ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟใต้ : มุมมองทางศาสนา  (อ่าน 1274 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
ไฟใต้ : มุมมองทางศาสนา
« เมื่อ: มี.ค. 25, 2008, 06:23 PM »
0

 salam


ไฟใต้: มุมมองทางศาสนา


การอภิปรายเรื่อง "3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: มุมมองทางศาสนา" ซึ่งจัดโดยโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ผมในฐานะอาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชา

"ศาสนากับสังคมการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ประธานโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และคณบดีคณะศิลปศาสตร์

กับ ดร.นิรันดร์ พันทรกิจ อดีตเลขาธิการ สำนักจุฬาราชมนตรี และปัจจุบันเลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญสอบสวนและศึกษาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมอภิปราย


ผมได้เริ่มต้นด้วยการ กล่าวถึง "อาณาจักรศรีวิชัย" ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในภาคใต้ของไทย แหลมมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย เป็นระยะเวลากว่า 600 ปี (ศตวรรษที่ 7-14) เป็นอาณาจักรทางพุทธศาสนาฝ่าย "มหายาน" ผสมผสาน

กับ "วัชรยาน" และเป็นผู้สร้าง "โบโรบูร์โดร์" มหาสถูปที่ยิ่งใหญ่ ต่อมา "อาณาจักรมัชปาหิต" ซึ่งนับถือศาสนาฮินดูได้แผ่อิทธิพลมาถึง ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง ชาวศรีวิชัยได้อพยพไปตั้งเมืองใหม่ที่ "มาลักกา"

ในแหลมมลายู ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นเค้าของวัฒนธรรมมลายู


นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา พ่อค้าอาหรับได้นำศาสนาอิสลามมาเผยแผ่ในอาณาบริเวณนี้ โดยเกลี้ยกล่อม "พระเจ้าองควิชัย" แห่งมัชปาหิตไม่สำเร็จ แต่เกลี้ยกล่อมพระราชโอรสชื่อ "ระเด่นปาตา" ให้เข้ารีตอิสลามได้

ระเด่นปาตากระทำปิตุฆาต สถาปนาตนเองเป็นสุลต่านและเผยแผ่อิสลาม มัชปาหิตจึงกลายเป็นดินแดนอิสลามนับแต่นั้น ต่อมาผู้ปกครองบรูไนก็ได้เข้ารีตนับถือและเผยแผ่อิสลาม ซึ่งก็เช่นเดียวกับ "พระเจ้าปาร์ไบสุรา"

แห่งมาลักกาที่เข้ารีตนับถือและเผยแผ่อิสลาม แหลมมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียจึงกลายเป็นดินแดนอิสลาม


อาจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ได้ให้ความเห็นว่า อาณาจักรอยุธยา ธนบุรี รวมทั้งรัตนโกสินทร์ตอนต้นของไทย แม้จะเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ครอบคลุมหัวเมืองน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก แต่ก็เป็นไปในลักษณะโบราณ

ที่รัฐเล็กส่งเครื่องบรรณาการให้แก่รัฐใหญ่ อันเป็นสัญลักษณ์ของความสวามิภักดิ์เท่านั้น โดยรัฐใหญ่มิได้ครอบครองรัฐเล็กแต่ประการใด รัฐเล็กยังคงมีอิสระในการปกครองตนเองอยู่ (เช่นเดียวกับที่สยามเคย "จิ้มก้อง" แก่จีน)

จนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่มีการรวมศูนย์อำนาจทั้งหมดมาไว้ที่กรุงเทพฯ ภายใต้อาณาเขตแบบใหม่ที่เรียกว่า "ราชอาณาจักรไทย"


อาจารย์ธเนศ แสดงความคิดเห็นว่า แต่เดิมนั้น "รัฐปัตตานี" เป็นรัฐอิสระของชาวมลายูที่นับถืออิสลาม โดยเพียงแต่ส่งเครื่องบรรณาการให้แก่อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ของไทย เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์เท่านั้น

