ผู้เขียน หัวข้อ: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)  (อ่าน 22220 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 07:50 AM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم
قاعدة 108
بساط الكرم قاض بأن الله تعالى لا يتعاظمه ذنب يغفره. وبساط الجلال قاض بأن الله تعالى يأخذ العاصي ولا يمهله. فلزم أن يكون العبد ناظرا لهما في عموم أوقاته، حتى لو أطاع بأعظم الطاعات، لم يأمن مكر الله، ولو عصى بأعظم المعاصي لم ييأس من روح الله. وبحسب ذلك، فهو يتقي الله ما استطاع، ويتوب إليه، ولو عاد في اليوم ألف مرة، فافهم

กฎที่ 108
ความใจบุญอันกว้างขวางนั้นได้ติดสินว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่เป็นเรื่องหนักหนาเลยที่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้กับบาปหนึ่ง และอำนาจอันกว้างขวางนั้นได้ตัดสินว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะลงโทษผู้ฝ่าฝืนและไม่ประวิงเวลาให้เขาเลยแม้แต่น้อย ดังนั้นจำเป็นในการที่บ่าวจะต้องคำนึงถึงสองประการนี้ในทุกขณะของเขา แม้ว่าเขาจะทำการตออัตที่ยิ่งใหญ่ก็ตาม เขาก็ไม่อาจรอดพ้นจากแผนการของอัลลอฮฺได้ และแม้ว่าเขาจะฝ่าฝืนด้วยมะศียัตที่ใหญ่หลวงแค่ไหน เขาก็จะไม่สิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮฺ และด้วยการเพียงเท่านี้เอง เขาก็จะยำเกรงต่ออัลลอฮฺสุดความสามารถ และทำการเตาบะฮฺต่อพระองค์ และถึงแม้ว่าเขาจะกลับ (ไปสู่การทำมะศียัต) อีกสักพันครั้งในหนึ่งวันก็ตาม โปรดจงเข้าใจ...

أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 07:59 AM »
0
قاعدة 107
تمرين النفس في أخذ الشيء وتركه وسوقها بالتدريج، أسهل لتحصيل المراد منها. فلذلك قيل: ترك الذنوب أيسر من طلب التوبة، ومن ترك شهوته سبع مرات كلما عرضت له تركها لم يبتل بها، والله أكرم من أن يعذب قلبا بشهوة تركت لأجله.

وقال المحاسبي رحمه الله في صفة التوبة: "إنه يتوب جملة، ثم يتبع التفاصيل بالترك، فإن ذلك أمكنه" وهو صحيح والله أعلم

กฎที่ 107
การฝึกหัดนัฟซูโดยการเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใด และละทิ้งมัน และควบคุมมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการจากการนัฟซูนั้น  เนื่องจากสิ่งดังกล่าวนี้เอง จึงมีผู้กล่าวว่า การละทิ้งบาปต่างๆ นั้น ง่ายกว่าการแสวงหาเตาบะฮฺ และผู้ใดก็ตามที่ละทิ้งอารมณ์ใคร่ของเขา 7 ครั้ง ทุกครั้งที่มันเกิดขึ้นกับเขา เขาก็ละทิ้งมัน เขาก็ไม่ได้บริสุทธิ์จากอารมณ์ใครนั้น และอัลลอฮฺนั้นทรงใจบุญมากเกินกว่าที่จะลงโทษหัวใจดวงหนึ่งที่ความใคร่หนึ่งถูกยับยั้งเพื่อพระองค์

และท่านมุฮาซิบีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวในการให้ลักษณะการเตาบะฮฺว่า "แท้จริงเขาทำการเตาบะฮฺโดยรวม หลังจากนั้นเขาก็ติดตามข้อปลีกย่อยต่างๆ ด้วยกับการละทิ้ง ดังนั้นสิ่งดังกล่าวนี้มันเป็นไปได้สำหรับเขา"

