salam
ก่อนจะง่วง ขออีกสักข่่าวนะคะ...

"ชินทาโร่" คนญี่ปุ่นสอนภาษามลายู ที่ ม.อ.ปัตตานี
ชินทาโร่ คนญี่ปุ่นสอนภาษามลายู
เพราะไม่มีอะไร เขาถึงมา
นาวิกา เพ็งจันทร์, จันทิมา สุวรรณโชติ
ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติบูมีตานี
สถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทำให้หลายต่อหลายคนต่างหวาดกลัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คนต่างพื้นที่ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยว หรือแม้แต่คนในพื้นที่เอง
ก็คิดที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่ชายคนนี้ไม่เคยคิดเช่นนั้น
เพราะ ที่นี่เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของเขา
ชินทาโร่ ฮาลา (SHITARO HARA) ชายชาวญี่ปุ่น วัย 33 ปี
เขามาอยู่ปัตตานีตั้งแต่ปี 2542 และอยู่ที่นี่มากกว่า 8 ปี
เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญในการพัฒนาคน ในฐานะ อาจารย์สอนภาษามลายู
อาจารย์ชินทาโร่ เล่าว่า ก่อนมาเมืองไทย ตนมีอคติกับเมืองไทย
คิดว่าเป็นประเทศที่มีแต่นักเลง โสเภณี ผู้ติดเชื้อเอดส์
มีอยู่วันหนึ่งเป็นวันเกิดของเพื่อน จึงจำเป็นต้องเดินทางมาเมืองไทย
ได้แวะเที่ยวที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ตอนนั้นพูดภาษาไทยไม่ได้เลย
พอดีเจอร้านขายหนังสือร้านหนึ่ง มีภาพของ นุ๊ก สุทธิดา เธอสวยมาก
เกิดติดใจ คิดว่าน่าจะเป็นนักร้อง เลยไปที่ร้านขาย CD
แล้วซื้อเพลงของเค้ามาฟัง หลังจากนั้นเราก็กลับประเทศมาเลเซีย
แล้วเราก็ฝึกฟังมันเพราะดี แต่ก็ไม่เข้าใจภาษาไทย
ชอบเพลงถอนสายบัว แต่ก็ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจเลยสักคำ
จากความชอบตรงนั้นก็เลยเป็นเหตุผลที่ผมเริ่มเรียนภาษาไทย
อาจารย์ชินทาโร่ ยังเล่าให้ฟังอีกว่า สาเหตุที่ตัดสินใจอยู่จังหวัดปัตตานี
เพราะเป็นเมืองที่น่าอยู่ ถึงแม้ว่าตนมาอยู่ตอนที่เกิดเหตุการณ์
ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็เชื่อมั่นที่จะอยู่ที่นี่
ซึ่งถ้าเราไปที่อันตรายก็จะเกิดอันตราย
แต่ถ้าเรารู้จักระมัดระวังก็คงไม่มีปัญหาอะไร
ผมชอบปัตตานีตรงที่ปัตตานีไม่มีอะไร ชอบอยู่แบบเฉยๆ สันโดษ
แล้วที่นี่ไม่จำเป็นต้องแต่งตัวตามแฟชั่น เน้นความสบาย เป็นธรรมชาติมากกว่า
น่าจะเป็นเสน่ห์ของที่นี่ อาจารย์ชินทาโร่กล่าวด้วยภาษาไทย สำเนียงญี่ปุ่น
และว่า ตั้งใจมาสอนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพราะเป็นอาจารย์สอนภาษามลายูที่นี่ใกล้ประเทศมาเลเซีย
ซึ่งเป็นเจ้าของภาษามากที่สุด จะไปหาเก็บข้อมูล ไปสัมมนาก็ไปง่าย
และอาจารย์ยังทำงานในคณะที่เป็นเจ้าของภาษาอย่างแท้จริง
อาจารย์ชินทาโร่ เล่าอีกว่า ตนเลือกเรียนภาษามลายู
เกิดความสนใจมาตั้งแต่เรียนที่โตเกียว เนื่องจากรุ่นพี่บอกว่า
วิชาภาษามลายูง่ายที่สุด สำหรับคนที่เริ่มเรียน
ซึ่งอาจารย์ชินทาโร่ได้เข้ารับศาสนาอิสลามนานแล้ว
ไม่มีใครบังคับเพราะตนอยู่ที่ประเทศมาเลเซียนานจึงเกิดการความเลื่อมใส
ศรัทธาในศาสนาอิสลาม ซึ่งครอบครัวของตนก็รับรู้และเข้าใจ
ในการนับถือศาสนาอิสลาม
ส่วนใครจะให้ตนจะสอนภาษาญี่ปุ่นก็น่าจะได้
แต่ปัญหาก็คือ ตนไม่สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นได้ว่าจะทำอย่างไร
ให้เขาเรียนได้รู้เรื่อง เพราะเราเป็นเจ้าของภาษา
ส่วนภาษามลายูเราเริ่มจากศูนย์ ก็เลยทำให้เราเข้าใจคนที่เริ่มจากศูนย์เหมือนกัน
สามารถหาวิธีการสอนที่จะทำให้เขาเข้าใจได้
ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นเจ้าของภาษา ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือ คนญี่ปุ่นก็ตาม
แต่ก็ใช่ว่าคุณจะเป็นคนที่ใช้ภาษาของคุณได้ดีที่สุด
ปัจจุบันอาจารย์อาจารย์ชินทาโร่ ทำงานเป็นอาจารย์อยู่ภาควิชาภาษามลายู
คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
ก่อนจบการสนทนาเขายังบอกอีกว่า จะขอทำหน้าที่อาจารย์ต่อไป
จนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่มีนักศึกษา
ตอนนี้ยังสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกติ นักศึกษายังศึกษาเล่าเรียนได้
แต่เมื่อไหร่ที่สถานการณ์รุนแรงจนไม่มีนักศึกษาอยู่นี่ที่ ผมถึงจะกลับไปญี่ปุ่น
***เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2549
ปล.ข่าวนานแล้วค่ะ...แต่ข้าน้อยเพิ่งอ่านเจอ ประทับใจเลยเอามาฝากค่ะ
ไม่ทราบว่าพี่น้องท่านใดรู้จักอาจารย์ชินทาโร่บ้างคะ...
ปัจจุบันอาจารย์ยังสอนอยู่ที่เดิมหรือเปล่าคะ...
ใครอยู่ม.อ.ปัตตานีวานบอกข้าน้อยที อยากรู้สุดๆค่ะ...

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