ผู้เขียน หัวข้อ: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)  (อ่าน 6607 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« เมื่อ: ธ.ค. 27, 2009, 11:13 AM »
0

อยากรู้คำไหน โพสต์เลยครับ
เราจะหาความหมายให้ อินชาอัลลอฮฺ

            หมายเหตุ กระทู้นี้จะมีการแก้ไข ปรับปรุงและเรียบเรียงใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น บางข้อความที่นำเสนอ อาจจะถูกลบ แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในการค้นหาคำครับ และยังไม่อนุญาตให้นำข้อมูลจากกระทู้ไปอ้างอิงที่ใดก็ตามครับ - วัสสลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 01, 2010, 04:23 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ม.ค. 01, 2010, 06:33 PM »
0
อยากพี่น้องมีส่วนร่วมในสารานุกรมอิสลามกันทุกคนนะครับ
ใครมีข้อมูลดีๆ ก็นำเสนอได้ แล้วผมจะนำมาเรียบเรียงอีกครั้งหนึ่ง
ถือเป็นกิจกรรมร่วมกันของพวกเราทุกคนนะครับ
วัสสลาม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:22 AM »
0
หลักการนำเสนอข้อมูลในสารานุกรมอิสลามฉบับนี้
       (๑) ชื่อบุคคล, ให้ระบุดังนี้ --> ชื่อจริงและสายตระกูล, สาเหตุของสมญานาม, เกิดและตายเมื่อ, แนวคิดหลัก, อาจารย์และลูกศิษย์, ผลงาน, เกิดและตายที่
       (๒) ชื่อกลุ่ม, ให้ระบุดังนี้ --> แนวคิดหลัก, เกิดขึ้นเมื่อ, โดยผู้ใด, ที่มาของชื่อกลุ่ม, สมาชิกกลุ่ม, ผลงาน, ปฏิกิริยาของสังคมต่อกลุ่มและกลุ่มต่อสังคม
       (๓) คำนิยาม, ให้ระบุดังนี้ --> ความหมายทางภาษาและวิชาการ, วิธีและตัวอย่างการใช้คำ, คำเรียกในภาษาไทย
       (๔) อักษรเทียบภาษาอาหรับ – ภาษาไทย ให้เป็นดังนี้

 
  • ا   --> อ
    ب   --> บ
    ت   --> ต
    ث   --> ษ
    ج   --> จ
    ح   --> ห
    خ   --> ฅ
    د   --> ด
    ذ   --> ฑ
    ر   --> ร
    ز   --> ซ
    س   --> ส
    ش   --> ช
    ص   --> ศ
    ض   --> ฎ
    ط   --> ฏ
    ظ   --> ธ
    ع   -->
    غ   --> ฆ
    ف   --> ฟ
    ق   --> ก
    ك   --> ค
    ل   --> ล
    م   --> ม
    ن   --> น
    و   --> ว
    هـ   --> ฮ
    لا   --> ล
    ء   --> อ
    ي   --> ย


ข้อแนะนำเพิ่มเติม

(๑) ข้อแตกต่างในการใช้อักษร “ตาอ์-มัรบุเฏาะฮ์” (ة) กับอักษร “ฮาอ์” (هـ)

       --> ในกรณีเมื่ออยู่ท้ายคำและถูก “สะกีนะฮ์” (–ْ ) หรืออ่านวะกัฟ (หยุด) เช่น
               คำว่า وَالِدَهُ    --> วาลิดะฮฺ   ให้ใช้จุดใต้อักษร ฮ.นกฮูก เมื่ออ่านวะกัฟ
               คำว่า جَمَاعَة --> ญมาอะฮ์   ให้ใช้การันต์บนอักษร ฮ.นกฮูก

     --> ในกรณีเมื่ออยู่ท้ายคำและถูกสะกีนะฮ์ (–ْ ) หรืออ่านวะกัฟ (หยุด) และมีอักษรอลิฟนำ หน้าอักษรตัวใดตัวหนึ่งจากทั้งสองตัวนั้น ให้เทียบดังนี้, เช่น
               คำว่า مِيَاه    --> มิยาฮฺ      ให้ใช้จุดใต้อักษร ฮ.นกฮูก เมื่ออ่านวะกัฟ
               คำว่า صَلاَة    --> เศาะลาตฺ   ให้ใช้จุดใต้อักษร ต.เต่า เมื่ออ่านวะกัฟ

(๒) ข้อแตกต่างในการใช้อักษร “ตาอ์-มัรบุเฏาะฮ์” (ة) กับอักษร “ตาอ์” (ت) เมื่ออยู่ท้ายคำและถูกสะกีนะฮ์ (–ْ ) หรืออ่านวะกัฟ (หยุด) ให้เทียบดังนี้, เช่น
               คำว่า سَمَاوَاتِ    --> สมาวาต   ให้เทียบโดยใช้ ต.เต่า ตามปกติเพื่อเทียบตัวตาอ์
               คำว่า زكاة         --> ซกาตฺ   ให้ใช้จุดใต้อักษร ต.เต่า

