ตอริกัตได้ผนวจชาริอัตด้วยกับฮะกีกัต หรืออีกสำนวนหนึ่งคือ หลักอิหม่านได้ผนวจหลักอิสลามไว้ด้วยหลักอิหฺซาน
ตามที่ท่าน อิมาม อะหฺมัด ซัรรูก ได้กล่าวไว้ในกฏแห่งตะเซาวุฟข้างต้นว่า
ولا يصح مشروط بدون شرطه
"สิ่งที่ถูกวางเงื่อนไขนั้นจะใช้ไม่ได้หากปราศจากเงื่อนไขของมัน"
ก็เนื่องจากว่า หลักอิหฺซานจะมีขึ้นมาไม่ได้ หากปราศจากหลักอิสลาม และหลักอิสลามจะมีไม่ได้หากปราศจากอิหฺซาน(การมีความสัจจริงแน่วแน่บริสุทธิ์ใจ(อิคลาศ)มุ่งต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา) หรือพูดในสำนวนของอุลามาอ์ตะเซาวุฟ ที่ว่า "ฮะกีกัตย่อมมีขึ้นมาไม่ได้หากปราศจากชาริอัต และชาริอัตย่อมเกิดขึ้นมาไม่ได้หากปราศจากฮะกีกัต" หรือจะกล่าวอีกสำนวนหนึ่งว่า "ตะเซาวุฟจะมีขึ้นมาไม่ได้หากปราศจากฟิกห์ หรือฟิกห์จะเกิดขึ้นมาไม่ได้หากปราศจากตะเซาวุฟ"
ไม่ว่า เราจะเรียก อิสลาม ว่า ชะรีอัต เรียกอีหม่าน ว่า ต่อรีกัต และเรียกเอี๊ยะหฺซาน ว่า ฮะกีกัต ย่อมไม่ปัญหา เนื่องจากมันเป็นแค่การเรียกคำศัพท์เฉพาะของปวงปราชญ์สาขานั้น ๆ
ซึ่งบรรดาปวงปราชญ์มีมติว่า
لا مشاحة فى الإصطلاحات
"ไม่มีการขัดข้องในการเรียกศัพท์เชิงวิชาการ"
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรวมกันระหว่างทั้งสอง คือระหว่างอิสลามกับอิหฺซาน ซึ่งทั้งสองนี้จะมีขึ้นมาไม่ได้นอกจากด้วย อิหม่าน หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า "จำเป็นต้องรวมกันระหว่างชะรีอัต(อิสลาม)กับฮะกีกัต(อิหฺซาน) ซึ่งทั้สองจะเกิดขึ้นไม่ได้นอกจากด้วยตอริกัต(อิหม่าน)" หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า "จำเป็นต้องรวมกันระหว่างฟิกห์และตะเซาวุฟ ซึ่งทั้งสองจากเกิดขึ้นมาไม่ได้นอกด้วย ความแน่วแน่สัจจริง"
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละ ที่ท่านอิมาม มาลิก (ร.ฏ.) กล่าวว่า
من تصوف ولم يتفقه فقد تزندق ، ومن تفقه ولم يتصوف فقد تفسق ، ومن جمع بينهما فقد تحقق
"ผู้ใดที่มีตะเซาวุฟแต่ไม่มีฟิกห์ แน่นอน เขาย่อมเป็นผู้นอกศาสนา , และผู้ใดที่มีฟิกห์แต่ไม่มีตะเซาวุฟ แน่นอน เขาย่อมเป็นคนชั่ว , และผู้ใดที่รวมระหว่างทั้งสอง แน่นอน เขาย่อมบรรลุสัจจะธรรม"