ป.ล. หากให้ความหมายผิดพลาดประการใด วานผู้รู้ทุกท่านโปรดชี้แนะ  ;D
أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 09:14 AM »
0
 salam

ญะซากัลลอฮ์ค็อยร็อนครับท่าน  นำเสนอต่อไปเรื่อย ๆ ครับ  ว่าง ๆ ผมจะนำเสนอเป็นเพื่อน  อินชาอัลเลาะฮ์   ;D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 10:20 AM »
0
قاعدة 171

جواب على مسالة الغني الشاكر والفقير الصابر

الفقر والغنى وصفان وجوديان، يصح اتصاف الحق بالثاني منهما دون الأول، فلزم فضله عليه.

ثم هل تعلق العبد بوصف ربه أولى أو تحققه بوصفه أتم؟ وهي مسألة الغني الشاكر، والفقير الصابر، وللناس فيها طريقان، والحق أن كلا منهما مضمن بالآخر، فلا تفاضل، وقد اختار كلا مهما رسول الله صلى الله عليه وسلم حيث قال: (أجوع يوما وأشبع يوما) الحديث، فافهم

อัลกออิดะฮ์ที่  171

ตอบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับคนรวยที่ชุโกรกับคนจนที่อดทน

ความยากจน(ความต้องการ)และความร่ำรวย(ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น)นั้น เป็นคุณลักษณะแห่งการมี  ซึ่งถือว่าถูกต้องโดยการที่อัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะที่สองไม่ใช่คุณลักษณะแรก  ดังนั้นจึงจำเป็นว่าความร่ำรวยจึงประเสริฐกว่าความยากจน (ตามนัยยะดังกล่าว)

จากนั้น  ผู้เป็นบ่าวที่ผูกพันกับคุณลักษณะของผู้อภิบาลของเขาย่อมดีกว่าหรือการที่บ่าวได้ทำการเขาบรรลุถึงคุณลักษณะของผู้อภิบาลของเขานั้นเป็นความสมบูรณ์ยิ่งกว่าหรือไม่?  ซึ่งมันเป็นประเด็นปัญหาของคนรวยที่ชุโกร(กตัญญูรู้คุณ)กับคนยากจนที่มีความอดทน คือในประเด็นนี้นั้น สำหรับมนุษย์แล้วมีอยู่ 2 หนทาง (คือเป็นคนรวยที่ชุโกรหรือเป็นคนจนที่อดทน) และความจริงแล้วนั้น  ทุก ๆ จากทั้งสองย่อมประมวลเข้าด้วยกันอีกฝ่ายหนึ่ง  ดังนั้นจึงไม่มีความเหลื่อมล้ำกัน(ระหว่างทั้งสอง)  และแท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้เลือกทุก ๆ จากทั้งสอง  โดยท่านกล่าวว่า "ฉันหิวหนึ่งวันและฉันอิ่มหนึ่งวัน" จนจบฮะดิษ(ซึ่งรายงานโดยติรมีซีย์) ดังนั้น  ท่านโปรดเข้าใจ   loveit:

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 10:46 AM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

قاعدة 195

فائدة التدقيق في عيوب النفس معرفة المرء بنفسه وتواضعه لربه

فائدة التدقيق في عيوب النفس وتعرفها وتعرف دقائق الأحوال، معرفة المرء بنفسه وتواضعه لربه، ورؤية قصوره وتقصيره وإلا فليس في قوة البشر التبري من كل عيب بإزالته. إذ لو انك لا تصل إلى الله إلا بعد فناء مساويك ومحو دعاويك لم تصل إليه أبدا، فافهم

กออิดะฮ์ที่ 195

ประโยชน์การตรวจสอบอย่างละเอียดละออในข้อตำหนิของจิตใจ คือ การที่บุคคลหนึ่งรู้ถึงจิตใจของตนเองและนอบน้อมต่อผู้อภิบาลของเขา

"ประโยชน์การหมั่นตรวจสอบในบรรดาข้อตำหนิของจิตใจและทราบประจักษ์ของข้อตำหนิและรู้ถึงสภาวะต่าง ๆ ของจิตใจนั้น  คือการรู้จักตัวของเขาเองและมีการนอบน้อมต่อผู้อภิบาลของเขา  และการเห็นถึงความสะเพร่าและความบกพร่องของตนเอง  หากมิเป็นเช่นนั้น  ในพลังของมนุษย์นั้นมิสามารถรอดพ้นจากทุก ๆ ข้อตำหนิ  ด้วยการขจัดมันให้หมดไปได้หรอก  เนื่องจากว่า  หากแม้นท่านจะไม่ถึงไปยังอัลเลาะฮ์นอกจากทำให้ดับสูญกับความชั่วต่าง ๆ ของท่าน และลบความทุกข์ยากต่าง ๆ ของท่านไป   แน่นอน  ท่านจะไม่มีวันถึงไปยังพระองค์  ท่านโปรดจงเข้าใจ"

หมายถึง  การที่จะไปถึงอัลเลาะฮ์ได้นั้น  ต้องหมั่นตรวจสอบข้อบกพร่องของตนเอง  และต้องต่อสู้มุญาฮะดะฮ์กับความชั่วและต้องมีฝ่าฟันมีความอดทน  ท่านก็จะสามารถนำสิ่งดังกล่าวเป็นสะพานไปสู่ความพึงพอพระทัยของพระองค์ได้   loveit:
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 12:06 PM »
0
قاعدة  21

الأغلب في الظهور لازم في الاستظهار بما يلازمه، وقد عرف أن التصوف لا يعرف إلا مع العمل به فالاستظهار به دون عمل تدليس، وإن كان العمل شرط كماله، وقد قيل: (العلم بالعمل فإن وجده وإلا ارتحل). أعاذنا الله من علم بلا عمل آمين

กออิดะฮ์ที่ 21

"ส่วนมากในการปรากฏให้เห็นจำเป็นในการแสดงออกมาด้วยกับสิ่งที่ติดตามมา  แท้จริงเป็นที่รู้กันว่า ตะเซาวุฟนั้นจะไม่ถูกรู้จักนอกจากพร้อมกับการปฏิบัติ  และการแสดงออกมาซึ่งตะเซาวุฟโดยไม่มีการปฏิบัตินั้น  เป็นการอำพราง  และการปฏิบัตินั้นเป็นเงื่อนไขของความสมบูรณ์ตะเซาวุฟ  ได้ถูกกล่าวว่า "ความรู้จะเรียกร้องการปฏิบัติ  ดังนั้นหากเขาพบความรู้(ก็จงปฏิบัติ)  หากมิเช่นนั้น  มันก็จะจากไป"  เราขอความคุ้มครองกับอัลเลาะฮ์จากความรู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ  อามีน"
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #66 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 12:16 PM »
0
قاعدة  22

لا يصلح العمل بالشيء إلا بعد معرفة حكمه ووجهه، فقول القائل لا أتعلم حتى أعمل كقوله لا أتداوى حتى تذهب علته، فهو لا يتداوى ولا تذهب علته، ولكن العلم ثم العمل ثم النشر ثم الإجادة، وبالله التوفيق

"กออิดะฮ์ที่ 22

การปฏิบัติด้วยกับสิ่งหนึ่งจะดีไม่ได้นอกจากรู้ข้อกำหนด(ฮุกุ่ม)และแนวทางของมัน  ดังนั้น   การที่คนหนึ่งได้กล่าวว่า  ฉันจะไม่ร่ำเรียนจนกระทั่งฉันปฏิบัติ  ซึ่งเหมือนกับคำพูดของเขาที่ว่า  ฉันจะไม่เยียวยารักษาจนกระทั่งความป่วยของเขาได้หาย  ดังนั้น  เขาไม่ได้เยียวยาและความป่วยก็ไม่หาย  แต่ทว่าเขาจงรู้  จากนั้นปฏิบัติ  จากนั้นเผยแผ่  จากนั้นทำให้มีผลประโยชน์  ด้วยอัลเลาะฮ์ทรงชี้นำทาง"
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #67 เมื่อ: เม.ย. 30, 2008, 11:37 PM »
0
 salam

