salam
อยู่ในลานเฏาะวาฟ หันไปทางทิศไหนก็ได้ ถ้ากะอฺบะฮฺอยู่ข้างหน้าเรา แต่บางครั้งก็กะอฺบะฮไม่ได้อยู่ข้างหน้าเราเสมอไป
หญิงกลางคนคนหนึ่ง น่าจะเป็นชาวเยเมนหรือเลบานอน (ชัยคฺบอก) หลังจากเฏาะวาฟเสร็จ ก็มาละหมาด หันหน้าเข้ามะกอมอิบรอฮีม
แต่หันหลังให้กะอฺบะฮฺ ตำรวจซาอุ ใส่โต๊ปขาว ไอ้ดู้ แดง เอาไอ้ดู้(ผ้าสระบั่น)ตี แล้วร้องว่า ฮาซากะอฺบะฮฺ ๆ พลางชี้ไปที่กะอฺบะฮฺ
เพราะฉะนั้นคำตอบข้อนี้ถูกบางส่วน
ส่วนละหมาดบนยานพาหนะ ท่านะบีจะหันไปทางกิบละฮฺเมื่อตักบีเราะตุลอิหฺรอม
ละหมาดสุนัต หลังจากนั้นพาหนะ(อูฐ)จะเดินไปทางไหนก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้า
ละหมาดฟัรฺฎู ท่านจะลงจากหลังอูฐ ละหมาดฟัรฎู จะหันไปทางได้ก็ได้ ในกรณีที่ละหมาดในยามหวาดกลัว 2.ในการละหมาดสุนัตบนพาหนะยามเดินทาง ที่ไม่ใช่เดินทางไปทำความชั่ว แม้การเดินทางจะมีระยะสั้น ไม่ถึง 2 มัรฮะละห์ก็ตาม
1.ในการละหมาดยามกลัว [ شِدَّةُ الْخَوْفِ ] ให้ละหมาดตามสภาพที่กระทำได้ และไม่ต้องอิอาดะห์ละหมาด
ละหมาดที่หันไปทางทิศใดก็ได้ ในทุกสถานการณ์คือละหมาด
ภายในกะอฺบะฮฺเอง
"ภายในของกะอฺบะฮฺมีเสาหลักอยู่ภายในจำนวน 3 ต้น ซึ่งรองรับหลังคากะอฺบะฮฺ โดยเสาเหล่านี้เป็นเสาไม้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 44 ซม.
เสาแต่ละต้นห่างกัน 2.35 เมตร ด้านที่มีประตูเข้ามีมิหฺรอบ(ที่ละหมาด)ซึ่งสร้างขึ้นมาเนื่องจากที่ตรงนี้เคยเป็นที่ที่ท่านเราะซูลฯ เคยใช้เป็นที่ละหมาด
ท่านนาฟิอฺรายงานว่า "เมื่อท่านอับดุลลอฮฺเข้าไปในกะอฺบะฮฺ ท่านได้เดินตรงไปข้างหน้า จนได้เข้าไปข้างใน และทิ้งด่านประตูไว้ข้างหลัง
แล้วท่านจะเดินตรงไปจนตัวท่านอยู่ห่างจากผนังที่อยู่ข้างหน้าท่านสักสามศอก เขานึกอยากจะละหมาดและได้ละหมาดที่นั่น
ตรงที่ท่านบิลาลได้บอกไว้ว่า ท่านเราะซูลได้ละหมาด ท่านอิบนิอุมัรเองก็บอกว่า "ไม่มีโทษอันใดที่เราจะละหมาด ณ ที่ใดก็ตามที่ชอบ
ภายในกะอฺบะฮฺนั้น" (เศาะหี้หฺ อัลบุคอรี อัลอัจญ์ (1599))** ประวัติศาสตร์นครมักกะฮฺ ดร.มุฮัมมัด อิลยาส อับดุลฆอนี เขียน, บินยะมีน แปลและเรียบเรียง หน้า 71-72
วัสสลาม