เมื่อก่อนเคยเรียนมาว่า ประเทศไทยไม่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว
หรือสึนามิ(ดูตามความเป็นไป) เนื่องจากเรื่องเปลือกโลก
คือบ้านเราเป็นเปลือกโลกเก่า ภูเขาไฟก็ดับ(ตาย)ไปแล้ว
อะไรประมาณนั้นมาค่ะ...
แต่จากที่เห็น รุ่นพี่ที่อยู่กรุงเทพฯ(อาศัยอยู่บนตึกสูงๆ)บอกว่า
บางครั้งรู้สึกว่าห้องมันสั่นโยกเหมือนตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นเลย...
และพอหลังจากเกิดสึนามิก็มีแผ่นดินไหวเล็กๆเกิดขึ้นบ่อยขึ้น
ซึ่งคนที่รับรู้ได้ คือคนที่อยู่บนที่สูงอย่่างตึก...
ก็เลยคิดว่า เรื่องแผ่นดินไหวมันไม่ได้ไกลตัว เพราะเราอยู่บนแผ่นดินน่ะค่ะ

หากเราได้สัมผัสกับมันแม้แค่เสี้ยวนึง เราจะรู้เลยว่า ชีวิตเรามันบางยิ่งกว่าเส้นด้าย
ที่อาจจะขาดเมื่อใดก็ได้...แต่เมื่อเจอบ่อยๆเข้า ก็ทำเอาชินไป

คนญี่ปุ่นเลยดูจะตื่นตัวมากๆสำหรับเรื่องนี้ เพราะบ้านเมืองเขา
โดนภัยพิบัติมาบ่อยและถี่น่ะค่ะ โดยมีสาเหตุหนึ่งที่เขาบอกว่า
มันเป็นเกาะกลางทะเล...

