ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือ "อัล-อิบานะฮฺฯ"ความจริงที่เราควรรู้  (อ่าน 1977 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เสี่ยวเอ้อ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 59
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด

 :salam:

พี่น้องที่เคารพรัก

หากเราสังเกตดู บรรดา ชาววาฮาบีย์ ในยุคปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า พวกเขาได้เปลี่ยนวิธีการ โต้แย้ง หลักการของ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล ญามาอะฮฺ ของเรา

โดยมีการแอบอ้าง คำกล่าวของ บรรดาปวงปราชญ์ที่พวกเราให้ความเคารพยกย่อง มาทำลายหลักศรัทธาและแนวทางของพวกเราเอง

ทั้งๆที่ คำกล่าวบางประโยคที่ บรรดามุจญตาฮิด ในอดีต ได้กล่าวเอาไว้นั้น
เหล่าสานุศิษย์ของพวกเขาได้ถกกันจนเป็นที่ยุติมาแล้ว

หรืออาจจะมีบางคำกล่าวที่ ชาววาฮาบีย์ ได้หยิบยกมา อ้างอิง ทั้งๆที่มันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและไม่ได้เป็นไปตามที่พวกเขาเข้าใจแต่อย่างใด
ทั้งนี้ อาจสืบเนื่องมาจาก อคติ ของพวกเขาที่มีต่อ อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญามาอะฮฺ ก็เป็นได้

และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีบางคำกล่าว หรือ บางตำรา ที่พวกเขาได้บิดเบือน เสริมแต่งกันมาก่อนแล้ว จากนั้น ก็นำมาอ้างอิง ตบตา ชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล ญามาอะฮฺ
ให้เกิดความคลางแคลงใจ ซึ่งหนึ่งในตำราที่เกิดการบิดเบือนขึ้นแล้วนั้น ก็คือ “อัล-อีบานะฮฺฯ” ของท่าน อีหม่าม อัล-มุญัดดิด อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์
(ร.ฮ) นั่นเอง

ท่าน อาบู อิสฮาก อัล-อิสฟารอยีนีย์ (ร.ฮ) ได้กล่าวว่า


كنت في جنب الشيخ أبي الحسن الباهلي كقطرة في البحر، وسمعت الشيخ أبا الحسن الباهلي قال، كنت أنا في جنب الشيخ الأشعري كقطرة في جنب البحر

ความว่า

“ฉันได้(เคยมีโอกาส)อยู่ใกล้ๆกับท่าน เชค อาบุล ฮาซัน อัล-บาฮีลีย์
(ในสภาพที่ รู้สึกว่าฉัน)เปรียบดัง หยดน้ำ ท่ามกลาง ท้องทะเล( และฉันก็(เคย)ได้ยินท่าน เชค อาบุล ฮาซัน อัล-บาฮีลีย์ ได้กล่าวไว้ว่า

“ ฉัน(อัล-บาฮีลีย์)เคย(มีโอกาส)อยู่ใกล้ๆ ท่าน อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์
(ในสภาพที่ รู้สึกว่าฉัน)เปรียบดัง หยดน้ำ ชายขอบของท้องทะเล”

(โปรดดู “ ตับยีน กาซิบ อัล-มุฟตารีย์ หน้า 178 โรงพิมพ์ “ อัตเตาฟีก” ดามัสกัส ปี ฮ.ศ. 1347 )

อธิบายเพิ่มเติม

ท่าน เชค อาบู อิสฮาก อัล-อิสฟารอยีนีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ. 418 ) ได้กล่าวว่า
ในขณะที่ท่านได้มีโอกาสอยู่ใกล้ๆ อาบุล ฮาซัน อัล-บาฮีลีย์ (ผู้ซึ่งถือเป็นอาจารย์คนหนึ่ง ของท่าน)
ท่านมีความรู้สึกเหมือนกับท่านนั้นประดุจดัง หยดน้ำ ใน ท้องทะเล หมายความว่า ความรู้ที่ท่านมีอยู่นั้น เมื่อ เทียบกับความรู้ ของ ท่าน อัล-บาฮีลีย์ แล้วนั้น นับว่า เป็นเพียงแค่ส่วนอันน้อยนิดเท่านั้นเอง

และท่าน ยังเคยได้ยิน อาบุล ฮาซัน อัล-บาฮีลีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ. 370)ได้บอกแก่ท่านว่า ในขณะที่ฉัน( อัล-บาฮีลีย์ )ได้มีโอกาสอยู่ใกล้ๆ กับ อาบุล ฮาซัน
อัล-อัชอารีย์(อาจารย์คนหนึ่งของท่าน) ท่านมีความรู้สึก เหมือนดัง หยดน้ำ
ชายขอบของท้องทะเล หมายถึง ความรู้ที่ท่านมี นั้น เมื่อเทียบกับ ความรู้ของ
อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์( เสียชีวิต ฮ.ศ. 324) แล้วนั้น นับว่าไม่อาจเทียบกันได้เลย และถือว่ายังอยู่อีกห่างไกลนัก....



ท่าน อีหม่าม อิบอาซากิร ได้ระบุไว้เช่นเดียวกัน ว่า ท่าน อับดุลลอฮฺ บิน
มูฮัมหมัด อัล-อิสกันดารีย์ ได้ อ่านบทกลอน ให้ท่านฟังว่า

لو لم يصنف عمره---غير الإبانة واللمع
لكفى فكيف وقد---تفنن في العلوم بما جمع


ความว่า

“ แม้นในชีวิต ท่าน(อาบุลฮาซัน)มิเคยประพันธ์ หนังสือเล่มใด นอกเหนือจาก อัล-อีบานะฮฺ และ อัล-ลุมะอฺ ก็ถือว่าพอเพียงแล้ว ...
ฉไหนจึงไม่เป็นเช่นนั้นเล่า ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ท่านล้วนปราดเปรื่องในหลายแขนงวิชาการ ....ด้วยสิ่งที่ท่านได้รวบรวม”

(โปรดดู ดู “ ตับยีน กาซิบ อัล-มุฟตารีย์ หน้า 171 โรงพิมพ์ “ อัตเตาฟีก” ดามัสกัส ปี ฮ.ศ. 1347 )



หนังสือ “ อัล-อีบานะฮฺ อัน อูศูลิด ดียานะฮฺ “


“อัล-อีบานะฮฺ อัน อูศูลิด ดียานะฮฺ” นั้น คือ ชื่อเต็มของ ตำราศาสนาเล่มหนึ่ง
ที่เรียบเรียงโดย ท่าน อีหม่าม อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์ หนึ่งในสอง จอมทัพปราชญ์ผู้ฟื้นฟู แนวทางหลักศรัทธาของ บรรดา สาลัฟ...

ท่านมีชีวิต อยู่ระหว่าง ปี ฮ.ศ. 260-324 ซึ่งถือว่า คาบเกี่ยวกัน ระหว่าง สองยุค นั่นเอง...

หนังสือเล่มนี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ท่าน อีหม่าม อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์ นั้นได้ ปลดแอก หลักศรัทธาของท่าน ออกจาก แนวคิด  "มุอฺ ตาซีละฮฺ" และหวนคืนสู่แนวทางของ บรรดา สาลาฟุซซอและฮฺ อันบริสุทธิ์  ที่กลั่นกรองออกมาจาก อัล-กุรอ่าน และแบบฉบับของ ท่านศาสดา ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม




ออฟไลน์ เสี่ยวเอ้อ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 59
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
ในหนังสือ “อัล-อีบานะฮฺฯ” ของท่าน อีหม่าม อาบุล-ฮาซัน อัล-อัชอารีย์(ร.ฮ)
โดยส่วนมากแล้ว ท่านจะดำเนินแนวทางการอธิบาย ตามรูปแบบของ
ชนส่วนใหญ่แห่งบรรดาสาลาฟุซซอและฮฺ

นั้นก็คือรูปแบบ การ ตะอฺวีล อิจญมาลี(ผินความหมายเชิงรวม)และ มอบหมาย เป้าประสงค์ที่แท้จริง ไปยังอัลลอฮฺ ตาอาลา
ส่วนเนื้อหาสาระใน ตำราเล่มนี้ พอจะสรุปเป็นสังเขปได้ดังนี้

1. ท่านได้เริ่มหนังสือเล่มนี้ โดย อารัมภบท ซึ่งบอกถึง เนื้อหาสาระของหนังสือ ตลอดจนสาเหตุที่ท่านได้ เรียบเรียงมันขึ้นมา

2. อธิบายถึง หลักศรัทธาที่คลาดเคลื่อนและบิดเบือน ซึ่งจำเป็นที่เราจะต้องปฏิเสธสิ่งดังกล่าว

3. คำอธิบายที่ประกอบไปด้วยหลักฐาน ของ บรรดา ปราชญ์ด้าน ฮาดีษ

4. ยืนยันถึงการ มองเห็น อัลลอฮฺด้วย ตาเปล่าในวัน อาคีรัต และโต้แย้งหลักศรัทธาที่คลาดเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว

5. ยืนยันว่า อัล-กุรอ่าน คือ กาลามของอัลลอฮฺ และไม่ได้เป็น มัคลูก และท่านได้โต้แย้งหลักศรัทธาที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

6. การ อิสตีวาอฺ ของอัลลอฮฺ นั้น ไม่เหมือน อิสตีวาอฺ ของมัคลูก

7. อธิบายความเข้าใจ เกี่ยวกับ หลายๆ ศีฟัต ที่มีปรากฏอยู่ใน อัล-กุรอ่าน และ อัล-ฮาดีษ และชี้แจงถึงแนวทางของ ชาว สาลัฟ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

8. โต้แย้งแนวทางของ กลุ่ม ญะฮฺมียะฮฺที่ปฏิเสธคุณลักษณะอันพึงมีแด่ อัลลอฮฺ ตาอาลา และอธิบายข้อบิดเบือนที่เกิดขึ้น ในแนวทางดังกล่าว

9. มีบทเฉพาะว่าด้วย ศีฟัต อีรอดัต ของอัลลอฮฺ และโต้แย้งแนวทางของ มุอฺ ตาซีละฮฺ

10. อธิบายเกี่ยวกับ กอดัร,อาญัล,ริซกี,ฮีดายะฮฺ,และความหลงผิด

11. อธิบายเกี่ยวกับ ความตาย และการลงทัณฑ์ในหลุมฝังศพ,เรื่องราวในวันกียามัต,การช่วยเหลือที่เกิดขึ้นใน วันกียามัต และชี้แจงแนวทางของสาลัฟ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

12. อธิบายเกี่ยวกับเรื่อง การเป็น คอลีฟะฮฺ ของ ท่าน อาบูบักร อัศศิดดีก (ร.ฎ.ฮ)

ด้วยเหตุที่ท่าน อาบุลฮาซัน อัล-อัชอารีย์ ได้เรียบเรียง “อัล-อีบานะฮฺฯ”เล่มนี้
ในรูปแบบการอธิบายตามแนวทางของชาวสาลัฟ

ดังนั้น บรรดา ชาววาฮาบีย์ จึงได้สรุปกันไปเองว่า ท่าน อาบุลฮาซัน อัล-อัชอารีย์ ได้ดำเนินชีวิตผ่าน 3 ช่วงกาลเวลาด้วยกัน นั่นก็คือ

1. ช่วงเวลาแห่งการเป็น มุอฺตาซีละฮฺ

2. ช่วงเวลาแห่งการดำเนินแนวทางตาม อิบนุ กุลล๊าบ

3. ช่วงเวลาแห่งการหวนคืนสู่วิถีแห่ง สาลาฟุซซอและฮฺ

และหนังสือ “อัล-อีบานะฮฯ”เล่มนี้ ได้บ่งบอกถึง การดำเนินชีวิตในช่วงสุดท้ายของท่าน นั้นก็คือ แนวทางของ บรรดา สาลาฟุซซอและฮฺ ในทรรศนะของชาววาฮาบีย์...

ซึ่งหากเรากลับไปพิจารณาด้าน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็จะพบว่า
ท่าน อีหม่าม อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์ นั้น ได้ใช้ชีวิตอยู่ใน 2 ช่วงเท่านั้น
นั่นก็คือ ภายหลังจากอยู่ในแนวทางของ มุอฺตาซีละฮฺ ท่านก็ได้หวนคืนสู่ แนวทางของ สาลาฟุซซอและฮฺโดยทันที



ท่าน อีหม่าม อาบูบักรฺ บิน เฟาร๊อก (ร.ฮ)ได้กล่าวว่า

انتقل الشيخ أبو الحسن على بن إسماعيل الأشعري رحمه الله من مذاهب المعتزلة إلى نصرة مذاهب أهل السنة والجماعة بالحجج العقلية ، وصنف في ذلك الكتب

ความว่า

“ท่าน เชค อาบุล ฮาซัน อาลี บิน อิสมาอีล อัล-อัชอารีย์(ร.ฮ)ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางจาก มัสฮับ มุอฺตาซีละฮฺ ไปสู่การช่วยเหลือแนวทาง ของ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ
วัล ญามาอะฮฺ โดยใช้หลักเหตุผลเชิงวิเคราะห์ด้วยสติปัญญา และท่านยังได้เรียบเรียงตำราหลายๆเล่มเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว”

(โปรดดู “ตับยีน กาซิบ อัล-มุฟตารีย์” หน้า 127โรงพิมพ์ “ อัตเตาฟีก” ดามัสกัส ปี ฮ.ศ. 1347)

ท่าน อัล-อัลลามะฮฺ อิบนุ คอลดูน (ร.ฮ) ได้กล่าวว่า

إلى أن ظهر الشيخ أبو الحسن الأشعري وناظر بعض مشيختهم - أي المعتزلة - في مسائل الصلاح والأصلح ، فرفض طريقتهم وكان على رأي عبدالله بن سعيد بن كلاب وأبي العباس القلانسي والحارث المحاسبي من أتباع السلف وعلى طريقة السنة

ความว่า

“จนกระทั่งท่าน เชค อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์ได้ปรากฏขึ้น และท่านได้โต้แย้ง กับ ครูบาอาจารย์ของท่านบางคน ที่เป็น มุอฺตาซีละฮฺ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ศอลาฮฺ(สิ่งที่ดี)และ อัศลาฮฺ(สิ่งที่ดีกว่า) ...
ท่านได้คัดค้านแนวทางของพวกมุอฺตาซีละฮฺ และได้ดำเนินตามแนวคิด ของท่าน อับดุลลอฮฺ บิน ซาอีด บิน กุลลาบ และท่าน อาบุล อับบาส อัล-กอลานีซีย์ และท่าน อัล-ฮาริศ อัล-มุฮาซีบีย์ ซึ่งล้วนเป็นผู้เจริญรอยตาม ชาวสาลัฟ และอยู่บนแนวทางของ อะฮฺลุซซุนนะฮฺ ทั้งสิ้น”

(โปรดดู “มุก๊อดดิมะฮฺ อิบนิ คอลดูน” หน้า 853)

จาก คำกล่าวข้างต้น เห็นได้ชัดว่า แนวทางของท่าน อาบุลฮาซัน อัล-อัชอารีย์นั้น ไม่ได้เป็นอย่างที่ ชาววาฮาบีย์ได้ เข้าใจกัน แต่อย่างใด...

พี่น้องที่เคารพ...

มีหนังสืออยู่5 เล่มที่ได้มีบันทึกว่า เป็นของท่าน อีหม่าม อาบุลฮาซัน อัล-อัชอารีย์ นั่นก็คือ

1. มากอลาต อัล-อิสลามียีน

2. รีซาละฮฺ ฟี อิสติฮฺซาน อัล-เคาฎฺ ฟี อิลมิลกาลาม

3. อัล-ลุมะอฺ ฟิด ร๊อดดิ อาลา อะฮฺลิ อัซ-ซัยฆี วัล-บีดะอฺ

4. อัล-อีบานะฮฺ ฟี อูศูลิดดียานะฮฺ

5. รีซาละฮฺ อะฮฺลิ อัซ-ซัฆรฺ


ตำรา 3 เล่มแรกนั้น บรรดานักวิชาการได้ทำการตรวจสอบแล้ว และพบว่า ยังคงปลอดภัย ปราศจากการบิดเบือนและเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม


ส่วน อีกสองเล่มที่เหลือนั้น( อัล-อีบานะฮฺ ฟี อูศูลิดดียานะฮฺและ รีซาละฮฺ อะฮฺลิ อัซ-ซัฆรฺ ) บรรดานักวิชาการ ได้พบว่า มีการใช้ความพยายามจากคนบางกลุ่ม ที่จะแก้ไข บิดเบือนตำราดังกล่าว ให้คลาดเคลื่อนออกจากต้นฉบับ
ซึ่งหนึ่งในจำนวนผู้แก้ไข บิดเบือน ตำรา เล่มดังกล่าว ก็คือ บรรดา ผู้อ้างตนว่าดำเนินตาม สาลัฟ ซึ่งผมได้เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้

ท่าน อัล-ลามะฮฺ อัล-เกาซารีย์ ได้กล่าวไว้ใน บทนำของการตรวจทาน หนังสือ “ตับยีนุ กาซิบิล มุฟตารีย์” ว่า

والنسخة المطبوعة في الهند من الإبانة نسخة مصحفة محرفة تلاعبت بها الأيدي الأثيمة ، فيجب إعادة طبعها من أصل موثوق

ความว่า

“ (อัล-อีบานะฮฺ)ฉบับที่ได้มีการตีพิมพ์ ใน ประเทศอินเดีย นั้น คือฉบับที่ได้ถูกปลอมแปลงแก้ไข ซึ่งบรรดามือที่กระทำบาปนั้นได้ นำมันมาหลอกลวง

ฉะนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็น ที่เราจะต้องพิมพ์มันขึ้นใหม่ จากฉบับเดิมอันเป็นที่เชื่อถือ”

(โปรดดู “ตับยีนุ กาซิบิล มุฟตารีย์” ตะฮกีก มูฮัมหมัด ซาฮิด อัลเกาซารีย์ ...
เผยแพร่โดย “มักตาบะฮฺ อัล-อัซฮารียะฮฺ ลิตตุรอซ)


ท่าน ดร. อับดุลรอฮฺมาน บาดาวีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ.1423) ได้กล่าวสนับสนุน ทรรศนะของ อีหม่าม อัลเกาซารีย์ ว่า

“وقد لاحظ الشيخ الكوثري بحق أن النسخة المطبوعة في الهند تلاعبت بها الأيدي الأثيمة

ความว่า

“แท้จริงนั้น ท่าน เชค อัล-เกาซารีย์ ได้ใช้พิจารณยาน ด้วยความสัตย์จริง แล้วว่า (อัล-อีบานะฮฺ)ฉบับที่ได้มีการตีพิมพ์ ใน ประเทศอินเดีย นั้น คื บรรดามือที่กระทำบาปนั้นได้ นำมันมาใช้หลอกลวง”


(โปรดดู “มาซาฮิบ อัล-อิสลามมียีน” เล่ม 1 หน้า 516 )

บรรดา นักวิชาการ ได้ทำการตรวจสอบ ตำรา “อัล-อีบานะฮฺฯ” ที่ได้ บันทึกไว้ใน หนังสือ ““ตับยีนุ กาซิบิล มุฟตารีย์”ของท่าน อีหม่าม อิบนุ อาซากีร
กับ “อัล-อีบานะฮฺฯ”ที่ได้วางขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป ปรากฏว่า มีอยู่หลายจุดที่ มีความคลาดเคลื่อนกัน เช่น


หนังสือ “อัล-อีบานะฮฺฯ”ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด หน้าที่ 16 ระบุว่า

وأنكروا أن يكون له عينان

คำว่า “عينان” ได้ใช้ในรูปแบบ ทวิพจน์(ซึ่งเข้าใจได้ว่ามี สอง อย่าง )

แต่ใน “ตับยีนฯ”ของท่าน อีหม่าม อิบนุ อาซากีร หน้า 157 ระบุว่า

وأنكروا أن يكون له عين

คำว่า “عين” ได้ถูกบันทึกใน รูป เอกพจน์ (ซึ่งเข้าใจได้ว่า มีหนึ่งอย่าง)

และใน “อัล-อีบานะฮฺฯ” ตามฉบับ ของ ดร.เฟากียะฮฺ ฮูซัยนฺ มะฮฺหมูด หน้า 22 ระบุว่า

وأن له سبحانه عينين بلا كيف

คำว่า “عينين” ก็มีการใช้ใน รูปแบบ ทวิพจน์ (ซึ่งเข้าใจได้ว่า มีสองอย่างเช่นกัน)

แต่ขณะเดียวกัน ตามบันทึกของ อิบนุอาซากิร ใน “ตับยีนฯ” หน้า 158 ได้ระบุว่า

وأن له عينا ً بلاكيف


คำว่า “عينا” ก็ถูกใช้ในรูปแบบ เอกพจน์เช่นเดียวกับจุดที่ผ่านมา

ซึ่งหากเรา พิจารณาอย่างละเอียดแล้วก็จะพบว่า คำที่มาในรูปแบบ เอกพจน์ นั้น สอดคล้องกับ อัล-กุรอ่าน และ ซุนนะฮฺ ตลอดจนคำกล่าวของ บรรดา ซาลาฟุซซอและฮฺ

และนี่ถือได้ว่าเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มีการปลอมแปลงเกิดขึ้นใน หลายๆฉบับ “ของ อัล-อิบานะฮฺฯ”


พี่น้องพึงทราบเถิดว่า

คุณลักษณะ “อัยนฺ”ของอัลลอฮฺนั้น ไม่มีปรากฏ อัล-กุรอ่าน หรือ ฮาดีษ บทใดได้ ระบุว่า มันได้ถูกใช้ในรูปแบบ “ตัซนียะฮฺ”(ทวิพจน์)



ท่าน อัล-อัลลามะฮฺ อัล-เกาซารีย์ ได้กล่าวไว้ใน การตราจทาน หนังสือ
“อัล-อัสมาอฺ วัส-ซีฟาต” ของ อีหม่าม อัล-บัยฮากีย์ หน้าที่ 313 ว่า

قال ابن حزم : لايجوز لأحد أن يصف الله عزوجل بأن له عينين لأن النص لم يأت بذلك

ความว่า

“อิบนุ ฮัซมิ ได้กล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้แก่ใครคนหนึ่ง ทำการพรรณนาคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ว่า พระองค์มี สองซีฟัต อัยนฺ นั้นก็เพราะว่า ไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว”

เราลองมาดูอีกตัวอย่างนะครับ...

“อัล-อีบานะฮฺฯ” ฉบับที่ ตีพิมพ์โดย “ดารุล อัล-กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ” ระบุไว้ใน หน้า 46 ว่า


إن قال قائل : ماتقولون في الاستواء ؟ قيل له نقول : إن الله عزوجل مستو على عرشه كما قال : الرحمن على العرش استوى .


ความว่า

“หากมีคนผู้หนึ่งถามว่า “ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับเรื่อง อิสตีวาอฺ(ของอัลลอฮฺ)?
ก็จะตอบแก่เขาว่า “เรากล่าวว่า...แท้จริง อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่ นั้น ได้ทรงคุณลักษณะ “อิสตีวาอฺ”เหนืออารัชของพระองค์ ดังที่พระองค์ทรงตรัส(ความ)ว่า
“อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา ทรงศีฟัต อิสตีวาอฺ เหนืออารัช(ของพระองค์)”

แต่ขณะเดียวกัน ใน “อัล-อีบานะฮฺฯ”ฉบับที่ ตีพิมพ์โดย “มักตาบะฮฺ อัล-มุอัยยัด” หน้าที่ 97 ระบุว่า

إن قال قائل : ماتقولون في الاستواء ؟ قيل له نقول : إن الله عزوجل يستوي على عرشه إستواء يليق به من غير طول الإستقرار

ความว่า

“หากมีคนผู้หนึ่งถามว่า “ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับเรื่อง อิสตีวาอฺ(ของอัลลอฮฺ)?
ก็จะตอบแก่เขาว่า
“เรากล่าวว่า...แท้จริง อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่ นั้น ได้ทรงคุณลักษณะ “อิสตีวาอฺ”เหนืออารัชของพระองค์ เป็นการ อิสตีวาอฺ อันคู่ควรแก่พระองค์ โดยไม่ได้ทรง ประทับอยู่นาน”


และที่น่าสังเกต อีกจุดหนึ่งก็คือ ท่าน เชค อับดุลการีม ตัตตาน ได้บอกเราว่า “อัล-อีบานะฮฺฯ” ฉบับที่ ตรวจทานโดย ดร.เฟากียะฮฺ ฮูซัยนฺ มะฮฺหมูด หน้า 105 ได้ระบุว่า

نقول إن الله عزوجل استوى على عرشه استواء يليق به من غير حلول ولا استقرار

ความว่า

“ เรากล่าวว่า...แท้จริง อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและยิ่งใหญ่ นั้น ได้ทรงคุณลักษณะ “อิสตีวาอฺ”เหนืออารัชของพระองค์ เป็นการ อิสตีวาอฺ อันคู่ควรแก่พระองค์ โดยไม่ได้ทรง สถิต และ(ไม่ได้ทรง) ประทับ”

(โปรดอ่าน ใน เว๊บไซด์ “فضيلة الشيخ عبد الكريم تتان” ในส่วนเกี่ยวกับ ปัญหา อากีดะฮฺ)


ซึ่งหากเราพิจารณา ดูจากทั้งสอง สำนักพิมพ์ข้างต้น ประกอบกับ สำนวนที่ ท่านเชค อับดุลการีม อ้างอิงจาก ดร.เฟากียะฮฺ ฮูซัยนฺ มะฮฺหมูดแล้ว เราก็จะเห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่า ฉบับไหนที่ดูหมิ่นเหม่ ต่อการ ถูกบิดเบือน...

อีกตัวอย่างหนึ่ง ได้มีปรากฏใน “อัล-อีบานะฮฺฯ” ของสำนักพิมพ์ ดารุล กุตุบ
อัลอิลมียะฮฺ หน้าที่ 48 ว่า

فكل ذلك يدل على أنه تعالى في السماء مستو على عرشه ، والسماء بإجماع الناس ليست الأرض ، فدل على أن الله تعالى منفرد بوحدانيته مستو على عرشه

ความว่า

“ฉะนั้น หลักฐานทุกๆบทดังที่กล่าวมานั้น บ่งชี้ว่า องค์อัลลอฮฺ ตาอาลานั้น ทรงอยู่ใน ฟากฟ้า และทรง ประทับอยู่บน บัลลังค์ของพระองค์ และฟากฟ้านั้น ก็ไม่ใช่ ผืนดิน โดยมติของมวลมนุษย์ ดังนั้น หลักฐานนั้นจึง บ่งบอกว่า อัลลอฮฺ ตาอาลา นั้น ทรงเอกะ ด้วยความเป็นเอกภาพของพระองค์ และทรงประทับอยู่บนบัลลังค์ของพระองค์”

พี่น้องครับ...ที่ผมได้แปลว่า “ทรงประทับ”ในที่นี้ ก็เพราะต้องการชี้ให้เห็นถึงเจตนาของผู้บิดเบือนที่ต้องการ เปรียบอัลลอฮฺ ว่าดุจดังมัคลูก ซึ่งเราเข้าใจได้จาก คำว่า “ในฟากฟ้า” นั่นเอง...

แต่หากเราได้พิจารณา ใน “อัล-อีบานะฮฺฯ”ฉบับ ของ สำนักพิมพ์ ดารุล-อันศอร หน้าที่ 113 และ ฉบับของสำนักพิมพ์ มักตาบะฮฺ อัล-มูอัยยัด หน้าที่ 100 เราก็จะมีอยู่ว่า


فدل على أنه تعالى منفرد بوحدانيته مستو على عرشه استواء منزها ً عن الحلول والاتحاد

ความว่า

“ดังนั้น หลักฐานนั้นจึง บ่งบอกว่า อัลลอฮฺ ตาอาลา นั้น ทรงเอกะ ด้วยความเป็นเอกภาพของพระองค์ และทรงศีฟัต อิสตีวาอฺ เหนืออารัชของพระองค์ เป็นการอิสตีวาอฺ ที่ปลอดจากการ เข้าสถิต และ การรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน”

และมีระบุในหนังสือ “อัล-อีบานะฮฺฯ” ฉบับที่ถูกตีพิมพ์ ณ ดารุล กุตุบ อัล-อิลมียะฮฺ หน้าที่ 49 ว่า

كل ذلك يدل على أنه تعالى ليس في خلقه ولا خلقه فيه وأنه مستوعلى عرشه

ความว่า

“หลักฐานทุกบทดังกล่าวนั้น บ่งชี้ว่า อัลลอฮฺ ตาอาลานั้น ไม่ได้ทรงอยู่ใน มัคลูกของพระองค์ และมัคลูกของพระองค์ ก็ไม่ได้อยู่ในพระองค์แต่อย่างใด
และแท้จริง พระองค์ทรง อิสตาวา เหนืออารัชของพระองค์”

แต่หากเรา พิจารณาใน “อัล-อีบานะฮฺฯ” ตามฉบับ ของสำนักพิมพ์ มักตาบะฮฺ
อัล-มุอัยยัด หน้าที่ 102 และ สำนักพิมพ์ ดารุล อันศอร หน้าที่ 117 เราก็จะเห็นข้อความ ที่ถูกตัดไป นั่นก็คือ

كل ذلك يدل على أنه تعالى ليس في خلقه ولا خلقه فيه وأنه مستو على عرشه سبحانه بلا كيف ولا استقرار

ในฉบับนี้ปรากฏคำว่า “بلا كيف ولا استقرار” ซึ่งแปลว่า
“โดยปราศจาก รูปแบบวิธีการ และปราศจากการ ประทับ”

หากพี่น้องสังเกตดูดีๆก็จะเห็นว่า “อัล-อีบานะฮฺฯ” แต่ละฉบับนั้น มีเนื้อหา ไม่ตรงกันเลย อีกทั้งยังดูหมิ่นเหม่ ต่อการ ตัชบีฮฺ และ ตัชซีม เสียด้วยซ้ำไป

ออฟไลน์ เสี่ยวเอ้อ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 59
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
พี่น้องครับ....

ความจริงแล้ว เนื้อหา ของ “ อัล-อีบานะฮฺฯ” ที่นักวิชาการ ได้วิเคราะห์ตรวจสอบดูจากหลายๆ สำนักพิมพ์ ปรากฏว่า จุดที่มีความคลาดเคลื่อนขัดแย้งกันนั้น มีถึง 39 จุดด้วยกัน...

และสำนักพิมพ์ ที่ทำการตีพิมพ์ หนังสือ “อัล-อีบานะฮฺฯ”เผยแพร่อยู่ในขณะนี้ก็นับว่ามีอยู่มากเลยทีเดียว และส่วนหนึ่งจาก “อัล-อีบานะฮฺฯ ที่มีการบิดเบือนจากทางสำนักพิมพ์ซึ่งเราควรระวังไว้ให้ดี ได้แก่

1. ฉบับที่พิมพ์ ณ “ดาอิรอฮฺ อัล-มาอาริฟ อัล-บาริฏอนียะฮฺ” อินเดีย
ในปี ฮ.ศ. 1312

2. ฉบับที่พิมพ์ ณ “มัฏบะฮฺ อัล-มูนีเราะฮฺ” กรุงไคโร อียิปต์

3. ฉบับที่พิมพ์ ณ “ มัฏบะอฺ อัล-ญามัล” กรุงไคโร ปี ฮ.ศ. 1348

4. ฉบับที่พิมพ์ ณ “ มหาวิทยาลัย เมือง มาดีนะฮฺ” ในปี ฮ.ศ. 1400 ภายใต้การนำเสนอ ของ ฮัมมาด อัล-อันศอรีย์

5. ฉบับที่พิมพ์ ณ “ ดารุล บายาน” ดามัสกัส ซีเรีย โดยการตรวจทานของ มูฮัมหมัด บาชีร อูยูน

6. ฉบับที่พิมพ์ ณ “ ดารุล อีบานะฮฺ” กรุงไคโร โดยการตรวจทานของ มูฮัมหมัด อาลี ร๊อยฮาน

7. ฉบับที่พิมพ์ ณ “ดารุ อิบนิ ซัยดูน” โดยการตรวจทานของ อับบาส
ศิบาฆฺ

8. ฯลฯ

ดังนั้น เมื่อ ในหนังสือ “อัล-อีบานะฮฺ อัน อูศูลิดดียานะฮ” ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลง บิดเบือน แก้ไข ตัดทอน อย่างที่เรารับทราบกันมาพอสมควร

ก็ขอให้เราอย่าได้ ให้ความมั่นใจนักว่า ทุกๆคำพูดที่ปรากฏอยู่ใน
“ อัล-อีบานะฮฺฯ”ในยุคปัจจุบันนี้ จะเป็นคำกล่าวของท่าน อีหม่าม อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์ไปเสียหมด

และอย่าได้ หลงเชื่อการอ้างอิง ของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ที่พยายามใช้
“อัลอีบานะฮฺฯ”เพื่อสนองความต้องการของเขา และหนทางเดียวที่จะรู้ได้ว่า
สิ่งที่มีอยู่ใน “อัล-อีบานะฮฺฯ”นั้น ถูกต้องหรือไม่ ก็โดยการนำคำกล่าวที่เราเคลือบแคลงสงสัยนั้น ไปเทียบกับ หลักศรัทธาของ บรรดา สาลาฟุซซอและฮฺและ
อุลามะอฺ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล ญามาอะฮฺในยุคถัดมา หากตรงต้องกัน ก็โอ แต่หากขัดแย้งกัน ก็โน ไงละครับ...

และส่วนหนึ่ง จากเนื้อหาในหนังสือ “อัล-อีบานะฮฺฯ”ที่มีความสอดคล้องกับหลักศรัทธา ของ บรรดาชาวสาลัฟ และ อุลามะอฺอะฮลุซซุนนะฮฺ ในยุคถัดมา ก็คือ

وأن الله تعالى استوى على العرش على الوجه الذي قاله، وبالمعنى الذي أراده، استواء منزها عن المماسة والاستقرار والتمكن والحلول والانتقال

ความว่า

“(และสรุปจากคำพูดของเราก็คือการที่เรายอมรับ)ว่าองค์อัลลอฮฺ ตาอาลา นั้น ทรงคุณลักษณะ อิสตีวาอฺ เหนือ อารัช(ของพระองค์) บนหนทางที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ และด้วยความหมายที่พระองค์ทรงประสงค์ ซึ่งเป็นการ อิสตีวาอฺ ที่ปลอดจากการ สัมผัส ,การประทับ,การแน่นิ่ง,การสถิต และการเคลื่อนย้าย...”

(โปรดดู “อัล-อีบานะฮฺฯ” หน้าที่ 21 พิมพ์ ณ “ดารุล กีตาบ” โดยการตรวจทานของ ดร. เฟากียะฮฺ ฮูซัยนฺ มะฮฺหมูด พิมพ์ครั้งที่ 2 ค.ศ. 1987)

และก่อนที่เราจะจาก บทความบทนี้ไป ผมอยากให้พี่น้องได้รับทราบ ประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. อาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์ มีชื่อว่า อาลี บิน อิสมาอีล บิน อาบี บิชรฺ อิสฮาก บิน ซาลิม บิน อิสมาอีล บิน อับดุลลอฮฺ บิน มูซา บิน อามีรุล บัสเราะฮฺ บีลาล บิน อาบีบุรดะฮฺ บิน ...อาบูมูซา (อับดุลลอฮฺ บิน กอยซฺ บิน ฮัฎฎอร) อัล-อัชอารีย์(ร.ฎ)...

2. นับตั้งแต่ มารดาของท่าน อัล-อัชอารีย์ได้แต่งงานใหม่ กับท่าน อัล-ญุบบาอีย์(เป็นปราชญ์แนวคิดมุอฺตาซีละฮฺ) ท่าน อัล-ญุบบาอีย์ได้อบรมสั่งสอนท่าน จนเป็นปราชญ์ระดับแนวหน้าของ มุอฺตาซีละฮฺ.

และในปี ฮ.ศ. ที่ 300 ท่านได้หวนคืนสู่ แนวทางของ บรรดาสาลาฟุซซอและฮฺ อันบริสุทธิ์(ด้วยทางนำจากองค์อัลลอฮฺ) และท่านได้ประกาศจุดยืนของ อะฮฺลุซซุนนะฮฺ ต่อหน้า บรรดาปวงปราชญ์ ใน มัสยิด แห่งเมือง บัสเราะฮฺ

3. ประเด็นที่กล่าวกันว่า ท่านได้สำนึกตนจาก อากีดะฮฺที่ผิดๆ ถึงสองครั้งนั้น ถือว่าไม่เป็นความจริง เพราะจุดยืนที่ท่านได้ประกาศต่อหน้าปวงปราชญ์ ใน มัสยิด บัสเราะฮฺ ณ เวลานั้น นับเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย



4. และหากว่า ภายหลังจากที่ท่านได้หวนคืน สู่แนวทาง อันบริสุทธิ์แล้ว ท่านยังมี หลักศรัทธาที่ผิดๆอยู่ แน่นอนเลยที่เดียวว่า บรรดา อุลามะอฺอะฮฺลุซซุนนะฮฺที่เป็นปัจจักพยาน ในขณะนั้น จะต้องเป็นบุคคลแรกที่จะต้องออกมาต่อต้าน หลักศรัทธาที่คลาดเคลื่อนดังกล่าว

5. หนังสือ “อัล-ลุมะอฺ ฟิด ร๊อดดิ อาลา อะฮฺลิ อัซ-ซัยฆี วัล-บีดะอฺ” และตำราเล่มอืนๆของท่าน ย่อมต้องได้รับการตรวจสอบ โดย บรรดาปวงปราชญ์ในสมัยนั้นแล้ว และพวกเขาก็ได้ยอมรับมัน แม้นว่า ขณะนั้น “อัล-อีบานะฮฺฯ”ยังไม่ถูกเรียบเรียงขึ้น สักทีก็ตาม

6. ท่าน อีหม่าม อัล-อัชอารีย์, ท่าน อิบนุ กุลลาบ, ท่าน อาบุล อับบาส อัล-กอลานีซีย์ และท่านอื่นๆ ก่อนจากท่าน (เช่น อีหม่าม บุคอรีย์ และมุสลิม)ต่างก็มีหลักศรัทธาของ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล ญามาอะฮฺ เหมือนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เห็นได้ชัดจากการ ที่พวกเขาได้อธิบายกันถึงเรื่อง “อัฟอาล อัล-อีบาด”(การกระทำต่างๆของบ่าว)

7. หนังสือ “อัล-อีบานะฮฺฯ”นั้น ถือว่าเป็นผลงานของท่าน อัล-อัชอารีย์ เล่มหนึ่งที่ได้อธิบายแจกแจง ตามรูปแบบของ ปวงปราชญ์ส่วนใหญ่แห่งยุคสาลัฟ นั้นก็คือ การมอบหมาย ไปยังอัลลอฮฺ...

เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้ ได้ดำเนินตามรูปแบบของ อิบนุกุลลาบ โดยเฉพาะในเรื่องการ โต้แย้ง กลุ่ม ญะฮฺมียะฮฺ และ กลุ่ม มุอฺตาซีละฮฺ

8. หากประสงค์ที่จะ เข้าใจ แนวทาง ของอาบุล ฮาซัน อัล-อัชอารีย์ อันดับแรกเราต้องย้อนกลับไปดู ผลงานด้านวิชาการ ของปวงปราชญ์ที่ สืบสาย การถ่ายทอดวิชาการ ไปถึงยัง ท่าน อีหม่าม อัล-อัชอารีย์ เช่น
ท่าน อัล-ค๊อฏฏอบีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ.319 ), ท่านอิบนุ มุญาฮิด(เสียชีวิต ฮ.ศ.370) ,ท่าน อัล-บากิลลานีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ.403) ,ท่าน อัล-บัยฮากีย์(เสียชีวิต ฮ.ศ.458) และท่านอื่นๆอีกมากมาย

9. ท่าน อัล-ฮาฟิซ มุรตาฎอ อัซ-ซาบีดีย์ ได้กล่าวไว้ว่า


إذا اطلق أهل السنة والجماعة فالمراد بهم الأشاعرة والماتريدية

ความว่า

“เมื่อได้เอ่ยถึง “อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล ญามาอะฮฺ”แล้ว กลุ่มที่หมายถึงนั้น ก็คือ แนวทางของ อัล-อัชอารีย์ และ อัล-มาตุรีดีย์”

(โปรดดู “ชัรฮุ อิฮฺยาอูลูมิดดีน”ของ อัซ-ซาบีดีย์ เล่มที่ 2 หน้าที่ 6)

ขออัลลอฮฺได้ให้เรายืนหยัดอยู่บนหนทางนี้จวบจนสิ้นลมหายใจเถิด...อามีน...

....wahabi buta….

 

GoogleTagged