(๓) ข้อแตกต่างในการใช้อักษร อลิฟ (ا) หรือหัมซะฮ์ (ء) กับอักษร อัยฺน์ (ع)

       --> ในกรณีที่อยู่กลางคำและถูก “สะกีนะฮ์” (–ْ ) เช่น
               คำว่า تَأْوِيل    --> ต๊ะวีล      ให้ใช้รูป “ –๊ ะ ”  เพื่อเทียบตัวหัมซะฮ์
               คำว่า أَعْمال --> อะอ์มาล                   ให้ใช้รูป “ – ะอ์ ” เพื่อเทียบตัวอัยฺน์

     --> ในกรณีเมื่อที่อยู่ท้ายคำและถูก “สะกีนะฮ์” (–ْ ) หรืออ่านวะกัฟ (หยุด) เช่น
               คำว่า سَمَاءٌ    --> สมาอ์      ให้ใช้การันต์ที่ อ.อ่างเพื่อเทียบตัวหัมซะฮ์ “–าอ์ ”   
               คำว่า إِجْمَاع --> อิจมาอฺ                   ให้ใช้จุดใต้ อ.อ่างเพื่อเทียบตัวอัยฺน์  “ – าอฺ ”

     --> ในกรณีใช้เทียบตามปกติ เช่น
               คำว่า أَمير     อมีร      ให้เทียบโดยใช้ อ.อ่าง ตามปกติเพื่อเทียบตัวหัมซะฮ์
               คำว่า عَامِل     อามิล      ให้เทียบโดย “ขีดเส้นใต้” ที่ อ.อ่างเพื่อเทียบตัวอัยฺน์

(๔) การเทียบสระให้เป็นไปตามนี้
     --> สระเสียงสั้น
                   สระฟัตหะฮ์  (َ–)    --> نَصَرَ   – นะเศาะเราะ    ให้ใช้สระ อะ, เอาะ
               สระกัสเราะฮ์ (ِ–)    --> إِبِل    – อิบิล        ให้ใช้สระ อิ
               สระฎ็อมมะฮ์ (ُ–)   --> عُلُوّ   – อุลูว์      ให้ใช้สระ อุ

     --> สระเสียงยาว
                   สระ อลิฟ     (ـَا)    --> خَطَايَانَا   – เฅาะฏอยานา   ให้ใช้สระ อา, ออ
               สระ ยาอ์    (ـِي)    --> قِيل   – กีล      ให้ใช้สระ อี
               สระ วาว    (ـُو)   --> بُلُوغ   – บุลูฆ      ให้ใช้สระ อู
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 02:00 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:25 AM »
0
[ ก - ق ]

กิยาส [ قياس ]
หมายถึง การเทียบอิลละฮ์ของสิ่งๆ หนึ่ง ระหว่างสิ่งที่นั๊ศฺศ์ "ระบุค่าบังคับ" ของมันกับอีกสิ่งหนึ่งที่นั๊ศฺศ์ "ไม่ได้ระบุ" ค่าบังคับของมันไว้ เพื่อให้สิ่งหลังเข้าไปอยู่ภายใต้กรอบค่าบังคับเดียวกับสิ่งแรกข้างต้น เพราะผลจากกระทำทั้งสองให้ผลที่เหมือน หรืออยู่ในทำนองเดียวกัน อาทิเช่น สุรา, นั๊ศฺศ์ได้ระบุค่าบังคับของมันคือ "ต้องห้าม" (หะรอม) ซึ่งเจตนารมณ์ในการห้ามมันก็คือ เพื่อป้องกันสวัสดิการทางสติปัญญาและอื่นๆ ดังนั้น โดยอาศัยเจตนารมณ์ของการห้ามข้างต้นนี้ ทำให้สิ่งใดก็ตาม ที่เมื่อกระทำไปแล้ว เข้าข่ายเดียวกับในเจตนารมณ์การห้ามสุรานี้ โดยอาศัยหลักการกิยาสแล้ว สิ่งนั้นจะถูกออกกฎห้ามในทางศาสนาทันที แม้สิ่งนั้นจะไม่ได้ถูกระบุห้ามในนั๊ศฺศ์ไว้ก็ตาม และสิ่งที่ถูกห้ามโดยอาศัยหลักการกิยาสนั้น เช่น กัญชา, สุราอัดเม็ด, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ดู อิลละฮ์, นั๊ศฺศ์, ค่าบังคับ, หะรอม

กุรูอุ์ [ قُروء ]
หมายถึง ช่วงที่สตรีนางหนึ่งสะอาดจากเลือดประจำเดือน 
ดู อิดดะฮ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:10 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:29 AM »
0
[ ค - ك ]

