ผู้เขียน หัวข้อ: ปลอบใจคนที่กำลังผิดหวังและท้อแท้ (บทเรี่ยนฮิกัมตอนที่ 1)  (อ่าน 4339 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

คุณลักษณะของดุนยา

لاَ تَسْتَغْرِبْ وُقُوْعَ الأَكْدَارِ، مَادُمْتَ فِيْ هَذِهِ الدَّارِ، فَإِنَّهَا مَا أَبْرَزَتْ إِلَّا مَا هُوَ مُسْتَحَقُّ وَصْفِهَا وَوَاجِبُ نَعْتِهَا

“ท่านอย่าคิดว่าเป็นเรื่องแปลกที่มีความขุ่นมัว (ของดุนยา) เกิดขึ้นตราบที่ท่านยังคงพำนักอยู่ในโลกนี้  เพราะแท้จริงที่พำนักแห่งนี้  จะไม่เผยให้เห็นนอกจากสิ่งที่สมควรเป็นคุณลักษณะของดุนยาและสิ่งที่จำเป็นต้องเป็นคุณลักษณะของดุนยา(อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น)”

ความหมายสรุป

คำว่า “อัลอักดาร” الأَكْدَارُ “บรรดาความขุ่นมัว”  หมายถึง  “ทุกสิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นมัวหรือมัวหมองในจิตใจ และทำให้มีความยากลำบากและมีความเจ็บปวด” ตราบใดที่ท่านคงมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยาแห่งนี้  ท่านก็อย่าแปลกใจไปเลยที่มีสิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นมัวแก่จิตใจของท่าน  เช่น  มีความยากลำบาก  มีความเหน็ดเหนื่อย  ต้องทุ่มเทความพยายาม  มีสิ่งยั่วยวน  ทำให้มีความเพลิดเพลิน  และชักนำสู่การหลงลืมอัลเลาะฮ์  เพราะสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกดุนยา  ก็จะมีคุณลักษณะหรือเอกลักษณ์ของความเป็นดุนยาควบคู่กันไป  ดังนั้นท่านต้องทุ่มเทความพยายามในการปฏิบัติตามสิ่งที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงสั่งใช้  และระวังคุณลักษณะต่างๆ ของดุนยาที่อาจจะทำให้ห่างไกลจากพระองค์

อธิบายและวิเคราะห์

ฮิกัมนี้ได้ยืนยันถึงความเป็นจริงที่สามารถเห็นด้วยตาของเรา  จึงไม่จำเป็นที่จะต้องหยิบยกหลักฐานต่างๆ มายืนยันถึงข้อเท็จจริงของฮิกัมที่ท่านอิบนุอะฏออิล-ลาฮ์ได้กล่าวไว้นี้
แต่เหตุใดอัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงกำหนดให้ดุนยาแห่งนี้  เต็มไปด้วยความขุ่นมัวและความเหน็ดเหนื่อย  บางครั้งความสุขที่ได้รับในดุนยาก็จะเจือปนไปด้วยความโศกเศร้า  และยามค่ำคืนที่แสนสุขสบายของดุนยาก็จะถูกคุกคามด้วยความวิตกกังวลที่ซ่อนเร้นอยู่

คำตอบคือ: อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงมีวิทยปัญญาที่ชัดเจนในสิ่งดังกล่าว  ซึ่งเราจะขอหยิบยกข้อเท็จจริง 2 ประการ

ข้อเท็จจริงที่ 1: อัลเลาะฮ์ทรงทำให้ดุนยาแห่งนี้เป็นสถานที่มีข้อบังคับ التكليف “ตักลีฟ” ยิ่งกว่านั้นพระองค์ยังทำให้ดุนยาเป็นสนามแห่งการทดสอบอีกด้วย ดังที่เราทราบมาแล้วว่า ภารกิจสำคัญที่มนุษย์ถูกบัญญัติให้ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในโลกดุนยาแห่งนี้ก็คือ  การทำอิบาดะฮ์ที่แสดงออกถึงความเป็นทาสบ่าวผู้ต่ำต้อยที่มนุษย์ใช้สติปัญญามาเลือกเฟ้น  ตัดสินใจ  และทุ่มเทในการปฏิบัติสิ่งที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงสั่งใช้

