salam
ดังนั้น การตรวจสอบของดร.อับดุลลอฮ์ หนุ่มสุขนั้น ไม่ถือว่าเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะเราไม่สามารถรู้ว่า ท่านเอามาตรฐานการตรวจสอบของอุลามะท่านใดเป็นตัววัด
ของเชค อัลบานีย์ เชคบินบาส อิบนุกอยยิม อิบนุตัยมียะ หรือ อีม่ามบุคคอรี มุสลิม หรือเจ้าของหนังสือสุนันต่างๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้เนื้อหาในหนังสือเล่มเขียวนั้นถ้าเราจะเอาผลการสรุปของท่านดร.คนดังกล่าวนั้นผมไม่เห็นด้วย โดยเหตุผลที่ว่า ท่านพร้อมทั้งคุณวุฒิวัยวุฒิหรือความอิคลาสแล้วในการสรุปผลการตรวจสอบว่าถูกต้องจริงแล้วหรือ
วัสลาม
นี่คือสิ่งที่ผมว่าหลายๆคนอยากจะรู้[/b][/color]
salam
ผมมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดในการตัครีจหะดีษในงานวิจัยเล่มดังกล่าว (จะเสนอเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเกี่ยวกับการพูดคุยของเราเท่านั้น) ดังนี้
ขอบเขตของการวิจัย....การตัครีจตัวบทหะดีษในหนังสือคุณค่าของอะมาล โดยคณะวิจัยจะตัครีจเฉพาะหะดีษที่พาดพิงถึงท่านนบีทั้งด้านคำพูด การกระทำ การยอมรับ และอื่นๆ และหะดีษนั้นๆ มีตัวบทปรากฏเป็นภาษาอรับและใช้สำนวนการรายงานหะดีษเท่านั้น สำหรับหะดีษที่พาดพิงถึงศอหาบะฮฺหรือตาบีอีน (อาษาร) หรือหะดีษทที่มีเพียงคำแปลภาษาไทยอย่างเดียวหรือภาษาอุรดู หรือหะดีษที่ไม่มีสำนวนการรายงาน คณะผู้วิจัยจะไม่ทำการตัครีจ
วิธีการดำเนินการวิจัย...ค้นหาคำตัดสินเกี่ยวกับสถานภาพของหะดีษจากนักปราชญ์หะดีษ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ค้นหาเฉพาะกรณีหะดีษที่ไม่มีรายงานในหนังสือศอเหี้ยะห์ ของท่านอิมามบุคอรีย์ และอิมามมุสลิม สำหรับหะดีษที่มีรายงานในหนังสือดังกล่าว นักปราชญ์ต่างมีมติว่าเป็นหะดีษศอเหี้ยะห์ จึงไม่จำเป็นต้องค้นหา
2. ยึดทัศนะของนักวิจารณ์หะดีษที่ได้รับการยอมรับ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
ก. ยึดถือทัศนะของนักปราชญ์หะดีษรุ่นก่อนเป็นหลัก เช่น อัลอัสกอลลานีย์ อัซซะฮะบีย์ อัลฮัยษะมีย์ อันนะวะวีย์ อัสสุยูฎีย์ เป็นต้น หากไม่พบจะยึดถือทัศนะของนักปราชญ์หะดีษร่วมสมัย เช่น อัลอัลบานีย์ หรืออัลอัรนะอูฎ เป็นต้น
ข. หากมีทัศนะที่ขัดแย้งกันในหมู่นักปราชย์หะดีษรุ่นก่อน จะยึดถือทัศนะของกลุ่มสายกลางเป็นหลัก เช่น อัซซะฮะบีย์ และอัลอัสกอลลานีย์ แต่หากขัดแย้งกันระหว่างนักปราชญ์หะดีษรุ่นก่อนกับนักปราชญ์หะดีษร่วมสมัย คณะผู้วิจัยจะยึดถือทัศนะของนักปราชญ์หะดีษรุ่นก่อนเป็นหลัก เนื่องจากเห็นว่ามีศักยภาพในการพิจารณาหะดีษที่เหนือกว่า
ค.หากไม่พบทัศนะของนักปราชญ์หะดีษ คณะผู้วิจัยจะยึดถือกฏเกณฑ์บางข้อของนักหะดีษ เช่น อิมามอัสสุยูฏีย์ กล่าวว่า หะดีษทุกบทในมุสนัดอะห์มัดเป็นหะดีษมักนูด และหากจะมีหะดีษฎออี๊ฟก็เป็นฎออี๊ฟที่ใกล้เคียงหะสัน (อ้างใน มูฮัมมัด อิญาบ อัลคอฎีบ) แต่ถ้าหากไม่พบทั้งตัวบทหะดีษและทัศนะของนักวิชาการ คณะผู้วิจัยจะระบุว่า “ไม่พบหุก่มหะดีษ”
จากงานวิจัยเล่มดังกล่าวหน้า 2-4