السلام عليكم ورحمةالله وبركاة
ฮูก่ม นั้นหมายความว่า การตัดสินหรือ ชี้ขาดในเรื่องต่าง เช่น คนๆหนึ่งไม่เคยเรียนเลยซักอย่าง(ขี้เกียจ) เลยไม่รู้อะไรเลย ก็ฮูก่ม(ตัดสิน)คนๆนั้นว่า ยาเฮล (เขลา เบาปัญญา ไม่มีความรู้) เป็นต้น หรือ ถ้าแนวทางของศาสนา(ซาเราะห์) เช่น การที่เห็น คนๆหนึ่งที่เป็นมุสลิม ไม่เคยละหมาดเลย(ต้องรู้จริง) ก็สามารถได้ฮูก่มว่า เป็นคนฟาซิก(คนชั่ว) แต่หลักเกณร์การฮูก่มในทางศาสนานั้นมีหลายขั้นตอนนัก จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงขั้นตอนในการฮูก่มในทางศาสนาด้วยถ้าจะฮูก่มใครก็ตามในทางศาสนา แต่ในที่นี้จะไม่ได้เกี่ยวกับ ฮูก่มต่างๆ ยกเว้น ในเรื่องของ หลักวิชา เตาฮีดเท่านั้น
ฮูก่ม ต่างๆที่ใช้ในวิชา อูซูลุดดีน หรือ เตาฮีดและอื่นๆ นั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน
1. ฮูก่ม อาดัต หรือ การตัดสินตามปกติวิสัย หรือที่เรียกติดปากว่า ธรรมชาตินั้นเอง
2. ฮูก่ม ซาเราะห์ การตัดสินในแนวทางศาสนา
3. ฮูก่ม อากัล การตัดสินในสติปัญญา
1.
ฮูก่มอาดัต แปลว่า การตัดสินในแนวทางปกติทั่วไปในการที่เกิด สิ่งใดซ้ำไปซ้ำมา ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ 2 ครั้งขึ้นไป เช่น การกินเยอะนั้น ย่อมทำให้เกิดการอิ่ม และสิ่งนี้ก็จะเกิดซ้ำไปซ้ำมา ตลอด เมื่อเกิดการหิวก็เกิดการกิน เมื่อเกิดการกินก็เกิดการอิ่ม ไปเรื่อยๆ ซึ่ง สิ่งที่เกิดซ้ำๆตามปกติวิสัยนั้นแบ่งออกเป็น 4 อย่างด้วยกัน
1 สิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยกับ สิ่งที่เกิดขึ้น เช่น อิ่มเนื่องจากการกิน (เกิดการอิ่ม ด้วยกับ เกิดการกิน)
2 สิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยกับ สิ่งที่ไม่เกิดขึ้น เช่น เมื่อรู้สึกหนาวเนื่องจากไม่ห่มผ้า (เกิดการหนาว ด้วยกับ การไม่เกิด(การไม่ห่มผ้า))
3 สิ่งที่ไม่เกิดขึ้น ด้วยกับ สิ่งที่ไม่เกิดขึ้น เช่น ไม่รู้สึกอิ่ม เนื่องจากไม่ได้กิน (ไม่เกิดการอิ่ม ด้วยกับ ไม่เกิดการกิน)
4 สิ่งที่ไม่เกิดขึ้น ด้วยกับ สิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การกินเมื่อไม่รู้สึกหิว (ไม่เกิดการหิว ด้วยกับ เกิดการกิน)
สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในอาดัตหรือตอบีอะห์ หรือปกติวิสัยทั่วไปนั้นจะไม่ออกไปจาก 4 ข้อดังกล่าว เช่น เกิดการเหนื่อยเมื่อเกิดการเล่น เกิดการนอนเมื่อเกิดการง่วง เกิดการกินขนมเมื่อไม่เกิดการหิว เกิดการดูละครเมื่อไม่เกิดการอยากรู้ และอื่นๆทั่วๆไป
ในสิ่งที่เป็นปกติวิสัย หรือ อาดัต นั้น จะแบ่งฮูก่มเป็น 3 ชนิดด้วยกัน
1. วายิบอาดัต เช่น เมื่อเกิดการกินเยอะก็วายิบที่จะเกิดการอิ่ม หรือ เมื่อเกิดการเผาใบไม้แห้งก็เกิดการใหม้
2. มุสตาเฮลอาดัต เช่น เผากระดาษแห้ง แต่ไม่ใหม้ หรือ เดินโดยใช้หัว
3. ฮาโรส(สิ่งเป็นไปได้หรือไม่ได้)อาดัต เช่น บางคนอาจจะกิน 1 จานอิ่ม บางคนอาจจะกิน 2 จานอิ่ม หรือ บางคนอาจจะกิน 3 จานอิ่มเป็นต้น
2.