ขอเข้ามาอ่านอย่างเีดียวก่อน   ;D
أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #68 เมื่อ: ส.ค. 29, 2008, 05:12 PM »
0
ขอถามนอกประเด็นหน่อยครับว่า ไม่ว่าทราบว่า ก็วาดุ้ลฟิกฮฺ กับ อุศูลุลฟิกฮฺ คือวิชาแขนงเดียวกันไหม หรือแตกต่างกัน หากแตกต่างกัน มันแตกต่างอย่างไรครับ - วัสสลาม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ JawhaR

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1303
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #69 เมื่อ: ต.ค. 11, 2009, 04:05 PM »
0
 salam

ขุดๆๆ
รอการนำเสนอต่อไปนะคร๊าบบบ   :-*
I'm just a Mini Muslim and will try to be   StrongeR. Insha-Allah

subson

  • บุคคลทั่วไป
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #70 เมื่อ: ต.ค. 12, 2009, 12:19 AM »
0
قاعدة  21

الأغلب في الظهور لازم في الاستظهار بما يلازمه، وقد عرف أن التصوف لا يعرف إلا مع العمل به فالاستظهار به دون عمل تدليس، وإن كان العمل شرط كماله، وقد قيل: (العلم بالعمل فإن وجده وإلا ارتحل). أعاذنا الله من علم بلا عمل آمين

กออิดะฮ์ที่ 21

"ส่วนมากในการปรากฏให้เห็นจำเป็นในการแสดงออกมาด้วยกับสิ่งที่ติดตามมา  แท้จริงเป็นที่รู้กันว่า ตะเซาวุฟนั้นจะไม่ถูกรู้จักนอกจากพร้อมกับการปฏิบัติ  และการแสดงออกมาซึ่งตะเซาวุฟโดยไม่มีการปฏิบัตินั้น  เป็นการอำพราง  และการปฏิบัตินั้นเป็นเงื่อนไขของความสมบูรณ์ตะเซาวุฟ  ได้ถูกกล่าวว่า "ความรู้จะเรียกร้องการปฏิบัติ  ดังนั้นหากเขาพบความรู้(ก็จงปฏิบัติ)  หากมิเช่นนั้น  มันก็จะจากไป"  เราขอความคุ้มครองกับอัลเลาะฮ์จากความรู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ  อามีน"


อืม ช่ายๆๆๆๆๆๆๆ การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ รู้แล้วต้องปฏิบัติ  ถ้าไม่ปฏิบัติ................... mycool:


ออฟไลน์ isma-il

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #71 เมื่อ: ต.ค. 29, 2010, 01:30 PM »
0
 สลามฯ

มาขุดกระทู้นี้ครับ

ไม่ทราบว่า จะมีเพิ่มเติมใหมครับ

หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)

วัสลามฯ

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #72 เมื่อ: พ.ย. 10, 2010, 11:20 AM »
0
 :salam:

قاعدة 12

شرف الشيء إما أن يكون بذاته فيتجرد طلبه لذاته، وإما أن يكون لمنفعته فيطلب من حيث يتوصل منه إليها به، وإما أن يكون لمتعلقه فيكون الفائدة في الوصلة بمتعلقه.
 فمن ثم قيل: علم بلا عمل وسيلة بلا غاية، وعمل بلا علم جناية، والعقل أفضل من علم به، والعلم به تعالى أفضل العلوم، لأنه أجل العلوم، وعلم يراد لذاته افضل، لكون خاصيته في ذاته، كعلم الهيبة والأنس ونحو ذلك. فمن لم يظهر له نتيجة علمه في عمله، فعلمه عليه لا له  وربما شهد بخروجه منه، إن كان علمه مشروطا بعمله، ولو في باب كماله، فافهم، وتأمل ذلك.