หากสมมุติว่า  การดำรงชีวิตที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาให้ดำเนินอยู่นั้น  มีแต่ความสุขสบายไร้ความขุ่นมัว  ชีวิตมีแต่ความสุขสำราญไร้ความวิตกกังวล  เมื่อเขาหันไปทางไหนก็จะพบกับความสดชื่นและจิตใจเบิกบาน  และไม่ว่าเขาจะเคลื่อนไหวไปไหนก็จะพบว่าตัวเขาอยู่ในท่ามกลางความสุขสำราญ  แล้วการปฏิบัติหรือสนองคำสั่งใช้ของอัลเลาะฮ์ในแง่มุมไหนกัน  ที่แสดงถึงความเป็นทาสบ่าวของมนุษย์ที่ต่ำต้อย?

ดังนั้นการแสดงถึงความเป็นทาสบ่าวที่ต่ำต้อยนั้น  เป็นผลมาจากการ “มีข้อบังคับ” หรือ “ตักลีฟ” ซึ่งต้องอยู่พร้อมกับความยากลำบากและการทุ่มเท  ถ้าหากดุนยานี้มีแต่ความสุขสบายไร้ความวิตกกังวล  แล้วภาระหน้าที่และการทุ่มเทในการประกอบสัมมาอาชีพและปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮ์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ทั้งที่ท่านทราบมาแล้วว่า  การขอดุอานั้นเป็นอิบาดะฮ์  และท่านก็ทราบมาแล้วว่า  การขอดุอานั้นเป็นผลมาจากความต้องการและขอที่พึ่งยังอัลเลาะฮ์อันเนื่องมาจากเขากลัวความเจ็บป่วยและภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น  ดังนั้นถ้าหากเขาไม่มีความกลัวในสิ่งดังกล่าว  เพราะเชื่อว่าเขาจะดำรงชีวิตอยู่บนความสุขสบาย  เขาก็จะไม่ยื่นมือวิงวอนต่ออัลเลาะฮ์ให้รอดพ้นจากสิ่งดังกล่าวอย่างแน่นอน
ดังนั้นสภาวะการดำเนินชีวิตที่มีแต่ความสุขสบายไร้ความทุกข์และความวิตกกังวล  พร้อมกับมีสภาวะการทดสอบด้วยการมีบทบัญญัติบังคับใช้ต่างๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาแก่ปวงบ่าวไปพร้อมๆ กันนั้น  ถือว่าเป็นสองสภาวะที่ค้านกันเองอย่างชัดเจนตามทัศนะของผู้มีสติปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงเท่านั้น

แต่ความเป็นจริง การวางบทบัญญัติบังคับของพระเจ้านั้นถูกถักทอด้วยสายเชือก 2 เส้นด้วยกัน  คือสายเชือกแห่งความอดทน (ซอบัร) และสายเชือกแห่งความกตัญญูรู้คุณ (ชุโกร)  ทั้งสองเส้นนี้จะทำให้ปรากฏถึงความเป็นทาสบ่าวที่มีต่ออัลเลาะฮ์

กล่าวคือสายเชือกแห่งความอดทนนั้น  จะนำมาใช้ในขณะที่เกิดความลำบาก  มีภัยพิบัติ  และมีความเจ็บป่วย  ในขณะที่การกตัญญูรู้คุณ (ชุโกร) จะนำมาใช้ในขณะที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานความอำนวยสุขแก่มนุษย์  ดังนั้นการดำเนินชีวิตแห่งการตักลีฟที่มีข้อบทบัญญัติมาบังคับใช้นั้นควรผสมผสานกันระหว่างทั้งสองนี้

ดังนั้นอัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงเตือนให้เราตระหนักว่า  การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกดุนยานี้ต้องเผชิญทั้งความสุขและทุกข์คละเคล้ากันไป

