ผู้เขียน หัวข้อ: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?  (อ่าน 7031 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด

ผมได้อ่านวิทยานิพนธ์เล่มหนึ่งของมหาบัญฑิต วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.ปัตตานี เขาได้กล่าวถึงการแบ่งซีฟัตของอัลลอฮฺของอุลามะอฺสะลัฟ จะถูกต้องหรือไม่ อยากให้พี่น้องช่วยกันอภิปรายหน่อย

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธ.ค. 22, 2009, 10:42 AM »
0
ประเภทของคุณลักษณะของอัลลอฮฺตามแนวคิดสะลัฟ
อุลามาอฺสะลัฟได้แบ่งคุณลักษณะอัลลอฮฺตามประเภทดังนี้
1. ศิฟาตอักลียะฮฺ ชัรอียะฮฺ (Aqliah Shariah) คือคุณลักษณะของอัลลอฮฺที่รู้ได้โดยสติปัญญา และในขณะเดียวกันมีบทบัญญัติจากอัลลอฮฺ มาสนับสนุน ศิฟาตประเภทนี้ แบ่งออกเป็นสองประเภท (Abd al-Rahman Abd al-Lah, 1995 : 35-36 ; อับดุลเลาะ หนุ่มสุข, ม.ป.ป. : 19-20) คือ

1.1 ศิฟาตษาตียะฮฺ (Dhatiah) คือลักษณะที่ผูกพันกับษาต (อาตมัน) เช่น
   อัลลอฮฺทรงมีชีวิต                                     al-Hayat
   อัลลอฮฺทรงรอบรู้                                     al-‘Ilm
   อัลลอฮฺทรสามารถ                  al-Qudrat
   อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่                                    al-‘Izzah
   อัลลอฮฺทรงมีความประสงค์                          al-Iradah
   อัลลอฮฺทรงได้ยิน                                al-Sama
   อัลลอฮฺทรงเห็น                    al-Basar
   อัลลอฮฺทรงพูด                    al-Kalam

1.2 ศิฟาตฟิอฺลียะฮฺ (Fia’liah) คือคุณลักษณะที่ผูกพันกับการกระทำ เช่น
   อัลลอฮฺทรงสร้าง            al-Khalq
   อัลลอฮฺทรงให้ปัจจัยยังชีพ         al-Rizq
   อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ยับยั้ง                        al-Mana’
   อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ให้                         al-Aata’
   อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ให้มีชีวิต         al-Hayaa
   อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ให้ตาย                         al-Amatah
2. ศิฟาตเคาะบะรียะฮฺ (Khabariah) คือลักษณะของอัลลอฮฺที่ไม่สามารถรู้ได้เองด้วยสติปัญญา แต่รู้ได้ด้วยบทบัญญัติ แบ่งออกเป็นสองประเภทเช่นเดียวกัน คือ
2.1 ศิฟาติษาตียะฮฺ คือคุณลักษณะที่เกี่ยวกับษาต เช่น
สูง               al-‘Aluw
หน้า               al-Wajh
ตา               al-‘Ayn
สองมือ               al-Yadayn
2.2 ศิฟาตฟิอฺลียะฮฺ คือคุณลักษณะที่ผูกพันกับการกระทำ เช่น
         การประทับบนบัลลังก์ (อะรัช)       al-Istiwaa ala al-Arsh
   การมา                        al-Majia
   การลง                        al-Nuzul          
    ความรัก                                        al-Muhibah
   ความโกรธ            al-Ghadab
   ความพอพระทัย                      al-Rida
อับดุลสุโก  ดินอะ 2544 “ทัศนคติอุลาอาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ”   วิทยานิพนธ์ปริญญาโท อิสลามศึกษา หน้า  12-13

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธ.ค. 22, 2009, 10:44 AM »
0
นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงจุดยืนของสะลัฟต่อคุณลักษณะของอัลลอฮฺ จะถูกต้องหรือไม่ช่วยอ่านดู

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธ.ค. 22, 2009, 10:46 AM »
0
แนวทางของสะลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ
สะลัฟมีหลักเกณฑ์สามประการ
1. อัลอิษบาต (Khalifah al-Tamimi, n. d : 95; อับดุลเลาะ หนุ่มสุข, ม.ป.ป. : 16) การยืนยันในคุณลักษณะที่อัลลอฮฺได้ระบุไว้ในอัลกุรอานและที่เราะสูลได้กล่าวไว้ในหะดีษโดยไม่เปลี่ยนแปลงหรือตีความใดๆ ทั้งสิ้น
2. อัตตันซีฮฺ (Khalifah al-Tamimi, n. d : 107; อับดุลเลาะ หนุ่มสุข, ม.ป.ป. : 15) การให้ความบริสุทธิ์ต่ออัลลอฮฺ จากการนำไปเปรียบเทียบให้เสมอเหมือนกับสิ่งถูกสร้าง และบริสุทธิ์จากความบกพร่องทั้งปวง......
3. อัตเตากีฟ (Khalifah al-Tamimi, n. d : 129; อับดุลเลาะ หนุ่มสุข, ม.ป.ป. : 15) การหยุดหรือตัดความพยายามที่จะรู้ถึงภาวะที่แท้จริงของคุณลักษณะของอัลลอฮฺ เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้.....
สาระของหลักเกณฑ์นี้คือไม่ต้องการให้มนุษย์ไปค้นคว้าหาภาระอันแท้จริงของอัลลอฮฺ และคุณลักษณะของพระองค์ เพราะไม่มีใครร็ได้ นอกจากพระองค์ ดังที่อิหม่ามมาลิกได้ตอบคำถามถึงคุณลักษณะ (อิสติวาอฺ) ของอัลลอฮฺ (Ibn Abi al-Izzi, 1988 : 464) ว่า “อิสติวาอฺ ความหมายเป็นที่ทราบดี สภาพเป็นจริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้” คำตอบของท่านอิหม่ามมาลิกถือเป็นหลักเกณฑ์ของสะลัฟในการอธิบายคุณลักษณะของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮู วะตะอาลา) ทุกคุณลักษณะ

