ผู้เขียน หัวข้อ: เครือญาติ .. สายใยที่ต้องสืบสาน  (อ่าน 1726 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เหรียญ 2 ด้าน

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 753
  • เพศ: ชาย
  • เรียบง่าย แต่ไร้เทียมทาน (จิงๆๆ)
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • กัมปงดูกู

 salam

เครือญาติ .. สายใยที่ต้องสืบสาน
 

            โลกทุกวันนี้ร้อนระอุยิ่งนัก หัวใจคนก็คับแคบร้อนรน ในความหรูหราฟุ่มเฟือย กลับหาความสงบได้ยากเย็น ผลพวงจากเศรษฐกิจที่บีบรัดตัวและปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาทุกด้าน ทำให้คนร่วมสมัยคิดถึงแต่ตนเองและครอบครัว เหินห่างญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง หมกมุ่นครุ่นคิดแต่จะสนองตอบความต้องการของตน เช่นนี้คนในยุคปัจจุบันนี้จึงใกล้จุดที่เรียกว่า “ตัวใครตัวมัน” เข้าไปทุกที

            ความรักความผูกพันซึ่งกันและกันของมนุษยชาตินั้น ถือเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เพราะคนเราทุกคนก่อกำเนิดจากการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อสร้างความรู้จักมักคุ้นต่อกัน และก่อเกื้อภราดรภาพและความสามัคคีในสังคม ตามโองการที่ว่า

 

ความว่า “มนุษยชาติทั้งหลาย แน่แท้เรา(อัลเลาะห์)ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง  และเราได้บันดาลให้พวกเจ้าแตกแขนงออกไปเป็นเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพื่อสร้างความรู้จักมักคุ้นกัน”

(อัลหุญะรอต 13)

 

            มนุษย์เราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว จะต้องมีครอบครัวเพื่อแพร่กระจายเผ่าพันธุ์ และผลจากการมีครอบครัวนี้เอง ก็ขยายวงกว้างออกไปสู่การมีเครือญาติมากขึ้น เครือญาติในที่นี้แบ่งได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ เครือญาติที่แต่งงานกันไม่ได้ หรือ ญาติใกล้ชิด กับเครือญาติที่แต่งงานกันได้ หรือ ญาติห่างๆ ซึ่งเครือญาติทั้งสองประเภทนี้ อิสลามได้กำหนดเป็นบัญญัติไว้อย่างชัดเจน ให้เราทุกคนสร้างความสัมพันธ์กับพวกเขาอยู่ตลอดเวลา จะละเลยหรือตัดสัมพันธ์ไม่ได้อย่างเด็ดขาด

            พระราชดำรัสแห่งองค์พระผู้อภิบาลมากมาย ที่ตรัสถึงความสำคัญของการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ ดังเช่นโองการที่ว่า

 

ความว่า “ท่านทั้งหลายจงยำเกรงต่ออัลเลาะห์ ผู้ที่ท่านทั้งหลายต่างวอนขอพระองค์ และจงยำเกรงต่อการตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ” (อันนิซาอ์ 1)

 

            อัลกุรอานได้บอกไว้อย่างชัดเจน ให้เรากลัวการตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ทำความสนิทสนม ไปมาหาสู่กันและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

            อิสลามถือว่าการตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เป็นสิ่งที่ผิดต่อบทบัญญัติอย่างรุนแรง อิสลามต้องการให้ทุกคน ทุกหมู่เหล่า ทุกสายตระกูล มีความสมัครสมานสามัคคี และรักใคร่กลมเกลียวกัน อิสลามไม่สนับสนุนให้มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน มีความบาดหมางต่อกัน ในลักษณะที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน จนกลายเป็นปัญหาของสังคมต่อไป

            นอกจากนี้ท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) ยังได้กล่าวยืนยันไว้มากมายถึงเรื่องดังกล่าวนี้ ดังอัลหะดีษที่ว่า

 

( من كان يؤمن بالله واليوم الآخر فليصل رحمه ) متفق عليه
 
ความว่า (บุคคลใดที่ศรัทธาต่ออัลเลาะห์และวันอาคิร เขาจะต้องสร้างความสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา) รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม

 

