ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาแห่งปรัชญา...........  (อ่าน 5753 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ budu

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 30
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
ที่มาแห่งปรัชญา...........
« เมื่อ: ต.ค. 08, 2007, 08:19 PM »
0

ที่มาแห่งปรัชญา

ปรัชญา( ف َ لْسَفَةٌ PHILOSOPHY ) คืออะไร

ในการให้คำนิยามของคำว่า ? ปรัชญา? นั้น เราควรมีทัศนะที่กว้างขวางที่สุด แต่นักคิดบางคนก็เข้าใจปรัชญาไปในทางที่จำกัด บางคนก็คิดว่าปรัชญาก็คือ อภิปรัชญา ( الْمِتَافِيْزِيْقِىُّ ) หรือปรัชญาที่ว่าด้วยลักษณะของความจริงเท่านั้น บางคนก็ถือว่ามันคือ ปรัชญาที่ว่าด้วยการสมมุติฐานลักษณะและขอบเขตของความรู้เท่านั้น ส่วนนักคิดบางคนนั้นคิดว่า ปรัชญาก็คือ ผลรวมแห่งวิชาการเท่านั้น

คำนิยามของ ? ปรัชญา? จากนักคิดคนสำคัญๆในอดีต

- เพลโต ( أ َ فْلاَطُوْن ) ได้กล่าวว่า ปรัชญาก็คือ ? การมุ่งหมายให้มีความรู้ในสิ่งอันเป็นนิรันดร์ในลักษณะอันเป็นแก่นแท้ของสิ่งต่างๆ ?

- อริสโตเติ้ล ( أَرِسْطُوْ ) กล่าวว่า ปรัชญาก็คือ ? วิทยาการที่สืบสวนค้นคว้าหาลักษณะของสิ่งที่มีอยู่ดังที่มันเป็นอยู่ในตัวของมันเอง ?

- คานท์ ( ك َ انْت ) กล่าวว่า ? ปรัชญาก็คือวิทยาการและข้อวิจารณ์ในเรื่องของปัญญา ?

- สเปนเซอร์ กล่าวว่า ? ปรัชญาก็คือความรู้ที่รวมกันอย่างสมบูรณ์ เป็นข้อสรุปทั่วไปของความเข้าใจในปรัชญาและการรวมกันของข้อสรุปทั่วไปทั้งหลายของวิทยาศาสตร์ ?

- เบอร์แทรนด์รัสเซล กล่าวว่า ปรัชญาก็คือ ? ดินแดนอันไม่จำกัดเจ้าของ ซึ่งมีอยู่ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสนาวิทยา ?

ส่วน พิธากอรัส ( فِيْثَاغُوْرَس ) ถือได้ว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้วางรากศัพท์คำว่า ? ปรัชญา? ซึ่งเขาได้กล่าวว่า

" لَسْتُ حَكِيْمًا فَإِنَّ الْحِكْمَةَ لاَ تُضَافُ لِغَيْرِ اْلإِلهِيَّةِ وَمَا أَناَ إِلاَّ فَيْلَسُوْفٌ "

? ฉันเองไม่ใช่ผู้หยั่งรู้ การหยั่งรู้จะเป็นของใครไม่ได้ นอกจากพระเจ้าของฉันเอง ฉันเป็นเพียงผู้ใคร่รู้ ?

ดังนั้น ปรัชญาจึงมีความหมายที่แตกต่างกันไปตามความเห็นของนักปรัชญาแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่ละสำนักก็ได้ให้ความหมายของปรัชญาที่กว้างออกไปและครอบคลุมวิชาการต่างๆ ทุกสาขาทุกแขนง แต่แล้วมันก็ค่อยๆแคบลงไปตามกาลเวลาของมัน หลังจากนั้นสาขาต่างๆของปรัชญาก็ได้แยกตัวออกมาเป็นเอกเทศ ดังนั้น ปรัชญาคือ ความคิดที่หลั่งไหลเรื่อยมา ดุจสายน้ำ เป็นคำสอนหรือคำตอบของปัญหาต่างๆที่สะสมอยู่ในความคิดและอุดมคติของมนุษย์ตามแต่ละยุคสมัยที่ปัญหานั้นๆ จะเกิดขึ้น

