เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นขออธิบายอย่างละเอียดดังนี้
ภาพด้านบนแสดงถึง การไหลของความกดอากาศสูงที่พัดเวียน
รอบบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area) ในซีกโลกเหนือ
- ลูกศรสีน้ำเงินด้านนอก4 มุม หมายถึง แรงความชันของความกดอากาศ
จากความกดอากาศสูงวิ่งเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ
(pressure gradient force)
- ลูกศรสีน้ำเงินภายในวงกลม แสดงถึง แรงความชันของความกดอากาศ
มีค่าสมดุลกับแรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง)
- ลูกศรสีแดงด้านนอก 4 มุม หมายถึง แรงเฉหรือแรงโคริโอลิส (coriolis force)
- ลูกศรสีแดงด้านใน หมายถึงแรงโคริโอลิสมีค่าสมดุลกับความชัน
ของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน)
*ไม่ได้แปลว่าลมจะพัดออกไปด้านนอกนะครับ
- ลูกศรสีดำ คือเส้นความกดอากาศเท่า(isobar)
ซึ่งมีลักษณะพัดรอบทวนเข็มนาฬิกา
1) แรงเฉ(ลูกศรสีแดง) นี้เมื่อมีความสมดุลกับค่าความชัน
ของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน) สังเกตจากภาพทั้งลูกศรสีแดง
และน้ำเงินบริเวณรอบวงกลมแสดงถึงค่าเท่ากัน
*ลูกศรแดง*ไม่ได้แปลว่าลมจะพัดออกไปด้านนอกนะครับ แสคงถึงค่าเท่ากัน
2) เมื่อทั้ง 2แรง มีค่าสมดุลกันแล้ว แรงเฉ(ลูกศรสีแดง)
จะมีลักษณะตั้งฉาก 90 องศากับความชันของความกดอากาศ(ลูกศรน้ำเงิน)
การตั้งฉาก 90 องศานี้ในซีกโลกเหนือจะตั้งฉากไปทางขวามือ
สังเกตจากภาพลูกศรด้านนอก ลูกศรแดงจะตั้งฉาก 90 องศา
กับลูกศรสีน้ำเงิน ดังภาพ
3) เมื่อแรงทั้งสองแรงทำมุมตั้งฉากกันแล้ว ส่งผลให้ลมพัดเฉียงไปทางซ้าย
จนพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกา ในซีกโลกเหนือ
อธิบายว่า! เพราะเนื่องจากโลกหมุนทำให้เกิด แรงเฉ
เมื่อแรงเฉหรือแรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง) มีค่าสมดุลกับค่าความชัน
ของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน) แรงเฉ(ลูกศรแดง)
จะทำฉากกับความชันของความกดอากาศ(ลูกศรน้ำเงิน)
ส่งผลทำให้เส้นความกดอากาศเท่า(ลูกศรสีดำ)
ก็จะมีลักษณะพัด เฉียงซ้าย รอบศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ
พัดเฉียงซ้ายไปเรื่อยๆ จนทวนเข็มนาฬิกา เพราะฉะนั้น เมื่อลูกศรทั้ง 2 สีมีค่ามดุลกันและมาบรรจบพบเจอกัน ณ จุดๆนั้น
ทั้งลูกศรสีน้ำเงิน คือค่าความชันของความกดอากาศ
หรือการวิ่งจากความกดอากาศสูงสู่ความกดอากาศต่ำ
(pressure gradient force) + ลูกศรแดง คือค่าของแรงเฉ(coriolis force)
= ลูกศรสีดำคือเส้นความกดอากาศเท่า(isobar)
ลมจะเกิดการพัดเวียนรอบไปตามทิศทางทวนเข็มนาฬิกาสู่ศูนย์กลางพายุ จากภาพด้านบนนี้ดังนี้ขอให้เข้าใจว่าเมื่อแรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง)
มีค่าสมดุลกับค่าความชันของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน)
แรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง)จะทำมุมตั้งฉากกับค่าความชัน
ของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน)
ซึ่งในซีกโลกเหนือลูกศรแดงจะทำมุมตั้งฉากกับลูกศรน้ำเงินไปด้านขวา
ส่งผลให้ลูกศรสีดำพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกาไปด้วย
แต่ในซีกโลกใต้ลูกศรแดงจะทำมุมตั้งฉากกับลูกศรน้ำเงินไปด้านซ้าย
ส่งผลให้ลูกศรสีดำพัดเวียนตามเข็มนาฬิกาไปด้วย แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรเมื่อพายุหมุนเขตร้อนจะพัดเวียนเฉียงซ้าย
จนหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ แต่แรงโคริโอลิส(แรงเฉ)
ซึ่งจะพัดเฉขวาแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ
ซึ่งทิศทางการหมุนอย่างนี้มันขัดกับทิศทางการหมุนของพายุหมุนเขตร้อน
มันเป็นไปได้อย่างไร ?
ตอบ ดังที่ได้เรียนไปแล้วตั้งกระทู้ข้อที่ 07 แล้วว่า
แรงเฉนี้ จะมีความรุนแรงมากขึ้น-น้อยลงตามระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตร
ยิ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด แรงเฉ ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
ในทางกลับกันยิ่งใกล้เส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด แรงเฉ ก็ค่าน้อยลงตามลำดับ
สำหรับบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะไม่ปรากฎ แรงเฉโค้ง(แรงโคริโอลิส) เลย
ดังนั้นสรุปแล้ว มี 2 สาเหตุดังนี้คือ
1) แรงโคริโอลิส ยิ่งใกล้บริเวณศูนย์สูตรมากเท่าใดแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)
ก็จะยิ่งมีค่าน้อยมากเท่านั้น
ส่วนบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)จะมีค่าเป็นศูนย์
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณที่ใกล้ศูนย์สูตรแรงเฉมีค่าน้อยมาก
เป็นผลให้ในซีกโลกเหนือ พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นบริเวณที่ใกล้ศูนย์สูตร
จะพัดเวียนเฉียงไปทางซ้ายมากกว่าแรงโคริโอลิส(แรงเฉ)
ที่พัดเฉียงไปขวาได้ง่ายขึ้น จนพายุหมุนเขตร้อนพัดเวียนเฉียงซ้าย
จนทวนเข็มนาฬิกา
ส่วนซีกโลกใต้ พายุหมุนเขตร้อนจะพัดเวียนเฉียงไปทางขวา
มากกว่าแรงโคริโอลิส(แรงเฉ)ได้ง่ายขึ้น
จนพายุหมุนเขตร้อนพัดเวียนเฉียงขวาจนตามเข็มนาฬิกา
2) ประกอบกับลมจากแถวเส้นศูนย์สูตรมีค่ามากกว่าลมจากแถวขั้วโลก เนื่องจากพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดลมในบริเวณแถวใกล้เส้นศูนย์สูตร
ใหญ่กว่าพื้นที่บริเวณขั้วโลก
ทั้ง 2 ข้อนี้ เปรียบเสมือนกับการขับเรืออย่างรวดเร็วจากซ้ายไปขวา
เมื่อเราขับกระแสน้ำจะปะทะเข้าตัวหัวเรือตรงๆเลย
ขณะเมื่อเราขับเรือนั้นเอง ส่วนน้ำบริเวณด้านข้างเรือทั้งสองข้าง
กระแสน้ำบริเวณที่ชิดกับข้างเรือจะถูกดูดเข้าหาเรือทั้งสองข้าง
โดยข้างเรือด้านซ้ายกระแสน้ำจะถูกดูดเฉไปทางขวา
ส่วนข้างเรือด้านขวามือกระแสน้ำกระแสน้ำจะถูกดูดเฉไปทางซ้าย
และกระเเสน้ำบริเวณข้างเรือทั้งสองข้างไกลออกไปหน่อย
หรือบริเวณท้ายเรือกระแสน้ำจะมีลักษณะหมุนวน
โดยข้างเรือด้านซ้ายหรือท้ายเรือด้านซ้ายกระแสน้ำจะพัดหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา
ส่วนข้างเรือด้านขวาหรือท้ายเรือด้านขวากระแสน้ำจะพัดหมุนวนตามเข็มนาฬิกา
โปรดนึกภาพตาม
ท่านครับ เราขอเปรียบว่า
.
1) เราผู้ขับรถเรือจากซ้ายไปขวา คือการที่โลกหมุนรอบตัวเอง(จากซ้ายไปชวา)
2) ตำแหน่งเรือและเส้นทางเรือ คือบริเวณเส้นศูนย์สูตร
3) การที่กระแสน้ำปะทะเข้าหัวเรือตรงๆ คือบริเวณเส้นศูนย์สูตร
จะไม่ปรากฎแรงเฉ แรงโคริโอลิสมีค่าเป็นศูนย์
.
4) กระแสน้ำ(ด้านซ้ายข้างเรือ)ที่ถูกดูดไปทางขวาเข้าตัวเรือ
คือแรงเฉบริเวณซีกโลกเหนือจะพัดเฉไปขวามือ
5) กระแสน้ำ(ด้านขวาข้างเรือ)ที่ถูกดูดไปทางซ้ายเข้าตัวเรือ
คือแรงเฉบริเวณซีกใต้เหนือจะพัดเฉไปซ้ายมือ
6) กระแสน้ำหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา ที่ด้านซ้ายของท้ายเรือและข้างเรือ
คือการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือจะ ทวนเข็มนาฬิกา
7) กระแสน้ำหมุนวนตามเข็มนาฬิกา ที่ด้านขวาของท้ายเรือและข้างเรือ
คือการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้จะ ตามเข็มนาฬิกา

ตำแหน่งของกระแสน้ำทั้งที่ถูกดูดและพัดหมุนวนด้านซ้ายของเรือ
คือบริเวณซีกโลกเหนือ
9) ตำแหน่งของกระแสน้ำทั้งที่ถูกดูดและพัดหมุนวนด้านขวาของเรือ
คือบริเวณซีกโลกใต้
.
10) ส่วนการที่เรากำลังขับเรือนั้น เปรียบเสมือนแหล่งกำเนิดลม
ในบริเวณแถวใกล้เส้นศูนย์สูตรจะใหญ่กว่า
หรือมีค่ามากกว่าพื้นที่บริเวณขั้วโลก
...มีต่อค่ะ...