ค่าบังคับ
หรือ ค่าบังคับทางกฎหมาย หมายถึง ระดับความเข้มงวดในการบังคับกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางกฎหมายอิสลามต่อนิติบุคคล (มุคัลลัฟ) คนหนึ่ง ซึ่งค่าบังคับทางกฎหมายอิสลามหลักๆ ที่ใช้กันทางฟิกฮฺนั้น จะมี ๕ ระดับด้วยกันคือ วาญิบ, สุนนะฮ์, มุบาหฺ, หะรอม และมัครูฮฺ
ดู มุคัลลัฟ, ฟิกฮฺ, วาญิบ, สุนนะฮ์, มุบาหฺ, หะรอม, มัครูฮฺ

คินายะฮ์ [ كِناية ]
หมายถึง ตัวอย่าง หรืออุปมาที่ได้ซ่อนนัยยะ หรือความหมายของมันไว้ ซึ่งสามารถเป็นที่เข้าใจได้ โดยไม่ต้องอธิบายแต่อย่างใด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:11 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:36 AM »
0
[ ฅ - خ ]

ฅิลาฟ [ خلاف ]
หมายถึง ความขัดแย้ง, ความไม่เห็นพ้องกัน หรือข้อแตกต่างกันทางทัศนะ หรือในเรื่องหนึ่งๆ
ดู ฅิลาฟียะฮ์

ฅิลาฟะฮ์ [ خلافة ]
หมายถึง ระบอบการปกครองแบบอิสลาม โดยมี "เฅาะลีฟะฮ์" เป็นประมุขทั้งทางอาณาจักรและศาสนจักร และใช้กฎหมายอิสลามในการปกครองอาณาจักร หรือประเทศ
ดู เฅาะลีฟะฮ์

ฅิลาฟียะฮ์ [ خلافية ]
หมายถึง ประเด็นความขัดแย้ง หรือความเห็นที่แตกต่างกันทางทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ในเรื่องหุคุมทางชะเร๊าะอฺ ซึ่งสาเหตุแห่งความขัดแย้งนั้น อาทิเช่น การยอมรับบางทฤษฎีเพื่อใช้เป็นแหล่งที่มาทางกฎหมายต่างกัน, ระดับความเข้าใจและโอกาสในการได้รับหลักฐานเพื่อประกอบการอิจติฮาดของแต่ละท่านนั้นแตกต่างกัน
ดู ฅิลาฟ, อุละมาอ์, หุคุม, ชะเร๊าะอฺ, อิจติฮาด

เฅาะลีฟะฮ์ [ خليفة ]
หมายถึง ประมุขทั้งทางโลกและทางศาสนาของอาณาจักร หรือประเทศอิสลาม ที่มีหน้าที่ในการนำเอากฎหมายอิสลามมาบังคับใช้เหนือประชาชนทุกคนภายใต้การปกครองของตน ซึ่งตำแหน่งนี้ได้มาจากสองวิธีการหลักๆ คือ (๑) ได้มาจากการลงมติเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้ทรงคุณวุฒิ วิธีการนี้ เรียกว่า การ "ชูรอ", หรือ (๒) ได้มาจากการแต่งตั้งของเฅาะลีฟะฮ์ก่อนหน้านี้
ดู ชูรอ, ฅุลาฟาอ์ อัรรอชิดีน
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:39 AM »
0
[ ช - ش ]

ชัรฏ์ [ شَرط ]
หรือมักจะออกเสียงเป็น ชะรัฏ (ชะร็อฏ), พหูพจน์คือ ชุรูฏ (شُروط) หมายถึง สิ่งที่เพราะมีมัน ค่าบังคับ (หุคุม) จึงเกิดขึ้นและในทางกลับกัน หากไม่มีมัน ค่าบังคับก็จะไม่เกิดขึ้นต่อสิ่งนั้นเช่นกัน ในภาษาไทยเรียกว่า เงื่อนไข นั่นเอง เช่น เพราะเข้าเวลาละหมาด (ฟัรฎู) การละหมาดจึงถูกบังคับให้ต้องกระทำและในทางกลับกัน ตราบใดที่เวลาละหมาดยังไม่เข้า การละหมาดก็จะยังไม่มีผลบังคับให้ต้องกระทำ เป็นต้น
ดู ข้อแตกต่างของชัรฏ์ (เงื่อนไข) กับรุคุน (องค์ประกอบ) ที่คำว่า “รุคุน”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:13 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:42 AM »
0
[ น - ن ]