ฮูก่ม ซาเราะห์ แปลว่า การตัดสิน ตามแนวทาง ศาสนาได้บัญญัติไว้ ซึ่ง ตามหลักศาสนาอิสลามนั้นได้บัญญัติ กฎเกณร์ไว้ 5 ข้อ
1. ฟัรดูหรือวายิบ คือ สิ่งที่บังคับให้ปฎิบัติอย่างเด็ดขาดไม่สามารถละทิ้งได้แต่อนุโลมเป็นบางกรณีตามความจำเป็น ผู้ที่ปฎิบัติจะได้รับผลบุญ ส่วนผู้ที่ละทิ้งจะได้รับโทษ เช่น การละหมาด ถือศีลอด บริจาคซะกาต การทำฮัจย์ และอื่นๆ ตามที่บทบัญญัตของศาสนาได้กำหนดไว้
2. สุนัต หรือ ซุนนะห์ คือ สิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำ ผู้ปฎิบัติจะได้รับผลบุญ ส่วนผู้ละทิ้งจะไม่มีโทษใดๆ เช่น การละหมาดเพิ่มเติมจากสิ่งที่เป็นวายิบ (ละหมาดสุนัต) การไว้เครา การถือศีลอดนอกจากฟัรดูในเดือนรอมฎอน และอื่นๆ อีกมากมาย ตามที่ ศาสนาได้บัญญัตไว้ที่เป็น สุนัตหรือซุนนะห์
3. ฮารอม คือ สิ่งที่ ศาสนาได้บัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งต้องห้าม ผู้ปฎิบัตินั้นจะได้รับโทษ ส่วนผู้ที่ละทิ้งด้วยความบริสุทธิใจเพื่ออัลเลาะห์(ซบ)จะได้ผลบุญ เช่น การทำซีนา การดื่มของเมา การรับปะทานในสิ่งต้องห้าม(หมู หมา) และอื่นๆ ตามที่บทบัญญัติของศาสนากำหนดไว้เป็นสิ่ง ฮารอม
4. มักโระ คือ สิ่งที่น่ารังเกียจ สิ่งศาสนาบัญญัติไว้เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ผู้ปฎิบัตินั้นจะไม่ได้รับโทษแต่อย่างใด ส่วนผู้ที่ละทิ้งด้วยความบริสิทธิใจเพื่ออัลเลาะห์(ซบ)นั้นจะได้ผลบุญ เช่น การกินกระเทียม การกินหัวหอม การกินสิ่งที่มีกลิ่นปาก และอื่นๆตามที่บทบัญญัติของศาสนากำหนดว่าเป็นสิ่ง มักโระ
5. มูบะห์ หรือ ฮาโรส หรือ อิบาฮะห์ คือสิ่งปกติวิสัยทั่วไป ผู้ปฎิบัตินั้นจะไม่ได้รับโทษและผลบุญแต่อย่างใด เช่น การกิน การนอน การเดิน การนั่ง และอื่นๆ ตามที่บทบัญญัติที่ศาสนากำหนดไว้เป็นสิ่งที่ ฮาโรส
3.
ฮูก่มอากัล หรือ การตัดสินทางด้านสติปัญญา คือ การตัดสินในด้านความคิดโดยใช้สติปัญญาในการคิดพิจารณา ไตร่ตรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน จนออกมาอยู่ 2 หนทางเท่านั้น คือ จริง และไม่จริง เช่น การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า นั้นมีอยู่จริงหรือไม่จริง เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ทุกอย่าง ก็ตัดสินเด็ดขาดแน่นอนว่า ต้องมีพระผู้เป็นเจ้าในการสร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้แน่นอน ซึ่งใน ฮูก่ม อากัล นััน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันดังนี้
1. วายิบ อากัล คือ สิ่งที่สติปัญญายอมรับว่า มี จริงแท้แน่นอน ไม่สามารถปฎิเสธได้ เมื่อพิจารณาทุกๆทางอย่างละเอียดถึ่ถ้วนแล้ว เช่น การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าและซีฟัตวายิบสำหรับพระองค์ อัลเลาะห์(ซบ)
2. มุสตาเฮล อากัล คือ สิ่งที่สติปัญญานั้นยอมรับว่า ไม่มี จริงแท้แน่นอน ไม่สามารถยอมรับได้ว่ามี เมื่อพิจารณาทุกๆทางอย่างละเอียดถึ่ถ้วนแล้ว เช่น การไม่มีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า และซีฟัตมุสตาเฮลสำหรับพระองค์ (ซบ)
3. ฮาโรส อากัล คือ สิ่งที่สติปัญญานั้นยอมรับว่า มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ว่าจริงแท้แน่นอน เมื่อพิจารณาทุกๆทางอย่างละเอียดถึ่ถ้วนแล้ว เช่น สิ่งที่เป็นมุมกินทั้งหมด
สิ่งที่เป็น มุมกิน (มีหรือไม่มีก็ได้) แบ่งออกเป็น 4 อย่างดังนี้
1. มุมกิน ที่ มีหลังจากไม่มี เช่น สิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะแต่ก่อนนั้น ไม่มีสิ่งใดๆเลย ยกเว้น พระองค์อัลเลาะห์(ซบ)
2. มุมกิน ที่ ไม่มีหลังจากมี เช่น เวลาที่ผ่านไป
3. มุมกิน ที่ จะบังเกิดในอนาคตข้างหน้า เช่น วัน กิยามะห์
4. มุมกิน ที่ ความรู้ของพระองค์อัลเลาะห์(ซบ) จะไม่มีบังเกิดขึ้น ممكن علم الله لم يوجد เช่น อีหม่าม อบูยาฮัล และ อีหม่าม ฟีรอูน
ส่วนฮูก่มวายิบ อารีฎี และมุสตาเฮล อารีฎี นั้น คือ
วายิบ อาริฎี เป็นวายิบ เนื่องจากสาเหตุที่ มุมกิน นั้น เกี่ยวพัน อิรอดัต พระองค์อัลเลาะห์(ซบ) ที่กำหนดจะให้ปรากฎขึ้น ก็วายิบที่
จะปรากฎขึ้น ตัว มุมกิน นี้ เป็นเพียงมุมกินเท่านั้น เช่น
ก่อนการบังเกิดท่านนบีมูฮำหมัด(ซล) ณ พระประสงค์ของ พระองค์อัลเลาะห์(ซบ)(แต่อาซัลลี) มีเจตนาที่จะให้ปรากฎ ณ มักกะห์ เป็นลูกท่านอับดุลเลาะห์ บิน อับดุลมุตตอลิบ และพระนางอามีนะห์ เป็นมารดา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 รอบีอุ้ลเอาวาล พศ 1113(โดยประมาณ)
ก็ปรากฎตามวัน และเดือนดังกล่าว การบังเกิดท่านร่อซูลนั้น เป็นมุมกิน(สิ่งที่เป็นไปได้และไม่ได้) แต่เกี่ยวพัน กับ พระประสงค์ของ พระองค์อัลเลาะห์(ซบ)(แต่อาซัลลี) ที่เจตนาจะให้ปรากฎขึ้น ตรงนี้เรียกว่า วายิบ อาริฎี ตัวมุมกิน (การบังเกิดท่านร่อซูลนั้น ) เป็น มุมกิน เท่านั้น
สรุปคือ วายิบอารีฎี นั้น ไม่ใช่เป็นวายิบ ฮากีกี ที่พระองค์อัลเลาะห์(ซบ) ต้องกระทำหรือปฎิบัติ แต่เป็น วายิบเนื่องจากพระองค์นั้นมีเจตนาที่จะให้กำเนิดอย่างแน่นอนในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาของพระองค์อัลเลาะห์(ซบ)เท่านั้น
มุสตาเฮล อาริฎี นั้น
เนื่องมาจากสาเหตุที่ มุมกิน นั้น เกี่ยวพัน กับมุมกินที่อิลมูพระองค์อัลเลาะห์(ซบ)จะไม่บังเกิดหรือให้ปรากฎขึ้น ممكن علم الله لم يوجد
ฉะนั้น ก็เป็น มุมกิน มุสตาเฮลที่จะปรากฎขึ้น ตัว มุมกิน นี้ เป็นเพียงมุมกินเท่านั้น เช่น
สถานภาพการอีหม่าน ของฟิรอูน นั้นเป็น มุมกิน แต่ ณ อิลมูพระผู้เป็นเจ้านั้น จะไม่บังเกิดขึ้น ممكن علم الله لم يوجد ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นมุสตาเฮลที่จะเกิดขึ้น ตรงนี้เรียกว่า มุสตาเฮล อาริฎี ตัวมุมกิน (สถานภาพการอีหม่าน ของฟิรอูน) เป็นมุมกินด้วยตัวของมันเท่านั้น
สรุปคือ มุสตาเฮลอารีฎี นั้น ไม่ใช่เป็นมุสตาเฮล ฮากีกี ที่พระองค์อัลเลาะห์(ซบ) ต้องไม่สามารถกระทำหรือปฎิบัติได้ แต่เป็น มุสตาเฮลเนื่องจากพระองค์นั้นมีเจตนาที่จะไม่ให้กำเนิดอย่างแน่นอนในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาและอิลมู(ممكن علم الله لم يوجد)ของพระองค์อัลเลาะห์(ซบ)เท่านั้น
วัสลาม วัลลอฮุอะหฺลัม