ผมไม่ทราบนะว่ามีหรือไม่? แต่เท่าที่ทราบ ไม่มีปราชญ์ยุคสลัฟยอมรับกับการให้คำจำกัดความในศัพท์เชิงรูปธรรม เช่น เท้า หรือ มือ ให้เป็นนามธรรมเช่นเดียวกัน ที่ผมทำมันก็เป็นเพียงนำคุณลักษณะต่างๆเหล่านี้มาจัดประเภท เท่าที่ความรู้ ความสามารถจะเอื้ออำนวย ไม่ได้ให้คำจำกัดความใหม่ หรือตีความเอาเอง เช่นเดียวกับการนำหลักการต่างๆของอิสลามมาจัดหมวดหมู่ใหม่เป็นวิชาฟิกฮ์ นำภาษามาเป็นวิชานาฮู ซะรอฟ อะไรทำนองนี้ ซึ่งได้บอกแล้วว่า หากไม่มีผลต่อหลักอากีดะฮ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ไม่น่าจะมีผลเสียอะไร การแบ่งนามออกกว้างๆเป็นรูปธรรม กับนามธรรม และเรียก กิริยา ว่าวิธีการ ผิดหรือไม่? อย่างไร?
หรือว่าหากคุณพบว่ามันผิดหลักการอิสลามที่ผมแบ่งแยกคุณลักษณะโดยใช้เกณฑ์ดังกล่าว ตามแนวทางของสลัฟ ก็โปรดชี้แนะด้วย (วิชาการนะ)
้ความจริงในเว็ปนี้ก็ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้หลายกระทู้แล้ว แต่ฉันจะนำเสนอสรุปให้ดังนี้
คุณแบ่งเป็น รูปแบบ รูปธรรม นามธรรม นั้นฉันไม่เคยได้ยินมาก่อนเท่าที่เคยร่ำเรียนมา แต่ที่ได้ร่ำเรียนและรู้มา ปราชญ์จะแบ่งซีฟัตตามนัยยะดังกล่าวออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซีฟาตค่อบะรียะฮ์ คือคุณลักษณะของอัลเลาะห์ที่ต้องมีตัวบทมาระบุรับรองเท่านั้น สติปัญญาจะไปคิดเองไม่ได้ เช่น ซีฟัตยะดุน(พระหัตถ์) ซีฟัตอัยน์(พระเนตร) ซีฟัตวัจญ์ฮฺ(พระพักตร์) ซึ่งซีฟาตเหล่าี้นี้มีความหมายหลายนัย
2. ซีฟาตมะอานีย์ คือคุณลักษณะที่มีและดำรงอยู่ที่อัลเลาะห์ เป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์ สติปัญญาที่สมบูรณ์ของมนุษย์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือมิใช่มุสลิมก็จะยืนยันและให้การยอมรับ เช่น ซีฟัตบะซ็อร (ทรงเห็น) ซีฟัตซัมอฺ (ทรงได้ยิน) ซีฟัตอิลมุ (ทรงรอบรู้) ซีฟัตกะลาม (ทรงพูด) ซึ่งคนที่มีสติปัญญาสมบูรณ์หรือบรรลุศาสนภาวะแล้ว เขาจะเชื่อเพราะพระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายนั้นต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้ หากทรงบอด ทรงหนวก ทรงโง่เขลา และทรงใบ้ ก็ไม่บังควรที่จะเป็นพระเจ้า
และปราชญ์ยังทำการแบ่งซีฟาตตามนัยยะอื่นๆ อีกมากมายเพื่อให้ง่ายแก่ปุถุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและไม่สับสนในการเรียนรู้
ส่วนการจำกัดคำศัพท์ของสะลัฟจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมตามที่คุณเข้าใจนั้น มียืนยันจากสะลัฟแต่ไม่มาก เพราะสะลัฟไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตีความในยุคสมัยของพวกเขาเหล่านั้น ความจริงตามทัศนะของเรา(ของเ้ว็ปแห่งนี้)จะไม่จำกัดความหมายแต่ยึดการมอบหมายการรู้ซึ่งความหมายดังกล่าวไปยังอัลเลาะห์แต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อมีรายงานยืนยันว่าสะลัฟเองได้ทำการตีความ(จากศัพท์รูปธรรมไปสู่นามธรรมตามที่คุณเข้าใจนั้น) ทางเราให้เกียรติสะลัฟและให้ความเป็นธรรมแก่สะลัฟโดยไม่บอกว่าพวกเขาเหล่านั้นผิด แต่เราเชื่อว่าการจำกัดคำศัพท์หรือตีความดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งจากสะลัฟ แม้ว่าจะมีน้ำหนักน้อยกว่าหลักการมอบหมายการรู้ซึ่งความหมายไปยังอัลเลาะห์ก็ตาม
ตัวอย่างการจำกัดศัพท์(ตีความ)จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม(ตามที่คุณเข้าใจ)ที่มีรายงานจากสะลัฟ มีดังนี้
1.