            การเชื่อมสัมพันธ์ในระหว่างเครือญาติ ถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ถึงแม้เครือญาติเหล่านั้นได้ตัดขาดกับเราแล้ว “ได้มีชายผู้หนึ่งมาหาท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) และกล่าวว่า ข้าพเจ้ามีญาติพี่น้องมากมาย ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้ความสัมพันธ์กับพวกเขา แต่พวกเขากลับตัดสัมพันธ์กับข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าทำดีต่อพวกเขา พวกเขากลับทำเลวต่อข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าแสดงความนอบน้อมต่อพวกเขา พวกเขาก็หยาบกระด้างต่อข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทำอย่างไร ? ท่านศาสดาจึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า หากตัวเจ้ากระทำดังเช่นนั้น แน่แท้พระผู้เป็นเจ้าจะให้มีผู้คอยช่วยเหลือ ตราบใดที่เจ้ายังคงอยู่ในสภาพเช่นนั้น แต่สำหรับพวกเขาถ่านไฟอันร้อนแรงจะมาประสบกับพวกเขา ตราบใดที่พวกเขายังอยู่ในสภาพเช่นนั้น”

            และสำหรับผู้ที่ซ่อนความเป็นศัตรูไว้ในใจ การสร้างสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อเขา ถือเป็นการกระทำที่ประเสริฐสุดแล้ว และอินซาอัลเลาะห์ หวังว่าการกระทำของเราจะทำให้เขาเลิกคิดร้ายต่อเรา เลิกตัดขาดกับเรา นี่คือเจตนารมณ์ของอิสลามอันแท้จริง

            เมื่อกล่าวถึงความสำคัญ ในการสร้างสัมพันธ์กับเครือญาติแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ หรือคนที่ชอบตัดญาติขาดมิตร หรือคนที่เข้ากับญาติตัวเองไม่ได้ หรือพวกที่ชอบทะเลาะเบาะแว้งกับเครือญาติเป็นเนืองนิจ คนเหล่านี้ทำความดีเท่าไร อัลเลาะห์จะไม่ตอบรับอย่างแน่นอน ท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงคนกลุ่มนี้ไว้ว่า

 

( القاطع لا يدخل الجنة ) متفق عليه
 
ความว่า (ผู้ใดตัดสัมพันธ์ทางเครือญาติ จะไม่ได้เข้าสวรรค์)

            เช่นเดียวกัน กลุ่มชนใดที่ตัดความสัมพันธ์กับญาติมิตร มวลมลาอิกะห์เราะห์มะห์ จะไม่นำความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้ามาสู่ชนกลุ่มนั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านศาสดาได้ร่วมวงสนทนากับเหล่าศ่อฮาบะห์ ท่านได้กล่าวว่า ในวันนี้คนที่ตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ อย่าเข้ามานั่งกับพวกเรา เมื่อท่านพูดจบมีเด็กหนุ่มลุกออกไป ตรงไปหาน้าหญิงของเขาที่เคยมีเรื่องบาดหมางกัน และเขาได้ขออภัยต่อน้าหญิง น้าหญิงก็ขออภัยต่อเขา ต่างคนต่างอภัยให้กันและกัน หลังจากนั้นเขาก็กลับมาร่วมวงตามเดิม ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า “ความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า จะไม่ลงมาสู่กลุ่มชนที่มีผู้ตัดสัมพันธ์กับเครือญาติปะปนอยู่”

            ความสำคัญของการสร้างสัมพันธ์กับเครือญาตินั้น ถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่รองจากการอีหม่านต่ออัลเลาะห์เลยทีเดียว เช่นเดียวกับการตัดสัมพันธ์ทางเครือญาติ ถือเป็นเรื่องร้ายแรงรองจากการตั้งภาคีต่อพระองค์เช่นกัน

 

            “ท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) เคยถูกถามจากเหล่าซอฮาบะห์ว่า กิจกรรมใดที่อัลเลาะห์ทรงรักมากที่สุด ท่านตอบว่า การภักดีต่อพระองค์และการสร้างสัมพันธ์กับเครือญาติ เช่นเดียวกันท่านถูกถามว่ากิจกรรมใดที่อัลเลาะห์ทรงกริ้วมากที่สุด ท่านตอบว่า การตั้งภาคีต่อพระองค์และการตัดสัมพันธ์ทางเครือญาติ”

 