ดังที่อัลเลาะฮ์ตะอาลทรงตรัสยืนยันไว้ว่า

لَتُبْلَوُنَّ فِي أَمْوَالِكُمْ وَأَنفُسِكُمْ وَلَتَسْمَعُنَّ مِنَ الَّذِينَ أُوتُواْ الْكِتَابَ مِن قَبْلِكُمْ وَمِنَ الَّذِينَ أَشْرَكُواْ أَذًى كَثِيراً وَإِن تَصْبِرُواْ وَتَتَّقُواْ فَإِنَّ ذَلِكَ مِنْ عَزْمِ الأُمُورِ

“แน่นอนยิ่งพวกเจ้าจะถูกทดสอบในทรัพย์สมบัติของพวกเจ้าและในตัวของพวกเจ้า  และแน่นอนยิ่งพวกเจ้าจะได้ยินบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อนหน้าพวกเจ้าและบรรดาผู้มีภาคีขึ้น(แก่อัลเลาะฮ์) ซึ่งได้การก่อความเดือดร้อนอันมากมาย  และหากพวกเจ้าอดทนและยำเกรงแล้ว  แท้จริงนั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่เด็ดเดี่ยว” [อาลิอิมรอน: 186]

พระองค์ทรงตรัสว่า

وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ بِشَيْءٍ مِّنَ الْخَوفْ وَالْجُوعِ وَنَقْصٍ مِّنَ الأَمَوَالِ وَالأنفُسِ وَالثَّمَرَاتِ وَبَشِّرِ الصَّابِرِينَ الَّذِينَ إِذَا أَصَابَتْهُم مُّصِيبَةٌ قَالُواْ إِنَّا لِلّهِ وَإِنَّـا إِلَيْهِ رَاجِعونَ أُولَـئِكَ عَلَيْهِمْ صَلَوَاتٌ مِّن رَّبِّهِمْ وَرَحْمَةٌ وَأُولَـئِكَ هُمُ الْمُهْتَدُونَ

“แน่นอน  เราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว  และความหิวและความสูญเสีย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ  ชีวิต  และพืชผล  และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด  คือบรรดาผู้ที่เมื่อมีเคราะห์ร้ายมาประสบแก่พวกเขา  พวกเขาก็กล่าวว่า  แท้จริงพวกเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์  และแท้จริงพวกเราจะกลับไปยังพระองค์  ชนเหล่านั้นแหละพวกเขาได้รับคำชมเชยและการเอ็นดูเมตตาจากพระเจ้า ของพวกเขาและชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่ได้รับข้อแนะนำอันถูกต้อง” [อัลบะกอเราะฮ์: 155-157]

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَجَعَلْنَا بَعْضَكُمْ لِبَعْضٍ فِتْنَةً أَتَصْبِرُونَ وَكَانَ رَبُّكَ بَصِيراً

“และเราได้ทำให้บางคนในพวกเจ้าเป็นการทอดสอบแก่อีกบางคน  เพื่อดูว่าพวกเจ้าจะอดทนไหมและพระเจ้า ของเจ้านั้นทรงเห็นยิ่ง” [อัลฟุรกอน: 20]

นอกจากนี้ยังมีการทดสอบมนุษย์ด้วยกับมนุษย์อีกเช่นกัน คือ การโต้เถียงกันและสร้างความเดือดร้อนต่อกัน  ในขณะที่คนรวยจะถูกทดสอบจากบรรดาคนยากจนว่าเขาจะช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นหรือไม่ คนยากจนก็จะได้รับการทดสอบจากบรรดาคนร่ำรวยว่าเขาจะอดทนต่อการถูกทอดทิ้งและหมางเมินจากพวกเขาเหล่านั้นหรือไม่?

อัลกุรอานได้อธิบายไว้อย่างรวบรัดว่าทั้งชีวิตของมนุษย์นั้นคือการทดสอบ พระองค์ทรงตรัสไว้ความว่า

تَبَارَكَ الَّذِي بِيَدِهِ الْمُلْكُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلاً وَهُوَ الْعَزِيزُ الْغَفُورُ

“ความจำเริญจงมีแด่พระผู้ซึ่งกรรมสิทธิ์การปกครองอยู่ในอำนาจของพระองค์และพระองค์คือผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกๆ สิ่ง  พระผู้ทรงบันดาลความตายและการมีชีวิต  เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า  ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง  และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ  ผู้ทรงอภัยให้เสมอ” [อัลมุลกฺ: 2]

