salam
คุณ นูร รู้หรือว่า มือ اليد ของพระองค์นั้น เป็นแบบใหนหรือครับ หรือว่าไม่มี่ครับ
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้อธิบายชี้แจงหะดิษนี้ว่า
اليد هنا المذهبان السابقان في كتاب الإيمان ومواضع في أحاديث الصفات : أحدهما الإيمان بها , ولا يتعرض لتأويلها , مع أن ظاهرها غير مراد . والثاني تأويلها على القدرة
"คำว่า( อัลยะดุ้)اليد ณ ที่นี้ มีสองมัซฮับที่กล่าวผ่านมาแล้วในบทเรื่องอัลอีมาน และในสถานที่ต่าง ๆ ในบรรดาหะดิษเกี่ยวกับซีฟาต คือ
มัซฮับที่หนึ่ง : ให้ทำการศรัทธาด้วยกับมัน(ซีฟัตอัลยะดุ้) โดยไม่ต้องนำเสนอตีความกับมันพร้อมกับความหมายผิวเผินของมันไม่ใช่จุดมุ่งหมาย และ
มัซฮับที่สอง : ให้ทำการตีความมันให้อยู่ในความหมายของเดชานุภาพ"
ซึ่งทั้งสองมัซฮับนั้น คือแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ อัลอะชาอิเราะฮ์ ตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วข้างต้นครับ
เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->> แต่มอบหมายกับความหมายและรูปแบบวิธีการ
เชื่อในซีฟัตยะดุน >-------------------->> แต่ทำการตีความอยู่ในความหมายของอำนาจ
ท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์สะลัฟ ได้ทำการตีความ ตะวีล
ท่านอิบนุ ญะรีร ได้ทำการอธิบาย อายะฮ์ ที่ 10 ของซูเราะฮ์ อัลฟัตหฺ ว่า
وفي قوله ( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) وجهان من التأويل: أحدهما: يد الله فوق أيديهم عند البيعة, لأنهم كانوا يبايعون الله ببيعتهم نبيه صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم ; والآخر:
قوّة الله فوق قوّتهم في نصرة رسوله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم, لأنهم إنما بايعوا رسول الله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم على نُصرته على العدو
คำว่า يد الله ใน ณ ที่นี้ ท่านอิบนุญะรีร ได้ทำการตีความ ตะวีล ว่า
"มันคือพลังอำนาจของอัลเลาะฮ์"ซึ่งท่านอิบนุอัลเญาซีย์ กล่าวรายงานอธิบายคำว่า يد الله ว่า
الرابع :
قوة الله ونصرته فوق قوتهم ونصرتهم دكره ابن جرير وابن كيسان
คำกล่าวที่ 4 หมายถึง "
อำนาจของอัลเลาะฮ์ และความช่วยเหลือของอัลเลาะฮ์ อยู่เหนืออำนาจของพวกเขาและอยู่เหนือการช่วยเหลือของพวกเขา ซึ่งทัศนะนี้ ได้กล่าว โดยท่าน อิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ และท่าน อัลกัยซานีย์" ดู ตัฟซีร ซาดุลมะซีร ฟี อิลมุตตัฟซีร ของท่านอิบนุเญาซีย์ เล่ม 7 หน้า 204 ตีพิมพ์ ดารุลกะตุบ อัลอิลมียะฮ์
ดังนั้น เมื่อการตีความได้มีมาจากส่วนหนึ่งของสะลัฟ แล้วเป็นบาปอันใดหรือที่เราจะตีความไม่ได้ หลักอะกีดะฮ์ของอัลอะชาอิเราะฮ์ คือหลักอะกีดะฮ์ที่ให้ความเป็นธรรมกับสะลัฟทั้งหมดที่อยู่ในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ไม่ว่าเขาจะทำการมอบหมายหรือทำการตีความ (ตะวีล)
วัลลอฮุอะลัม