อับดุลสุโก  ดินอะ 2544 “ทัศนคติอุลาอาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ”  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า  14-15

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธ.ค. 22, 2009, 10:47 AM »
0
เขายังกล่าวถึงกลุ่มมุเฟาวิเฎาะฮฺด้วย ช่วยอ่านดูครับ

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธ.ค. 22, 2009, 10:49 AM »
0
มีคำถามว่าแนวคิดสะลัฟเป็นแนวทางเดียวกับกลุ่มมุเฟาวิเฏาะฮฺใช่หรือไม่
สำหรับกลุ่มมุเฟาวิเฎาะฮฺคือแนวทางแห่งการมอบหมายต่ออัลลอฮฺในเรื่องคุณลักษณะต่างๆ โดยไม่มีการให้ความหมายใดๆ ทั้งสิ้นจากจุดดังกล่าวหากพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าแตกต่างกัน กล่าวคือสะลัฟจะให้ความหมายและศรัทธาในความหมายก่อนที่จะมอบความรู้ที่แท้จริงแด่อัลลอฮฺ ในขณะที่มุเฟาวิเฎาะฮฺไม่แตะต้องในการให้ความหมายใดๆ ทั้งสิ้น บอกเพียงแต่ว่าอัลลอฮฺทรงรู้ในคุณลักษณะดังกล่าวเท่านั้น

อับดุลสุโก  ดินอะ 2544 “ทัศนคติอุลาอาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ”  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า  14-15

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 11:13 AM »
0
เห็นยังไม่มีใครแสดงความคิดเห็น งั้นผมจะขอเริ่มอภิปรายก่อนละกัน

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 11:14 AM »
0
จากงานวิจัยฉบับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาบางสถาบันมุ่งที่จะผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อตอบสนองความเข้าใจที่สอดคล้องกับกลุ่มของตนเอง ถึงแม้ว่าความเข้าใจนั้นขัดแย้งและไม่เป็นที่ยอมรับกับความเข้าใจของคนส่วนใหญ่

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 11:14 AM »
0
ประการต่อมา งานวิจัยฉบับนี้เป็นสิ่งยืนยันถึงความเข้าใจเกี่ยวกับศิฟัตของอัลลอฮฺของสะลาฟียฺบางกลุ่ม (คือกลุ่มที่พี่น้องในเวปนี้กล่าวว่าเป็นพวกวะฮาบียฺ) พวกเขาเข้าใจศิฟัตของอัลลอฮฺว่าสามารถเข้าใจความหมายได้ และใช้ความหมายตรงหรือความหมายแบบผิวเผิน

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 11:16 AM »
0
แนวทางของสะลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ
สาระของหลักเกณฑ์นี้คือไม่ต้องการให้มนุษย์ไปค้นคว้าหาภาระอันแท้จริงของอัลลอฮฺ และคุณลักษณะของพระองค์ เพราะไม่มีใครร็ได้ นอกจากพระองค์ ดังที่อิหม่ามมาลิกได้ตอบคำถามถึงคุณลักษณะ (อิสติวาอฺ) ของอัลลอฮฺ (Ibn Abi al-Izzi, 1988 : 464) ว่า “อิสติวาอฺ ความหมายเป็นที่ทราบดี สภาพเป็นจริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้” คำตอบของท่านอิหม่ามมาลิกถือเป็นหลักเกณฑ์ของสะลัฟในการอธิบายคุณลักษณะของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮู วะตะอาลา) ทุกคุณลักษณะ

อับดุลสุโก  ดินอะ 2544 “ทัศนคติอุลาอาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ”  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า  14-15


นี่เป็นตัวอย่างของการแปลความหมายคำพูดของอุละมาอฺที่มีอะกีดะฮฺสะลัฟให้สอดคล้องกับความเข้าใจของตน ผมยังไม่เคยเห็นตำราอะกีดะฮฺภาษาไทยเล่มไหน แม้แต่ตำราพวกกลุ่มสะละฟียฺเอง ที่แปลคำพูดของอิหม่ามมาลิกประโยคนั้นว่า “อิสติวาอฺ ความหมายเป็นที่ทราบดี สภาพเป็นจริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้” ส่วนใหญ่จะแปลเป็นภาษาไทยว่า “อิสติวาอฺ (บางเล่มแปลเป็นภาษาไทยไปเลยว่าการสถิต) เป็นที่ทราบดี สภาพเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้” ซึ่งน่าจะตรงกับคำพูดที่เป็นภาษาอาหรับของอิหม่ามมาลิกมากที่สุด
(ผมมีความรู้ภาษาอาหรับงูๆ ปลาๆ ผิดพลาดอย่างไร พี่น้องที่มีความรู้ช่วยชี้แนะด้วย)

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 11:17 AM »
0
ประการถัดมา  พวกเขายืนยันว่าอัลลอฮฺทรงมีศิฟัตซาต (ศิฟาตที่เกี่ยวกับอาตมันหรือตัวตนของอัลลอฮฺ) จึงนำไปสู่การทำให้อัลลอฮฺทรงมีรูปร่าง เช่น มีหน้า มีเท้า มีมือ เป็นต้น รวมทั้งมีอาการคล้ายกับมัคลูก เช่น การนั่ง การลง การเคลื่อนย้าย เป็นต้น โดยพวกเขาเข้าใจว่าการยืนยันเช่นนั้นเป็นการทำตามชนรุ่นแรก (สะลัฟ) และพวกเขาเข้าใจว่าการยืนยันเหล่านั้น ไม่ได้ทำให้อัลลอฮฺทรงเหมือนกับมัคลูก เพราะมันเป็นเพียงความเหมือนในความหมายแต่ไม่เหมือนในรายเอียดวิธีการ  เช่น มือของอัลลอฮฺก็คือมือ แต่มือของอัลลอฮฺย่อมแตกต่างกับมัคลูก การมาของอัลลอฮฺ หมายถึงการมาที่มาพร้อมกับซาต แต่การมาของพระองค์ย่อมแตกต่างจากมัคลูก เป็นต้น 