สาขาต่างๆของปรัชญา

ได้ทราบมาแล้วว่าปรัชญาได้ครอบคลุมวิทยาการทุกสาขาทุกแขนง ต่อมาเมื่อวิทยาการต่างๆเหล่านั้น ได้พัฒนาจนแยกเป็นอิสระ วิทยาการที่เหลืออยู่จึงถือว่าเป็นเนื้อหาสำคัญของวิชาปรัชญาในสมัยปัจจุบัน เนื้อหาแท้ๆที่เหลืออยู่นั้นเรียกว่าปรัชญาบริสุทธิ์

สาขาปรัชญาที่สำคัญ คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา ตรรกศาสตร์ และจริยศาสตร์


1. อภิปรัชญา (المِيْتَافِيْزِيْقَا ? مَاوَرَاءُ الطَبِيْعَةِ )

คือการศึกษาว่าความจริงคืออะไร ภาพที่ปรากฏแก่สายตาเราทุกวันนี้เป็นปรากฏการณ์พื้นผิวที่ซ่อนความเป็นจริงไว้เบื้องหลัง อภิปรัชญายังมุ่งแยกปรากฏการณ์ออกจากความจริง แม่น้ำที่เห็นว่านิ่ง แต่ความจริงอาจกำลังไหลเชี่ยวกราดอยู่ในส่วนลึกก็ได้ ดังนั้น บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายจึงเกิดการสงสัยว่า ? โลกที่ปรากฏแก่สายของเรานี้เป็นความจริงสูงสุดแล้วหรือยัง หรือเป็นเพียงแค่หน้าฉากที่มีความจริงสูงสุดซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังของมัน ? นักปรัชญาทั้งหลายจึงได้ตั้งสมมุติฐานขึ้นว่า มีความจริงสูงสุดอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ธรรมชาติ แล้วพวกเขาก็เริ่มศึกษาว่า ? ความจริงสูงสุดนั้นคืออะไร ...? ? งานของนักปรัชญาผู้พยายามตอบปัญหาเกี่ยวกับความจริงนี้เรียกว่า ? อภิปรัชญา? เพื่อตอบปัญหาดังกล่าว นักปรัชญาได้ค้นคว้าหาส่วนประกอบดั้งเดิมที่สุดของจักรวาล สาระดั้งเดิม หรือปฐมธาตุนั้นแหล่ะที่เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล นักปรัชญาได้ค้นพบความจริงสูงสุดแตกต่างกันออกไป ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

วัตถุนิยม (الْمَذْهَبُ المَادّ ِ ىُّ) ถือว่า ความจริงแท้ของจักรวาลคือสสารหรือพลังงาน ไม่ใช่จิต
จิตนิยม (الْمَذْهَبُ الْمِثَالِىُّ) ถือว่า ความจริงสูงสุดก็คือจิต สสารเป็นเพียงแค่ผลผลิตของจิตเท่านั้น
ทวินิยม ( الْمَذْهَبُ الْثُنَائِيُّ) ถือว่า ความจริงสูงสุดเป็นทั้งจิตและสสารที่เป็นอิสระจากกัน
โดยทั่วไปแล้ว อภิปรัชญายังประกอบด้วยสาขาย่อยอีก 3 สาขาคือ

ภววิทยา (عِلْمُ الْوُجُوْدِ) ศึกษาความจริงสากลของภาวะในฐานะความจริงสูงสุดของสรรพสิ่ง
เทววิทยา (عِلْمُ اللاَّهُوْتِ) ศึกษาความจริงเกี่ยวกับพระเจ้า และความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับจักรวาล
จักรวิทยา (عِلْمُ الْكَوْنِ ? العَالَم) ศึกษาความจริงเกี่ยวกับบ่อเกิดและโครงสร้างของจักรวาล
ญาณวิทยา (نَظَرِيَّةُ الْمَعْرِفَةِ)