เมื่อประจักษ์ชัดแก่ท่านแล้วว่า  โลกดุนยาคือสถานที่ที่เต็มไปด้วยข้อบังคับและการทดสอบ  แน่นอนท่านก็จะรู้แจ้งได้ทันทีว่า  โลกหน้านั้นเป็นสถานที่แห่งการตอบแทน  ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองนี้  อัลกุรอานได้ยืนยันไว้ว่า

وَنَبْلُوكُم بِالشَّرِّ وَالْخَيْرِ فِتْنَةً وَإِلَيْنَا تُرْجَعُونَ

“และเราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความลำบากและความสุขสบายและพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปยังเรา(เพื่อรับการตอบแทน) อย่างแน่นอน” [อัลอัมบิยาอฺ: 35]

ข้อเท็จจริงที่ 2: ลักษณะในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นถูกจำกัดด้วยเวลาที่เฉพาะ  ซึ่งก็คือช่วงเวลาของการทดสอบที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงกำหนดไว้แก่ปวงบ่าว  และพระองค์ก็ทรงกำหนดประตูที่มนุษย์ต้องผ่านการดำเนินชีวิตในโลกดุนยานี้ไปสู่ชีวิตหลังความตาย (บัรซัก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มชีวิตในโลกหน้า  ประตูที่ว่านี้นั้นก็คือประตูแห่งความตายนั่นเอง!  ดังนั้นความตายก็คือวาระสุดท้ายของทุกๆ ชีวิตในโลกนี้  ซึ่งความตายนั้นไม่ใช่สภาวะแห่งการไม่มีหรือดับสูญว่างเปล่าตามที่มนุษย์บางส่วนเข้าใจ  แต่ทว่าความตายนั้นคือการเคลื่อนย้ายการมีชีวิตหนึ่งไปสู่การมีชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

ฉะนั้นมุอฺมินต้องตระหนักอยู่เสมอว่า  ดุนยานี้เป็นสถานที่แห่งการทดสอบ  ความสุขในโลกดุนยาที่ไม่จีรังนี้ไม่กว้างขวางพอที่จะตอบแทนบรรดาผู้ศรัทธา  ดังที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสถึงตัวตนของดุนยาไว้ว่า

قُلْ مَتَاعُ الدَّنْيَا قَلِيلٌ وَالآخِرَةُ خَيْرٌ لِّمَنِ اتَّقَى وَلاَ تُظْلَمُونَ فَتِيلاً

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)สิ่งอำนวยสุขแห่งโลกนี้นั้นเล็กน้อยเท่านั้น  และปรโลกนั้นดียิ่งกว่าสำหรับผู้ที่ยำเกรง  และพวกเจ้าจะไม่ถูกอธรรมแม้เท่าขนาดร่องเมล็ดอินทผลัม” [อันนิซาอฺ: 77]

ดังนั้นเมื่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงให้ความสุขอันน้อยนิดแก่เราในดุนยา เราก็ต้องชุโกร และหากพระองค์ทรงทดสอบเราด้วยความเจ็บป่วยและความลำบากยาก แค้น  เราก็ต้องอดทน  ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามทั้งสิ้นสำหรับผู้ที่มีความศรัทธา  เพราะท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

يَا عَجَباً لِأَمْرِ الْمُؤْمِنِ ، إِنَّ أَمْرَهُ كُلَّهُ لَهُ خَيْرٌ ، لَيْسَ ذَلِكَ لِأَحَدٍ إِلاَّ الْمُؤْمِنَ. إِنْ أَصَابَتْهُ سَرَّاءُ شَكَرَ فَكَانَ خَيْراً لَهُ، وَإِنْ أَصَابَتْهُ ضَرَّاءُ صَبَرَ ، فَكَانَ خَيْراً لَهُ.

“ฉันแปลกใจสำหรับภารกิจของผู้ศรัทธา  เพราะแท้จริงภารกิจของเขาทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ดีงามทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งดังกล่าวไม่มีให้แก่ผู้ใดนอกจากผู้ศรัทธาเท่านั้น คือหากความสุขสบายมาประสบแก่เขา เขาก็จะชุโกร ดังนั้นการชุโกรจึงเป็นสิ่งที่ดียิ่งแก่เขา และถ้าหากความเลวร้ายมาประสบแก่เขา  เขาก็จะอดทน  ดังนั้นการอดทนจึงเป็นสิ่งที่ดียิ่งแก่เขา”  รายงานโดยมุสลิม

ดังนั้นบทสรุปของฮิกัมนี้  ก็คือท่านอิบนุอะฏออิลลาฮ์พยายามที่จะให้เรารู้จักถึงคุณลักษณะของดุนยาเพื่อให้ตระหนักคิดว่าดุนยานี้เป็นสถานที่ในการทดสอบและถูกสร้างมาเพื่อปฏิบัติภาระหน้าที่ที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงกำหนดให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์นั่นเอง

วัลลอฮุอะลัม

โปรดอ่านต่อที่ :

ปลอบใจคนที่กำลังผิดหวังและท้อแท้ (บทเรี่ยนฮิกัม2)

ปลอบใจคนที่กำลังผิดหวังและท้อแท้ (บทเรี่ยนฮิกัม3)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 26, 2010, 07:24 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
ตะเซาวุฟคือวิชาที่ทำให้จิตใจคนขับเคลื่อนเข้าหาอัลลอฮ์และเห็นสภาพจริงที่เกิดขึ้น  
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ al-kudawah

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 234
  • Respect: +48
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

มุสลิมอยุทธยาบางท่านถามว่า  ทำไมอัลเลาะฮ์ถึงให้น้ำท่วมถึงขนาดนี้?  ตอบ  ตามบทความของกระทู้เลย  loveit:
สั่งซื้อหนังสืออัลฮิกัมโดยตรงหรือทางไปรษณีย์หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย  ติดต่อได้ที่สถาบันอัลกุดวะฮ์ 02-9343369 หรือ 08-29613974

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
หลังฝนตกฟ้าย่อมใสอยู่เสมอ
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ abufarisy

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 16
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
หลังฝนตกฟ้าย่อมใสอยู่เสมอ

บางทีหลังฝนตก ก้อจะมีฝนตกมาอีกเรื่อย ๆ.....  นับเป็นความโปรดปรานแห่งอัลเลาะห์ต่อปวงบ่าวของพระองค์ .

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ  และข้อคิดเตือนใจ  จากท่าน al-azhary 

เพื่อปลอบใจต่อผู้ที่กำลังผิดหวังและท้อแท้  ...... ญ่าซากั้ลลอฮู่คอยร่อนญ่าซาอ์    loveit:

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

...ฝนไม่ได้ตกทุกวัน...

และ

...ถ้าไม่มีฝน เมล็ดพันธุ์จะงอกมาจากผืนดินที่แห้งแตกและแข็งกระด้างได้อย่างไร...
...บททดสอบก็เช่นนั้น...

 loveit:

วัสสลามค่ะ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ abiatiya

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 316
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
    • Nurul Islam Patong
:salam:

...ฝนไม่ได้ตกทุกวัน...
และ
...ถ้าไม่มีฝน เมล็ดพันธุ์จะงอกมาจากผืนดินที่แห้งแตกและแข็งกระด้างได้อย่างไร...
...บททดสอบก็เช่นนั้น...

 loveit:
วัสสลามค่ะ

waawww เทียบได้ลึกซึ้งครับ ... ..  loveit:  loveit:
(\__/)
(='.'=) ไม่มีอะไรสายเกินกว่า 8 โมงเช้า...
(")_(")

ออฟไลน์ gameet

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 26
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อ่านแล้วรู้สึกสบายใจขึ้นมาก ขอบคูณท่านอาจารย์ทีสรรหาสิ่งดีๆมาให้ เพราะตั้งแต่ผมได้อ่านอิกัมทั้งเล่ม1 และ2 รู้สึกดีขึ้นมาก และถ้าเป็นไปได้อยากให้อาจารย์พิมพืหนังสือดีๆมาอีกนะครับ

 

GoogleTagged