salam
บารากู่ อันตรายน้อยกว่าบุหรี่จริงหรือ
เรียบเรียง โดยเอนก ขันศรีทอง
ปัจจุบันการสูบยาสูบที่เรียกว่า บารากู่ กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น โดยมักเสพในสถานบันเทิง ผับ บาร์
หรือแม้กระทั่งตามชุมชนต่างๆ
บารากู่ หรือที่ชาวอาหรับเรียกว่า ฮุกก้า (Hookah) หรือชีช่า (Sheesha)
เป็นอุปกรณ์สำหรับการสูบยาเส้นชนิดหนึ่งที่มีมานานแล้ว
ซึ่งนำเข้าจากประเทศอียิปต์หรืออินเดีย ได้รับความนิยมจากกลุ่มวัยรุ่นทั้งชาย
และหญิงเป็นจำนวนมาก
การสูบบารากู่ นิยมใช้อุปกรณ์ชิ้นเดียว ล้อมวงกันสูบหลายๆ คน
เตาบารากู่ประกอบด้วยส่วนบนสุดใช้วางยาเส้นที่เรียกว่า มาแอสเซล (MU'ASSEL)
ซึ่งเป็นส่วนผสมของใบยาสูบ (tobacco) กับสารที่มีความหวาน
เช่น น้ำผึ้งหรือกากน้ำตาล หรือผลไม้ตากแห้ง ทำให้เกิดกลิ่นหอม
ซึ่งมักจะห่อไว้ในกระดาษฟอยล์ โดยจะใช้ถ่านหรือความร้อนจากไฟฟ้า
ในการเผายาเส้น ควันจากการเผาไหม้จะผ่านน้ำมายังส่วนล่างสุด
ซึ่งเป็นภาชนะที่ทำด้วยแก้วสวยงามที่บรรจุน้ำไว้
ซึ่งผู้สูบเชื่อว่าจะสามารถกรองเอาของเสียต่างๆ เอาไว้
และผ่านไปยังท่อที่ต่อกับส่วนปากดูดเพื่อใช้ในการดูดควัน
ผู้สูบบารากู่มักเข้าใจผิดว่า การสูบยาเส้นผ่านน้ำจะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น
แต่ผลการวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ยาเส้นประเภทสูบผ่านน้ำอย่างบารากู่นั้น
มีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไป เพราะมีสารนิโคติน
และสารทาร์จำนวนมากกว่า อีกทั้งการสูบผ่านน้ำและการผสมกับผลไม้กลิ่นต่างๆ
จะทำให้ความเข้มข้นของควันจางลง ทำให้ผู้สูบ สูบได้ลึกมากขึ้น
และจำนวนมากขึ้น ซึ่งถ้าใช้เวลาสูบนาน 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็น 36 เท่า คาร์บอนมอนนอกไซด์เป็น 15 เท่า และนิโคตินเป็น 70เท่า
เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก
การสูบบารากู่ ผู้สูบจะได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
ซึ่งเป็นสารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแข็งตัว
และโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ผู้สูบจะมีอาการปวดศีรษะ
ตามองเห็นภาพไม่ชัด ใจสั่น เวียนศีรษะ และมีระดับโคเลสเตอรอล
ในกระแสเลือดมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทั่วไป อีกทั้งยังอาจกระตุ้นให้เกิดหลอดลมตีบตัว
ในผู้ป่วยโรคหอบหืด และเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ ยังพบว่าทำให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของทารกในครรภ์อีกด้วย
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา วัยรุ่นและนักศึกษาหันมาสูบบารากู่กันมากขึ้น
สาเหตุก็เหมือนกับคนลองสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ อยากเท่ อยากลอง แก้เครียด
สูบนิดเดียวไม่ติดหรอก และมีความเชื่อผิดๆ ว่าการสูบบารากู่ผ่านน้ำ
จะทำให้สารพิษจากใบยาสูบถูกกรองออกไปหมดจึงปลอดภัยกว่าสูบบุหรี่
แต่จริงๆ แล้ว การสูบบารากู่ไม่ต่างอะไรกับการสูบบุหรี่
ซ้ำร้ายยังส่งผลทำลายสุขภาพรุนแรงยิ่งกว่าด้วย
ข้อมูล
- เรื่อง ฮุกก้า...ยาเส้นอันตราย จากเวปไซต์
www.bangkokhospital.com - เรื่อง ผับบาร์ขาย ฮุกก้า ระวังโดนจับ จากเวปไซต์
www.thairssfeed.comที่มา:http://www.annisaa.com/forum/index.php?topic=512.0
_______________________
ปล.ข้อมูลอาจจะเก่่าไปนิดแต่คิดว่ายังไม่เชยค่ะ...

นอกจากนี้ ชิชาหรือบารากู่จะเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายไทย
เนื่องจากกรมสรรพสามิตไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าตามข้อเสนอ
ของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว การสูบชิชาในผับ บาร์ หรือไนท์คลับ
ยังจะเป็นการทำผิดต่อประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 18
ที่ห้ามสูบผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิดในผับ บาร์ และไนท์คลับ
ซึ่งรวมถึงการสูบชิชา ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2551
คือผิดกฎหมายพ.ร.บ.ยาสูบของสรรพสามิตเนื่องจากยาเส้นฮุกก้านั้น
ถือเป็นสิ่งต้องห้ามไม่อนุญาตให้นำเข้า ผิด พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
ของกระทรวงสาธารณสุข
เนื่องจากยาสูบที่นำเข้ามานั้นต้องมีการแสดงฉลากเตือน
เช่นต้องระบุชื่อผู้นำเข้าและมีการติดคำเตือน และยังผิดพ.ร.บ.ศุลกากร
ซึ่งเป็นสินค้าที่นำเข้ามาโดยไม่ขออนุญาตเสียภาษี
ปัจจุบันกฎหมายยังไม่สามารถยับยั้งการขายยาเส้นฮุกก้าที่นำไปเสพ
กับเครื่องสูบบารากู่ในแหล่งบันเทิงได้ เพราะผลกำไรตอบแทนกับบทลงโทษ
ตามแบ่งขายเป็นถุงละ 10 กรัม ต่อการเสพ 1 ชุด ราคาถึง 100-500 บาท
ดังนั้นในการดำเนินการต้องบูรณาการหลายหน่วยงาน
และครบถ้วนตามกฎหมายทุกฉบับที่มีนายพิสนธ์ ศรีบัณฑิต
เภสัชกร 7 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า
ในส่วนของการให้บริการสูบบารากู่ตามสถานบันเทิงขณะนี้ขอแยกออกเป็น 2 แบบ
หากสิ่งที่นำมาให้ลูกค้าสูบผ่านเครื่องสูบบารากู่ตามสถานบันเทิงนั้น
ไม่มีการนำใบยาสูบที่ลักลอบนำเข้ามาเป็นส่วนผสมเป็นเพียงการนำผงจากใบไม้
ผลไม้ ซึ่งไม่มีส่วนประกอบของใบยามาปรุงแต่งกลิ่นให้สูบ
จะถือว่าไม่นำมาปรุงแต่งกลิ่น
หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะถือว่าผิดกฎหมาย
กรณีสถานบันเทิงหากเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่านำใบยาสูบจากต่างประเทศ
มาให้บริการจะเข้าข่ายความผิดลักษณะเดียวกับการลักลอบนำเข้าซิการ์
ที่ไม่ได้เสียภาษี ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจะมีความผิดมีโทษปรับหลักแสน
แต่กรณีที่ไม่ได้ใช้ยาสูบนำเข้าแต่นำเอาใบยาสูบที่ปลูกในประเทศไทย
ไปผสมกับมะม่วงกวน ยางไม้ต่างๆ แล้วนำเอาไปให้บริการลูกค้าสูบกัน
ในสถานที่ติดแอร์ซึ่งไม่ใช่สถานบันเทิง เช่น ตามร้านอาหาร สถานที่จัดประชุม
ล็อบบี้โรงแรมก็ถือว่ามีความผิดแต่เป็นความผิดตามกฎหมาย
ของสำนักงานสาธารณสุขคือสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบก่อให้เกิดควันบุหรี่มือสอง
ผู้สูบจะมีความผิดถูกปรับ 2,000 บาท
ส่วนเจ้าของสถานที่ถูกปรับไม่เกิน 20,000 บาท
นายพิสนธ์กล่าวอีกว่า การให้บริการสูบในสถานบันเทิงนั้น
ไม่ว่าจะใช้ใบยาสูบนำเขาหรือใบยาสูบที่ปลูกในประเทศไทย
แต่หากพบว่าให้บริการกับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน
อย่างไรก็ตามการสูบใบยาผ่านบารากู่นั้นในแง่ของผลกระทบต่อสุขภาพนั้น
ควันจากการสูบถือว่ามีสารก่อโรคเหมือนเช่นเดียวกับการเผาสูบบุหรี่
คือสูดดมเอาน้ำมันดิน คาร์บอนมอนอกไซด์ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ใบยารวมทั้งสารนิโคตินซึ่งเป็นสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
นอกจากนี้ยังน่าเป็นห่วงในเรื่องของการใช้สารปรุงแต่งกลิ่นต่างๆ มาผสม
ซึ่งมั่นใจไม่ได้ในมาตรฐานของสารที่นำมาใช้ในเครื่องดังกล่าว
ที่มา :
http://www.vcharkarn.com/vblog/62639หากในด้านศาสนานั้น มีกระทู้ที่ว่าด้วยเรื่องยาเสพติดเอาไว้ด้วยค่ะ
ตามลิงก์ด้านล่างค่ะ
"ฮุกุ่มยาเสพติดประเภทต่างๆ"
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=4253.msg52922#msg52922วัสลามุอะลัยกุมค่ะ
^___________^