بسم الله الرحمن الرحيم
قال المصنف رحمه الله تعالي ونفعنا بعلومه فى الدارين
8. อิรอดัต แปลว่า ต้องการ เจตนา ความหมายของคำว่า "ต้องการ" หรือ "เจตนา" ณ ที่นี้คือ ทุกสิ่งทุกประการเกิดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการหรือเจตนาตามอำนาจของพระองค์
อิรอดัตนี้ เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิม สถิตอยู่ที่ซ๊าตของพระองค์ มีหน้าที่ในการเจาะจงสิ่งที่เป็นไปได้จากของมุมกิน เช่น เจาะจงให้ "มี" หรือให้เป็นสี "ขาว" "ดำ" หรือ "ยาว" "สั้น" และ ฯลฯ
อิรอดัตนี้ تعلق (สัมพันธ์) กับของมุมกินทุกอย่างเหมือนกับกุดรัต ต่างกันเพียง تعلق قدرة (ความสัมพันธ์ของพลัง) นั้น มีหน้าที่หรือมีงานด้านการให้บังเกิด ส่วน تعلق إرادة (ความสัมพันธ์ของเจตนา) นั้น มีหน้าที่หรือมีงานด้านการเจาะจง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ تعلق กับของวายิบและมุสตะฮีล
มุมกินนั้น มีความหมายถึงทั้งของดีและของไม่ดี ส่วนพวกมั๊วะตะซิละฮ์ กล่าวว่า อิรอดัตของอัลเลาะฮ์นั้น ไม่ تعلق (สัมพันธ์) กับของไม่ดี ของที่พึงรังเกียจ แต่เราจำเป็นต้องรักษามารยาทต่ออัลเลาะฮ์ โดยไม่พาดพิงสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่พึงรังเกียจไปยังอัลเลาะฮ์ ยกเว้นในเวลาที่ทำการศึกษาเท่านั้น และไม่เป็นที่อนุญาตให้การอ้างว่า ความชั่วนั้น เกิดขึ้นจากความต้องการและกุดรัตของอัลเลาะฮ์ก่อนจะเกิดม๊ะซียัต ทั้งนี้เพื่อเป็นทางทำม๊ะซิยัตนั้น
การอ้างหลักฐานที่ผิดพลาดนี้มีการเกิดขึ้นมาก เป็นสำคัญสำหรับผู้มีอำนาจ หรือคนใหญ่คนโต เมื่อต้องการจะทรยศหรืออธรรมต่อผู้อยู่ใต้การปกครอง หรือเมื่อต้องการจะผิดประเวณี โดยเข้าใจว่า การอ้างเช่นนั้น จะทำให้พ้นจากการลงโทษ และความโกรธกริ้วของพระองค์ และหากความเข้าใจดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการอนุญาต สิ่งที่พระองค์ทรงห้าม เช่น ทรยศ อธรรม หรือผิดประเวณี ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นกุฟุร
ในทำนองเดียวกัน ไม่อนุญาตให้ยึดถือตามหลักฐาน (คำอ้าง) ข้างต้นหลังจากที่ได้ทำม๊ะซิยัตแล้ว ทั้งนี้หากเจตนาให้พันการลงโทษหรือประจานตามความผิดที่ได้กระทำ
แต่หากมีเจตนาในคำอ้างนั้น เพื่อให้พันจากครหาหรือร่ำลือ จึงจะอนุญาตให้ยึดเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ แต่ก็ไม่อนุญาตให้ยินดีกับม๊ะซียัตนั้น ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วมันเกิดขึ้นจากอิรอดัตของอัลเลาะฮ์ก็ตาม ก็เป็นที่ต้องห้าม เพราะการยินดีในม๊ะซิยัตนั้น เป็นม๊ะซิยัตด้วย และจำเป็นต้องยอมรับหรือยินดีว่า การที่ม๊ะซิยัตเกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากการที่พระองค์มีอิรอดัตเพราะนั่นเป็นการยินดีหรือยอมรับในหลักปฏิบัติของพระองค์
และซีฟัตมุสต้าฮีลซึ่งเป็นซีฟัตที่ตรงกันข้ามกับอิรอดัตนั้นคือ มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัลเลาะฮ์มิได้เจตนา เช่น เกิดขึ้นโดยถูกบังคับ หรือเลิ่นเล่อ หรือหลงลืม หรือเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุหรือโดยธรรมชาติ ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการมีสาเหตุนั้น มันก็จะต้องรอให้มีเหตุเกิดขึ้นก่อนโดยไม่คำนึงถึงสิ่งอื่นใด ดังนั้น เมื่อพบสาเหตุก็จะพบมัน เช่น นิ้วกระดิก แท้จริงมันคือเหตุที่ทำให้แหวนกระดิก ดังนั้น เมื่อสิ่งแรกเกิดขึ้น สิ่งที่สองกต้องเกิดขึ้น ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นทางธรรมชาตินั้น มันต้องรอเงื่อนไข และไม่มีสิ่งขวางกั้น เช่น ไฟมันจะไม่เอาไหม้ นอกจากต้องสัมผัสซึ่งเป็นเงื่อนไข และไม่เปียก ซึ่งเป็นสิ่งที่ขวางกั้น
ดังนั้น ใครเชื่อ (เอี๊ยะติกอด) ว่า สิ่งต่าง ๆ นั้นให้ผลลัพธ์ หรือ ให้ผลงานได้ด้วยกับ พลังหรือความสามารถ ที่อัลเลาะฮ์ให้มีอยู่ในสิ่งนั้น ถือว่า ผู้ที่เชื่ออย่างนั้นเป็นคนฟาซิก เป็นคนบิดอะฮ์ ส่วนจะถือว่าเป็นกุฟุรหรือไม่นั้น นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกัน ซึ่งนักวิชาการที่รอแญะฮ์(มีน้ำหนัก)กว่า มีทัศนะว่า ไม่ถึงกับเป็นกุฟุร
แต่มีบางท่านเชื่อ (เอี๊ยะติกอด) ว่า บ่าวนี้ให้บังเกิดผลงามตามที่ได้กระทำด้วยกุรัตที่อัลเลาะฮ์ให้มีอยู่ในสิ่งนั้น
และใครเชื่อ (เอี๊ยะติกอด) ว่า อัลเลาะฮ์เท่านั้นเป็นผู้(ทำให้)มีผลงาน แต่ก็ผูกพันกับสาเหตุตามวิสัยซึ่งสอดคล้องกับปัญญา โดยมิอาจจะเป็นไปอย่างอื่นได้ ถือว่าเป็นคนโง่ในแก่นแท้ของฮุกุ่มอาดี ซึ่งอาจถึงกับเป็นกุฟุรได้
และใครเชื่อ (เอี๊ยะติกอด) ว่า บรรดาสาเหตุต่าง ๆ นั้น เป็นของที่เพิ่งบังเกิดขึ้น (ของใหม่) และสาเหตุนั้นมิได้ให้บังเกิดผลงาน ตลอดจนธรรมชาติ ก็มิได้บังเกิดและในทางที่ว่าอัลเลาะฮ์ให้มีพลังอยู่ในสิ่งใด ๆ ก็มิได้ให้บังเกิดผลงานด้วย และยังเชื่อ (เอี๊ยะติก๊อด) ว่า อาจไม่เป็นตามเงื่อนไขหรือเหตุผล เช่น พบเหตุอันได้แก่การกิน แต่ไม่พบผลของเหตุนั้น อันได้แก่ การอิ่ม โดยเชื่อว่า ผู้ที่ให้ผลดังกล่าวนั้น คืออัลเลาะฮ์ ผู้ที่เชื่อเช่นนี้แหละคือ ผู้ที่รู้จักคำว่า เอกภาพ (เตาฮีด) เป็นผู้ที่พ้นความผิดด้วยความรัก และความกรุณาของพระองค์
พึงรู้ว่า อิรอดัต ตามความเข้าใจของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์นั้น มิใช่หมายถึงใช้ ยินดีและรู้พร้อม ๆ กันเสมอ กล่าวคือ บางครั้งพระองค์ต้องการพร้อมทั้งใช้และยินดีไปพร้อม ๆ กัน เช่น อีหม่านของอบูบักร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ และบางครั้งไม่ต้องการ แต่มิได้ใช้ มิได้ยินดี เช่น การเป็นกุฟุรของฟิรอูน และในบางครั้งใช้และยินดี แต่มิได้ต้องการ เช่น การเป็นผู้มีอีหม่านของฟิรอูน ดังกล่าวนี้ มีวิทยปัญญาแฝงอยู่ คือ
لَا يُسْأَلُ عَمَّا يَفْعَلُ وَهُمْ يُسْأَلُونَ
"พระองค์จะไม่ถูกถามจากสิ่งที่พระองค์กระทำ และพวกเขาคือผู้ที่จะถูกถาม" อัลอัมบิยาอ์ 23
จึงสรุปได้ว่า อิรอดัตนี้มีอยู่ 4 ประการ โดยมีความยินดีอยู่รับใช้เสมอ
แผนภูมิลักษณะของอิรอดัตทั้งสี่
อิรอดัต إرادة คือ
(1) ต้องการ ใช้ ยินดี เช่นอีหม่านของอบูบักร
(2) ไม่ต้องการ ไม่ยินดี เช่นกุฟุรของอบูบักร
(3) ต้องการ ไม่ใช้ ไม่ยินดี เช่น กุฟุรของฟิรอูน
(4) ใช้ ยินดี ไม่ต้องการ เช่นอีหม่านของฟิรอูน
สำหรับหลักฐาน "อิรอดัต" นั้นคือ หากพระองค์ไม่มีเจตนา (อิรอดัต) พระองค์ก็ไม่มีความสามารถเพราะกุดรัต(พลังความสามารถ) นั้น จะไม่ปฏิบัติหน้าที่นอกจากต้องมีอิรอดัตอยู่ก่อน ซึ่งการลำดับเช่นนี้ เป็นไปตามกฏเกณฑ์ทางปัญญา
ดังนั้น หากพระองค์ไร้พลัง ความสามารถ พระองค์ก็ไม่สามารถให้บังเกิดสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ได้ ความเข้าใจดังกล่าวนั้น จึงเป็นอันตกไป เนื่องจากตาของเราได้เห็นผลงานของพระองค์แล้ว ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่า พระองค์ทรงพลัง และความสามารถ และเมื่อพระองค์ทรงพลัง (กุดรัด) พระองค์ก็ต้องทรงเจตนา (อิรอดัด) และเมื่อพระองค์มีเจตนา ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะมีบางอย่างเกิดขึ้นโดยที่พระองค์มิได้มีเจตนาให้บังเกิด
والله تعالى أعلى وأعلم