นิคาหฺ [ نكاح ]
ในทางภาษาหมายถึง รวมกัน, มีเพศสัมพันธ์, การทำสัญญาสมรสต่อกัน, ส่วนในทางวิชาการหมายถึง การทำสัญญาต่อกันเพื่อให้การหยอกเย้า (มีเพศสัมพันธ์) ต่อกันเป็นที่อนุมัติ ซึ่งครอบคลุมไปยังเรื่องสิทธิและหน้าที่ต่อกัน อีกทั้งการช่วยเหลือต่อกันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งระหว่างทั้งสองนั้น จะต้องไม่ใช่มุห์ริมต่อกันตามเงื่อนไขที่ถูกกำหนดไว้
ดู มุนาคะห๊าต, ซิวาจ, มุห์ริม, อะก็อด

นั๊ศฺศ์ [ نصّ ]
หมายถึง ถ้อยคำที่บ่งชี้ถึงความหมายหนึ่งที่ไม่มีความหมายอื่น เป็นคำที่มีความหมายชัดเจนและมีความหมายเดียวเท่านั้น, ในภาษาไทยมักให้ความหมายว่า “ตัวบท”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:14 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:50 AM »
0
[ ม - م ]

มะหัร [ مَحَر ]
ในทางภาษาหมายถึง สินสอดที่ฝ่ายชายจะต้องมอบให้แก่ว่าที่ภรรยาของตน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงความคงมั่นต่อกัน ส่วนในทางวิชาการหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ฝ่ายชายจำเป็นจะต้องให้แก่ฝ่ายหญิง อันเนื่องจากการทำนิติกรรมสัญญาแต่งงาน (อะก็อด-นิคาหฺ) ต่อกัน และในฐานะค่าสินสอดเพื่อให้ฝ่ายหญิงเป็นที่อนุมัติแก่ฝ่ายชาย
ดู เศาะด๊าก, อะก็อด, นิคาหฺ

มุคัลลัฟ [ مُكلّف ]
หมายถึง บุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามเงื่อนไขทางกฎหมายอิสลาม อันได้แก่ เป็นมุสลิม, อากิล, บาลิฆ ดังนั้น เมื่อชาย หรือหญิงคนใด ครบเงื่อนไขดังกล่าวอย่างบริบูรณ์แล้ว จะถือว่านับแต่เวลานั้นเป็นต้นไป กฎเกณฑ์ต่างๆ จะทางกฎหมายอิสลามจะถูกบังคับใช้เหนือบุคคลผู้นั้นจนกระทั่งเขาเสียชีวิต หรือตราบใดที่บุคคลผู้นั้นยังอยู่ในภาวะที่ครบตามเงื่อนไขข้างต้นนี้
ดู ตัคลิฟ, มุสลิม, ากิล, บาลิฆ

มัครูฮฺ [ مَكروه ]
พหูพจน์คือ คะรอฮะฮ์ (كَراهة) หมายถึง สิ่งที่ถูกสัญญาว่า เมื่อผู้ใดกระทำมันก็จะไม่ได้รับบาปและการลงโทษแต่ประการใด แต่ถ้าหากละทิ้งมันก็จะรับผลบุญ อนึ่งสิ่งมัครูฮฺนั้น ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจตามหลักการศาสนา และสมควรละทิ้งเสีย เพราะหากมันมีในสิ่งใดก็ตาม มันก็จะเป็นตัวลดความสิริมงคล (บะเราะคะฮ์) และผลบุญที่ผู้กระทำจะได้รับจากสิ่งนั้นได้ และหากกระทำเป็นประจำ ก็อาจกลายเป็นสิ่งหะรอม (ต้องห้าม) ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ตามทัศนะของมัฑฮับหะนะฟีย์ได้แบ่งมัครูฮฺออกเป็น ๒ ประเภทคือ มัครูฮฺประเภทตันซีฮฺ (تَنْزِيْه) และตะห์รีม (تَحْرِيْم)
ดู มัครูฮฺ-ตะห์รีม, มัครูฮฺ-ตันซีฮฺ และดูข้อแตกต่างระหว่าง “มัครูฮฺตะห์รีม” กับ “หะรอม” ที่คำว่า มัครูฮฺ-ตะห์รีม

