ผู้เขียน หัวข้อ: คนทำงาน “ดะอฺวะฮ์ตับลีฆ”(رجال الدعوة التبليغيون)  (อ่าน 1700 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มารบูรพาอึ้งเอี๊ยะซือ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด

คนทำงาน “ดะอฺวะฮ์ตับลีฆ”(رجال الدعوة التبليغيون)
ตามทัศนะของ มูหัมหมัด มุสฏอฟา อามีน อาบูฮาชิม

          เขาคือกลุ่มคนที่ทำการออกไปในหนทางของอัลลอฮ์ เขาคือหมู่ชนที่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจนน่าอิจฉาเป็นอย่างยิ่ง เขาคือผู้ที่มีความอดทนอดกลั้นต่อการปฏิเสธดื้อรั้นของผู้คนที่มีต่อพวกเขา .

          ทว่าแนวทางหลักสูตรด้านวิชาการที่พวกเขาใช้ดำเนินนั้นมันอยู่ที่ไหนกัน? และเพื่อสิ่งใดกันเล่าที่พวกเขาพร่ำเรียกร้องเชิญชวน?.

          แท้จริงมันเป็นเพียงแค่การออกไปในหนทางของอัลลอฮ์ ซึ่งมันเป็นประดุจดังสื่อกลาง (หรือแนวทาง)ที่ใช้ในการขัดเกลา และปรับปรุงจิตใจ และเมื่อคราที่พวกเขาถึงขั้นระดับที่คงตัวแล้วพวกเขาจะมีการอบรมสั่งสอนวิชาการศาสนากันหรือไม่? แท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้รู้เลยถึงความเข้าใจของนักวิชาการอุลามาอฺที่มีต่อนิติศาสตร์อิสลาม และพวกเขาไม่ได้แบ่งแยกระหว่างหลักความเชื่อของอะฮ์ลิสสุนนะฮ์ และ หลักความเชื่อของพวกมุญัซซิมะฮ์ (พวกแอบอ้างการมีเรือนร่างสัดส่วนให้กับอัลลอฮ์ผู้ทรงบริสุทธิจากข้อครหาทั้งปวง) ดังนั้นผู้ที่ปราศจากซึ่งสิ่งใดๆอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะมอบสิ่งนั้นๆให้แก่ใครเขาได้หรอก.

          ด้วยเหตุนี้ท่านจะพบว่าพวกเขาจะจมปลักอยู่ภายใต้การตัชบีฮ์ และ การตัญสีม (การเปรียบเปรือย และ แอบอ้างเรือนร่างและสัดส่วนแด่อัลลอฮ์ผู้ทรงบริสุทธิจากข้อครหาทั้งปวง)ทั้งๆที่พวกเขาเองไม่รู้อะไรเลยในสิ่งที่พวกเขากระทำลงไป นั่นก็เพราะว่าการที่พวกเขาไม่ได้สั่งสอนกันเลยเว้นแต่ในเรื่องทีว่าทำอย่างไรที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาทำงานอย่างเช่นที่กลุ่มของพวกเขานี้ได้กระทำอยู่แค่นั้นเอง.

           ในความเป็นจริงแล้วนั้น อาจกล่าวได้ว่าพวกเขาสมควร และควรค่าที่สุดสำหรับคำสรรเสริญขอบคุณในคราที่พวกเขามีความอดทนต่อความกระเดื่องกระด่างของของผู้คนที่มีปฏิกิริยาต่อพวกเขา ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะว่าการที่ผู้คนไม่เคยได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่มาก่อน ไม่เคยพบเจอซึ่งผู้นำความรู้มาหาเขา เลยส่วนหนึ่งที่อาจเป็นผลพวงที่ทำให้เกิดการเผ่นหนี และความน่าเบื่อคือลักษณะ หรือรูปแบบของการดะอฺวะฮ์ที่เป็นแบบ “ระบบกิจวัตรประจำวัน”(روتينيا)ที่จะต้องมีการดะอฺวะฮ์ทุกช่วงเวลาตั้งแต่เช้า เย็น ทั้งกลางวัน กลางคืน ทั้งฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือแม้กระทั่งในช่วงวันอีดทั้งสอง และไม่ว่าจะเป็นในยามสงบ หรือหน้าศึกสงคราม.

          มันก็ใช่อยู่ที่ว่าการดะอฺวะฮ์ตามแนวทางนี้ไม่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการ(ในด้านวิชาการ)สักเท่าไหร่ เพราะมันเป็นการดะอฺวะฮ์ที่ไม่ต้องมีอะไรมากนอกจากการใช้คำพูดเดิมๆ และความต้องการเดิมๆ.

          ฉะนั้นสารัตถะของบทความของนักดาอีย์ จึงเป็นการผสมผสานที่ไร้ซึ่งน้ำหนักของงานดะอฺวะฮ์เมื่อเทียบกับงานดะอฺวะฮ์ตามแบบฉบับของท่านรอซู้ล (ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วาซัลลัม) และซอฮาบะฮ์ (รอฎิยั้ลลอฮุ อันฮุม) ของท่น อันเนื่องมาจากว่างานทั้งหมดของพวกเขานั้นตั้งอยู่บน ความตั้งใจที่แน่วแน่เป็นหลัก และบางครั้งพวกเขาก็มีทัศนคติเชิงเล่นพรรคเล่นพวก ต่อผู้ที่มีทัศนคติที่ขัดแย้ง(กับของตน) ดังกล่าวนี้เพียงเพราะกลัว(และเพื่อป้องกัน)การถลำลึก หรือ การพิพาทในประเด็นหนึ่งประเด็นใดที่อาจจะส่งผลร้ายต่องานดะอฺวะฮ์ของพวกเขา และนี่แหละคือสิ่งที่พวกเขายึดถือเป็นหลักสำคัญ.

          ดังนั้นเขาจึงพยายามที่จะฝึกฝนในการที่จะนิ่งเงียบ และไม่โต้ตอบต่อ คำติชม หรือการวิภาควิจารณ์ที่กรูเข้ามาหาเขา นั่นก็เพราะว่าจุดประสงค์หลักของเขาคือการผดุงรักษาไว้ซึ่งแนวทางการดะอฺวะฮ์ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้เองท่านจะเห็นได้ว่าพวกเขามีความอดทนเช่นไรต่อผู้ทีมาถากถางบีบคั้นต่องานของพวกเขา ซึ่งมันเป็นการแสแสร้งที่อาจจทำให้ต้องเกิดการเผ่นหนีไป.

          และส่วนหนึ่งจากวิกฤติปัญหาที่พวกเขาตกอยู่ในห้วงของมันและเป็นสิ่งที่ยากที่จะเยียวยาแก้ไข คือการที่พวกเขามีทัศนคติว่าจุดหมายที่จริงคือเพียงแค่การบริสุทธิใจอิคาส เพื่ออัลลอฮ์ และเพียงแค่การมีใจรักที่จะทำความดีโดยพวกเขาหยุดเพียงแค่การมีความตั้งใจ และการเสียสละเวลา และการเรียกร้องไปสู่บางๆคุณค่าบางๆความประเสริฐ(فضائل)  จนละทิ้งและหันเหออกจากประการอื่นๆที่เหลือของคำสอนอิสลาม...

          ด้วยเหตุนี้การให้ความสำคัญกับคนอาวามเหล่านี้เท่ากับเป็นการยิ่งทีวคูณเพิ่มพูนปมปัญหามากยิ่งขึ้น เพราะพวกเขาไม่มีอาวุธใดๆเลยในการที่จะใช้ปกป้องตัวของพวกเขาเอง และพวกเขาไม่พบอะไรเลยนอกจากกการคลั่งไคล้ในกลุ่มพวกพ้อง(التعصب).

          พวกเขาคิดว่าแท้จริงแล้วพวกเขารู้ดีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องและจำเป็นกับการดะอฺวะฮ์ และยังคิดว่ากิจการงานที่พวกเขาดำเนินอยู่นั้นเป็นงาน(หน้าที่)ที่บรรดานาบีก่อนๆได้เคยทำมาแล้ว ลองพิจารณาดูถึงคำพูดของพวกเขาที่ว่า “ท่านจะเลือกอะไร ระหว่างการที่คนจีน 200 คนเข้ารับอิสลามต่อหน้าท่าน กับการที่ท่านมัวแต่จะนั่งอยู่ในบ้านเพื่อศึกษาวิชาความรู้?” ฉะนั้นคำตอบก็จะอยู่ในรูปแบบของคำถามที่ถามกลับไปว่า “แล้วอะไรจะดีกว่ากัน ระหว่างการที่คนจีนเหล่านั้นเข้ารัอิสลามแล้วได้รับการสั่งสอนเรื่องศาสนา กับการที่พวกเขาเข้าอิสลามแล้วกลับคงอยู่ในสภาพโง่เขลาเบาความรู้ในเรื่องอิสลาม”.


          สรุป การดะวะฮ์ตามรูปแบบนี้เบื้องหลังของมันคือการมีเจตนาที่ดี บริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ และเป็นการสุขุม มีจรรยามารยาทดีงาม มีความกล้าหาญ และมีความสามารถในการนำเสนอคำพูดต่อหน้าสาธารณชน.

          และหากว่าเรานำเอาพลังอันยิ่งใหญ่นี้ มาใช้ในการแสวงหาความรู้แน่นอนเหลือเกินว่ารูปแบบแนวทางของการดะอฺวะฮ์ทั้งหมดจะได้รับการเปลี่ยนแปลง(และพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นแน่).

          ทว่าการยึดถือตามแนวทางการดะอฺวะฮ์ของพวกเขามาเป็นสื่อกลางในการนำมนุษย์ออกจากความมืดมนสู่แสงสว่าง และการเรียกร้องไปสู่ศาสนาของอัลลอฮ์(ตามแนวทางของพวกเขาที่ว่า)นี้ถือว่าเป็นการละเลยและบกพร่องอย่างแท้จริงในเรื่องของการดะอฺวะฮ์ อีกทั้งยังเป็นการ(ขัดขวางและ)บีบซึ่งหนทางที่จะนำไปสู่การศึกษาแสวงหาความรู้ให้แคบลง.

           ทั้งนี้เพราะพวกเขาไม่เคยเล็งเห็นว่าวิชาความรู้นั้นคืออาวุธในการดะอฺวะฮ์ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้เองการดะอฺวะฮ์ตามรูปแบบนี้ตามพื้นฐานนั้นๆจึงไม่สามารถที่จะแสดงออกให้ประจักษ์ซึ่งความหมาย(และคุณค่า)อันยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ของอัล-อิสลาม.



อ้างอิงถึง
            หนังสือ (دراسات في الدعوة واقعٌ ومفاهيم ) ศึกษาวิเคราะห์ในเรื่อง อัด-ดะอฺวะฮ์ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และ ความเข้าใจต่างๆ หน้า 346-347 ,  ประพันธ์โดย :  มุหัมหมัด มุสฏอฟา อามีน อาบูฮาชีม (محمد مصطفى أمين أبوهاشم) ,  เขียนคำนิยมโดย : อัล-ลามะฮ์ เชค ซะอีด ฟูดะฮ์(العلامة الشيخ سعيد فودة) ,  สนพ. : ดารุ้นนูร อัล-มุบีน, อัมมาน จอร์แดน 1/2012(دار النور المبين للدراسات والنشر- عمان ، الأردن) . www.darannor.com , info@darannor.com