ออฟไลน์ abu-khulus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 76
  • Respect: -3
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 11:18 AM »
0
การอภิปรายข้างต้นมาจากประสบการณ์และความรู้ที่น้อยนิด หากผิดพลาดอย่างไร พี่น้องช่วยชี้แนะและตักเตือนด้วยครับ และหวังการอภัยโทษจากอัลลอฮฺในสิ่งที่กระทำไปด้วยความโง่เขลา หรือความอ่อนแอของผมเอง อามีนยาร็อบบัลอาละมีน

ออฟไลน์ vrallbrothers

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 498
  • ALLAH MAHA BESAR...
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 12:20 PM »
0
 salam

รบกวนท่าน abu-khulus ช่วยลงรายละเอียดในวิทยานิพนธ์ในส่วนที่สำคัญเพิ่มเติมต่ออีกจะได้ไหมครับ? น่าสนใจดีครับ  smile:
อินชาอัลลอฮ์ คงจะมีผู้รู้จากเว็บแห่งนี้มาร่วมอภิปรายหน่ะขอรับ ส่วนผมไม่มีความรู้ ขอเข้ามาอ่านก็พอ อัลฮัมดุลิลลาห์


เวลาเปรียบเสมือนคมดาบ...หากท่านไม่ตัดมัน มันจะตัดท่าน



ยะฮูดีใช้ระเบิดฟอสฟอรัส... เลวร้าย ป่าเถื่อนยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 01:03 PM »
0
แนวทางของสะลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ
สาระของหลักเกณฑ์นี้คือไม่ต้องการให้มนุษย์ไปค้นคว้าหาภาระอันแท้จริงของอัลลอฮฺ และคุณลักษณะของพระองค์ เพราะไม่มีใครร็ได้ นอกจากพระองค์ ดังที่อิหม่ามมาลิกได้ตอบคำถามถึงคุณลักษณะ (อิสติวาอฺ) ของอัลลอฮฺ (Ibn Abi al-Izzi, 1988 : 464) ว่า “อิสติวาอฺ ความหมายเป็นที่ทราบดี สภาพเป็นจริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้” คำตอบของท่านอิหม่ามมาลิกถือเป็นหลักเกณฑ์ของสะลัฟในการอธิบายคุณลักษณะของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮู วะตะอาลา) ทุกคุณลักษณะ

อับดุลสุโก  ดินอะ 2544 “ทัศนคติอุลาอาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ”  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า  14-15


นี่เป็นตัวอย่างของการแปลความหมายคำพูดของอุละมาอฺที่มีอะกีดะฮฺสะลัฟให้สอดคล้องกับความเข้าใจของตน ผมยังไม่เคยเห็นตำราอะกีดะฮฺภาษาไทยเล่มไหน แม้แต่ตำราพวกกลุ่มสะละฟียฺเอง ที่แปลคำพูดของอิหม่ามมาลิกประโยคนั้นว่า “อิสติวาอฺ ความหมายเป็นที่ทราบดี สภาพเป็นจริงเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้” ส่วนใหญ่จะแปลเป็นภาษาไทยว่า “อิสติวาอฺ (บางเล่มแปลเป็นภาษาไทยไปเลยว่าการสถิต) เป็นที่ทราบดี สภาพเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้” ซึ่งน่าจะตรงกับคำพูดที่เป็นภาษาอาหรับของอิหม่ามมาลิกมากที่สุด
(ผมมีความรู้ภาษาอาหรับงูๆ ปลาๆ ผิดพลาดอย่างไร พี่น้องที่มีความรู้ช่วยชี้แนะด้วย)


เมื่ออิมามมาลิกไม่ได้ให้ความหมายไว้  เราก็อย่าไปกล่าวโกหกหรือยัดเยียดหรืออนุมาณไปว่าอิมามมาลิกว่าอย่างนั้นอย่างนี้  มันบาป...

กลุ่มวะฮาบีย์มักจะอ้างคำอธิบายความหมายอิสติวาอฺที่ว่า

ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ : قَالَ الْكَلْبِي وَمُقَاتِل: اِسْتَقَرَّ

"การอิสติวาอฺบนบัลลังก์นั้น  อัลกัลบีย์และมะกอฏิลกล่าวว่า  หมายถึง  ทรงสถิตอยู่"

คำกล่าวของ อัลกะละบีย์และมุกอติล นี้แหละครับ ที่วะฮาบีย์ทั้งหลายเขายึดเอามาเป็นบรรทัดฐานในเรื่องของอะกีดะ ฮ์ เกี่ยวกับ อัลอิสติวาอ์ เพราะวะฮาบีย์จะแปลเกี่ยวกับอายะฮ์ อัลอิสติวาอ์นี้  บางทีแปลว่า "ประทับ(นั่ง)" (جَلَسَ) หรือแปลว่า "สถิต"  (اِسْتَقَرَّ) เท่านั้น และกลุ่มวะฮาบีย์ก็เลือกแปลแบบนี้  ซึ่งเมื่อตรวจสอบไปยังต้นขั่วเดิมก็เป็นคำกล่าวที่ให้ความหมายโดย  อัลกัลบีย์ และ มุกอติล 