กออิดะฮ์ที่ 12

ความประเสริฐของสิ่งหนึ่งนั้น บางครั้งก็อยู่ในตัวของมันเอง ดังนั้นจึงมีการมุ่งแสวงหามัน เพื่อตัวของมันเพียงเท่านั้น  และบางครั้ง (ความประเสริฐของสิ่งหนึ่งนั้น) ก็เนื่องจากประโยชน์ของมัน ดังนั้นมันจึงถูกแสวงหาเพื่อผ่านจากมันไปยังประโยชน์นั้น และบางครั้ง (ความประเสริฐของสิ่งหนึ่งนั้น) ก็เนื่องจากสิ่งที่มันเข้าไปผูกพันอยู่ ดังนั้นประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นในการเชื่อมกับสิ่งที่มันผูกพันอยู่

เนื่องจากสิ่งดังกล่าวนี้เอง จึงมีผู้กล่าวว่า ความรู้ที่ปราศจากการปฏิบัตินั้นเป็นสื่อที่ปราศจากเป้าหมาย และการปฏิบัติโดยปราศจากความรู้นั้นเป็นอาชญากรรม และสติปัญญานั้นประเสริฐกว่าสิ่งที่ถูกรู้ด้วยกับสิ่งนั้น และความรู้เกี่ยวกับอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น ประเสริฐกว่าความรู้ทั้งหลาย เพราะว่ามันเป็นความรู้ที่สูงส่งที่สุด และความรู้ที่เป็นที่ต้องการเพราะตัวของมันเองนั้นประเสริฐกว่า เนื่องจากความพิเศษของมันนั้นอยู่ในตัวของมันเอง เช่น วิชาตะเศาวุฟและวิชาทำนองนี้ ดังนั้น ผู้ใดที่ผลแห่งความรู้ของเขาไม่ปรากฏแก่เขาในการปฏิบัติของเขา ดังนั้นแล้วความรู้ของเขานั้นเป็นผลเสียแก่เขา มิได้เป็นประโยชน์แต่อย่างใด  และบางทีเป็นที่ประจักษ์ด้วยการออกของเขาจากความรู้นั้น หากว่าความรู้ของเขาถูกวางเงื่อนไขด้วยการปฏิบัติ และแม้ว่าจะอยู่ในเรื่องของความสมบูรณ์ของเขาก็ตามที ดังนั้น โปรดจงเข้าใจและจงใคร่ครวญสิ่งดังกล่าว

أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #73 เมื่อ: พ.ย. 10, 2010, 11:40 AM »
0
คำอธิบาย

แรงผลักดันให้เกิดความปรารถนาในสิ่งต่างๆ นั้น มีอยู่ 3 ประการด้วยกัน

1.  ตัวของมันเอง ดังนั้นจึงมีการมุ่งแสวงหามันเนื่องจากตัวของมันเพียงอย่างเดียว
2.  เพราะประโยชน์ของมัน ดังนั้นประโยชน์ของมันจึงถูกแสวงหาด้วยกับสื่อต่างๆ ที่จะทำให้ไปถึงยังประโยชน์เหล่านั้น
3.  และบางครั้งก็เพราะว่ามันนั้นเป็นตัวกลางเชื่อมไปยังสิ่งที่มันผูกพันอยู่ ดังนั้นการแสวงหามันนั้นจึงอยู่ในการไปถึงยังสิ่งที่มันผูกพันอยู่โดยผ่านทางตัวกลางนั้น

ท่านอิมามซัรรูกได้ชี้ให้เห็นว่า แรงผลักดันให้เกิดการปรารถนาในความรู้นั้น เนื่องจากประโยชน์ในตัวของความรู้นั้นเอง หรือไม่ก็เพราะมันเป็นสื่อสำหรับการปฏิบัติ  ดังนั้นแล้วความรู้ที่ปราศจากการปฏิบัติ ก็คือสื่อที่ปราศจากเป้าหมาย และการปฏิบัติที่ปราศจากความรู้นั้นเป็นอาชญากรรม