มุบาห [ مُباح ]
หมายถึง สิ่งที่ถูกสัญญาว่า แม้จะกระทำหรือไม่กระทำมัน ก็จะไม่ได้รับผลบุญหรือบาปและการลงโทษใดๆ นั่นก็คือ การกระทำ หรือสิ่งทางโลกที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่ได้ผิดหลักการศาสนา อาทิเช่น การขับรถยนต์, การรับประทานที่ภัคตาคาร, การจับจ่ายซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อนึ่ง สิ่งมุบาหฺนั้นสามารถที่จะผันค่าบังคับของมันไปเป็นหนึ่งในค่าบังคับทั้งสี่ที่เหลือได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ไม่มีอิทธิพลจากปัจจัยอื่นบังคับให้มันต้องผันค่าบังคับเป็นอย่างอื่น เช่น ปัจจัยความจำเป็น (เฎาะรูเราะฮ์), ปัจจัยสิ่งแวดล้อมหรือบริบท (เกาะรีนะฮ์) เป็นต้น ตัวอย่างที่เรื่องนี้เช่น การมีนาฬิกา ที่แต่เดิมจะมีหรือไม่มีก็ได้ ศาสนาไม่ได้สั่งหรือห้ามครอบครองแต่อย่างใดไม่ แต่ทว่า นายลีย์นั้นได้ทำงานในบริษัทและจำเป็นต้องอยู่แต่ในอาคารที่ทำงานที่มีการปิดผนังอย่างมิดชิด ทำให้ไม่อาจทราบเวลากี่โมงกี่ยามได้นอกจากจะต้องอาศัยการดูเวลาจากนาฬิกาเท่านั้น ซึ่งรวมไปถึงเวลาละหมาดฟัรฎูด้วย ดังนั้น จากค่าบังคับเดิมที่การมีนาฬิกา จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ (มุบาหฺ) นั้น จะผันค่าบังคับไปเป็นวาญิบ (จำเป็น) ทันที เพราะมีปัจจัยความจำเป็นบังคับอยู่ นั่นก็คือ การละหมาดฟัรฎู เพราะการละหมาดฟัรฎูจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเข้าเวลาของมัน และการที่จะรู้เวลาข้าวของมันก็ได้ ตามกรณีของนายลีย์นั้นต้องอาศัยนาฬิกาเท่านั้น ดังนั้น สำหรับนายลีย์นั้น การมีนาฬิกาจึงเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) สำหรับเขาไปโดยปริยาย เป็นต้น
ดู เพิ่มเติมในหลักเกาะวาอิดฟิกฮฺในเรื่องนี้จากทฤษฎีที่ว่า “มาลายะติมมุลวาญิบ อิลลาบิฮี ฟะฮุวะวาญิบ”

มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ [ محمد ابن عبدالوّهاب ] ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์
ชื่อเต็มและสายตระกูลของท่านคือ มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮ์ฮาบ บิน สุลัยมาน บิน อลีย์ บิน มุหัมมัด บิน อะห์มัด บิน เราะชีด บิน บะรีด บิน มุหัมมัด บิน อัลมุชาริฟ, อัตตะมีมีย์, อัลหันบะลีย์, อันนัจดีย์ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ชัยฺค์มุหัมมัด บิน อับดิลวะฮ์ฮาบ” ท่านมาจากตระกูลอัตตะมีมีย์ สังกัดมัฑฮับหันบะลีย์ เป็นชาวเมืองอุยัยนะฮ์ แคว้นอันนัจฺดิ์ (อยู่ในประเทศซาอุดิอารเบียปัจจุบัน) ท่านเกิดเมื่อ ฮ.ศ. 1115 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 เดือนเชาวาล ฮ.ศ. 1206 รวมอายุของท่านคือ 92 ปี บรรดาผู้ที่เลื่อมใสในแนวคิดและคำสอนของท่านนั้น ได้ยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักฟื้นฟูอิสลามของยุคใหม่ แนวคิดหลักของท่านในการฟื้นฟูอิสลามก็คือ ความต้องการและความพยายามในการกำจัดสิ่งอุตริกรรม (บิดอะฮ์) และการตั้งภาคี (ชิรฺก์) ต่ออัลลอฮฺในทุกรูปแบบออกจากสังคมมุสลิม และได้เรียกร้องให้ชาวมุสลิมนำตัวเองกลับคืนสู่ความบริสุทธิ์แห่งอิสลามเสียใหม่ พร้อมทั้งนำวิถีชีวิตของชนสะละฟุศศอลิหฺมาเป็นแบบอย่างของตนในทุกเรื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของท่านมักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และถูกตอบโต้จากภายนอกอยู่เสมอ แรงตอบโต้นั้นได้เกิดขึ้นตั้งแต่ในยุคของท่านเองและดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะมาจากมุสลิมด้วยกันเอง หรือผู้ที่มิใช่มุสลิมก็ตาม อนึ่ง การต่อต้านจากชาวมุสลิมที่มีต่อท่านนั้น ประเด็นหลักก็จะเป็นการตอบโต้ต่อความแข็งกระด้างของท่านในการแสดงออกต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ซึ่งพวกเขาวิจารณ์ว่า ท่านมีความเคร่งครัดในการตีความตัวบทกฎหมายอิสลามตามตัวอักษรที่ปรากฏจากคัมภีร์อัลกุรฺอานและอัสสุนนะฮ์มากจนเกินไป พร้อมทั้งไม่มีความครอบคลุมในการพิจารณาหลักฐานทางศาสนา เพื่อประกอบการวินิจฉัยปัญหาทางศาสนา นอกจากนี้ พวกเขายังวิจารณ์อีกว่า ท่านได้รับอิทธิพลทางความคิดในเรื่องอกีดะฮ์และคุณลักษณะต่างๆ (ศิฟาต) ของอัลลอฮฺมาจากชัยฺค์อิบนุ ตัยมียะฮ์มากเป็นพิเศษ ซึ่งตามทัศนะของกลุ่มที่ต่อต้านท่านนั้น พวกเขาได้ถือว่า หลักการยึดมั่น (อกีดะฮ์) ของชัยฺค์อิบนุ ตัยมียะฮ์นั้นไม่เป็นที่ยอมรับของบรรดาอุละมาอ์ ซ้ำยังถูกตอบโต้จากพวกเขาเหล่านั้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของท่านนั้น ก็ยังคงดำเนินเรื่อยต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันโดยบรรดาผู้ที่เลื่อมใสในตัวท่าน และบรรดาผู้ที่เลื่อมใสท่าน ก็ยังคงทำสืบสานเจตนารมณ์ของท่าน โดยไม่สนใจต่อแรงต่อต้านจากภายนอกแต่อย่างใด แต่ในขณะเดียวกัน บรรดาผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน ก็ยังคงมีการวิพากษ์วิจารณ์และตอบโต้แนวคิดของท่านต่อไป จนบางครั้งดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายจะหาข้อสรุปร่วมกันได้ยากมาก ดังนั้น เราในฐานะมุสลิม ที่ได้ชื่อว่าเป็นพี่น้องกัน ก็ขอได้โปรด “แสดงความเป็นพี่น้องต่อกัน” เถิด อย่าได้ประหัตประหารต่อกันด้วยคำพูดที่ยังไม่ประโยชน์ใดๆ เลย อามีน 
ดู วะฮาบีย์

