สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน11 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - เปอร์โตริโก
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - นิวฟาวนด์แลนด์
4 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
18 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - เกรท สเวลล์ในแม่น้ำเดลาแวร์
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - มลรัฐเมน
9 มกราคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - มลรัฐเมน
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964)
สึนามิอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตสึนามิที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาของโลกยังมีอีกมากมาย
ที่สำคัญๆ ประกอบด้วยครั้งที่ 1 20 มกราคม พ.ศ. 2150 (ค.ศ. 1607) :
ประชาชนจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งช่องแคบอังกฤษ
(Bristol Channel) จมน้ำเสียชีวิต ขณะที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัย
และหมู่บ้านหลายแห่งถูกน้ำพัดกวาดหายลงไปในทะเล
จากกระแสน้ำที่เอ่อท่วมอย่าวรวดเร็วซึ่งอาจเป็นคลื่นสึนามิ
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในครั้งนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุ 2 ประการที่เกิดขึ้น
ในช่วงเวลาเดียวกันโดยมิได้คาดหมายมาก่อน
คือ สภาพดินฟ้าอากาศที่วิปริตอย่างรุนแรง
และช่วงกระแสน้ำทะเลที่หนุนขึ้นสูงสุด
ครั้งที่ 2 มหันตภัยสึนามิครั้งเลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่ง
ถาโถมเข้าถล่มหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่ตั้งอยู่
ตามชายฝั่งเกาะซานริกู (Sanriku)
ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896)
คลื่นที่มีความสูงกว่าตึก 7 ชั้น (ประมาณ 70 เมตร) พร้อมกับ
กวาดกลืนชีวิตผู้คนจำนวน 26,000 คนลงสู่ท้องทะเลครังที่ 3 พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) :
เกิดแผ่นดินเลื่อนตัวใต้ทะเลที่หมู่เกาะ Aleutian
คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นถาโถมเข้าสู่เกาะฮาวายกลืนชีวิตผู้คนไป 159 ราย
(ขณะที่อีก 5 ราย เสียชีวิตในอะลาสก้า)
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) :
สึนามิที่เกิดขึ้นใน
อ่าว Lituya Bay รัฐอะลาสก้า
เป็นสึนามิขนาดมหึมาขนาดเมก้าสึนามิ เกิดจากน้ำแข็งถล่ม
เป็นสึนามิเฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากพื้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดวงอยู่เฉพาะในอ่าว
แต่ได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นคลื่นสึนามิที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดยมีความสูงมากกว่า 500 เมตร ( 1,500 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล คลื่นที่เกิดไม่สามารถเคลื่อนตัวออกไปไกลจากแนวฟยอร์ด (fjord)
ที่ล้อมรอบอยู่ได้ แต่ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
จากเรือที่เข้าไปทำการประมงอยู่ในบริเวณนั้น
และพลานุภาพของมันก็ทำให้พื้นดินบริเวณนั้นถูกกลืนหายไปเกือบหมด
และมีแผ่นดินบางส่วนจมลงไปใต้น้ำ
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) :
16 สิงหาคม (เที่ยงคืน) เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มภูมิภาครอบอ่าวโมโร
(เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 ราย
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) :
ประชาชนจำนวน 104 รายในภาคตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิตจากคลื่นสึนามิที่โถมเข้าถล่มหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ในพื้นที่ใกล้เคียง
ครั้งที่ 7 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) :
สึนามิปาปัวนิวกินีคร่าชีวิตผู้ชนจำนวนประมาณ 2,200 ราย
หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ
7.1 ริกเตอร์ในบริเวณ 15 กิโลเมตร นอกชายฝั่งปาปัวนิวกินี
และจากห่างจากเวลานั้นเพียงแค่ 10 นาที
คลื่นยักษ์สูง 12 เมตรก็เคลื่อนเข้าถล่มชายฝั่ง ในขณะที่ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว
ยังไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ดังกล่าวได้โดยตรง
แต่การที่เกิดคลื่นยักษ์ได้นั้น เชื่อกันว่า เนื่องจากแผ่นดินไหว
ส่งผลให้แผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเลื่อนตัว และเหตุการณ์หลังนี้ทำให้เกิดสึนามิขึ้น
สองหมู่บ้านของปาปัวนิวกินีคือ อารอป และวาราปู ถูกทำลายเรียบเป็นหน้ากลอง
ข้อมูลเพิ่มเติมสึนามิที่เกิดขึ้นที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)
หลังจากที่คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวใต้น้ำเข้ากระทบชายฝั่งทางใต้ ข่าวเพิ่มเติมจากอำเภออุบลรัตน์
จังหวัดขอนแก่น ได้ข้อมูลจากชาวบ้านที่อยู่หมู่บ้านศาลาดิน
และ หมู่บ้านโนนราศรี ที่มีสระน้ำ ขนาดประมาณ 4 ไร่เศษ
ที่สำหรับไว้ใช้ในการเกษตร ได้เกิดความผิดปกติ
เป็น
คลื่นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้
และเริ่มเกิดคลื่นจากตรงกลางสระ พัดเข้าฝั่งไปทางเดียวซึ่งอยู่ทางทิศใต้
(ข้อมูลโดยตรงจากชาวบ้าน ภายในหมู่บ้านศาลาดิน)
ปล.ต้องการที่มาและเอกสารอ้างอิงได้ที่
http://th.wikipedia.org/wiki/คลื่นสึนามิ
วัสลามค่ะ
