http://www.oknation.net/blog/tocare/2010/04/29/entry-1เมื่อเวลา ๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๓ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ผู้นำทั้ง ๓ ศาสนา ได้แก่ พระพิพัฒน์ศาสนกิจนิธาน เจ้าคณะเขตบางเขนและเจ้าอาวาสวัดเสมียนนารี,
นายสุเทพ เลาะลาเมาะ ผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี และบาทหลวงเสนอ ดำเนินสะดวก เลขาธิการศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์โรมันคาทอริค สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ร่วมกันเป็นประธานในการนำประชาชนคนไทยเข้าร่วมพิธี “ทำบุญประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สถาบันพระปกเกล้า และ กรุงเทพมหานคร โดยมี ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรม
นำทั้ง ๓ ศาสนา นำสวดมนต์ แผ่เมตตา ตั้งจิตภาวนา และดูอาร์ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะส่งผลบุญ และพลังจิตภาวนา ให้เหตุการณ์ร้ายๆ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองยุติลงด้วยความสันติสุข ให้คนไทยกลับมามีความสมานฉันท์เหมือนเดิม
..................
จะสร้างเอง หรือร่วมสร้างมาตรฐานก็ต้องรอดูครับว่าสมัยเก่ากว่า ได้ส่งคนเข้าร่วมพิธีกรรมนี้ด้วยหรือไม่
ส่วนนิยามของการสร้างมาตรฐาน ถ้าท่านไม่เข้าใจก็ขออ้างองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standard : ISO ) ที่ได้นิยามคำว่า การสร้างมาตรฐาน (Standardization) หมายถึง
กิจกรรมในการวางข้อกำหนดเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสำคัญที่อยู่หรือที่จะเกิดขื้น เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ที่มีใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี และการบริการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้คำนิยาม “มาตรฐาน” หมายถึง สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รองรับกันทั่วไป
ปีที่แล้วส่งคนไป ปีนี้จะไม่ส่งไป จะมีผลกระทบหรือไม่? อย่างไร?
สำนักจุฬาวางข้อกำหนดส่งตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมทำบุญประเทศ เมื่อมีการร้องขอความร่วมมือมาจากรัฐบาลหรือไม่ที่ผ่านมา ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเรียกได้ว่าสร้างมาตรฐานหรือ หรือมาตรฐานท่านยังไม่ชัดเจนเพียงพอ