ต่อไปนี้เราลองมารู้จักและพิจารณาถึงสถานะภาพของ  อัลกัลบีย์ และ อัลมุกติล ตามหลักวิชาการกันครับ 

1. อัล-กัลบีย์

ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ได้กล่าววิจารณ์และถ่ายทอดคำวิจารณ์ของบรรดานักหะดิษว่า

" อบูซอลิหฺ , อัล-กัลบีย์ , และมุฮัมมัด บิน มัรวาน  ซึ่งพวกเขาทั้งหมดนี้  ถูกทิ้ง ตามทัศนะของอุลามาอ์หะดิษ ซึ่งบรรดานักฮะดิษจะไม่นำมาอ้างหลักฐานด้วยกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย จากบรรดาสายรายงานของพวกเขา  เนื่องจากมีสิ่งที่ขัดกับหลักการอย่างมาก และปรากฏความเท็จในบรรดาสายรายงานของพวกเขา "

"ท่านอลี บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยิน ยะหฺยา บิน สะอีด อัลก็อฏฏอน ได้เล่า จากท่านซุฟยาน  ซึ่งท่านซุฟยานกล่าวว่า อัลกัลบีย์ กล่าวว่า "อบู ซอลิหฺ กล่าวกับฉันว่า ทุกสิ่งที่ฉันได้รายงานเล่ากับท่านนั้น เป็นการโกหก"

"... อัล-กัลบีย์ นั้น ท่านยะหฺยา บิน สะอีด และ ท่านอับดุรเราะฮ์มาน บิน มะฮ์ดี ได้ทิ้ง(การรายงาน) กับเขา"

"ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า อัล-กัลบีย์  นั้น ไม่มีอะไร(รายงานถึงฉันเลย)" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสซิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 384

และท่านอัลกุรฏุบีย์กล่าวว่า  “อัลกัลป์บีย์นั้น ฎออีฟ” ดู  ตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 1 หน้า 271

2. มุกอติล บิน สุลัยมาน

มุ กอติล ท่านนี้ ฏออีฟ อย่างมาก และเป็นพวกมุชับบิฮะฮ์ (กลุ่มที่พรรณาอัลเลาะฮ์คล้ายคลึงกับมัคโลค) อัลมุญัสสิมอะฮ์ (กลุ่มที่พรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง) ท่านอัซฺซะฮะบีย์ กล่าววิจารณ์ว่า" มุกอติล บิน สุไลมาน นี้ เป็นคนบิดอะฮ์ และเขาเชื่อถือไม่ได้ " (ดู อัลอุลู้ว์ หลักฐานลำดับที่ 333 และหนังสือ มีซาน อัลเอี๊ยะติดาล เล่ม 4 หน้า 174)

ท่านอิมาม อัสซะยูฏีย์ ได้กล่าวว่า " ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์ สายรายงานหะดิษหนึ่งที่ท่าน อัล-หากิม รายงาน จากท่านอิบนุ มัสอูด (ร.ฏ.) ว่า อิสหาก และ มุกอติล นั้น ทั้งสอง เชื่อถือไม่ได้ และเป็นคนที่พูดไม่สัจจะ" (ดู อัล-ละอาลิอฺ อัล-มัสนูอะฮ์ เล่ม 2 หน้า 306 และ อัลมุสตัดร๊อก เล่ม 4 หน้า 320)

ท่านอัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์  ได้รายงานถึงท่านอิมามอะห์มัด  ซึ่งท่านอะห์มัดกล่าวว่า  "ให้กับมุกอติลนั้นมีตำราต่าง ๆ เมื่อดูแล้ว  ฉันไม่พบว่าเขามีความรู้เรื่องอัลกุรอาน" หนังสือตารีคบุฆดาด 13/161

ท่านอัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์  ได้รายงานถึงท่านอะห์มัด บิน ยาซาร  ความว่า  "มุกอติลนั้นฮะดิษเขาถูกทิ้ง  โดยเขาได้พูดเกี่ยวกับบรรดาซีฟาตของอัลเลาะฮ์ด้วยกับสิ่งที่ไม่อนุญาตให้รายงานจากเขา" หนังสือตารีคบุฆดาด 13/162

ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮิบบาน กล่าวว่า "มุกอติลได้รับเอามาจากพวกยาฮูดีและนะซอรอเกี่ยวกับวิชาอัลกุรอานเพื่อให้สอดคล้องกับพวกเขา และมุกอติลเป็นพวกมุชับบิฮะฮ์ที่พรรณาความคล้ายคลึงระหว่างอัลเลาะฮ์กับมัคโลคและพร้อมกับสิ่งดังกล่าว  เขายังโกหกเกี่ยวกับฮะดิษ" ดู หนังสืออัลมัจญฺรูฮีน 2/15 , หนังสืออัฏฏุอะฟาอฺ ของท่านอิบนุเญาซีย์ 1/136

เมื่อผู้ที่รายงานและผู้ที่กล่าวว่า อัลอิสติวาอ์ มีความหมายว่า "สถิต" นั้น เป็นบุคคลที่อุลามาอ์ไม่ให้ความเชื่อถือ พูดไม่สัจจะ  และยังเอาหลักความเชื่อของยะฮูดีเข้ามาอธิอบายอัลกุรอานอีกด้วย  ดังนั้นการแปลความหมายอิสติวาอฺของวะฮาบีย์ที่ว่า “สถิต” นั้น  จึงเป็นการแปลตามหลักอะกีดะฮ์ของกลุ่มบิดอะฮ์

อนึ่ง  ผมได้ อ่านหนังสือที่อัลบานีย์ได้ย่อเอาไว้  ซึ่งหนังสือชื่อ มุตตะซ๊อร อัล-อุลุ้ว์  ของท่านอัซซะฮะบีย์  หน้าที่ 16 - 17 ซึ่งอัลบานีย์รู้สึกแปลกใจ และไม่ทราบสาเหตุว่า เพราะเหตุใด ท่าน อัซซะฮะบีย์เอง ห้ามการอธิบายความหมาย "อิสติวาอ์" ว่า คือ "การสถิต" ( الإِسْتِقْرَارُ ) อัลบานีย์ได้กล่าวว่า

"ฉันไม่ทราบเหมือนกันว่า อะไรคือสิ่งที่มาห้าม (ท่านอัซซะฮะบีย์) ผู้ประพันธ์หนังสืออัลอุลุ้ว์  - ขออัลเลาะฮ์ทรงอภัยแก่เขา - จาก(การยอมรับ) ความหมายของ "การสถิต" ( اَلإِسْتِقْرَارُ ) นี้  และท่านอัซซะฮะบีย์ก็มั่นใจว่า คำพูดที่รายงานนี้มุงกัร(ฏออีฟ) ...และด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ท่านจะเห็นว่าท่านอัซซะฮะบีย์ – ร่อหิมะฮุลลอฮ์ - ตำหนิต่อบุคคลที่อยู่หลังจากศตวรรษที่ 300 ที่กล่าวว่า

إِنَّ اللهَ اِسْتَوَى اِسْتِوَاءَ اِسْتِقْرَارٍ

"แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงอิสติวาอ์แบบสถิต"

ซึ่ง เหมือนกับที่ท่านจะได้เห็น (การตำหนิจากการให้ความหมายว่า"สถิต")  ในการกล่าวถึง (ท่านอบู มุหัมมัด อัลก๊อซซอบ บุคคลลำดับที่ 140) และท่านอัซซะฮะบีย์ได้กล่าว(ตำหนิ)อย่างชัดเจน ในขณะที่กล่าวถึงหลักฐาน จาก (ท่านอัล บะฆอวีย์ ลำดับที่ 161) ว่า แท้จริง เขา(คือท่านอัซซะฮะบีย์) ไม่ประทับใจ กับการตัฟซีร  "อัลอิสติวาอ์" ว่า "สถิต" (ที่เอามาจากอัล-กัลบีย์และมุกอติล) และยิ่งไปกว่านั้น ท่านอัซซะฮะบีย์ ก็ยังตำหนิเป็นอย่างมากกับการใช้คำว่า ( بذاته ) (บิซาติฮี) (สถิตบนบัลลังก์ด้วยซาตของพระองค์) ซึ่งท่านได้ตำหนิอุลามาอ์กลุ่มหนึ่ง  ที่กล่าวว่า "อัลเลาะฮ์อยู่บนบัลลังก์ด้วยซาตของพระองค์"  ซึ่งถ้อยคำดังกล่าวไม่มีการรายงานมาจากสะลัฟเลย พร้อมกับคำดังกล่าวนั้น เป็นการอธิบายให้กับคำกล่าวของพวกเขา(ที่ท่านอัซซะฮะบีย์ให้การตำหนิ)คือคำพูดที่ว่า "

اِسْتِوَاءُ اللهِ عَلَى خَلْقَهِ حَقِيْقَةً اِسْتَوَاءٌ يَلِيْقُ بِجَلاَلِهِ وَكَمَالِهِ

"การอิสติวาอ์ของอัลเลาะฮ์ บนมัคโลคของพระองค์นั้น คืออิสติวาอ์แบบหะกีกัต ที่เหมาะสมยิ่งด้วยความยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ของพระองค์" (หมายถึงการอิสติวาอฺแบบฮะกีกัตคือสถิตด้วยซาตของพระองค์ซึ่งท่านอัซซะฮะบีย์ให้การตำหนิเป็นอย่างมาก”

ดังนั้นท่านอัซซะฮะบีย์ ได้พิจารณาว่า คำ ๆ นี้ (คือสถิตด้วยซาตของพระองค์นั้น) มาจาก ( فضول الكلام ) ส่วนเกินของคำพูด (หากแปลตามภาษาอาหรับเขาพูดกันคือ มาจากคำพูดที่ไร้สาระ) " ดู  มุคติซ๊อร อัลอุลุ้ว์ ลิอะลียิลอะซีม ของ อัลบานีย์ หน้า 16 - 17 ตีพิมพ์ ที่ อัลมักตับ อัลอิสลามีย์

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: สะลัฟกล่าวว่าอัลลอฮฺมีซีฟัตซาต?
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธ.ค. 23, 2009, 01:09 PM »
0
มีคำถามว่าแนวคิดสะลัฟเป็นแนวทางเดียวกับกลุ่มมุเฟาวิเฏาะฮฺใช่หรือไม่
สำหรับกลุ่มมุเฟาวิเฎาะฮฺคือแนวทางแห่งการมอบหมายต่ออัลลอฮฺในเรื่องคุณลักษณะต่างๆ โดยไม่มีการให้ความหมายใดๆ ทั้งสิ้นจากจุดดังกล่าวหากพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าแตกต่างกัน กล่าวคือสะลัฟจะให้ความหมายและศรัทธาในความหมายก่อนที่จะมอบความรู้ที่แท้จริงแด่อัลลอฮฺ ในขณะที่มุเฟาวิเฎาะฮฺไม่แตะต้องในการให้ความหมายใดๆ ทั้งสิ้น บอกเพียงแต่ว่าอัลลอฮฺทรงรู้ในคุณลักษณะดังกล่าวเท่านั้น

อับดุลสุโก  ดินอะ 2544 “ทัศนคติอุลาอาอ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อแนวคิดสะลัฟและคอลัฟเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ”  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หน้า  14-15


วิทยานิพนธ์ดังกล่าว  ไม่ได้ค้นคว้าจากหนังสือของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  ในเรื่องแนวคิดสะลัฟ  แต่ไปค้นจากตำราของแนวทางอะกีดะฮ์วะฮาบี  ซึ่งทำให้การนำเสนอมีความผิดพลาด

ต่อไปนี้  จะเป็นการนำเสนอความเข้าใจอะกีดะฮ์สะลัฟจากตำราของปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  ดังนี้ครับ :

ส่วนการยืนยัน(อิษบาต)ในเชิงความหมายผิวเผินลักษณะภายนอกของถ้อยคำนั้น   สะลัฟส่วนมากเขาไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวความหมายถ้อยคำลักษณะภายนอก(ผิวเผิน)ที่เกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์  แต่พวกเขาส่วนมากทำการผ่านมันไปโดยทำการมอบหมายการรู้ถึงจุดมุ่งหมายของความหมายซีฟัตดังกล่าวไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา

ท่านอิบนุกะษีร  กล่าวว่า 

وَإِنَّمَا نَسْلك فِي هَذَا الْمَقَام مَذْهَب السَّلَف الصَّالِح مَالِك وَالْأَوْزَاعِيّ وَالثَّوْرِيّ وَاللَّيْث بْن سَعْد وَالشَّافِعِيّ وَأَحْمَد وَإِسْحَاق بْن رَاهْوَيْهِ وَغَيْرهمْ مِنْ أَئِمَّة الْمُسْلِمِينَ قَدِيمًا وَحَدِيثًا وَهُوَ إِمْرَارهَا كَمَا جَاءَتْ مِنْ غَيْر تَكْيِيف وَلَا تَشْبِيه وَلَا تَعْطِيل وَالظَّاهِر الْمُتَبَادِر إِلَى أَذْهَان الْمُشَبِّهِينَ مَنْفِيّ عَنْ اللَّه

 "แท้จริง เกี่ยวกับ ณ ตรงนี้  เราได้ดำเนินตามมัซฮับของสะละฟุศศอลิหฺ  คือท่านมาลิก , ท่านอัลเอาซะอีย์ , ท่านอัษเษารีย์ , ท่านอัลลัยษ์ บิน สะอัด , ท่านอัชชาฟิอีย์ , ท่านอะหฺมัด บิน หัมบัล , ท่านอิสหาก ร่อฮุวัยฮ์ , และท่านอื่น ๆ จากนักปราชญ์บรรดามสุลิมีนทั้งอดีตและปัจจุบัน  ซึ่งแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ ก็คือ  ให้ทำการผ่านมันไปเหมือนที่มันได้มีมา(โดยมิได้เจาะจงความหมาย) โดยไม่มีรูปแบบวิธีการ  ไม่ยืนยันการคล้ายคลึง และปฏิเสธคุณลักษณะ(ซีฟัต)  และความหมายแบบผิวเผิน(ลักษณะภายนอกของคำ)ที่เข้ามาอยู่ในสมองความเข้าใจของบรรดาพวกมุชับบิฮะฮ์ (คือพวกที่พรรณาการคล้ายคลึงคุณลักษณะระหว่างอัลเลาะฮ์และมัคโลคไม่ว่าจะ แง่ใดแง่หนึ่ง)นั้น  ถูกปฏิเสธจากอัลเลาะฮ์...

ท่านอิบนุกะษีรได้บอกชัดเจนว่า  ให้ผ่านมันไปโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเจาะจงความหมาย  โดยเฉพาะความหมายแบบผิวเผินหรือความหมายแบบลักษณะภายนอกของคำที่พวกมุชับบิฮะฮ์นำมาเข้าใจนั้น  ต้องถูกปฏิเสธจากอัลเลาะฮ์  อะไรคือการเข้าใจความหมายแบบผิวเผินหรือถ้อยคำภายนอกของพวกมุชชับบิฮะฮ์?

ท่านชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ  อิบนุฮะญัร  ได้กล่าวในขณะอธิบายฮะดิษเกี่ยวกับการลงมา النزول  ว่า

وَقَدْ اخْتُلِفَ فِيْ مَعْنَى النُّزُوْلِ عَلَى أَقْوَالٍ: فَمِنْهُمْ مَنْ حَمَلَهُ عَلَى ظَاهِرِهِ وَحَقِيْقَتِهِ وَهُمُ المُشَبِّهَةُ تَعَالَى اللهُ عَنْ قَوْلِهِمْ

"แท้จริงได้ถูกขัดแย้งกันในความหมายของการ  เสด็จลงมา  บนหลายทัศนะคำกล่าวด้วยกัน  ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ  เขาได้ทำการให้ความหมายการลงมานั้นบน(ความหมาย)ถ้อยคำผิวเผิน(หรือถ้อยคำลักษณะภายนอก) และตามความหมายฮะกีกัต(คำแท้ของมันที่มีการเคลื่อนย้ายจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง)  ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นคือพวกมุชับบะฮ์ (พวกที่ให้ความหมายในซีฟัตของอัลเลาะฮ์โดยไปคล้ายคลึงกับความหมายของมัคโลค)  ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากคำกล่าวของพวกเขา"  หนังสือฟัตฮุบารีย์ : 3/36

ดังนั้น  ความเข้าใจความหมายเกี่ยวกับถ้อยคำซีฟัตของอัลเลาะฮ์ของพวกมุชับบิฮะฮ์ก็คือ  การเข้าใจความหมายแบบผิวเผินและเขาใจความหมายแบบคำแท้คำตรง  เช่น  คำว่า  "มือ"  ความหมายคำตรงก็คือ  "ส่วนอวัยวะที่มีฝ่ามือและนิ้ว"  หากให้ความหมายนอกเหนือจากนี้  แสดงว่าให้ความหมายแบบตะวีลและเฉไม่ตรง  ดังนั้นถ้าหากเชื่อในความหมายที่ว่า  อัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัตมือที่อยู่ในความหมายของอวัยวะแต่ไม่เหมือนมัคโลค  ถือว่าเป็นความเข้าใจของพวกมุชชับบิฮะฮ์(พวกพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์คล้ายกับมัคโลค)  แต่หากเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอวัยวะที่เหมือนกับมัคโลค  ถือว่าเป็นความเข้าใจของพวกมุญัสสิมะฮ์ (พวกพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง) ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ใช่แนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

ท่านชัยคุลอิสลาม  อัลฮาฟิซฺ  อิบนุฮะญัร  กล่าวอธิบายความหมาย "ทำการผ่านมันไป"  ว่า

وَمَعْنىَ الِإمْرَارِ عَدَمُ الْعِلْمِ بِالْمُرَادِ مِنْهُ مَعَ اعْتِقَادِ التَّنْزِيْهِ

"ความหมาย(อัลอิมร็อร)ทำการผ่านมันไป  หมายถึงไม่รู้ถึงจุดมุ่งหมายจาก(ถ้อยซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย) พร้อมกับยึดมั่นว่าพระองค์ทรงบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายหรือเหมือนกับมัคโลคด้วยความเข้าใจแบบความหมายคำตรงคำแท้)"  หนังสือฟัตฮุลบารีย์ : 6/48

ท่านอัลฮาฟิซฺ  อิบนุ  ฮะญัร  ได้กล่าวเช่นกันว่า

وَالثَّالِثُ إِمْرَارُهَا عَلىَ مَا جَاءَتْ مَفَوَّضاً مَعْنَاهَا إِلَى اللهِ تَعَالَى....قَالَ الطَّيَّبِيُّ: هَذَا هُوَ الْمَذْهَبُ الْمُعْتَمَدُ وَبِهِ يَقُوْلُ السَّلَفُ الصَّالِحُ

"มัซฮับที่สาม  คือทำการผ่านพ้นมันไปตามที่ได้มี(ระบุ)มา  โดยมอบหมาย(ซึ่งการรู้)ถึงความหมายของมันไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา...ท่านอัฏฏ็อยยิบีย์กล่าวว่า  นี้คือแนวทางที่ได้รับการยึดถือ  และเป็นทัศนะคำกล่าวของสะละฟุศศอลิห์"  หนังสือฟัตฮุลบารีย์ : 13/190

ดังนั้น  มัซฮับสะลัฟก็คือการเชื่อในซีฟัต  แต่ทำการผ่านมันไปโดยไม่เข้าไปเจาะจงความหมายหลายนัยของซีฟัตมุตะชาบิฮาตที่มีความหมายหลายนัย  โดยมอบหมายความรู้ไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า

فَيُقَالُ مَثَلاً: نُؤْمِنُ بِأَنَّ الرَّحْمَنَ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى، وَلَا نَعْلَمُ حَقِيْقَةَ مَعْنَى ذَلِكَ وَالْمُرَادُ بِهِ، مَعَ أَنَّا نَعْتَقِدُ أَنَّ الله َتَعَالىَ لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ، وَأَنَّهُ مُنَزَّهٌ عَنِ الحُلُوْلِ وَسِمَاتِ الحَدُوْثِ، وَهَذِهِ طَرِيْقَةُ السَّلَفِ أَوْ جَمَاهِيْرِهِمْ وَهِيَ أَسْلَمُ

"อาทิเช่น  กล่าวว่า   เราได้ศรัทธาอัลเลาะฮ์ทรงอิสติวาอฺเหนืออะรัช  ซึ่งเราไม่รู้ถึงแก่นแท้ของหมายความ(แต่ วะฮาบีย์รู้ความหมายแก่นแท้ของซีฟัต))และไม่รู้เป้าหมายสิ่งดังกล่าว  พร้อมกับเราเชื่อมั่นว่า  แท้จริง  อัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น  "พระองค์ไม่มีสิ่งใดมาคล้ายเหมือนกับพระองค์"  และแท้จริงพระองค์ทรงปราศจากการเข้าไปมีที่อยู่  ปราศจากคุณลักษณะที่บังเกิดขึ้นมาใหม่  และนี้ก็คือแนวทางของสะลัฟ  หรือสะลัฟส่วนมาก  ซึ่งเป็นแนวทางที่ปลอดภัยกว่า"  หนังสือมัจญฺมั๊วะ : 1/25

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์กล่าวว่า

مِنَ المُتَشَابِهِ آيَاتُ الصَّفَاتِ... وَجُمْهُوْرُ أَهْلِ السُّنَّةِ مِنْهُمُ السَّلَفِ وَأَهْلُ الحَدِيْثِ عَلى الإِيْمَانِ وَتَفْوِيْضِ مَعْنَاهَا المُرَادِ مِنْهَا إِلىَ اللهِ تَعَالَى، وَلاَ نُفَسِّرُهَا مَعَ تَنْزِيْهِنَا لَهُ  تَعَالَى  عَنْ حَقِيْقَتِهَا

"ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มีความหมายหลายนัย(คลุมเคลือ) คือบรรดาอายะฮ์ซีฟาต(อายะฮ์ที่พูดถึงคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์)...อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ส่วนมาก  ซึ่งส่วนหนึ่งจากพวกเขา  คือชาวสะลัฟและอะฮ์ลุลฮะดิษ  ได้ทำการศรัทธา(อีหม่าน) และมอบหมาย(การรู้)ความหมายที่เป็นเป้าหมาย(จริงๆ)ของมันไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  และเราจะไม่อธิบายมัน(เพราะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงจึงอธิบายไม่ได้)พร้อมกับเราได้ยืนยันความบริสุทธิ์แด่อัลเลาะฮ์ตะอาลา ให้พ้นจาก(ความหมาย)ฮะกีกัตของมัน(คือความหมายคำตรงแบบภายนอกผิวเผินของถ้อยคำ)"  หนังสืออัลอิตกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน 2/10

แต่อาจจะมีคำถามขึ้นว่า  การที่สะลัฟได้ทำการผ่านมันไปโดยมอบหมายซึ่งการรู้ควาหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  ก็ถือว่าสะละฟุศศอลิห์ไม่รู้ความหมายของอัลกุรอานน่ะซิ ?  ซึ่งเป็นไปได้หรือที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานอัลกุรอานลงมาโดยไม่รู้ความหมาย?

