ทีนี้ ผมเข้าใจว่า
คนไทยเราในสมัยนี้ แปลได้ และอ่านเป็น มือ หรือ พระหัต อยู่นะครับ
แล้วแบบนี้ แสดงว่า คนในสมัยก่อนหรือคนสมัยนี้แปลผิด ?
หรือว่า คนในสมัยนี้ กับ สมัย ก่อนเข้าใจต่างกัน
หรือจากที่เวป (ลิ้ง) ที่ผมให้ดู
แปลว่า มือ ตรงๆ ตัว โดยให้มีความหมายเป็น ฮะกีกัต ได้หรือไม่ ?
หรือ แปลว่ามือตรงตัว แต่ไม่ให้ความหมายเป็น ฮะกีกัต จะได้หรือไม่ ?
เราต้องแยกแยะระหว่างคำว่า แปล กับ อธิบายความหมาย นะครับ ซึ่งการแปลนั้น ภาษาอาหรับพูดว่า ترجمة (ตัรญะมาะฮ์)คือแปลภาษานึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง ส่วน การอธิบายความหมายนั้น ภาษาอาหรับพูดว่า تفسير المعني
ดังนั้น การแปลจากอาหรับเป็นภาษาไทย ย่อมเป็นสิ่งที่อนุโลม และไม่มีใครนำมาเป็นประเด็น ส่วนการอธิบายความหมาย นี่น่ะซิครับ คือประเด็นที่เรากำลังคุยกัน หลักการวะฮาบีย์ไม่ใช่พวกเขาแปลความหมายซีฟัตของอัลเลาะฮ์ แต่พวกเขาอธิบายความหมายซีฟัตของอัลเลาะฮ์ تفسير المعني ให้อยู่ในความหมายเชิงภาษา اللغوي แบบ الحقيقة "คำแท้" ที่ให้ความหมายเข้าใจแบบตรงตัว(ไม่ใช่แปลแบบตรงตัว)โดยไม่อยู่ในเชิงอุปมา
ดังนั้น
- คำว่า يد แปลแบบตรงตัว คือ
"มือ" นั่นไม่ใช่ประเด็น
- คำว่า يد ที่อธิบายความหมายในเชิงภาษาแบบคำแท้ที่ไม่อยู่ในเชิงอุปมา คือ
"ส่วนอวัยวะที่มีอยู่ที่ร่างกายโดยมีนิ้วและฝ่ามือ" นี่คืออธิบายความหมายในเชิงภาษาของคำแท้ โดยตามหลักการของวะฮาบีย์ทุกอย่าง แต่หากวะฮาบีย์พยายามเลี่ยงให้เป็นความหมายอื่นจากนี้ ถือว่า ตีความ (ตะวีล) ครับ และคงเป็นไปไม่ได้ที่วะฮาบีย์จะตะวีล เพราะวะฮาบีย์ถือว่าเป็นแนวทางที่บิดอะฮ์และเลวร้าย
ดังนั้น ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ตัวบทและการแปลตัวบท แต่มันอยู่ที่การอธิบายตัวบทที่เกี่ยวข้องกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ ต่างหาก ท่านผู้อ่านโปรดแยกแยะให้เข้าใจ และเราพยายามที่เน้นจุดเปลี่ยนตรงนี้ แต่วะฮาบีย์พยายามหลีกเลี่ยงหลักการของตน วัลลอฮุอะลัม