มิได้เป็นส่วนหนึ่งของ "ราชอาณาจักรไทย" แต่ประการใด นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา รัฐไทยได้ใช้กำลังเข้ายึดครอง "รัฐปัตตานี" เป็นส่วนหนึ่งของไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งกันมาโดยตลอด

อาจารย์ธเนศตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในการที่รัฐไทยยึดครองรัฐปัตตานี และครอบงำทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และศาสนา ทั้งๆ ที่ปัตตานีเป็นดินแดนของมุสลิมเชื้อสายมลายู

ทำให้มุสลิมมลายูลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อกอบกู้ดินแดนของตน


อาจารย์นิรันดร์ พันทรกิจ มีความเห็นที่แตกต่างออกไปว่า สถานการณ์ในเวทีโลกปัจจุบัน การก่อการร้ายและการฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างโหดเหี้ยม ทำให้อิสลามกำลังถูกมองว่าก้าวร้าวรุนแรง กระทบต่อภาพลักษณ์ของมุสลิม

และสถาบันสอนศาสนา (โต๊ะครู อิหม่าม ฯลฯ) ทำให้ศาสนาอิสลามเสื่อม "มุสลิม สถาบันสอนศาสนา และศาสนาอิสลาม ตกเป็นจำเลยของสังคม" เกิด "โรคหวาดกลัวอิสลาม" (Islamophobia) ขึ้นมา สำหรับสถานการณ์

ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั้น อาจารย์นิรันดร์แบ่งปัญหาออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็น "ของแสลง" กับส่วนที่เป็น "โรค"


ส่วนที่เป็น "ของแสลง" ได้แก่ การที่ทหาร ตำรวจ และข้าราชการกดขี่ข่มเหงประชาชน ความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม และการแบ่งแยกในเชิงสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันข้าราชการในพื้นที่

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม การแบ่งแยก ความไม่เป็นธรรม และการกดขี่ข่มเหงลดลงเป็นอันมาก แต่ความรุนแรงกลับไม่ลดลง แสดงว่ายังไม่ใช่รากเหง้าของปัญหา อย่างไรก็ตาม "ของแสลง"

เหล่านี้ต้องหยุด เพราะเป็นสิ่งที่ไปกระตุ้นให้โรคร้ายกำเริบ สำหรับส่วนที่เป็น "โรค" นั้นได้แก่ "ความคิด ความเชื่อ และความเข้าใจ" ซึ่งคนจำนวนไม่มากนักนำมาบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวในเรื่อง

"ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และคำสอนทางศาสนา"


ในเรื่อง ประวัติศาสตร์ ผู้ก่อความไม่สงบมักอ้างว่า "สยามซึ่งเป็นรัฐพุทธศาสนา ได้โจมตีและเข้ายึดครองปัตตานีซึ่งเป็นรัฐอิสลาม" และมักอ้างถึงความทุกข์ยากของมุสลิมปัตตานีภายใต้การยึดครองของรัฐพุทธไทย

ซึ่งเรื่องนี้อาจารย์นิรันดร์มองว่า เป็นธรรมชาติของรัฐในสมัยโบราณที่เมืองใหญ่จะตีเมืองเล็กเป็นเมืองขึ้น มิใช่ด้วยเหตุทางศาสนา สงครามก็คือสงคราม ธรรมชาติของสงครามคือการเข่นฆ่า เผา ทำลาย โดยไม่เลือกชาติ

ชั้น วรรณะ หรือศาสนา เช่น พม่า (ซึ่งนับถือพุทธศาสนาเถรวาท) เผาทำลายวัดไทยในกรุงศรีอยุธยา (ซึ่งนับถือพุทธศาสนาเถรวาทเช่นกัน) เพื่อจะเอาทองคำกลับไปพม่า เป็นต้น


อาจารย์ นิรันดร์บอกให้มุสลิมมองในแง่ดีบ้างว่า การกวาดต้อนมุสลิมจากปัตตานีขึ้นมายังกรุงเทพฯ และเรี่ยราดกลางทางในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ทำให้เกิดชุมชนมุสลิม 176 แห่งในกรุงเทพฯ และมุสลิมได้กระจายไปตามที่ต่างๆ

ของประเทศไทย ไม่กระจุกตัวเฉพาะแต่ในชายแดนภาคใต้ อันเป็นผลดีต่อศาสนาอิสลามด้วยซ้ำไป


ใน เรื่องชาติพันธุ์ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนปัตตานีพยายามปลุกระดมให้คนในพื้นที่ "ต่อสู้เพื่อความเป็นเชื้อสายมลายู" นับว่าสร้างความสับสนแก่ประชาชน

ระหว่างการแบ่งรัฐตามหลักรัฐศาสตร์และการแบ่งประชากรตามหลักชาติพันธุ์ ซึ่งควรแยกให้ชัดเจนไม่ควรนำมาปะปนกัน

อาจารย์นิรันดร์ ยกตัวอย่างว่า "นาย ก เป็นคนไทย เชื้อสายมลายู เป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ภาคใต้" "นาย ข เป็นคนไทย เชื้อสายญวน เป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ที่บ้านครัว" "นาย ค เป็นคนไทย

เชื้อสายจีน เป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ที่ภาคเหนือ" และ "นาย ง เป็นคนไทย เชื้อสายปาทาน เป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ที่สระบุรีหรือลพบุรี"

บุคคลทั้งหมดดังกล่าวมีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและภาษาพูด แต่นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในประเทศไทย จึงต้องนับเป็นพลเมืองไทยเหมือนกัน



ประเทศไทยมีความเป็น "พหุสังคม" (pluralist society) สูง มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ความพยายามที่จะแบ่งแยกรัฐตามชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา หรือวัฒนธรรมนั้น

จึงเป็นสิ่งที่ไร้สาระและเป็นไปไม่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริงปัจจุบัน


ใน เรื่องศาสนา ผู้ก่อความไม่สงบมักอ้างคำว่า "สงครามศักดิ์สิทธิ์" (ญีฮาด) ในการก่อเหตุรุนแรงและลอบทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ อาจารย์นิรันดร์ได้สอบถามเรื่องนี้กับปราชญ์มุสลิมคนสำคัญที่ชื่อ "ฮูเซ็น"

(คนไทยรู้จักในนาม "ครูเส็น สุราษฎร์" เพราะเป็นคนไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ไปสอนอิสลามบนหุบเขาในเมืองมักกะฮ์) ฮูเซ็น ได้ย้อนถามกลับว่า (1) ดินแดนนั้นมีการห้ามปฏิบัติศาสนกิจ (เช่น ห้ามละหมาด

ห้ามถือศีลอด ห้ามเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ ฯลฯ) ไหม? (2) ดินแดนนั้นมีการห้ามเผยแผ่ศาสนาอิสลามหรือไม่? ทั้ง 2 ข้อนี้เป็นเงื่อนไขของการทำ "สงครามศักดิ์สิทธิ์" (ญีฮาด)



ตาม ทรรศนะของอาจารย์นิรันดร์ รัฐไทยนอกจากจะมิได้ปิดกั้นแล้ว ยังส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมด้วยซ้ำไป กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยจึงไม่อาจจะใช้เป็นข้ออ้างหรือเงื่อนไขของการทำ

"สงครามศักดิ์สิทธิ์" ได้ ข้ออ้างของฝ่ายก่อความไม่สงบจึงเป็นการบิดเบือนคำสอนของศาสนาอิสลาม


ดร. นิรันดร์ พันทรกิจ นับเป็นนักวิชาการมุสลิมที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์มุสลิมด้วยกันเองในเวที สาธารณะ ซึ่งหาได้ยากในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่มีปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

อาจารย์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "การไม่รู้จักวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง จะนำความเสื่อมมาสู่หมู่คณะ รวมถึงศรัทธาและคำสอนที่หมู่คณะนั้นๆ นับถืออยู่ด้วย"


ผู้เขียน: ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์

ที่มา: มติชน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 25, 2008, 09:36 PM โดย Deeneeyah »

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



 

GoogleTagged