ตอบ : การที่สะลัฟได้ทำการผ่านมันไปโดยมอบหมายซึ่งกันรู้ความหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น  มิใช่หมายความว่าสะละฟุศศอลิห์ไม่รู้ความหมายในถ้อยคำที่มีความหมายหลายนัย  และพวกเขาไม่รู้ถึงความหมายแบบเชิงรายละเอียด(ตัฟซีล)  พวกเขาไม่รู้ถึงความหมายที่เจาะจงจริง ๆ ตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ว่ามันคืออะไรกันแน่  ดังนั้นพวกเขาก็ไม่สามารถฟันธงเด็ดขาดว่า  ความหมายถ้อยคำที่เกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์นี้  คือการนั่งน่ะ  คือการสถิตน่ะ  แต่ทว่าพวกเขารู้และเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของอัลกุรอานในเชิงแบบสรุป(อิจญฺมาล)  ดังรายละเอียดที่ผมจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ :

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

يَدُ اللهِ فَوْقَ أَيْدِيْهِمْ

"ยะดุลลอฮ์อยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา"

ดังนั้นอายะฮ์นี้  สะลัฟเข้าใจเจตนารมณ์จากความหมายของอายะฮ์แบบสรุปว่า  "อัลเลาะฮ์ได้ทรงช่วยเหลือและให้การสนับสนุนพวกเขา"  ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เหมาะสมกับพระองค์และเป็นความเข้าใจแบบโดยรวมที่มีต่ออายะฮ์นี้  สำหรับถ้อยคำที่ว่า يَدُ ที่พาดพึงไปยังอัลเลาะฮ์นั้น   เมื่อทำการพิจารณาถึงความหมายแบบผิวเผินที่ได้ยินแล้วมันเข้ามาในสมองหรือเข้ามาในความเข้าใจของคนทั่วไปเป็นอันดับแรกว่ามันคือความหมายแบบฮะกีกัตในเชิงภาษาที่หมายถึง "่ส่วนอวัยวะที่เป็นมือ" ปรากฏว่าสะละฟุศศอลิห์ส่วนมากจะปฏิเสธความหมายในเชิงฮะกีกัตที่เป็นอวัยวะมือนี้   หลังจากนั้นพวกเขาก็จะไปพิจารณาความหมายอื่น ๆ ที่มีความหมายหลายนัยยะแบบมะญาซฺ(คำที่มีความหมายอ้อมและเปรียบเปรย)ตามที่หลักภาษาอาหรับเข้าใช้กันอย่างแพร่หลาย  เช่น  หมายถึงอำนาจ , พลัง , เนี๊ยะมัต , ความเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ , เป็นต้น  ซึ่งการตีความได้หลายความหมายหรือหลายนัยยะนี้   สะละฟุศศอลิห์ได้ทำการหยุดเจาะจงความหมายและไม่ฟันธงอย่างเด็ดขาดว่ามันคือความหมายนั้นความหมายนี้ โดยมอบหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  ฉะนั้นตามนัยยะนี้แหละ  ที่เป็นเป้าหมายคำพูดที่ว่า  "สะลัฟไม่รู้ความหมายที่เป็นเป้าหมาย(จริงๆ)ของมัน(ตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ตะอาลา)และทำการมอบหมายไปยังพระองค์"

ดังนั้น  สะลัฟได้รู้ความหมายถ้อยคำ  يَدُ  ว่ามีความหมายทั้งในเชิงคำแท้(ฮะกีกัต)และมะยาซฺ(คำอ้อม)ที่ได้ให้ความหมายไว้มากมายหลายนัยยะในภาษาอาหรับ  แต่พวกเขาเข้าใจแบบเชิงสรุป(อิจญฺมาล)ดั่งที่ได้กล่าวมาแล้วโดยไม่เจาะจงความหมายหรือฟันธง  เป็นเพราะว่าเมื่อมันเกี่ยวข้องกับถ้อยคำที่มีความหมายซีฟัตของอัลเลาะฮ์  สะละฟุศศอลิห์จึงมีความยำเกรง  เกรงกลัว  และเกรงขาม  ในเรื่องของอัลเลาะฮ์ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะอันสูงส่งของพระองค์นี้  และพวกเขาก็ไม่มีความจำเป็นอันใดในการเข้าไปเจาะจงความหมายใดความหมายหนึ่ง  เนื่องจากในยุคสมัยนั้นปราศจากพวกเบี่ยงเบนที่ทำการตีความหมายคำตรัสของอัลเลาะฮ์และคำพูดของร่อซูลุลลอฮ์บนหนทางต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาอาหรับและตีความโดยค้านกับความบริสุทธิ์ของพระองค์จากการไปคล้ายหรือเหมือนกับมัคโลค  ด้วยเหตุนี้สะละฟุศศอลิห์ส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงการฟันธงหรือเจาะจงความหมาย  ซึ่งพวกเขาถือว่าเพียงพอแล้วที่เข้าอายะฮ์อัลกุรอานแบบสรุป ๆ (อิจญฺมาล)
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged