มุสลิมเชื้อสายเขมร
เชื้อสายเขมร ซึ่งก็เคยมีมาแต่เดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2225) ก็ปรากฏมีกองอาสาจามเป็นกองทหารอาสาสมัครร่วมรบอยู่ในกองทัพไทย คำว่า "จาม" หรือ "แขกจาม" หรือชาวเขมรที่นับถือศาสนาอิสลามนั่นเอง สำหรับชาวเขมรที่อยู่ในกรุงเทพฯ นั้น ได้อพยพมาในตอนต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะที่ดำรงพระยศเป็นพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยกทัพไปปราบเมืองเขมรได้ชัยชนะ ก็ได้กวาดต้อนผู้คนชาวเขมรมาไว้ในกรุงเทพฯด้วยเช่นกัน
อยู่ที่เขตพญาไท ถนนเจริญผลตัดใหม่นั่นเอง สำหรับแขกจามในสมัยนั้นเป็นบุคคลที่มีจำนวนมากในประเทศเขมร ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้นได้มีในจำนวนชาวเขมรเหล่านั้น ก็มีชาวแขกจามรวมอยู่ด้วย และได้โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถวนอกกำแพงเมือง คือแถวบ้านครัว ซึ่งขณะนี้แขกจามผู้หนึ่งชื่อ "ตวนเซด" ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นอยู่ที่เกาะละว้าเอม แล้วแต่งตั้งขุนนางผู้ใหญ่จากพรรคพวกแขกจามด้วยกันเองเป็นอันมาก แต่ต่อมาพระยาเตโช (แทน) น้องชายฟ้าทะละหะมู ตั้งตัวเป็นฟ้าทะละหะ แล้วลอบมาเกลี้ยกล่อมขุนนางเขมรเก่า ๆ ยกไปลอบฆ่าตวนเซ็ดตาย ขณะนั้นนักองเองเป็นเจ้าเขมรเพียงคนเดียวที่เหลืออยู่ แต่ยังทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้ทรงโปรดให้นักองเองเข้ามาอยู่เสียในกรุงเทพฯ เพื่อความปลอดภัย แล้วทรงโปรดเกล้าให้พระยายมราช (แบน) เลื่อนขึ้นเป็น "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร" ออกไปเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเขมรไปพลางก่อน แล้วจึงจะโปรดให้กลับไปครองราชย์เมืองเขมรต่อไป ดังนั้น ในระยะนั้นชาวแขกจามซึ่งมีตำบลกำปงจามอยู่ในประเทศเขมร จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นอันมาก
มุสลิมเชื้อสายเปอร์เซีย
มุสลิมเชื้อสาย เปอร์เซียหรืออิหร่านนั้น เชื่อได้ว่าเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยอย่างแน่นอน เพราะอิทธิพลของภาษาอิหร่านก็ยังคงปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ดังได้กล่าวแล้วแต่ตอนต้น แต่คงเป็นพวกพ่อค้าที่เข้ามาทำการค้าขาย และเผยแพร่ศาสนาเท่านั้น เท่าที่ปรากฏหลักฐานว่า เข้ารับราชการในราชสำนักไทยนั้น คงจะเป็นตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ2145-2170) เรื่อยมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่บุคคลที่เข้ารับราชการนี้จะเป็นมุสลิมเชื้อสายอิหร่านทั้งสำนักคิดสุนนีและชีอะห์เกือบทั้งสิ้น ซึ่งมีชื่อเรียกตามภาษาชาวบ้านในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า "แขกเทศ" หรือ "แขกแพ" นั่นเอง ส่วนชาวมุสลิมเชื้อสายปัตตานีซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "แขกตานี"นั้น มักประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม และค้าขายไม่นิยมการเข้ารับราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมุสลิมที่ชื่อว่า "แขกตานี" เหล่านี้มีความเจียมตนถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยศึก เลยไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับทางราชการของเมืองไทยก็เป็นได้ แต่ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ก็ปรากฏว่ามีคนมุสลิมเชื้อสายปัตตานีเข้ารับราชการทั้งทางด้านทหาร และพลเรือนกันมากขึ้น "
ต้นสกุลสายเปอร์เซีย
อะหมัดจุฬา จุฬสรัตน์ บุนนาค ชลายเดชะ มานะจิตร์ฯลฯ
มุสลิมเชื้อสายอินเดีย
มุสลิมเชื้อสายอินเดีย ซึ่งบรรพบุรุษเคยเข้ามาประกอบการค้าทางทะเลตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้ตั้งรกรากอยู่แถวปากลัด จังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบัน เดิมแถวปากลัดนี้เป็นเมื่องนครเขื่อนขัณฑ์ และชาวอินเดียเหล่านี้อาจจะมีการสมรสกับคนในท้องถิ่นแถบนั้น ซึ่งเป็นชาวรามัญอยู่บ้าง และได้สืบสกุลต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าคนในท้องถิ่นเดิมนั้นเป็นอันมาก ชาวอินเดียบางสายก็ได้มาพำนักอยู่แถวประตูเมืองกรุงเทพฯ ในสมัยรัชการที่ 4 เป็นต้นมา ปรากฏว่ามีร้านค้าธุรกิจของชาวอินเดียตั้งอยู่หลายครอบครัว แถบสะพานช้างโรงสี เขตพระนครในปัจจุบัน นอกจากนั้นก็มีห้างร้านของชาวอินเดียมุสลิมตั้งอยู่แถวราชวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ ปรากฏมีมัสญิดอยู่แถวนั้นได้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ "มัสญิดวัดเกาะ" ส่วนใหญ่ของชาวอินเดียนับถือศาสนาอิสลามสำนักคิดชีอะห์ มีมัสญิดของชาวมุสลิมอินเดียชีอะห์อยุ่ฝั่งธนบุรีริมแม่น้ำเจ้าพระยาคือ "มัสญิดไซฟี (ตึกขาว) " ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์
สกุลมุสลิมเชื้อสายอินเดีย
นานา นานากุล วาศ์พานิช อมันตกุล อมรทัต วงค์อารยะ
วงศ์ยุติธรรม สมุทรโคจร วานิชอังกูร มาริกัน เซท โฆษิตกุล
สยามวาลา ฮูเซ็น อิทธิกุล อับดุลราฮิม สถาอานันท์ ไชยเดช
อดุลย์รัตน์ หมุดกาญจน์ วัชรพิสุทธ์ กัลยาณวิชัย ซาฮิบ
โฆมินทร์ วิรุฬผล สิมารักษ์ กุลสิริสวัสดิ์ฯลฯ
มุสลิมเชื้อสายปากีสถาน
นั้นมีอยู่โยกระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไป ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ทางภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอีสาน ส่วนมากมีอาชีพทางปศุสัตว์ เป็นหลัก แต่ต่อมาในระยะหลังนี้ ก็ประกอบอาชีพทางธุรกิจกันมากขึ้น มุสลิมชาวปากีสถานนี้ส่วนใหญ่ มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมาก เพราะมีความขยันขันแข็งกล้าได้ กล้าเสีย กล้าเสี่ยงต่อภัยอันตรายทั้งมวล เขาไปทำการค้าขายในป่าในดง และกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลมากในด้านการค้าขายในชนบทโดยทั่วไป
ต้นสกุล
ปาทาน เผ่าปาทาน ฯลฯ
มุสลิมเชื้อสายจีน
ก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยในจังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเราเรียกกันว่า "จีนฮ่อ" ชาวจีนมุสลิมเหล่านี้อพยพเคลื่อนย้ายมาจากทางประเทศจีนตอนใต้ หรือยูนาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบสิ้นลง และเจียงไคเซ็ค ต้องอพยพรัฐบาลของตนไปอยู่เกาะไต้หวัน ประเทศจีนถูกยึกครองโดยเมาเซตุง และกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไป มีกองพล 93 ซึ่งตั้งอยู่ทางประเทศจีนตอนใต้ และเป็นทหารของจีนก๊กมินตั้ง จึงไม่อาจที่จะอยู่ในประเทศจีนต่อไปได้ จึงได้เคลื่อนย้ายมาปักหลักอยู่แถวอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทหารจีนเหล่านี้บางส่วนก็เป็นชาวจีนมุสลิม เช่นเดียวกับจีนฮ่อ ซึ่งเคยอยู่ในเมืองไทยมาก่อนแล้ว จึงได้รวมตัวมาพำนักอยู่ในเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนไม่น้อย ปัจจุบันชาวจีนมุสลิมในเชียงใหม่จึงเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ต้นสกุล
ฟูอนันต์ เป็นต้น