            จากอัลกุรอานและอัลฮะดีษข้างต้น พอจะสรุปได้ว่าเมื่อเรามีญาติพี่น้องที่ใกล้ชิด เราจำเป็นจะต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อเขาเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ วิธีการสร้างสัมพันธ์นั้นก็คือ การไปมาหาสู่กันหรือการติดต่อกันทางอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบันก็เข้าอยู่ในข่ายนี้ทั้งสิ้น แต่ก็มิได้หมายความว่า ให้สร้างสัมพันธ์กับเครือญาติแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจเพื่อนบ้านรอบข้าง เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การที่เราจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้นั้น จะต้องเริ่มจากคนใกล้ตัวที่มีสายเลือดเดียวกันเสียก่อน และค่อยเลื่อนไปสู่คนรอบข้าง และถ้าทุกคนทำได้อย่างนี้แล้ว สังคมจะมีแต่ควางสงบร่มเย็น และมั่นคงถาวรอย่างแน่นอน

            สภาพสังคมปัจจุบัน อิทธิพลของการบูชาวัตถุแผ่กระจายไปทุกหย่อมหญ้า ไม่เว้นในหมู่พี่น้องมุสลิมที่มีอิสลามเป็นทางนำแห่งชีวิตอยู่แล้ว ครอบครัวมุสลิมเราบางส่วนกำลังตกอยู่ในภาวะ “ตัวใครตัวมัน” จนทำให้สายสัมพันธ์แห่งเครือญาติขาดสะบั้น และถูกหลอมละลายหายไปกับกาลเวลา แม้ในวันอีด(วันตรุษของอิสลาม) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความรื่นเริงของอิสลาม เป็นวันเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องที่สำคัญวันหนึ่ง อันเป็นวัฒนธรรมสูงส่งที่เคยปฏิบัติกันมา ก็ดูจืดจางและเงียบเหงา ทุกวันนี้วันอีดจึงคลายความสำคัญลงไปมาก บรรยากาศแห่งมิตรภาพในหมู่เครือญาติไม่คึกคักเท่าที่ควร ทุกคนมัวแต่วุ่นวายอยู่กับตนเองและภารกิจของตน จนหลงลืมญาติพี่น้องและสังคมรอบข้างไป

 

            เราอาจสรุปสาเหตุบางประการของการตัดญาติขาดมิตรได้ดังนี้

            1. ปัญหาเรื่องเงินๆทองๆ และการแบ่งทรัพย์สินจากกองมรดก

            2. การชิงดีชิงเด่นและความอิจฉาริษยาในหมู่ญาติพี่น้อง

            3. การไม่สนใจใยดีกับวงศ์ตระกูลของตนเอง

 

            จากสาเหตุบางประการข้างต้น ก่อให้เกิดรอยร้าวในหมู่ญาติพี่น้องและลุกลามไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ที่ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆจากพ่อแม่ จนเกิดปฏิกริยาต่อต้านจนถึงขั้นเลิกเคารพนับถือกันเลยก็มี บฏิกริยาต่างๆ เราจะพบเห็นได้ในปัจจุบัน ในภาพที่ลูกหลานไม่เคารพนับถือลุงป้าน้าอา ไม่ไปเยี่ยมเยียน ไม่ไปกินบุญ และไม่สนใจใยดี เจอหน้ากันก็ทำเหมือนคนไม่รู้จักกัน แล้วอย่างนี้สังคมจะพึ่งพาอาศัยใครกันเล่า ที่จะมาสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคง

            ใครก็ตามที่กำลังเดินอยู่ในสภาพเช่นนี้ ขอให้หันมาไตร่ตรองให้ลึกซึ้งอีกสักนิด เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอีหม่านของเราโดยตรง นักวิชาการได้กล่าวถึงขอบเขตหน้าที่ของเครือญาติที่ต้องแสดงออกต่อกันไว้ คือผู้น้อยต้องเข้าหาผู้ใหญ่ ให้ความเคารพต่อท่าน และผู้ใหญ่ต้องให้ความเอ็นดูต่อผู้น้อย ท่านคอลีฟะห์อาลีได้กล่าวว่า “เมื่อท่านมีญาติใกล้ชิดคนหนึ่งที่ขัดสน แล้วท่านไม่เดินไปหาเขา ไม่นำทรัพย์สินไปมอบให้เขาบ้าง นั่นก็เท่ากับว่าท่านได้ตัดขาดกับเขาผู้นั้นแล้ว”

            ขอให้พวกเรามารวมใจกันสร้างสีสัน สร้างสัมพันธ์ให้บรรเจิดงดงาม ตามเจตนารมณ์แห่งอัลอิสลาม มารวมสานฝันแปรเปลี่ยนเศรษฐกิจที่บีบบังคับชีวิตจนมนุษย์คิดถึงแต่ตัวเอง ให้เป็นเศรษฐกิจที่รับใช้ชีวิตกันเถิด ดังความนัยแห่งอัลกุรอานที่ว่า

 

ทรงรังสรรค์ทุกสรรพสิ่งเพื่อรับใช้มนุษย์
และทรงก่อเกิดมนุษย์เพื่อถวายราชสักการะแด่พระองค์
 

      เรามาสร้าง สัมพันธ์ ฉันเครือญาติ           อย่าตัดขาด ญาติมิตร ผิดมหันต์

      ขอความรัก ไมตรี มีต่อกัน                                เพื่อสร้างสรรค์ สัมพันธ์ อันงดงาม

 

ซอและห์(สามารถ) มีสุวรรณ / เรียบเรียง

 

เอกสารอ้างอิง

พระคุณพ่อแม่ แปลโดย อ.มัรวาน สะมะอุน, 1988, ส.วงศ์เสงี่ยม
จาก เวบ http://www.miftahbandon.org
ชื่อที่เคยใช้ในบอร์ดคือ ahmdduku, الدوكوي, เหรียญ 2 ด้าน

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
Re: เครือญาติ .. สายใยที่ต้องสืบสาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ย. 30, 2009, 12:54 PM »
0
ญะซากัลลอฮ์ค็อยรอนที่นำบทความดีๆแบบนี้ให้ได้อ่านกันค่ะ
เพราะบางครั้ง...เรามองข้ามคนใกล้ตัวเราไป 
วิถีชีวิตในแบบมุสลิมนั้นหากเรามองดูดีๆ เราจะเห็นว่าเป็นวิถีชีวิตที่เกื้อหนุนในระบบเครือญาติซึ่งกันและกันอยู่แล้ว
เพราะทุกคนเปรียบเสมือนญาติพี่น้องของเรากันทั้งนั้น
อยู่ที่ว่าเราจะใส่ใจกับมันหรือไม่ก็เท่านั้นเองค่ะ

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: เครือญาติ .. สายใยที่ต้องสืบสาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ก.ย. 30, 2009, 02:46 PM »
0
salam

เครือญาติ .. สายใยที่ต้องสืบสาน
 

           
      คนเราทุกคนก่อกำเนิดจากการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า
เพื่อสร้างความรู้จักมักคุ้นต่อกัน และก่อเกื้อภราดรภาพและความสามัคคีในสังคม
ตามโองการที่ว่า

 

ความว่า “มนุษยชาติทั้งหลาย แน่แท้เรา(อัลเลาะห์)ได้บังเกิดพวกเจ้ามาจากชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง  และเราได้บันดาลให้พวกเจ้าแตกแขนงออกไปเป็นเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพื่อสร้างความรู้จักมักคุ้นกัน”

(อัลหุญะรอต 13)

 

                     
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงยำเกรงต่ออัลเลาะห์ ผู้ที่ท่านทั้งหลายต่างวอนขอพระองค์ และจงยำเกรงต่อการตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ” (อันนิซาอ์ 1)

 

     นอกจากนี้ท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) ยังได้กล่าวยืนยันไว้มากมาย
ถึงเรื่องดังกล่าวนี้ ดังอัลหะดีษที่ว่า

 

( ?? ??? ???? ????? ?????? ????? ????? ???? ) ???? ????
 
ความว่า (บุคคลใดที่ศรัทธาต่ออัลเลาะห์และวันอาคิร เขาจะต้องสร้างความสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา) รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม

 

            การเชื่อมสัมพันธ์ในระหว่างเครือญาติ ถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ถึงแม้เครือญาติเหล่านั้นได้ตัดขาดกับเราแล้ว “ได้มีชายผู้หนึ่งมาหาท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) และกล่าวว่า ข้าพเจ้ามีญาติพี่น้องมากมาย ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้ความสัมพันธ์กับพวกเขา แต่พวกเขากลับตัดสัมพันธ์กับข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าทำดีต่อพวกเขา พวกเขากลับทำเลวต่อข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าแสดงความนอบน้อมต่อพวกเขา พวกเขาก็หยาบกระด้างต่อข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทำอย่างไร ? ท่านศาสดาจึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า หากตัวเจ้ากระทำดังเช่นนั้น แน่แท้พระผู้เป็นเจ้าจะให้มีผู้คอยช่วยเหลือ ตราบใดที่เจ้ายังคงอยู่ในสภาพเช่นนั้น แต่สำหรับพวกเขาถ่านไฟอันร้อนแรงจะมาประสบกับพวกเขา ตราบใดที่พวกเขายังอยู่ในสภาพเช่นนั้น”


ท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงคนกลุ่มนี้ไว้ว่า

 

( ?????? ?? ???? ????? ) ???? ????
 
