นอกจาก ชะรีฟ อุเซน แล้วอย่าลืมว่าก็ยังมีปัจจัยภายในด้วยเช่นกัน
ดร.เอียะฮ์ซาน ฮักกีย์ ได้กล่าวไว้ในภาคผนวดท้ายหนังสือ ตารีค อัดเดาละห์ อัลอะลียะห์ อัลอุษมานียะห์ หน้า 730 ว่า : ส่วนหนึ่งจากสาเหตุต่างๆ ที่นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิอุษมานียะห์ได้แก่
1. บรรดาซุลตอนได้อภิเษกสมรสกับสตรีต่างชาติเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือ สตรีเหล่านี้สามารถควบคุมความรู้สึกนึกคิดของบรรดาซุลตอนผู้เป็นพระสวามี ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแทรกแซงนโยบายทางการเมืองของอุษมานียะห์ที่มีต่อ มาตุภูมิของพวกนาง
2. การมีพระสนมเป็นจำนวนมากที่บรรดาต่างชาติและผู้ปกครองต่างนำตัวพวกนางเข้า ถวายเป็นบาทบริจาริกาขององค์ซุลตอนจนดูเหมือนว่าพวกนางเป็นสินค้าหรือของ กำนัล ซึ่งเมื่อบรรดาซุลตอนเห็นว่าพวกนางมีจำนวนมากเกินในราชมณเฑียรและพระตำหนัก ชั้นใน (ฮ่ารอมลีก) บรรดาซุลตอนก็มักจะมอบนางบาทบริจาริกาเหล่านี้แก่เหล่าเสนาอำมาตย์หรือผู้ ที่ซุลตอนโปรดปรานเพื่อเป็นการให้เกียรติหรือเป็นรางวัลตอบแทนในการสร้าง ความดีความชอบ จึงเป็นเรื่องปกติที่สตรีเหล่านั้นจะมีอิทธิพลอยู่บ้างไม่มากก็น้อยต่อสามี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับราชสำนักในฐานะ ขุนนางชั้นสูง
นอกจากนี้ยังเกิดความอิจฉาริษยาในระหว่างสตรีที่อาจเป็นภรรยาขุนนางแต่เดิม กับนางข้าไทที่เข้ามาใหม่ ซึ่งกรณีเช่นนี้ซุลตอนก็ไม่ได้รับการยกเว้น เพราะพระมเหสีหรือเจ้าจอมเดิมอาจจะไม่พอใจที่ซุลตอนโปรดปรานนางสนมคนใหม่ กอรปกับนางสนมตามธรรมเนียมของราชสำนักจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพระมเหสี หรือพระราชชนนีขององค์ซุลตอน แต่เนื่องด้วยนางสนม นางพระกำนัลที่เข้าสู่พระตำหนักชั้นในนั้นเป็นที่โปรดปราน ก็อาจทำให้นางสนมบางคนได้ใจ จึงอาจคิดกำเริบเสิบสานซึ่งจุดจบก็อาจจะถูกลอบวางยาพิษ หรือเสื่อมเสียต่างๆ นานา อันเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในเกือบทุกราชสำนักของโลก
3. การเข้ามาแทรกแซงเรื่องนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินของสตรีในวังหลวงบาง คนที่มักจะเสนอให้องค์ซุลตอนโปรดเกล้าให้บ่าว หรือขันทีบางคนกินตำแหน่งสำคัญๆ ในราชสำนัก ซึ่งโดยมากขาดความรู้ความสามารถในการรับราชการ และพวกบ่าวขันทีที่กินตำแหน่งเหล่านี้มักมีหน้าที่เป็นเพียงสายลับหรืออีกา คาบข่าวมารายงานแก่เจ้านายของตนซึ่งเป็นสตรีในวังหลวง
ผลร้ายที่เกิดขึ้นตามาจึงเป็นอย่างที่เห็น กล่าวคือ การบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลวเพราะขุนนางขาดความรู้ความสามารถ และความลับทางราชการรั่วไหล ตลอดจนมีหนอนบ่อนไส้ในราชสำนัก (อนึ่ง สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในราชสำนักอุษมานียะห์ข้างต้นปรากฏชัดเจนในช่วงที่ จักรวรรดิอุษมานียะห์อ่อนแอ ส่วนในช่วงต้นสมัยจักรวรรดินั้นก็พอมีให้เห็นแต่ไม่รุนแรงเท่ากับยุคปลาย จักรวรรดิ)
(อ้างแล้ว)