อิหม่ามอัลบุคอรีย์ (ฮ.ศ.194-256)ได้ทำการจำกัดความหมายและตีความไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง ตัฟซีรซูเราะฮฺ อัลเกาะซ๊อซ ความว่า
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ
ความว่า "ทุกๆ สิ่งนั้นพินาจสิ้นนอกจาก وَجْهَهُ (พระพักตร์)ของพระองค์" (อิมามบุคคอรีย์ตีความว่า) "
นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ เล่ม 8 หน้า 364
2.
อิหม่ามอัตติรมีซีย์ (ฮ.ศ.209-279) , ท่านอัลอะมัช(ฮ.ศ.61) , และสะลัฟบางส่วน
ท่านอัตติรมีซีย์ได้กล่าวรายงานฮะดีษความว่า
أَنَا عِنْدَ ظَنِّ عَبْدِي بِي ... وَإِنْ أَتَانِي يَمْشِي أَتَيْتُهُ هَرْوَلَةً
"เราจะอยู่ตามที่บ่าวของเราได้หวังมั่นใจต่อเรา...และหากเขาได้มาหาเราโดยเดินมา เราก็จะไปหาเขาโดยรีบเดิน"
หลังจากนั้นท่าน อัตติรมีซีย์ ได้กล่าวอธิบายว่า
هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ وَيُرْوَى عَنْ الْأَعْمَشِ فِي تَفْسِيرِ هَذَا الْحَدِيثِ مَنْ تَقَرَّبَ مِنِّي شِبْرًا تَقَرَّبْتُ مِنْهُ ذِرَاعًا يَعْنِي بِالْمَغْفِرَةِ وَالرَّحْمَةِ وَهَكَذَا فَسَّرَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ هَذَا الْحَدِيثَ قَالُوا إِنَّمَا مَعْنَاهُ يَقُولُ إِذَا تَقَرَّبَ إِلَيَّ الْعَبْدُ بِطَاعَتِي وَمَا أَمَرْتُ أُسْرِعُ إِلَيْهِ بِمَغْفِرَتِي وَرَحْمَتِي
"หะ ดิษนี้เป็นหะดิษฮะซันซอฮิห์ และได้ถูกรายงานจากท่านอัลอะอฺมัช เกี่ยวกับการตัฟซีรหะดิษนี้ ที่ว่า "ผู้ใดใกล้ชิดเราหนึ่งคืบ เราจะใกล้ชิดเขาหนึ่งศอก" หมายถึง
ใกล้ชิดการอภัยโทษและความเมตตา และเฉกเช่นดังกล่าวนี้ นักปราชญ์(สะลัฟ)บางส่วนได้อธิบายหะดิษนี้ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า แท้จริงความหมายของหะดิษนี้ คือท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "เมื่อบ่าวคนหนึ่งได้ใกล้ชิดเราด้วยการตออัตต่อเราและด้วยสิ่งที่เราบัญชา ใช้ แน่นอน การอภัยโทษและความเมตตาของเราจะรีบรุดไปยังเขา" ตั๊วะห์ฟะตุลอะห์วาซีย์ เล่ม 10 หน้า 64
3.
อิหม่ามอิบนุ ญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ (ฮ.ศ. 224-310) ได้ทำการอธิบาย อายะฮ์ ที่ 10 ของซูเราะฮ์ อัลฟัตหฺ โดยยกทัศนะของสะลัฟก่อนหน้าท่านในอธิบายดังกล่าว ความว่า
وفي قوله ( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) وجهان من التأويل: أحدهما: يد الله فوق أيديهم عند البيعة, لأنهم كانوا يبايعون الله ببيعتهم نبيه صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم ; والآخر: قوّة الله فوق قوّتهم في نصرة رسوله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم, لأنهم إنما بايعوا رسول الله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم على نُصرته على العدو
"ในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "ยะดุลลอฮิอยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา"นั้น มีการอรรถาธิบาย 2 แนวทางด้วยกัน
แนวทางที่หนึ่ง ยะดุลลอฮ์(พระหัตถ์พระองค์)อยู่เหนือบรรดามือของพวกเขาในขณะให้สัตยาบัน....
แนวทางที่สอง พลังอำนาจของอัลเลาะห์อยู่เหนือพลังพวกเขาเหล่านั้นในช่วยเหลือศาสนทูตของพระองค์ เพราะพวกเขาได้ให้สัตยาบันต่อท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.)ว่าจะช่วยเหลือท่านพิชิตศัตรู" (ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ เล่ม 22 หน้า 209)
หวังว่าคุณคงเข้าใจและขออัลเลาะห์ทรงชี้นำเราและท่าน วัลลอฮุอะลัม.