ก็อยากจะตอบให้อยู่นะแต่เราไม่ใช่ผู้รู้..เอางี้ครับเอาบทความของผู้รู้ที่เขียนมาจากบรรดาอุลามะที่อีกทีครับว่าเขา...เข้าใจกันอย่างไร
แล้วถ้ามันเป็นอย่างนี้ล่ะครับ
ในเรื่องสุนัข เขาศึกษาดูแล้วคิดว่า สุนัขไม่น่าจะเป็นนะญิสในเรื่องฮุกมต่างๆนั้นเราจะใช้สมมติฐานไม่ได้กระมั้งครับ เพราะมีหลักฐาบ่างชี้ในเรื่องนี้อยุ่ก่อนแล้ว
สำหรับสุนัขนั้นเป็นนะยิสครับ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"การที่ภาชนะคนใดคนหนึ่งจากพวกท่าน เมื่อสุนัขได้เลียลงในภาชนะนั้น จะสะอาดได้ด้วยการล้างมันเจ็ดครั้ง ครั้งที่หนึ่งจากเจ็ดครั้งนั้นเป็นน้ำปนดิน" รายงานโดยมุสลิมมีหะดิษรายงานว่า "ท่านนบีได้ถูกเชิญให้ไปบ้านของชนกลุ่มหนึ่ง ดังนั้น ท่านนบีจึงตอบรับ หลังจากนั้น ท่านนบีจึงถูกเชิญไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง แต่ท่านนบีไม่ตอบรับ จึงถูกตั้งคำถามแก่ท่านนบีในกรณีดังกล่าว ดังนั้น ท่านนบีตอบว่า
แท้จริงในบ้านของคนนั้นมีสุนัขอยู่ ท่านนบีถูกถามอีกว่า แล้วในบ้านอีกคนหนึ่งที่มีแมวล่ะครับ ดังนั้น ท่านนบีได้ตอบว่า แท้จริงแมวนั้นไม่ได้เป็นนะยิส" รายงานโดย อัดดารุกุฏนีย์และอัลฮากิม ( ดูหนังสือ มุฆนีย์อัลมั๊วะห์ตาจญ์ 1/172)วิธีการทำความสะอาดนะยิสประเภทหนักนี้ คือให้ล้างน้ำไหลผ่านเจ็ดครั้งและหนึ่งในเจ็ดครั้งนั้นต้องมีน้ำผสมดินหนึ่งครั้ง แต่ในทางที่ดีแล้วให้ล้างน้ำดินในครั้งแรก ส่วนกรณีที่เราไปกระทบหรือสัมผัสสุนัขที่แห้งและเราก็อยู่ในสภาพที่แห้งด้วยนั้น ถือว่าไม่เปื้อนนะยิสนะครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างถึง
ดังนั้น ในการตักลีดตามในรูปแบบดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ต้องห้ามโดยความเห็นพร้องกันและบางทัศนะบอกว่ามันเป็นมติของปวง ปราชญ์
อิจมาอ์เลยหรือครับ อยากทราบว่าเขากล่าวบ้างครับ
yippy:ในเรื่องของการตัลฟีกนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของบรรดาปวงปราชญ์ที่มีมัสหับในอดีต
แต่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อนักวิชาการสมัยใหม่ยุคหลังๆโดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ในทัศนะดังกล่าวของเขานั้นถือว่า
กระทำได้ เว้นแต่คนเอาวามซึ่งจำเป็นจะต้องยึดมัสหับหนึ่งมัสหับใด จะปะปนหรือคละเคล้าถือว่าไม่บังควร
เกี่ยวกับเรื่องนี้มีบอกไว้ในหนังสือ
"อัลดุร็อร อัสสะนียะฮ์ ฟีลกุตุบ อันนัจญฺดียะฮ์" ซึ่งเป็นตำราที่อุลามาอฺวะฮาบีย์ ตั้งแต่สมัยของท่านมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ได้ทำการตอบทัศนะของพวกเขาเกี่ยวกับมัซฮับทั้งสี่ไว้ว่า
وَنَحْنُ أَيْضاً : فِي الفُرُوْعِ، عَلَى مَذْهَبِ الإِمَامِ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَل، وَلاَ نُنْكِرُ عَلىَ مَنْ قَلَّدَ أَحَدَ الأَئِمَّةِ الأَرْبَعَةِ، دُوْنَ غَيْرَهِمْ، لِعَدَمِ ضَبْطِ مَذَاهِبِ الْغَيٍرِ ؛ الرَّافِضَةِ، وَالزَّيْدِيَّةِ، وَالإِمَامِيَّةِ، وَنَحْوِهِمْ ؛ وَلاَ نُقِرُّهُمْ ظَاهِراً عَلَى شَيْءٍ مِنْ مَذَاهِبِهِمِ الفَاسِدَةِ، بَلْ نُجْبِرُهُمْ عَلَى تَقْلِيْدِ أَحَدِ الأَئِمَّةِ الأَرْبَعَةِ
"
เช่นเดียวกันในเราข้อปลีกย่อยทางฟิกห์ เรานั้นอยู่มัซฮับอิมามอะห์มัด บิน ฮัมบัล และเราไม่ทำการปฏิเสธต่อผู้ที่ตักลีดอิมามหนึ่งจากบรรดาอิมามทั้งสี่ แต่ไม่ให้ตักลีดอื่นจากพวกเขา เนื่องจากบรรดามัซฮับอื่นจากทั้งสี่นั้นไม่ได้บันทึกหลักการไว้อย่างเป็นระบบ เช่นพวกชีอะฮ์อัรรอฟิเฏาะฮ์ ชีอะฮ์อัซซัยดียีะฮ์ ชีอะฮ์อิมามมามียะฮ์ และอื่น ๆ จากพวกเขา และเราไม่ให้การยอมรับสิ่งใดจากมัซฮับต่าง ๆ ของเขาที่มีหลักการไม่ถูกต้อง
ยิ่งกว่านั้น เรายังบังคับพวกเขาให้ตักลีดตาม(มัซฮับ)หนึ่งจากบรรดาอิมามทั้งสี่" หนังสือ อัรดุร็อร อัสสะนียะฮ์ ฟีอัจญฺวิบะฮ์ อันนัจญฺดียะฮ์ 1/227
บรรดานักปราชญ์ได้บอกไว้ในบรรดาหนังสือมูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม(อุซู ลุลฟิกห์) และท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยติมีย์(ร.ฮ.)
ได้รวบรวมสิ่งดังกล่าวไว้อย่างดีในหนังสืออัลฟะตาวา อัลฟิกฮียะฮ์ อัลก๊อบรอ เล่ม 4 หน้า 326
หากเขาต้องการตักลีดตามอิมามมากกว่าหนึ่งคน ก็ต้องมีเงื่อนไขว่า เขาต้องไม่ทำการตัลฟีก(คละปนมัซฮับ)
กับประเด็นหนึ่งๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น เมื่อบรรดากฎเกณฑ์ต่างๆหรือกฏเกณฑ์เหล่านั้นบกพร่องหรือมีบางส่วนบกพร่องลงไป
แน่นอนว่า อิบาดะฮ์ของเขาย่อมใช้ไม่ได้และจำเป็นต้องชดใช้อย่างเร่งด่วน..