การทำซ้ำ (โคลนนิ่ง)
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 นักวิทยาศาสตร์พันธุวิศวกรรม
ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งโดยการนำของ ดร. เอียน วิลมุต จากสถาบันรอสลีน
ทางภาคใต้ของสก็อตแลนด์ ได้สร้างความตื่นตระหนกให้เกิดขึ้นกับชาวโลก
ด้วยการประกาศว่า พวกเขาประสบผลสำเร็จในการทดลองทำโคลนนิ่ง
ทำให้เกิดแกะดอลลี่ขึ้นมา ด้วยการเอาเซลล์จากเต้านมของแกะตัวหนึ่ง
ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และนำไปเพาะเลี้ยงในห้องทดลองเป็นเวลาหกวัน
หลังจากนั้นได้นำเอาไข่ที่ยังไม่ได้ผสมมาจากแกะอีกตัวหนึ่ง
ที่ได้ถอดเอานิวเคลียสและสารพันธุกรรมของมันออกไป
และใส่นิว- เคลียสของยีน ที่เอามาจากเต้านมของแกะตัวแรกใส่ลงไปแทน
และกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า เพื่อ ให้นิวเคลียสรวมเป็นเนื้อเดียวกัน
ในไข่ของแกะตัวที่สอง ที่ปราศจากนิวเคลียส
หลังจากนั้นได้นำตัวอ่อนที่เกิดจากการรวมตัวกันนี้ ไปใส่ในแกะตัวที่สาม
และเมื่อครบกำหนดตั้งครรภ์ แกะตัวนั้นก็ได้ให้กำเนิดลูกแกะให้ชื่อว่า ดอลลี่
ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะเป็นพิมพ์เดียว กับแกะต้นกำเนิดตัวแรก
และได้กลายเป็นแกะที่มีชื่อเสียงที่สุด ในหน้าประวัติศาสตร์
นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ได้มีการพูดถึงและโต้เถียงกันอย่างไม่รู้จบ
เกี่ยวกับการทำโคลนนิ่ง ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมาย
ภายหลังจากยุติความเชื่อที่ว่า สตรีไม่อาจตั้งครรภ์ได้นอกจากด้วยวิธีการผสมไข่
ของเพศหญิง กับสเปิร์มของเพศชาย และได้กลายเป็นเรื่องง่ายดายไปแล้ว
ที่ไม่ต้องอาศัยสเปิร์มของฝ่ายชาย โดยเปลี่ยนเป็นเอาเซลล์จากสัตว์ใดก็ได้
นำมาสร้างตัวใหม่ขึ้นมา
นับตั้งแต่ได้มีการประกาศเรื่อง การโคลนนิ่ง ท่าทีทางด้านศาสนา จริยธรรม
และกฎหมายมีการตอบรับเหมือนกันทั่วทั้งโลก คือถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม
และเป็นอาชญากรรม ที่จะใช้การโคลนนิ่งกับมนุษย์
ทั้งที่ยอมให้ใช้ประโยชน์เทคนิคโคลนนิ่ง กับพืชและสัตว์ได้
สถาบันต่างๆ ทางด้านศาสนาและศูนย์นิติศาสตร์อิสลามทุกแห่ง
ได้ให้คำตอบทางศาสนา(ฟัตวา) ว่าห้ามเด็ดขาดสำหรับการโคลนนิ่งมนุษย์
จนถึงขนาดที่ศูนย์การค้นคว้าทางด้านอิสลาม ได้กำชับให้ใช้การลงโทษ
ถึงขั้นสู้รบกับพวกที่นำเทคนิคการโคลนนิ่งมาใช้กับมนุษย์
และคำตอบนี้เกือบเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันในโลกอิสลาม
ในโลกของชาวคริสต์ทั้งฝ่ายคาทอลิก และออโธดอกซ์ก็มีคำตอบที่คล้ายคลึงกัน
และมุ่งไปในทิศ ทางเดียวกัน
แต่สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ก็คือการศึกษาทางด้านศาสนาอย่างเจาะลึก
ของนักการศึกษาของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ที่ได้เปิดประตูเข้ามาพูดจากัน
ถึงกรณีต่างๆ อย่างเจาะจงซึ่งจะทำให้การโคลนนิ่งมนุษย์
เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาตให้กระทำได้ จากมุมมองทางด้านศาสนา
เมื่อมีสภาพและหลักประกันครบถ้วน.
ในการประชุมนักนิศาสตร์อิสลาม ซึ่งจัดโดยอาจารย์เราะอ์ฟัต อุสมาน
อาจารย์วิชานิติ ศาสตร์เปรียบเทียบ คณะนิติศาสตร์และกฎหมาย
มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร เรื่อง
การทำโคลนนิ่งภาย ใต้หลักเกณฑ์ทางด้านศาสนา ซึ่งเขาได้นำเสนอในที่ประชุมสภาสูงด้านวัฒนธรรมของอียิปต์
ที่จัดประชุมในหัวข้อ
กฎหมายและความก้าวหน้าของชีววิทยา ได้มีผู้นำเสนอบทวิจัยมากมายด้านนิติศาสตร์อิสลาม
ที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางชีววิทยาและส่วนหนึ่งของความก้าวหน้านั้น
ก็คือการทำโคลนนิ่ง.
ดร. เราะอ์ฟัต อุสมาน ได้ยืนยันผลงานการวิจัยของเขา
ที่ได้นำเสนอวิชาการรอบด้านและเพียงพอ เรื่องการโคลนนิ่ง
ในงานวิจัยของเขาจะพบว่า มีมากกว่าหนึ่งกรณีสำหรับการโคลนนิ่งมนุษย์
ที่จำเป็นต้องมีการแยกแยะเป็นแต่ละกรณีไป คือจะไม่ใช้ข้อชี้ขาดทางศาสนา
เพียงข้อเดียวในทุกๆกรณี และเขายังได้ขยายความว่าการโคลนนิ่งมนุษย์
มีถึงหกรูปแบบด้วยกัน มีสี่รูปแบบที่สามารถให้ข้อชี้ขาดทางศาสนาได้ว่า
เป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) โดยเด็ดขาด
ในขณะที่ยังเหลือ อยู่อีกสองรูปแบบที่เขาเห็นว่า ควรระงับการออกข้อชี้ขาดไว้ก่อน
คือจะยังไม่ชี้ขาดลงไปว่าเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) หรือเป็นสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล)
ให้กระทำได้ จนกว่าจะรู้ผลลัพธ์ ที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาว่า
เป็นสิ่งต้องห้ามหรือเป็นสิ่งที่อนุมัติให้กระทำ.
รูปแบบที่หนึ่ง : คือการโคลนนิ่งด้วยวิธีเอานิวเคลียสของเซลล์ จากผู้หญิงคนหนึ่ง
แล้วใส่ลงไปในไข่ของผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ที่ถอดนิวเคลียสออกไปแล้ว
และในขั้นสุดท้ายก็จะนำไปเพาะเลี้ยงในมดลูก
กรณีเช่นนี้ในการทำโคลนนิ่งมนุษย์ เขาวินิจฉัยว่าเป็นสิ่งต้องห้าม
ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางด้านนิติศาสตร์
และรากฐานนิติศาสตร์หลายหลักเกณฑ์
หลักเกณฑ์ที่หนึ่งคือหลักอนุมาน (กิยาส)ที่ว่าด้วยห้ามหาความสุขทางเพศ
โดยเพศเดียวกัน (เลสเบี้ยนในหมู่ผู้หญิง และร่วมทางทวารหนักในหมู่ผู้ชาย)
ดังนั้นถ้าหากเป็นการหาความสุขทางเพศโดยเพศเดียวกันเป็นสิ่งต้องห้าม
การทำให้เกิดทารกขึ้นก็ยิ่งต้องสมควรเป็นสิ่งต้องห้ามมากกว่า.
อีกหลักเกณฑ์หนึ่งก็คือ เป็นการเปิดช่องทางไปสู่ความเสียหาย
เพราะถ้าหากการทำโคลนนิ่งรูปแบบนี้แพร่หลายไปในหมู่สตรี
ก็จะนำไปสู่การขยายวงของความตกต่ำให้กว้างออกไป
จึงมีการห้าม เพื่อเป็นการป้องกันผลเสียหายทางด้านจิตใจและสังคม
ที่จะเกิดขึ้นกับทารกที่คลอดออกมา
รูปแบบที่สอง : คือการเอานิวเคลียสจากเซลล์ของผู้หญิงคนหนึ่ง
แล้วนำไปใส่ในไข่ของผู้หญิงคนนั้นเอง ก็ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม
เช่นเดียวกับรูปแบบที่หนึ่ง หลักฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นสิ่งต้องห้ามก็ใช้หลักฐานเดียวกัน.
รูปแบบที่สาม : คือการเอานิวเคลียสจากเซลล์สเปิร์มของเพศชาย
ใส่ลงไปในไข่ของผู้หญิง ข้อชี้ขาดทางศาสนาในรูปแบบนี้
ก็คือเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไร้สาระ
และเบี่ยงเบนการสร้างของอัลเลาะห์ เพราะจะทำให้เกิดเป็นมนุษย์พันธุ์ใหม่ขึ้นมา.
รูปแบบที่สี่ : คือการเอานิวเคลียสจากเซลล์สเปิร์มของเพศชาย
แต่ไม่ใช่เป็นสามีของสตรีที่เป็นเจ้าของไข่ ข้อชี้ขาดทางศาสนาในรูปแบบนี้
ก็คือเป็นสิ่งต้องห้ามอีกเช่นเดียวกัน เพราะอยู่ในความหมายของการละเมิดประเวณี
(ซินา) ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นการละเมิดประเวณี (ซินา) จริงๆ ก็ตาม
เพราะยังขาดองค์ประกอบสำคัญ ของการละเมิดประเวณี
แต่มันนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันกับการละเมิดประเวณี
นั่นคือทำให้สายตระกูลปะปนกัน
ดังนั้นรูปแบบนี้ จึงมีข้อกำหนดที่ตรงกับการละเมิดประเวณี (ซินา).
ทั้งสี่รูปแบบที่กล่าวมานี้ ดร. เราะอ์ฟัต อุสมาน มีความเห็นว่า
เป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด สอดคล้องกับมติของนักวิชาการทั้งหลาย
ที่ห้ามทำโคลนนิ่งมนุษย์.
แต่ยังมีอีกสองรูปแบบที่ ดร. เราะอ์ฟัต อุสมาน เห็นว่า
ควรชะลอการออกความเห็นในสองรูปแบบนี้ไว้ก่อน
โดยเขายังไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการส่วนใหญ่ที่ให้ความเห็นไว้แล้วว่า
เป็นสิ่งต้องห้าม.
รูปแบบที่หนึ่งก็คือ : การเอานิวเคลียสที่มีสารพันธุกรรม จากเซลล์ของผู้ชาย (สามี)
ใส่ลงไปในไข่ของสตรี (ภรรยา) โดยมีเงื่อนไขว่าสามียังมีชีวิตอยู่
(เป็นการให้กำเนิดโดยไม่มีเพศสัมพันธ์กันระหว่างคู่สามีภรรยา)
ดร. เราะอ์ฟัต อุสมาน วินิจฉัยว่า ขอชะลอการออกความเห็นในรูปแบบนี้
โดยจะยังไม่ชี้ขาดว่าต้องห้ามหรืออนุมัติ
โดยให้คอยผลการค้นคว้า และทดลองในเรื่องการโคลนนิ่งก่อน
ถ้าหากผลลัพธ์ของการโคลนนิ่งออกมาปรากฏว่าเป็นทารกที่พิการไม่สมประกอบ
ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ หรือทางสังคมก็ตาม
ข้อชี้ขาดก็คือเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด
แต่ถ้าหากทารกที่คลอดออกมาเป็นปกติสมบูรณ์ ไม่พิการใดๆ
ข้อชี้ขาดในกรณีนี้ จะต้องนำมาอภิปรายกันในหมู่นักวิชาการหลายสาขา
ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา และนิติศาสตร์อิสลาม
โดยมีสามีที่ไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ ด้วยวิธีธรรมชาติ (โดยมีเพศสัมพันธ์)
เป็นเจ้าของสิทธิ์ที่จะใช้วิธีการโคลนนิ่งมนุษย์ตามรูปแบบนี้.
ส่วนรูปแบบที่สอง : เป็นรูปแบบที่เรียกว่า แฝดสยาม หรือแฝดเหมือน
เป็นรูปแบบของการโคลนนิ่งมนุษย์ ที่จำเป็นต้องใช้เชื้อสเปิร์มจากอสุจิ
เช่นเดียวกับในรูปแบบก่อนๆ เป็นวิธีการที่จะให้กำเนิดทารกมากกว่าหนึ่งคน
เช่นเดียวกับเด็กแฝด วิธีการนี้จะใช้การผสมไข่กับเชื้อสเปิร์ม นอกมดลูก
จะเริ่มการโคลนนิ่งด้วยการกระตุ้นไข่ที่ผสมแล้ว
ให้แบ่งเป็นตัวอ่อนเป็น 2, 3 ตัว
โดยทั้งหมด จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทั้งหมด
ดร. เราะอ์ฟัต อุสมาน วินิจฉัยว่าขอชะลอการออกความเห็นออกไปก่อน
คือจะยังไม่ตอบว่าเป็นสิ่งต้องห้ามหรืออนุมัติ
โดยให้รอคอยผลการทดลองการโคลนนิ่ง และผลที่จะเกิดตามมาเสียก่อน.
ผู้ทบทวนบทวิจัยมีทรรศนะว่าการโคลนนิ่งมนุษย์
เป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาดและถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรม
แต่ยินยอมให้โคลนนิ่งพืชและสัตว์ได้