มุห์ริม [ مُحرِم ]
หมายถึง บุคคลที่กฎหมายอิสลามห้ามแต่งงานด้วย อันเนื่องด้วยมีความสัมพันธ์กันทางครอบครัว หรือสายตระกูล ไม่ว่าจะโดยสายเลือด หรือโดยการแต่งงานก็ตาม และยังรวมไปถึงการดื่มนมจากแม่นมด้วย ซึ่งครอบครัวและสายตระกูลของแม่นมนั้น จะถือเป็นมุห์ริมสำหรับผู้ที่ดื่มนมจากนางด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:46 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:53 AM »
0
[ ว - و ]

วลีย์ [ وليّ ]
ทางภาษาหมายถึง ผู้นำ ผู้มีอำนาจ, ผู้พิทักษ์, ผู้ช่วย หรือมิตรสหายที่ใกล้ชิด ส่วนในทางวิชาการตามความหมายหนึ่งของมันก็คือ ข้อกำหนดหนึ่งทางกฎหมายที่สามารถใช้บังคับเหนือบุคคลอื่นได้ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายของมัน
ดู “วลีย์” ในความหมายอื่น เมื่อมันอยู่กับคำอื่น

วะฮาบีย์ [ وهّابيّ ] ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์
หรือกลุ่มสะละฟีย์ หมายถึง กลุ่มที่เคลื่อนไหวทางศาสนาอิสลามกลุ่มหนึ่งที่มีความพยายามในการขจัดอุตริกรรม (บิดอะฮ์) และการตั้งภาคี (ชิรฺค์) ต่ออัลลอฮฺ กลุ่มนี้เกิดขึ้นที่แหลมอารเบีย เมื่อราวศตวรรษที่ ๑๒ แห่งฮิจเราะฮ์ ก่อนการสถาปนาราชอาณาจักรซาอุดิอารเบียและก่อนการล่มสลายของอาณาจักรอุษมานียะฮ์ ซึ่งริเริ่มโดยท่านชัยฺค์มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ (ฮ.ศ. 1115-1206) ชาวเมืองนัจฺดิ์ ประเทศซาอุดิอารเบียปัจจุบัน และคำว่า "วะฮาบีย์" นั้นเป็นชื่อที่พาดพิงยังคำว่า "วะฮ์ฮาบ" จากชื่อบิดาของท่านคือ "อับดุลวะฮ์ฮาบ", แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้ไม่ชอบที่จะให้ผู้อื่นเรียกกลุ่มตนว่า วะฮาบีย์ เพราะพวกเขาให้เหตุผลว่า ชื่อดังกล่าวเป็นการพาดพิงที่ผิดบุคคลและชื่อดังกล่าวยังเป็นการกล่าวหาพวกตนเพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจว่าพวกตนคือพวกเดียวกันกับกลุ่มของ ซึ่งแนวคิดในเรื่องอกีดะฮ์และฟิกฮฺของกลุ่มนี้นั้น ส่วนใหญ่จะอ้างอิงไปยังทัศนะของท่านอิมามอะห์มัด อิบนุ หัมบัล, ชัยคุลอิสลาม, อิบนุ ตัยมียะฮ์ และลูกศิษย์ของท่านคือ ชัยฺค์อิบนุ ก็อยยิม เป็นหลัก และยึดการอรรถาธิบายปัจจุบัน กลุ่มนี้ยังคงมีบทบาททางสังคมอย่างมากในการฟื้นฟูหลักการอิสลามสู่ความบริสุทธิ์อย่างที่มันเคยเป็นมา แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้ก็มักจะถูกวิจารณ์จากภายนอกว่า มีความเคร่งครัดในการตีความตัวบทกฎหมายอิสลามจากคัมภีร์อัลกุรฺอานและอัสสุนนะฮ์ให้เป็นไปความหมายผิวเผินของมันเป็นสำคัญ ทำให้เกิดความแข็งกระด้างเกินไปในการแสดงออกต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกันที่ไม่ได้มีทัศนะเดียวกันตน และแนวคิดที่โดดเด่นของกลุ่มนี้ก็คือ ทุกสิ่งย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่หลงทางและตกนรก หากไม่ปรากฏว่านบีย์ ศ็อลฯ เคยกระทำสิ่งนั้นมาก่อน แต่เรื่องนี้ ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และตอบโต้อย่างหนักหน่วงเช่นกัน จากผู้ที่มีทัศนะว่าไม่ใช่ทุกบิดอะฮ์ที่หลงทางและตกนรก, รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ โปรดดูที่คำว่า “บิดอะฮ์” 
ดู มุหัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮ์ฮาบ, อะห์มัด อิบนุ หัมบัล, อิบนุ ตัยมียะฮ์, อิบนุ ก็อยยิม, ชัยคุลอิสลาม