นอกจากนั้นท่านยังได้เน้นย้ำว่า สติปัญญานั้นเป็นสื่อที่ประเสริฐสุดสำหรับการเรียนรู้ ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้กับกลุ่มชนที่เฉพาะ ความรู้ที่ถูกต้องอันเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักและชัดแจ้งนั้นต้องอาศัยสติปัญญา และเช่นเดียวกันวิชาความรู้ที่แท้จริงนั้นคือความรู้ที่ได้มาด้วยการประจักษ์แจ้งและหลักฐาน

และท่านยังได้พูดถึงแรงผลักดันทั้งสามนี้ในการแสวงหาวิชาตะเศาวุฟ ซึ่งในกฎข้อนี้ท่านได้อธิบายว่าวิชาตะเศาวุฟซึ่งก็คือ การรู้จักอัลเลาะฮ์ นั้นถูกแสวงหาด้วยตัวของมันเอง และมันยังเป็นวิชาที่ประเสริฐที่สุด เพราะประโยชน์อันเป็นความพิเศษในตัวของมันเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความเกรงกลัวและความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์ และจากจุดนี้เองใครก็ตามที่อ้างว่ามีตะเศาวุฟ แต่ไม่ปรากฏประโยชน์ใดๆ ที่ตัวเขา ไม่ปรากฏผลใดๆ ในการปฏิบัติของเขา ไม่ว่าจะเป็นความเกรงกลัว ความรักหรือความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ และอื่นๆ แล้ว ตะเศาวุฟก็เป็นผลเสียแก่เขาไม่ได้เป็นประโยชน์แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ตะเศาวุฟนั้นถูกวางเงื่อนไขด้วยการปฏิบัติ

สรุปคำอธิบายจาก (بدوري محمود، الكنز الفريد في التصوف الرشيد (القاهرة: هايدبرج، الطبعة الأولى، 2008م) ص80-81)

วัลลอฮุอะอฺลัม



أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #74 เมื่อ: พ.ย. 10, 2010, 11:46 AM »
0
قاعدة 13

فائدة الشيء ما قصد له وجوده، وإفادته: حقيقته في ابتدائه، أو انتهائه، أو فيهما.
كالتصوف علم قصد لإصلاح القلوب، وإفرادها لله، عما سواه.
وكالفقه، لإصلاح العمل، وحفظ النظام، وظهور الحكمة بالأحكام.
وكالأصول، لتحقيق المقدمات بالبرهان، وتحلية الإيمان بالإيقان.
وكالطب لحفظ الأبدان، وكالنحو لإصلاح اللسان، إلى غير ذلك، فافهم
.

กฎข้อที่ 13

ประโยชน์ของสิ่งหนึ่งนั้น คือ สิ่งที่การมีมันถูกวางเป้าหมายเพื่อสิ่งนั้น  และการให้ประโยชน์ของมัน (สิ่งหนึ่ง) ก็คือแก่นแท้ของมันในตอนเริ่มต้นของมัน หรือในตอนปลายของมัน หรือในทั้งสอง

เช่นตะเศาวุฟ วิชาที่มีเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงหัวใจ และทำให้มันบริสุทธิ์เพื่ออัลเลาะฮ์ ปราศจากสิ่งอื่นจากพระองค์

และเช่นฟิกฮ์ เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งกฎระเบียบ และเพื่อฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา) จะได้ปรากฏออกมาด้วยหลักการต่างๆ

และเช่นอุศูล เพื่อพิสูจน์ตรวจสอบหลักยึดมั่นต่างๆ ด้วยหลักฐานที่ชัดแจ้ง และเพื่อประดับประดาอิหม่านด้วยการเชื่อมั่นที่แน่นแฟ้น

และเช่นการแพทย์ เพื่อรักษาร่างกาย และเช่นไวยกรณ์ เพื่อรักษาลิ้น และอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นโปรดจงเข้าใจ

วัลลอฮุอะอฺลัม
أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

 

GoogleTagged