ความว่า (ผู้ใดตัดสัมพันธ์ทางเครือญาติ จะไม่ได้เข้าสวรรค์)

       ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า
“ความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า จะไม่ลงมาสู่กลุ่มชนที่มีผู้ตัดสัมพันธ์
กับเครือญาติปะปนอยู่”

           
 

            “ท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) เคยถูกถามจากเหล่าซอฮาบะห์ว่า
กิจกรรมใดที่อัลเลาะห์ทรงรักมากที่สุด ท่านตอบว่า การภักดีต่อพระองค์และการสร้างสัมพันธ์กับเครือญาติ เช่นเดียวกันท่านถูกถามว่ากิจกรรมใดที่อัลเลาะห์ทรงกริ้วมากที่สุด ท่านตอบว่า การตั้งภาคีต่อพระองค์และการตัดสัมพันธ์ทางเครือญาติ”

 

         
        ท่านคอลีฟะห์อาลีได้กล่าวว่า

 “เมื่อท่านมีญาติใกล้ชิดคนหนึ่งที่ขัดสน แล้วท่านไม่เดินไปหาเขา
ไม่นำทรัพย์สินไปมอบให้เขาบ้าง นั่นก็เท่ากับว่าท่านได้ตัดขาดกับเขาผู้นั้นแล้ว”

         


   

 salam

ญะซากัลลอฮุคอยรอนสำหรับบทความดีๆค่ะ

โดยเฉพาะโองการจากอัลกุรอานและอัลหะดิษข้างต้นค่ะ

...บางครั้งก็มักจะถกเถียงกับพี่น้องบ่อยๆ เพราะต่างความคิดต่างทัศนคติ
บางทีสองสามชั่วโมงเชียวค่ะ...

แต่พอตื่นนอนมานั่งทานข้าวเช้าด้วยกัน มองตากันก็เข้าใจค่ะ
ตัวเราเป็นน้องก็เลยขอโทษคนเป็นพี่ก่อนน่ะค่ะ เพราะจะรอให้พี่พูดก่อน
ท่าจะไม่มีทาง แม้จะรู้กันแล้วว่าไม่ได้ถือโทษโกรธกันแล้วก็ตาม
แต่มันก็ต้องพูดออกมาค่ะถึงจะโล่งใจ...พอพูดคำว่า"ขอโทษนะพี่"
เท่านั้นแหล่ะค่ะ เราก็จะได้เห็นรอยยิ้มของพี่ แล้วมีคำขอโทษของพี่ตามมาด้วย
พ่อแม่ก็นั่งอมยิ้ม เพราะตลอดการเถียง ท่านทั้งสองไม่เข้ามายุ่งเลยค่ะ
บอกแค่ว่า พี่น้องกัน อย่าโกรธกันเกิน3วัน ไม่ดี...ทางที่ดีตื่นมาก็ขอโทษซะเลย
ปล่อยนานไปจะเขินและไม่กล้า...ซึ่งมันก็จริงดังว่าค่ะ...ค่อนข้างเขินอยู่เหมือนกัน
เวลาจะพูดกับว่าขอโทษ...

...การนั่งทานข้าวด้วยกัน เป็นการกระชับมิตรได้ดีทีเดียวเลยค่ะ...

และคำสี่คำที่บางครั้งก็พูดยาก แต่มากด้วยพลังที่สามารถเปลี่ยนทุกอย่างได้

ขอบคุณ
ขอบใจ
ไม่เป็นไร
ขอโทษ

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ

^____________^

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
Re: เครือญาติ .. สายใยที่ต้องสืบสาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ต.ค. 01, 2009, 07:54 PM »
0
salam

ครั้งหนึ่งท่านหญิงอาอิชะฮ์ ได้สอบถามท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ว่า
นางมีเพื่อนบ้านอยู่สองคน และจากคนใดกันที่นางควรจะให้การดูแลก่อน
ท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   กล่าวตอบว่า
จากเพื่อนบ้านที่มีประตูบ้านติดกับเธอมากที่สุด

 

GoogleTagged