วาญิบ [ واجب ]
พหูพจน์คือ วุญูบ (وُجُوب) หมายถึง สิ่งที่ถูกสัญญาว่า เมื่อผู้ใดกระทำมันก็จะรับผลบุญ แต่ถ้าผู้ใดละทิ้งมันก็จะได้รับบาปและการลงโทษ อาทิเช่น การละหมาดฟัรฎู ๕ เวลา การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนทั้งเดือน, การจ่ายซก๊าตฺฟิฏเราะฮ์และประเภทอื่นๆ เมื่อครบพิกัดของมันในรอบปี, การประกอบพิธีหัจญิ์ที่มหานครมัคคะฮ์ เป็นต้น
ดู ข้อแตกต่างของระหว่าง “วาญิบ” กับ “ฟัรฎู” ที่คำว่า ฟัรฎู
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:28 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:55 AM »
0
[ ส - س ]

สุนนะฮ์ [ سنة ]
พหูพจน์คือ สุนัน (سُنَنٌ) ตามคำนิยามของวิชานิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮฺ) หมายถึง สิ่งที่ถูกสัญญาว่า เมื่อผู้ใดกระทำมันก็จะรับผลบุญ แต่ถ้าผู้ใดละทิ้งมันก็จะไม่ได้รับบาปและการลงโทษแต่ประการใด อาทิเช่น การละหมาดสุนนะฮ์, การถือศีลอดสุนนะฮ์, การทำทาน (เศาะดะเกาะฮ์), การทำอุมเราะฮ์ เป็นต้น
ดู ข้อแตกต่างของคำว่า “สุนนะฮ์” ระหว่างคำนิยามตามวิชาฟิกฮฺกับวิชาหะดีษ
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 11:56 AM »
0
[ ห - ح ]

หะรอม [ حرام ]
หมายถึง สิ่งที่ถูกสัญญาว่า เมื่อผู้ใดกระทำมันก็จะรับบาปและการลงโทษ แต่ถ้าหากผู้ใดละทิ้งมันก็จะรับผลบุญ อาทิเช่น การดื่มสุรา, การผิดประเวณี (ซินา), การฆ่าตกรรม, การก่ออาชญากรรม, การขโมยและปล้นทรัพย์, การพ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม (ริดดะฮ์ หรือมุรตัด), การก่อกบฏต่อรัฐอิสลามที่ทรงคุณธรรม, การอตัญญูต่อบุพการี ฯลฯ
ดู ดูข้อแตกต่างระหว่าง “มัครูฮฺ-ตะห์รีม” กับ “หะรอม” ที่คำว่า มัครูฮฺ-ตะห์รีม

หิกมะฮ์ [ حكمة ]
หรือบางครั้งก็ออกเสียงว่า “หิกมัต” หมายถึง ความฉลาดหลักแหลม ความพิเศษ สิ่งดีที่ถูกซ่อนเร้น หรือเคล็ดลับที่มีอยู่ในสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งถูกประทานมาจากอัลลอฮฺแก่บุคคล หรือสิ่งๆ หนึ่ง อนึ่ง การให้ความหมายของคำว่า “หิกมะฮ์”  ในภาษาไทยนั้น บ้างก็ให้ความหมายว่า “วิทยปัญญา”, บ้างก็ให้ว่า “เคล็ดลับ”, แต่ในความหมายแรก ถือเป็นความหมายที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:31 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 12:04 PM »
0
[ อ - أ ]

อิจติฮาด [ إجتهاد ]
หมายถึง การวินิจฉัยประเด็นปัญหาหนึ่งทางศาสนา โดยอาศัยหลักฐานจากแหล่งที่มาทางศาสนาอันเป็นที่ยอมรับกัน ซึ่งผู้ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยนั้นจะเรียกว่า "มุจตะฮิด"
ดู แหล่งที่มาทางศาสนา, มุจตะฮิด

อัล-อะชาอิเราะฮ์ [ الأشاعرة ] ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์
หรือบ้างก็เรียกว่า “อัล-อัชะรียะฮ์” หมายถึง กลุ่มที่เคลื่อนไหวทางศาสนาอิสลามกลุ่มหนึ่งที่ริเริ่มโดยท่านลีย์ บิน อิสมาอีล (หรืออบีย์บะชัร) บิน อิสหาก บิน สาลิม บิน อิสมาอีล บิน อับดิลลาฮฺ บิน มูสา บิน อบีย์บุรดะฮ์ บิน อบีย์มูสา อัลอัชอะรีย์ หรือที่รู้จักกันในนาม “อิมามอบู อัลหะสัน อัลอัชะรีย์” (เกิดปี ฮ.ศ. 260) ท่านสืบเชื้อสายมาจากท่านอบีย์มูสา อัลอัชะรีย์ เศาะหาบะฮ์ท่านหนึ่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะอุละมาอ์อาวุโสท่านหนึ่งในสาขาะกีดะฮ์ (หลักยึดมั่น) และถือเป็นอุละมาอ์สำคัญท่านหนึ่งที่ทำการเปิดโฉมหน้าที่แท้จริงของพวกบิดะฮ์มุอ์ตะซิละฮ์ เหตุการณ์ครั้งนั้น ได้รับการบันทึกไว้ในหนังสืออะกีดะฮ์และประวัติศาสตร์มากมาย เช่นในหนังสือ อัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์, เล่ม 11 หน้า 139 ของอิมามอิบนุ กะษีร อัชชาฟิอีย์ ซึ่งถ่ายทอดจากท่านอิบนุ เฅาะลิคันไว้ว่า “ท่านอบุลหะสัน อัลอัชะรีย์เคยนั่งร่วมในวงมัจลิสของท่านชัยฺค์อบีย์อิสหาก อัลมัรวะซีย์, และอิมามอัลอัชะรีย์นั้นเป็นมุอ์ตะซิละฮ์ ซึ่งต่อมาท่านได้กลับตัวจากแนวทางดังกล่าวบนแท่นเทศนา (มิมบัร) ของมัสญิดกลางแห่งเมืองบัศเราะฮ์ พร้อมกับกล่าวถึงความสกปรกและข้อผิดพลาดของกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ด้วย” 
ดู อบู อัลหะสัน อัลอัชะรีย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:33 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 12:05 PM »
0
- ع ]

อิลละฮ์ [ علّة ]
หมายถึง เหตุผล หรือเจตนารมณ์ในการบัญญัติกฎเกณฑ์หนึ่งๆ ทางกฎหมายอิสลาม, ซึ่งอิลละฮ์นั้น ถือเป็นเงื่อนไข (ชัรฺฏ์) หนึ่งที่สำคัญในทฤษฎีการกิยาส
ดู ชัรฺฏ์, กิยาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:39 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: Encyclopedia Islam (สารานุกรมอิสลาม)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ม.ค. 04, 2010, 12:48 PM »
0
คำศัพท์ที่ยังไม่ได้บรรจุในสารานุกรมอิสลาม: คุลาฟาอ์ อัรรอชิดีน, ชะเร๊าะอฺ, ชูรอ, ชัยคุลอิสลาม, ฟิกฮฺ, ตักลิฟ, เฏาะล๊าก, รอจอะฮ์, มุจตะฮิด, มุตอะฮ์, มุนากะห๊าต, มุอ์ตะซิละฮ์, ศอรีอะฮ์, เศาะด๊าก, วลีมะฮ์, หุคุม, แหล่งที่มาทางศาสนา, อุละมาอ์, อะก็อด, อะห์มัด อิบนุ หัมบัล, อิบนุ ตัยมียะฮ์, อิบนุ ก็อยยิม, ซิวาจญ์, ซุกนา, นัฟเกาะฮ์, นาซิส, อัลคุ๊ลอุ, อัลอิกรอฮ์, อิสติสนาอ์, อิดดะฮ์, ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 04, 2010, 12:50 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged