ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเบาหวาน  (อ่าน 2566 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
โรคเบาหวาน
« เมื่อ: เม.ย. 10, 2010, 09:35 AM »
0

 salam

 
เบาหวาน (Diabetes Mellitus - DM)

   คำว่าเบาหวาน ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ เบา ซึ่งหมายถึงปัสสาวะ และคำว่า หวาน ซึ่งหมายถึงรสที่เกิดจากน้ำตาล โรคเบาหวาน จึงหมายถึงโรคที่มีน้ำตาลมากกว่าปกติในปัสสาวะ
   โรคนี้พบได้ประมาณ 2.5 – 6 % ของประชากร ถ้าคิดว่าประเทศไทยมีประชากร 63.5 ล้านคน ประมาณว่าน่าจะมีผู้ป่วยเบาหวาน 1.6 – 3.8 ล้านคน
สาเหตุ เบาหวานเป็นโรคที่มีสาเหตุร่วมกันหลายสาเหตุ ได้แก่
1. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อ-แม่ หรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเบาหวาน มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากกว่าคนอื่น
2. อ้วน การอ้วนเกิดจากการกินอาหารมากเกินความต้องการ ถ้าเป็นอาหารประเภทแป้งหรืออาหารหวาน ทำให้ฮอร์โมนชื่อ อินสุลินต้องทำงานหนัก จนเกิดภาวะ ดื้อต่ออินสุลิน อินสุลินนั้นมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติ ถ้าร่างกายพร่องอินสุลินหรือเกิดภาวะดื้ออินสุลิน(Insulin resistance) น้ำตาลก็จะคั่งในกระแสเลือด
3. ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการใช้พลังงาน โดยเฉพาะพลังงานจากน้ำตาล เมื่อขาดการออกกำลังกาย พลังงานที่เหลือใช้จะสะสมอยู่ในรูปไขมันหรือ ไกลโคเจน ซึ่งสลายตัวต่อไปเป็นน้ำตาลได้
4. ยาบางชนิดทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติได้ หรือทำให้คนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว มีระดับน้ำตาลสูงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น ยาสเตียรอยด์
อาการ การมีน้ำตาลสูงในเลือด แต่นำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานในเซลล์ไม่ได้เต็มที่ ทำให้น้ำตาลซึ่งมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ดูดซับเอาน้ำไว้ในกระแสเลือดมากขึ้น ร่างกายจึงพยายามขับน้ำและน้ำตาลส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ร่างกายต้องขาดน้ำ กระหายน้ำ ต้อง ดื่มน้ำบ่อย และเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ ร่างกายต้องการพลังงาน จึงหิวบ่อย เรียกร้องให้รับประทานอาหารมากขึ้น และผลจากที่เอาพลังงานไปใช้ไม่ได้ ทำให้อ่อนเพลียและน้ำหนักลดลง
   เมื่อเป็นเบาหวานนาน ๆ จนหลอดเลือดแดงเริ่มแข็งตัว อาการจะเกิดจากผลข้างเคียงหรือโรคแทรก เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตและความดันเลือดสูงประสาทตาเสื่อม แผลหายยากและช้า ชาเย็นทางเพศหรือสมรรถภาพทางเพศเสื่อม
   อาการจากผลข้างเคียงหรือโรคแทรกเหล่านี้ อาจจะไม่เกิดถ้าสามารถคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
   สรุปอาการที่ใช้เป็นจุดสังเกตว่าน่าเป็นเบาหวาน คือ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะ หิวอาหารบ่อย กินได้แต่อ่อนเพลียและน้ำหนักลด
ประเภทของเบาหวาน เบาหวานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน (Insulin Dependent Diabetes Mellitus - IDDM) เป็นชนิดที่พบ ได้น้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 25 ปี  แต่ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง  ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะสร้างอินสุลินไม่ได้เลย หรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างแอนติบอดี้ ขึ้น ต่อต้านทำลายตับอ่อนของตัวเอง จนไม่สามารถสร้างอินสุลินได้ ดังที่เรียก ว่า"โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง" หรือ "ออโตอิมมูน (autoimmune)" ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติทาง กรรมพันธุ์ ร่วมกับการติดเชื้อ หรือการได้รับสารพิษจากภายนอกผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินสุลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมัน จนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว  และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสาร คีโตน (ketones)  ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้รวดเร็ว เรียกว่า "ภาวะคั่งสารคีโตน หรือ คีโตซิส (Ketosis)"
2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน (Non- Insulin Dependent Diabetes Mellitus - NIDDM)  เป็น เบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อยมักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถสร้างอินสุลินแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้มีน้ำตาลที่เหลือใช้ กลายเป็น เบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้ยังอาจแบ่งเป็นพวกที่อ้วนมาก ๆ กับพวกที่ไม่อ้วน (รูปร่าง ปกติ หรือผอม) สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อ้วนเกินไปมีลูกดกจากการใช้ยา หรือพบร่วมกับโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เช่นที่เกิดกับชนิดพึ่งอินสุลิน การควบคุมอาหาร หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกินก็มักจะได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินสุลินฉีดเป็นครั้งคราวแต่ไม่ต้องใช้อินสุลินตลอดไป จึงถือว่าไม่ต้องพึ่งอินสุลิน
การวินิจฉัย ถ้ามีประวัติเบาหวานในครอบครัว และมีอาการ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หิวอาหารบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ควรตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่ วิธีตรวจ ให้งดอาหาร 8 ชั่วโมงแล้วเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาล ระดับน้ำตาลของคนปกติอยู่ที่ 70 – 110 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร(นิยมเรียกว่า มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)
ถ้าระดับน้ำตาลสูงกว่า 110 มก.% ถือว่าเป็นเบาหวานขั้นต้น
ถ้าระดับน้ำตาลสูงกว่า 126 มก.% ถือว่าเป็นเบาหวานแน่นอน
ถ้าระดับน้ำตาลสูงกว่า 200 มก.% ถึงจะตรวจใจขณะที่ไม่ได้อดอาหาร ก็ถือว่าเป็นเบาหวานเช่นกัน
การรักษา การรักษาที่ถือว่าเป็นมาตรฐานทองคำ(Gold standard) คือ การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย
อาหารที่ควบคุมเคร่งครัด ได้แก่ ขนมหวานทุกชนิด น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ



อาหารที่ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ฟัก ผักกาด ถั่วพู ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักคะน้า มะเขือทุกชนิด มะเขือเทศ ฯลฯ
อาหารที่ควบคุมโดยจำกัดจำนวน ไม่ให้กินเกินร้อยละ 30 ของแต่ละมื้อ ได้แก่ อาหารประเภทแป้งต่าง ๆ เช่น ข้าว ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารมัน
สำหรับการออกกำลังกายนั้น หมายถึงการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อยวันละ 15 นาที(จนกระทั่งเหงื่อออก) เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงาน และกระทำให้สม่ำเสมอ
ในกรณีที่คุมอาหารและออกกำลังกายแล้วไม่ได้ผล ต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาล ควรปรึกษาแพทย์
   ผมเห็นว่า มุสลิมเราเป็นเบาหวานกันในอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง จึงนำบทความนี้มาเสนอ ขนาดเอาแบบสั้น ๆ แล้วนะเนี่ย ยังไม่ได้อย่างที่ใจต้องการ สงสัยว่าจะต้องมีตอนสอง


วัสสลาม

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคเบาหวาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เม.ย. 10, 2010, 11:50 AM »
0
อันตรายของมุสลิมกินบุญ ทั้งเบาหวาน+ไขมัน
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: โรคเบาหวาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เม.ย. 10, 2010, 12:03 PM »
0
sweet pee
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ Almujahid

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 108
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคเบาหวาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เม.ย. 11, 2010, 11:34 PM »
0
น่ากลัวจังรู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอาการ

ออฟไลน์ Almujahid

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 108
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคเบาหวาน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เม.ย. 12, 2010, 07:41 PM »
0
น่ากลัวจังรู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอาการ
งง ใครloginชื่อเราอะ ผมไม่ได้เขามาหลายวันแล้ว และก็ไม่ได้โพสอะไรด้วย

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคเบาหวาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เม.ย. 13, 2010, 01:20 PM »
0
 salam

ขออนุญาตนำบทความเรื่องเบาหวานมาเสนอต่อ ในส่วนที่เกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี  มักพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง  เช่น ปัญหาด้านสายตา ไตวาย  โรคหัวใจ อัมพาต ขาชา แผลเน่าโดยเฉพาะบริเวณเท้า  ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่เกิด  ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากเท่าไร ช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนเรื้อรังลงได้มากเท่านั้น  ถ้าตรวจพบโรคแทรกซ้อนและได้รับการรักษาโดยเร็วจะทำลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนได้มาก
โรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากระดับ น้ำตาลในเลือดที่สูง เป็นระยะเวลานาน จนเป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบหลอดเลือดซึ่งเป็นเสมือนท่อส่งน้ำเลี้ยงของร่างกาย  ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดด้วยโดยจะมีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ และมีความดันเลือดสูงกว่าปกติ  ทั้งระดับน้ำตาลที่สูง ไขมันในเลือดที่สูง และความดันโลหิตที่สูงจะมีผลต่อผนังหลอดเลือด เกิดการเสื่อมสภาพ มีการอักเสบ และมีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้ตีบ แคบลง หรืออาจตันไปในที่สุด เลือดผ่านไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่ได้ เกิดภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร ขาดออกซิเจน ทำให้อวัยวะนั้นๆ เสียหาย  เช่นถ้าเกิดกับหลอดเลือดหัวใจเกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ถ้าเกิดกับเส้นเลือดสมอง ก็จะเกิดอาการอัมพาต ถ้าเกิดกับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเสื่อม โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า  ถ้าเกิดกับจอประสาทตาทำให้จอตาเสื่อม มีเลือดออก จอประสาทตาหลุดลอก ทำให้ตาบอด  ถ้าเกิดกับเส้นเลือดที่ไต  ทำให้ไตขาดเลือด  ไตเสื่อม เป็นโรคไตวายในที่สุด


ไตเสื่อม ไตวาย จากเบาหวาน
 
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานกว่า  10  ปี มักเกิดปัญหาไตเสื่อม  แต่ความรุนแรงและระยะการเกิดจะมากหรือน้อยขึ้นกับการควบคุมน้ำตาลในเลือด และที่สำคัญที่สุดคือ  การตรวจหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ตั้งแต่เริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการด้วยวิธีตรวจหาปริมาณ  ไข่ขาว(albumin)ในปัสสาวะที่เก็บภายใน  24  ชั่วโมง  ซึ่งเมื่อตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้นนี้  จะมีการดูแลรักษาเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้มาก  สามารถยืดระยะเวลาการดำเนินของโรค เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังได้อีกหลายปี
สำหรับ ผู้ป่วยที่มีปริมาณไข่ขาวออกมาในปัสสาวะปริมาณมาก จนสามารถตรวจพบได้โดยใช้แถบตรวจ  แสดงว่าไตเสื่อมมากแล้ว  ระยะนี้การควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่สามารถชะลอความเสื่อมของไตลงได้  แต่การรับประทานอาหารโปรตีนต่ำและการได้รับยาลดปริมาณไข่ขาวที่รั่วออกมาใน ปัสสาวะ ช่วยทำให้ไตไม่ต้องทำหน้าที่หนักเกินไป
เมื่อ อาการเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย  ผู้ป่วยจะมีอาการบวม  ความดันเลือดสูงมาก  คลื่นไส้  อาเจียน ซีด  อ่อนเพลีย  อาหารโปรตีนต่ำจะช่วยลดอาการไม่สบายจากของเสียคั่งค้างในกระแสเลือดได้
ในระยะนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ได้รับการบำบัดรักษาด้วยวิธีฟอกเลือก  ล้างไตทางช่องท้อง ทางหลอดเลือด  หรือเปลี่ยนไต ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย


ห้องล้างไต

เมื่อเริ่มมีภาวะไตเสื่อมการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธีสามารถลดความรุนแรงและชะลอความเสื่อมของไต ได้ดังนี้
1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด
2.  เริ่มรับประทานอาหารที่มีโปรตีนน้อยลง และเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งได้แก่ ไข่ เนื้อที่ไม่ติดหนัง หลีกเลี่ยงส่วนของเอ็น พังผืด เครื่องในสัตว์ เพราะเนื้อสัตว์เหล่านี้จะเพิ่มภาระหนักให้กับไตที่ต้องขับของเสียออก ควรรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อปลา เนื้อไก่
3. ลดอาหารที่มีรสเค็ม  และอาหารที่มีผงชูรส  สารกันบูดต่างๆ  เพราะมีส่วนผสมของเกลือ
โซเดียมที่ทำให้ความดันเลือดสูงและเกิดอาการบวม
4. ควบคุมความดันเลือดอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เกิน  130/80  มม.ปรอท


จอประสาทตาเสื่อม จากเบาหวาน เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้มีอาการตามัว   จะมีอาการเหมือนมีม่านดำขึงผ่านขวางตา หรือเหมือนมีแสงสีดำพาดผ่านตา  ซึ่งเมื่อมีอาการเช่นนี้ให้พบจักษุแพทย์ทันทีเพราะอาจทำให้ตาบอดได้
การ ตรวจพบความผิดปกติของผนังเส้นเลือดในตา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการตามัวโดยการพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตา  จะช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้  เมื่อตรวจพบความผิดปกติของหลอดเลือดฝอยในลูกตา  การรักษาด้วยเลเซอร์ให้ผลดีโดยจะช่วยป้องกัน  หรือชะลอการสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่  และสามารถทำลายเส้นเลือดฝอยที่สร้างใหม่แต่เปราะนั้นได้ด้วย
ต้อกระจกจากเบาหวาน สาเหตุเกิดจากการสะสมรวมตัวกันของน้ำตาลบริเวณเลนส์ตา  ทำให้เลนส์ตาบวมและมัวลงไม่เกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดภายในลูกตา  ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการควบคุมน้ำตาลในเลือด และรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์


เลนส์ตาขุ่นในโรคต้อกระจก

(ยังมีต่อ)

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคเบาหวาน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เม.ย. 15, 2010, 09:19 PM »
0
 salam

นำเสนอเรื่องเบาหวานเป็นตอนสุดท้าย

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน(ต่อ)

ปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน  โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ทำให้รู้สึกรำคาญและทุกข์ทรมาน  เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย   ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้  รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทเองด้วย จึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง   การรับรู้ความรู้สึกต่างๆลดลง  โดยเฉพาะบริเวณปลายมือปลายเท้า จะเกิดอาการชา  เมื่อกระทบถูกความร้อนหรือเจ็บปวดจะไม่ค่อยรู้สึก  จึงเป็นอันตรายกับผู้ป่วยเบาหวาน  เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้ง่ายโดยไม่รู้สึกตัว  เมื่อเป็นมากอาจทำให้กล้ามเนื้อลีบเล็กลง  ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง  นอกจากนั้นยังส่งผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณระบบทางเดินอาหารด้วย จึงทำให้เกิดอาการท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ สำหรับผู้ชายที่เป็นเบาหวานมานามมักพบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย
การ รักษาอาการปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ทำได้เพียงบำบัดตามอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้คืนกลับสู่สภาพเดิมได้  แต่การควบคุมน้ำตาลในเลือดจะช่วยลดความรุนแรงได้
แผลเรื้อรังจากเบาหวาน
แผลเรื้อรังเป็นผลมาจากการดูแลแผลเฉียบพลันไม่ดี โดยเฉพาะแผลที่เท้า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีปลายประสาทเสื่อมและหลอดเลือดแข็งตัวผิดปกติ เลือดไหลเวียนไม่ดี แผลจึงหายช้าและเรื้อรัง ในบางกรณีแผลลุกลามจนควบคุมไม่ได้ ต้องตัดอวัยวะที่เป็นแผลนั้นๆ เพื่อรักษาอวัยวะส่วนที่เหลือ
 



โรคหลอดเลือดหัวใจนับ เป็นโรคแทรกซ้อนที่คุกคามต่อชีวิตได้  ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก จากเส้นเลือดหัวใจตีบ  กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด
 

ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากควบคุมเบาหวานไม่ดี  ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง ไม่ออกกำลังกาย อ้วน สูบบุหรี่ประวัติโรคหัวใจในครอบครัว  และเป็นผู้ที่เครียดเป็นประจำ
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวข้างต้น  และตรวจร่างกายเป็นประจำจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจลง ได้มาก
โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณสมองตีบตัน  ทำให้เกิดการพิการหรืออาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้  โอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบตันจะสูงมากขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันเลือดสูงร่วมด้วย  ทำให้อวัยวะที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่ อ่อนแรงลงไปเกิดอัมพฤกษ์  หรืออัมพาต   ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด  ผ่านพ้นภาวะอันตรายแล้ว  การทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูสภาพการทำงานของขาที่อ่อนแรงนั้นได้ดียิ่งขึ้น



รถประจำตำแหน่งผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวาน
1. ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ให้เกิน   140 มก./ดล.
2. ควบคุมความดันเลือดไม่ให้เกิน   130/80  มม.ปรอท
3. ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน
4. ควบคุมระดับไขมันในเลือด
• แอลดีแอล ต่ำกว่า 70 มก./ดล.
• เอชดีแอล          สูงกว่า    40   มก./ดล.
• คอเลสเตอรอล    ต่ำกว่า   200  มก./ดล.
• ไตรกลีเซอไรด์    ต่ำกว่า   150  มก./ดล.
5. งดสูบบุหรี่
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7. ดูแลรักษาเท้า โดยป้องกันไม่ให้เกิดแผลและหมั่นตรวจเท้าสม่ำเสมอ
8. ตรวจตา  และตรวจหาปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะ  ปีละ  1 ครั้ง แม้ยังไม่มีอาการ
โรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวานก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิต ใจ  ส่งผลต่อการทำงานและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน  สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น  และบางครั้งโรคแทรกซ้อนนั้นอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที  การมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว  ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพที่ดี  ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการรักษาโรคแทรกซ้อน  และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี


อัลลอฮฺทรงประทานชีวิตอันมีค่าให้แก่มนุษย์ ดังนั้น มนุษย์มีหน้าที่รักษาชีวิตของตนเองให้ยืนยาวเพื่อที่จะได้ปฏิบัติภักดีต่อพระองค์ในมากที่สุด เมื่อมีอาการเจ็บป่วยต้องขวนขวายที่จะรักษา ถ้าป้องกันได้ ก็ต้องป้องกัน มิใช่ปล่อยไป บ้างอ้างว่า อัลลอฮฺให้เป็นได้ อัลลอฮฺก็ให้หายได้ เป็นการมองชีวิตในทางที่ผิด
ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า



เล่าจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนะบียฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่ประสบกับมุสลิมจากความเหน็ดเหนื่อย โรคประจำตัว ความกังวล ความเศร้า ภัยอันตรายและความมัวหมอง แม้กระทั่งหนามที่ตำ นอกจากอัลลอฮฺจะให้มันเป็นเครื่องลบล้างความผิดของเขา (บันทึกโดยท่านอาจารย์ทั้งสอง)


เล่าจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนะบียฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ทุก ๆ โรคมียารักษา เมื่อยาตรงกับโรค ก็หายจากโรคนั้นโดยอนุมัติของอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่และเกรียงไกร(บันทึกโดยมุสลิม)

ขอดุอาอุ์จากอัลลอฮฺตะอาลา ให้พวกเราห่างจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคเบาหวานโดยทั่วกัน

วัสสลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮิวะบะเราะกาตุฮฺ


 

GoogleTagged