ดังนั้นเรามาดูประวัติสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในอดีตกันนะคะ...
ว่าอัลลอฮฺตาอาลาได้ทำลายกลุ่มชนหรือประชาชาติจากภัยพิบัติ
ที่เรียกว่า แผ่นดินไหวและสีนามิ( ซึ่งมนุษย์ได้บันทึกไว้)ไปกี่ครั้งแล้ว (วัลลอฮุอะลัม)
ประวัติเกี่ยวกับสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแม้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่ก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าปรากฏการณ์สึนามิได้เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนอื่นๆของโลก
ด้วยเช่นกัน และมีข้อมูลเก่าแก่มากมายหลายชิ้นที่พูดถึง "สึนามิ"
ที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนี้ ซึ่งเรียงตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังได้ดังต่อไปนี้
6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สึนามิที่เกิดขึ้นในช่วง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำ
ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหิน
ที่เรียกว่า "Storegga Slide" ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่
ติดต่อกันเป็นระลอก ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี
เกาะซานโตรินี่ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ (Santorini)
ในช่วงระหว่างปี 1650 ก่อน ค.ศ. ถึง 1600 ก่อน ค.ศ.
(เวลาที่แน่นอนยังถกเถียงกันอยู่) ภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น
ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร
ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต (Crete)
ซึ่งอยู่ห่างออกไป 70 กิโลเมตร (45 ไมล์) พร้อมกวาดทำลายต้นไม้ทุกต้น
ที่ขึ้นอยู่ในแนวป่ามิโนอัน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มรอบชายฝั่งทางเหนือของครีต
จนหายวับไปหมดในชั่วพริบตา
คาดกันว่าคลื่นใต้น้ำ "ซานโตรินี่" คือแหล่งข้อมูลที่ทำให้เพลโต (Plato)
เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนวรรณกรรมเป็นนวนิยายดัง
เรื่องแอตแลนติส (Atlantis) และนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า คลื่นสึนามิ
"ซานโตรินี่" ที่เกิดขึ้นครั้งนี้คือแหล่งที่มาสำคัญที่นำไปสู่การบันทึก
ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก (Great Flood)
ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทั้งของชาวยิว คริสเตียน และชาวอิสลาม
เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกสคลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน
ประเทศโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755)
ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
ที่ลิสบอนในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755)
แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลาย
หลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที
เนื่องจากคนจำนวนมากหนีภัยแผ่นดินไหวออกไปยังแนวชายฝั่งทะเล
ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัย พ้นอันตรายจากไฟไหม้
และการร่วงหล่นของเศษสิ่งของต่าง ๆ ได้
เมื่อเกิดแอฟเตอร์ช็อก ก่อนหน้าที่กำแพงน้ำที่สูงใหญ่
จะถาโถมเข้าถล่มท่าเรือบนชายฝั่งนั้น
น้ำทะเลได้เหือดแห้งลดระดับลงไปมากจนซากเรือสินค้าเก่า ๆ
ที่ปรักหักพังและหลงลืมกันไปแล้ว โผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน
แผ่นดินไหว สึนามิ และไฟไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ได้สังหารชาวเมืองลิสบอนไปมากกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนชาวเมืองทั้งหมด
ประมาณ 275,000 คนบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจทางทะเลของ วาสโก ดา กามา
และ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่เก็บไว้ก็สูญหายไป
ตึกรามอาคารต่าง ๆ จำนวนนับไม่ถ้วนถูกทำลาย
(รวมถึงตัวอย่างส่วนใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบ Manueline ของโปรตุเกส)
การพังพินาศของลิสบอนยังส่งผลให้ความทะเยอทะยานด้านการล่าอาณานิคม
ของจักรวรรดิโปรตุเกสสะดุดลงด้วยชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 พยายามที่จะเข้าใจภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
ภายใต้กรอบของศาสนา และระบบความเชื่อในหลักแห่งเหตุผล
นักปรัชญาในยุคส่องสว่าง (the Enlightenment)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วอลแตร์ ได้บันทึกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
แนวความคิดหลักปรัชญาของการทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
ดังเช่นที่อธิบายโดยนักปรัชญา อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant)
ในหนังสือ The Observation on the Feeling of the Beautiful and Sublime
นั้นก็ได้แรงบันดาลใจบางส่วนมาจากความพยายามที่จะเข้าใจถึงความร้ายกาจ
ของเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นใต้น้ำสึนามิ ที่ลิสบอนครั้งนี้
สัตว์จำนวนมากรู้โดยสัญชาตญาณถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น
และได้หนีภัยขึ้นไปยังพื้นที่สูง ก่อนหน้าที่น้ำทะเลจะซัดเข้าฝั่ง
แผ่นดินไหวที่ลิสบอนเป็นกรณีแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวในทวีปยุโรป ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้
ได้รับการบันทึกไว้เช่นกัน
ในศรีลังกาในปี พ.ศ. 2547
เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย
นักวิทยาศาสตร์บางรายสงสัยว่าสัตว์ต่าง ๆ อาจมีความสามารถ
ในการรับสัญญาณคลื่นเรย์ลีความถี่ต่ำ (subsonic Rayleigh waves)
ได้จากการไหวของแผ่นดินในช่วงเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง
ก่อนที่คลื่นใต้น้ำจะพัดกระหน่ำเข้าสู่ชายฝั่งเกาะกรากะตัวภูเขาไฟบนเกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย
เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883)
หินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟถูกพ่นออกมาจำนวนมาก
เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง
ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น
บางลูกมีความสูงกว่า 40 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระลอกคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัว
ในอินโดนีเซียครั้งนี้เคลื่อนตัวถาโถมเข้าสู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย,
มหาสมุทรแปซิฟิก, ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา, อเมริกาใต้,
และบริเวณที่ห่างไกลออกไปอีกในช่องแคบอังกฤษ
ส่วนพื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงในเกาะชวาและสุมาตรา
กระแสน้ำทะเลไหลบ่าท่วมทะลักเข้าไปถึงพื้นแผ่นดินภายใน
ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้าไปเป็นระยะทางหลายไมล์
สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติครั้งนี้
และทำให้ไม่มีการเข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกเลย
ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ได้กลายเป็นเขตป่าทึบมีชื่อว่า
เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอูจังกูลอน (Ujung Kulon nature reserve)