิดค้นขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวก สบายแก่พวกเขา จะย้อนกลับมาทำลายพวกเขาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา สห-ภาพยุโรป รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น จะเป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับภัยพิบัติมากที่สุด

          เราทุกคน มีส่วนร่วมในการทำลายชั้นบรรยากาศ เพราะก๊าซพิษที่มีชื่อย่อว่าสารซีเอฟซี ที่เกิดจากเครื่องทำความเย็นประเภทต่างๆ โดย เฉพาะตู้เย็นและแอร์ทั้งในบ้านและรถยนต์ ต่างเป็นตัวการให้เกิดภาวะ “โลกร้อน” ทั้งสิ้น และที่สำคัญก็คือ เราทุกคนจำเป็นต้องใช้พวกมันเพื่อการดำเนินชีวิต

          ดังนั้น เราทุกคนต้องช่วยกันดูแล และรักษาสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา หาทางอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ    ให้อยู่กับเราไปให้นาน

ที่สุด ท่านนบี y ได้ส่งเสริมให้มุสลิมทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายก๊าซออกซิ เจนออกมา และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทน และการปลูกต้นไม้ยังจะได้รับผลบุญเทียบเท่ากับการทำซ่อดาเกาะห์อีกด้วย นอกจาก นี้ ผลและใบของมัน ยังให้ประโยชน์แก่มนุษย์และสัตว์

อีกประการหนึ่งก็คือ การอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อม ถือเป็นการเพิ่มพูนการศรัทธาของเรา เพราะท่านนบี y ได้บอกแก่เราไว้ว่า “ ระดับของการอีหม่านนั้นมีเจ็ดสิบกว่าขั้นด้วยกัน ขั้นสูงสุดคือการกล่าวกะลีมะห์ซะฮาดะห์ (การปฏิญาณตน) และขั้นต่ำสุดคือ การขจัดสิ่งที่เป็นอันตรายออกจากถนนหนทาง”

หากเรายังทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่รักษาความสะอาด ไม่ช่วยกันอนุรักษ์สภาพแวด ล้อม เราก็ยังเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ แม้เราจะเป็นคนดี ละหมาดไม่ขาดก็ตาม เพราะขั้นต่ำสุดของการอีหม่าน เรายังทำไม่ได้เลย แล้วเราจะก้าวสู่ขั้นสูงสุดได้อย่างไร ?

          ดังนั้น การร่วมด้วยช่วยกันในการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา และหากเรายังเป็นผู้หนึ่ง ที่ชอบทำลายธรรมชาติ ด้วยการใช้เทคโนโลยี และทรัพยากรกันอย่างฟุ่มเฟือย, ชอบตัดต้นไม้โดยไม่จำเป็น, ชอบเผาขยะมูลฝอยต่างๆ รวมไปถึงการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะทิ้งลงในแหล่งน้ำต่างๆ จนแม่น้ำและลำคลองส่วนใหญ่เน่าเสีย นำมาใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ “โลกร้อน” จนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ตามมา สุดท้ายผู้ที่เดือดร้อนก็คือมนุษย์นั่นเอง

          สิ่งหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องตระหนัก ก็คือ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสรรพสิ่งที่อัลเลาะห์ตาอาลาสร้างมานั้น จะต้องเป็นความสัมพันธ์อย่างสมดุล มีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ และเอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้ทำลาย ทั้งที่มนุษย์เป็นผู้รับเอาอะมานะห์ (ความรับผิดชอบ) ในการดูแลรักษาโลกนี้ มาจากพระผู้เป็นเจ้า ขณะที่สรรพสิ่งอื่นๆ ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบอันนี้ 

          ดังนั้น เราต้องช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัวเราให้ดีที่สุด เริ่มจากตัวเราเอง ต่อจาก นั้นก็ครอบครัว เพื่อนบ้าน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือสอนลูกสอนหลานและเยาวชนของเรา ให้รักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่ออนาคตของพวกเขาเอง ที่จะได้ธรรมชาติที่สะอาดและสมบูรณ์กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง และเป็นธรรมชาติที่ยั่งยืนตลอดไป ... อินซาอัลเลาะห์

 

ซอและห์ มีสุวรรณ

เรียบเรียง
http://www.miftahbandon.org
ชื่อที่เคยใช้ในบอร์ดคือ ahmdduku, الدوكوي, เหรียญ 2 ด้าน

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบอิสลาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธ.ค. 06, 2009, 09:17 AM »
0

salam


ญะซากัลลอฮุคอยรอนค่ะ

 myGreat: myGreat:


มีภาพปอดของโลกมาฝากด้วยค่ะ





วัสลามค่ะ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged