السلام عليكم ورحمة الله تعالى وبركاته
بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين ، والصلاة والسلام على رسول الله صلى الله عليه وسلم وعلى آله وصحبه اجمعين
ท่านกอฏีฮูเซน ท่านค๊อตต๊อบีย์ ท่านรูยานีย์ และคนอื่นๆ (จากสายซาฟีอียะห์) ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องการละหมาดรวมของผู้ป่วยว่า เป็นเรื่องอนุญาตให้กระทำได้ โดยท่านนาวาวีย์ก็ได้เลือกแนวทางนี้เช่นกัน โดยท่านได้กล่าวไว้ว่า "มันเป็นทรรศนะที่ถูกเลือก ในแนวทางการตีความ เพราะได้เผยการมีอัลฮาดิษ และเพราะการปฏิบัติของท่านอิบนุอับบาสกับความเห็นพ้องต้องกันของท่านอบีฮูรอยเราะห์ และเพราะว่าความยากลำบากในการป่วยนั้นมีมากว่าฝนตก" (ชาเราะห์ซอแฮะมุสลิมของท่านอิหม่ามนาวาวี 5/226)
ในการนี้ถือเป็นการส่งเสริมให้ความสะดวกแก่ผู้ป่วย ดังนั้นหากว่าเขามีอาการตัวร้อน (เป็นประจำ) ในช่วงเวลาที่สอง (ของละหมาดรวม) ก็ให้เขาละหมาดรวมแบบตักเดมด้วยกับข้อกฏของการทำตักเดม และหากเขามี้อาการตัวร้อน ในช่วงเวลาละหมาดแรก (ของละหมาดรวม) ก็ให้เขาละหมาดรวมแบบตะเคร ฉัน (อิหม่ามนะวาวี) ขอกล่าวว่า "คำพูดที่ว่าอนุญาตให้รวมได้ด้วยสาเหตุป่วยนั้น เป็นทรรศนะที่ถูกเลือกอย่างชัดเจน เพราะได้มียืนยันในซอแฮะมุสลิมว่า "ท่านนะบี (ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิว่าซัลลัม) ได้ละหมาดรวมที่มาดินะห์ โดยไม่มีเหตุน่ากลัวใดๆ และไม่มีฝน..." (อัรเราเดาะห์ ของอิหม่ามนะวาวีย์ หน้า ๑๔๖)
สรุปแล้วการละหมาดรวมของผู้ป่วยหนัก เนื่องจากเป็นความสะดวกจากการที่เขาจะทำละหมาดรวม ถือเป็นเรื่องอนุญาตให้ทำได้ ตามมัสฮับซาฟีอี
ส่วนผู้มีประจำเดือนนั้น การละหมาดรวมนั้นไม่ถือเป็นเรื่องอนุญาต เพราะผู้มีประจำเดือนนั้นไม่ถูกอนุญาตให้ละหมาดอยู่แล้ว ทว่าการชดใช้ละหมาดของผู้มีประจำเดือนก็ไม่เป็นสิ่งจำเป็นด้วย นอกเสียจากนางหมดประจำเดือนในช่วงเวลาละหมาดที่สองของละหมาดรวม ดังนั้นหากนางหมดประจำเดือนในช่วงละหมาดอัสรี นางจะต้องชดใช้ละหมาดดุฮร์ด้วย เพราะดุฮร์และอัสรี่สามารถรวมกันได้ และเช่นเดียวกัน หากนางหมดประจำเดือนในช่วงอีซา นางต้องใช้ละหมาดมักริบด้วย เพราะทั้งสองสามารถทำละหมาดรวมกันได้ (หนังสือ อัลบุญัรรีมีย์)
แต่ตามมั่วะตะมัตของฟิกฮ์ชาฟีอีแล้ว การขาดละหมาดในช่วงมีประจำเดือนนั้น ไม่จำเป็นต้องชดใช้ละหมาด
والله تعالى أعلم