คือทฤษฎีความรู้ที่ศึกษาว่าเรารู้ความจริงได้อย่างไร ดังนั้นญาณวิทยาจึงสัมพันธ์กับอภิปรัชญา ญาณวิทยาตอบปัญหาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้และมาตรการสำหรับตัดสินความถูกผิดของความรู้

นักปรัชญากล่าวถึงที่มาหรือบ่อเกิดของความรู้ไว้ 3 ทางด้วยกันคือ

1. ผัสสาการ (أَسَاسٌ?شُعُوْرٌ) คือ ความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส

2. เหตุผล (عَقْلٌ) คือ ความรู้ที่เกิดจากคิดตามหลักเหตุผลในใจ

3. อัชฌัตติกญาณ(สัญชาตญาณ) (ح َ دْسٌ?بَدِيْهِيَّةٌ) คือ ความรู้ที่ผุดขึ้นในใจโดยตรง ถ้าเป็นความรู้จากญาณวิเศษเรียกว่า ตรัสรู้ ( اْلإِلْهَامُ ) ถ้าเป็นความรู้ที่ได้จากการดลใจของพระเจ้าก็เรียกว่า ? วิวรณ์? ( اْلوَحْىُ )

ดังนั้น ปัญหาที่ตามมาก็คือว่า บ่อเกิดของความรู้ทางไหนเล่า ? ที่ให้ความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ในเรื่องนี้นักปรัชญามีความแตกแยกกันเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1. ลัทธิประสบการณ์นิยม (الْمَذْهَبُ التَّجْرِيْبِيُّ) ถือว่าประสาทสัมผัสเป็นมาตรการการตัดสินความจริงแท้

2. ลัทธิเหตุผลนิยม (الْمَذْهَبُ الْعَقْلِيُّ) ถือว่าเหตุผลเป็นมาตรการตัดสินความจริง

3. ลัทธิสัญชาตญาณนิยม (الْمَذْهَبُ الْحَدْسِيُّ) ถือว่าสัญชาตญาณเป็นมาตรการการตัดสินความจริง

 

ตรรกวิทยา ( مَنْطِقٌ )

คือวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล นักปรัชญาเป็นผู้ที่คิดอย่างมีเหตุผล ดังนั้น ตรรกศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา เช่นเดียวกับ คณิตศาสตร์ก็เป็นเครื่องมือของวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องรู้คณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการคำนวณข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ฉันใด นักปรัชญาก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้ ตรรกศาสตร์ เพื่อใช้ในการค้นคิด และพิสูจน์ความรู้ทางปรัชญาฉันนั้น

ตรรกศาสตร์ก็เหมือนกับคณิตศาสตร์ ในแง่การใช้เหตุผล แต่ต่างกันตรงที่ว่าคณิตศาสตร์นั้นใช้เหตุผลในทางตัวเลข แต่ว่าตรรกศาสตร์นั้นใช้เหตุผลในทางภาษา เช่นบอกว่า ฝนตก แต่ถ้าตรงการแสดงเหตุผล เราต้องหาหลักฐานมาสนับสนุนว่าทำไมฝนจึงตก เหตุผลนั้นก็คือ ฝนตกเพราะถนนมันเปียก แต่ควรสังเกตว่าหลักฐานที่มาสนับสนุนนั้น บางครั้งก็อ่อนหรือไม่เข้าประเด็น ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์สำหรับตรวจสอบว่า การให้เหตุผลเช่นไรจึงใช้ได้และใช้ไม่ได้ การแสดงเหตุผลใดที่ดำเนินตามกฎเกณฑ์ และได้รับการยอมรับว่าใช้ได้ ก็คือ ? สมเหตุสมผล? (الصَّحِيْحُ) ส่วนการแสดงเหตุผลใดที่ฝ่าฝืนกฏเกณฑ์และไม่ถูกยอมรับว่าใช้ได้ สิ่งนั้นก็จะถูกเรียกว่า ? ไม่สมเหตุสมผล? ( بَاطِلٌ?لاَ أَسَاسَ لَهُ مِنَ الصَّحَةِ ) และวิชาที่วางกฎเกณฑ์การใช้เหตุผลเช่นนี้ก็คือ ? ตรรกศาสตร์?

จริยศาสตร์ ( عِلْمُ الأَخْلاَقِ )

คือสาขาปรัชญาที่ว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของมนุษย์ และการแสวงหากฎเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่า ? อย่างไหนถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร ? จริยศาสตร์พยายามที่จะตอบปัญหา 3 ประการด้วยกันคือ

ปัญหาเรื่องการมีอยู่ของคุณค่า นั่นคือ นักปรัชญาพยายามตอบคำถามว่า ? ความดีคืออะไร ? อริสโตเติลตอบว่า ? ความดีก็คือ ความ สุข ? ส่วนเอปิคิวรุส ( أ ِ بِي ْ قُوْرَس ) ตอบว่า ? ความดีได้แก่ความสุขสำราญ ?
ปัญหาเรื่องมาตรการตัดสินความดี เช่น โสเครติส ( سَقْر َ اط ) เสนอว่า ? การรู้ผิดชอบชั่วดีเป็นเกณฑ์ตัดสินความดี ? ส่วนโปรแทกกอรัส ( فِيْثَاغُوْرَس ) เสนอว่า ? ความพอใจส่วนตัวของแต่ละคนเป็นเครื่องมือวัดความดี ใครพอใจเรื่องใด เรื่องนั้นก็ดีสำหรับเขา ?
ปัญหาเรื่องอุดมคติของชีวิต นั่นคือการดำเนินชีวิตแบบใดจึงดีที่สุด เช่น อริสโตเติล ตอบว่า ? การใช้ชีวิตคิดค้นปรัชญาคือชีวิตที่ดีที่สุด ส่วนพวกสโตอิก (الرِّوَاقِيَّةُ) ตอบว่า ? การมีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติเป็นแบบชีวิตในอุดมคติ ?
ลำดับปรัชญากรีก

ปรัชญากรีก หมายถึงปรัชญาของชาวกรีก ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ตามมลรัฐต่างๆในสมัยโบราณ ประวัติปรัชญากรีกเริ่มต้นในราว 585 ปีก่อนคริสตศักราช อันเป็นเวลาที่ธาเลส ( ط َ ال ِ يْس ) นักปรัชญากรีกคนแรกเริ่มเผยแพร่ปรัชญาของเขา ปรัชญากรีกไปสิ้นสุดลงในราวปี ค.ศ. 529 (พ.ศ.1072) อันเป็นปีที่จักรพรรดิ์ยุสติเนียนออกพระราชกฤษฎีกาปิดสำนักปรัชญาทุกแห่งที่ไม่นับถือศาสนาคริสต์ ปรัชญากรีกแบ่งออกเป็น 3 สมัยด้วยกันคือ

1. สมัยเริ่มต้น ( عَصْرُمَا قَبْلُ سَقْرَاط ) นับตั้งแต่ธาเลส เริ่มเผยแพร่ปรัชญาจนถึงการปรากฏตัวโสเครติส (ประมาณก่อนคริสศักราช 585-450 )

2. สมัยรุ่งเรือง ( عَصْرُالذَّهْبِىِّ ) นับตั้งแต่การปรากฏตัวของโสเครติส จนถึงมรณกรรมของอริสโตเติล(ประมาณก่อนคริสศักราช 450 ? 322 )

3. สมัยเสื่อมโทรม ( عَصْرُ الذُّبُوْلِ وَالتَّدَهُّرِ ) นับตั้งแต่มรณกรรมของอริสโตเติล จนถึงการปิดสำนักปรัชญาที่ไม่นับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณก่อนคริสศักราช 322 ? ค.ศ. 529 )

นักปรัชญาในสมัยเริ่มต้น พวกเขาเป็นนักปรัชญาธรรมชาตินิยม ( طَبِيْعِيُّوْنَ ) ความสนใจของพวกเขาวนเวียนอยู่ที่ปัญหา ปฐมธาตุหรือจุดกำเนิดของโลก อันเป็นปัญหาที่ไกลตัวมนุษย์เกินไป ต่อมาในสมัยรุ่งเรือง ซึ่งถูกขนานนามว่า ? ยุคทอง? ในสมัยนี้มีนักปราชญ์ที่สำคัญๆอยู่ 3 ท่าน คือ โซคราติส ( سَقْر َ اط ) เพลโต ( أَفْلاَطُوْن ) อริสโตเติล ( أَرِسْطُو ) อีกทั้งนักปรัชญาในสมัยนี้นั้น พวกเขาได้เปลี่ยนจากปัญหาที่ไกลตัวมนุษย์มาเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมนุษย์แทน พวกเขาจะถามปัญหาที่เกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ กล่าวกันว่ากลุ่มของโซฟิสต์ ( سُوْفِسْطَانِيَّة ) ได้ดึงปรัชญาลงมาจากหิ้ง เพื่อเอามารับใช้คนธรรมดาทั่วไป ส่วนในสมัยเสื่อมโทรมนั้น ถือว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นใหม่ นักปรัชญาในสมัยนี้ พวกเขาไม่สามารถที่จะผลิตแนวความคิดออกมาได้ อีกทั้งสำนักต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยนี้ พวกเขาก็ไม่สามารถที่จะเสนอแนวความคิดปรัชญาที่แหวกแนวไปจากแนวความคิดของนักปรัชญาก่อนหน้านั้นได้เลย จนกระทั่งจักรพรรดิยุสติเนียนได้สั่งปิดสำนักปรัชญากรีกทั้งหมดที่ไม่นับถือศาสนาคริสต์ลงเมื่อราวปี พ.ศ. 1072

นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปรัชญากรีกเท่านั้น ยังมีเนื้อหาและรายละเอียดอีกมากที่น่าสนใจติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยต่างๆทั้ง 3 สมัย ซึ่งผู้อ่านสามารถค้นคว้ารายละเอียดได้ตามหนังสือปรัชญาต่างๆที่เชื่อถือได้

? มีกวีชาวเปอร์เซียผู้หนึ่ง ได้เปรียบสากลจักรวาลไว้เสมือนกับหนังสือเก่าแก่เล่มหนึ่ง ซึ่งหน้าแรกและหน้าสุดท้ายของมันนั้นได้ขาดหายไป จึงไม่มีใครที่จะสามารถรู้ได้ว่าหนังสือเล่มนั้น เริ่มต้นอย่างไร และจบลงอย่างไรนั่นเอง?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 08, 2007, 08:21 PM โดย budu »

ออฟไลน์ บุคคลธรรมดา

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 433
  • live&learn in Islam
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาแห่งปรัชญา...........
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ต.ค. 08, 2007, 08:54 PM »
0
ส่วน พิธากอรัส ( فِيْثَاغُوْرَس ) ถือได้ว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้วางรากศัพท์คำว่า ? ปรัชญา? ซึ่งเขาได้กล่าวว่า

" لَسْتُ حَكِيْمًا فَإِنَّ الْحِكْمَةَ لاَ تُضَافُ لِغَيْرِ اْلإِلهِيَّةِ وَمَا أَناَ إِلاَّ فَيْلَسُوْفٌ "

? ฉันเองไม่ใช่ผู้หยั่งรู้ การหยั่งรู้จะเป็นของใครไม่ได้ นอกจากพระเจ้าของฉันเอง ฉันเป็นเพียงผู้ใคร่รู้ ?


.........................................................................

พิธากอรัส  กล่าวได้เข้าใจง่ายและเป็นจริงสุด myGreat:
ถ้าหากว่าเราจะข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยแอ่งปลักโคลน
แน่นอนที่สุด เราจะถึงฝั่งนั้นในสภาพที่เปรอะเปื้อนด้วยโคลน...
โคลนที่อยู่ในแอ่งนั้น มันจะทิ้งร่องรอยที่เท้าของเรา
และในที่ที่ เราได้เหยียบย่างไป

                        "อัลชะฮีด ซัยยิด กุฏุบ"

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: ที่มาแห่งปรัชญา...........
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธ.ค. 14, 2007, 02:28 AM »
0
อุสตาสก้สอนนะครับ ในวิชา منطق
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาแห่งปรัชญา...........
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ต.ค. 28, 2009, 05:00 PM »
0
 salam

ถ้าจำไม่ผิดพิธากอรัสนั้นท่านเป็นนักคณิตศาสตร์
นักปรัชญา นักปราชญ์สมัยกรีก ก่อนอารยธรรมอาหรับและยุโรปจะรุ่งเรือง

ขอเสริมนะคะ...

ท่านผู้นี้คือนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกผู้คิดค้นทฤษฎีที่มีชื่อว่า พิธากอรัส
(พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ประกอบบนด้านตรงข้ามมุมฉาก
ของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ  เท่ากับผลบวกของพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส
บนด้านประกอบมุมฉากทั้งสองด้าน) 

นอกจากจะเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งตัวเลข” แล้ว
พิธากอรัส ยังได้รับฉายาว่าเป็นนักปรัชญาที่มีความสามารถมากที่สุด
ในหมู่ชาวกรีก เขามีอิทธิพลต่อทั้งปรัชญาและศาสนาในยุคสมัย
ของตนเองอย่างมาก

มีตำนานที่แน่ชัดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับพิธากอรัส คือ เขาเชื่อว่า
ความจริงสูงสุดนั้นสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางคณิตศาสตร์

พิธากอรัส เติบโตมากับตรรกะแบบกรีก ด้วยวิธีเข้าถึงวิทยาศาสตร์แบบกรีก
จากนั้นเขาก็ได้เดินทางไปเรียนรู้วิถีแห่งญาณทัศนะ
และศาสตร์ลึกลับทางตะวันออก ตัวเขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่
แสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง

ในหนังสือเขียนว่า การที่นักคณิตศาสตร์กลายมาเป็นผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณ
คือการปฏิวัติ เพราะสองสิ่งนี้เป็นสองขั้วที่อยู่ห่างกัน ...

สำหรับพิธากอรัส วิทยาศาสตร์ คือการค้นหาความจริงในโลกของสรรพสิ่ง
ที่เป็นวัตถุ และศาสนาคือการค้นหาความจริงในโลกของตัวตน

ปรัชญาคือค้นหาความจริง

ดังนั้น วิทยาศาสตร์และศาสนาจึงเป็นเหมือนมือหรือปีกสองข้าง
ไม่ได้อยู่ตรงข้ามกันแต่เป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกัน ...

คนเราต้องเป็นทั้งพวกนิยมวัตถุและจิตวิญญาณ
เลือกทางใดทางหนึ่งก็วอดวาย ไม่จำเป็นต้องเลือก เรามีโลกทั้งสองใบได้
เราควรมีโลกทั้งสองใบด้วย นั่นคือสิทธิโดยกำเนิดของเรา

ที่มาจากคุรุวิพากษ์คุรุ

________________________
 
ซึ่งในหนังสือ การแก้ไขให้ถูกต้อง(Rectification)
ผลงานของท่่าน อิบนุ ฮัยยาน จีเบอร์(นักวิทยาศาสตร์มุสลิม
ที่โลกมุสลิมให้ท่านเป็นบิดาแห่งวิชาเคมี)
ก็ประกอบด้วยคำอธิบายของ นักอัลเคมีอย่าง พิธากอรัส โสคราตีส พลาโต
และอริสโตเติลด้วยเช่นกัน...

สำหรับข้าน้อยการศึกษาเป็นสิ่งที่ดี แต่บางทีมันก็น่ากลัวไม่น้อยเช่นกัน
หากการศึกษานั้นจะนำพาตัวข้าน้อยไปสู่หนทางที่หลงผิด...
และไม่ได้รับประโยชน์จากความรู้ที่ได้มา...หากอัลลอฮฺไม่ประสงค์
ให้ความรู้ที่เราศึกษาเป็นประโยชน์แก่ตัวเราและผู้อื่นแล้ว...
มันอาจเป็นสิ่งที่น่ากลัวเฉกเช่นกัน...วัลลอฮุอะลัม

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ


"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged